How to be Good Death ... ในวาระสุดท้ายของชีวิต


การเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับความจริงในบั้นปลายของชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ดิฉันได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยอาจารย์รัชณีย์  ป้อมทอง ทำให้ดิฉันได้รับรู้ความรู้สิ่งใหม่ๆมากมาย ทำให้เรียนรู้ว่าความตายไม่ใช่เรื่องไกลตัว ได้รู้ว่าการตายดีคืออะไร สิ่งที่มีความหมายต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งความรู้เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ดิฉันจึงขอสรุปสิ่งที่ได้จากการฟังบรรยายดังนี้


ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในเรื่องของความตายมากขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ความตายเกือบเป็นเรื่องต้องห้าม วิวัฒนาการด้านการแพทย์ที่พัฒนาสูงขึ้นทำให้มนุษย์มีโอกาสตายตามธรรมชาติน้อยลง แต่ไปทนทุกข์ทรมานในโรงพยาบาลที่มีสายระโยงระยางรอบเตียงแทน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย รอคอยความตาย ไม่มีโอกาสพ้นทุกข์ ไม่สามารถใช้ชีวิตที่เหลือให้เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นได้


การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงเวลาใกล้เสียชีวิตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลแบบประคับประคอง โดยมีเป้าหมายเพื่อ

  • ให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
  • สามารถควบคุมและบรรเทาอาการทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี
  • ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและการสูญเสียต่างๆได้
  • ช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำสิ่งที่ยังห่วง ยังกังวล(Unfinished business)ให้สำเร็จ
  • ช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมีความทุกข์ทรมานน้อยที่สุด
  • ป้องกันปัญหาต่างๆที่เกิดจากความเศร้าโศกของครอบครัวภายหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับการสนันสนุนด้านร่างกาย มีการควบคุมความเจ็บปวดและอาการอื่นๆ ทุเลาความทุกข์ทรมาน ด้านจิตสังคมและการตอบสนองต่อจิตวิญญาณ โดยทีมสุขภาพและครอบครัวจะช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับสภาพความเจ็บป่วย เรียนรู้ความจริงของชีวิตที่ต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมดา


อาจารย์ได้ตั้งคำถาม ถามทุกคนในห้องบรรยายว่า "การตายดี คืออะไร?" คำตอบที่ได้หลากหลายแตกต่างเช่น การตายจากการนอนหลับ การตายแบบไม่ทรมาน เป็นต้น ทำให้ดิฉันเกิดข้อสงสัยว่า แล้วการตายดีที่แท้คืออะไร?


การตายดี (Good Death) มีหลักการที่จะทำให้การตายนั้น เป็นการตายดีคือ

  1. ทราบว่าเมื่อใดการตายกำลังจะมาถึง
  2. สามารถควบคุมสิ่งต่างๆในวาระสุดท้ายของชีวิต
  3. ได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรี
  4. ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
  5. สามารถเลือกได้ว่าจะเสียชีวิตที่ใด
  6. ได้รับข้อมูลและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญตามความจำเป็น
  7. ได้รับการดูแลทางอารมณ์และจิตวิญญาณตามความต้องการ
  8. สามารถเลือกได้ว่าจะมีใครอยู่ด้วยในวาระสุดท้าย
  9. สามารถแสดงเจตนาล่วงหน้าได้ว่าต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างไรในวาระสุดท้าย
  10. มีเวลากล่าวคำอำลากันคนอันเป็นที่รัก
  11. สามารถจากไปเมื่อถึงเวลา ไม่ถูกยืดชีวิตโดยไร้ประโยชน์

เชื่อมโยงเข้ากับกรอบอ้างอิง Psychospiritual Integration Frame of Reference ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

  • Becoming รับรู้ว่าตนเองเป็นอย่างไร กำลังจะกลายเป็นอะไร
  • Meaning สิ่งใดที่มีความหมายต่อตนเอง? อย่างไร?
  • Centredness มีความสุข อยากมีความสุขร่วมกับครอบครัว คนรัก
  • Connectedness เชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ เช่น สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
  • Transcendence ไปถึงนิพพาน จากไปอย่างสงบ


คนแต่ละคนจะมีความเชื่อ ความคิด ศาสนา วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นักกิจกรรมบำบัดควรทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีจนกว่าะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เช่น การทำกิจกรรมท่มีความหมายต่อพุทธศาสนิกชนจะสวดมนต์และคิดสิ่งดีๆ เพื่อให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี จัดกิจกรรมตามความต้องการอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม  โดยให้ผู้รับบริการและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง คอยให้กำลังใจและคำปรึกษาจนวาระสุดท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้อำลาโลกนี้ไปด้วยความสุข

หมายเลขบันทึก: 516180เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 02:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

While we live, let us live, then and only then let us die.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท