ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 28


-อาชฺญารฺถ อาตฺมเนปท

-นาม ฤ การานฺต

1.อาชฺญารฺถ อาตฺมเนปท

เราเรียนอาชญารถะ ปรัสไมบทมาแล้ว คราวนี้้เป็นการแจกรูปสำหรับธาตุในอาตมเนบท หรือกรรมวาจก ตามแบบดังนี้


..

  เอกวจนมฺ

  ทฺวิวจนมฺ

  พหุวจนมฺ

อุตฺตมปุรุษะ

  -เอ, -e

  -อวไห  -avahāi

  -อมไห    -amahāi

มธฺยปุรุษt

  -สฺว,  -sva

  -อิถามฺ –ithām

  -ธฺวมฺ      -dhvam

ปฺรถมปุรุษะ

  -ตาม, -tām

  -อิตามฺ  -itām

  -อนฺตามฺ  -antām*

*ลบเสียงอะ ก่อนลงวิภักติ


ตัวอย่าง √ลภฺ (ได้รับ) สร้างเค้า ลภฺ + อะ = ลภ, นำไปแจกอาชฺญารฺถ ใน อาตฺมเนปท ดังนี้

..

  เอกวจนมฺ

  ทฺวิวจนมฺ

  พหุวจนมฺ

อุตฺตมปุรุษะ

  ลไภ, labhai

  ลภาวไห  labhāvahāi

  ลภามไห labhāmahāi

มธฺยปุรุษ

  ลภสฺว,  labhasva

  ลเภถามฺ labhethām

  ลภธฺวมฺ labhadhvam

ปฺรถมปุรุษะ

  ลภตาม, labhatām

  ลเภตามฺ  labhetām

  ลภนฺตามฺ labhantām


การแจกรูปอาตมเนบท (ในที่นี้เขียน อาตฺมเนปท

แบบสันสกฤตบ้าง อาตมเนบท แบบไทยบ้าง ผู้เรียนจะได้คุ้นเคยทั้งสองแบบ) มีความหมายกรรตุการกตามแบบ แจกแบบปรัสไม หรือ อาตมเน ก็แล้วแต่ธาตุนั้นๆ

กรรมวาจก ในอาชญารถะนั้น นำธาตุมาลงปัจจัย ย แล้วแจกอาตมเนบทเลย โดยไม่สนใจคณะธาตุ เช่น ทฺฤศฺ + ย + เอ = ทฤศฺยตามฺ (เขา)จงถูกมอง, กฺฤ (ทำ) = กฺริไย, กฺริยสฺว, กฺริยตามฺ

ธาตุ

  • √गम्+अनु        √คมฺ+อนุ           (อนุคจฺฉติ  anugácchati) ตาม, ติดตาม
  • √चर् + सम्-आ   √จรฺ + สมฺ – อา (สมาจรติ   smācárati)    ปฏิบัติ ทำ ดำเนินการ (อุปสรรคสองตัว)
  • √वद् + वि          √วทฺ+วิ             (วิวทเต    vivádate)      โต้เถียง
  • √श्रि + आ          √ศฺริ+อา           (อาศฺรยเต āśráyate)     พึ่งพาอาศัย, ไปขอเป็นที่พึ่ง(ตามด้วย กรรมการก)

แบบฝึก 1

จงแปล 1) ลภสฺว 2) อาศฺรยามไห 3) นฺยวสตามฺ 4) ยชามไห 5) เสวฺยตามฺ


2.นาม ฤ การานฺต

ตอนนี้มาว่าถึง การแจกนามที่ลงท้าย -ฤ ซึ่งจะมีเค้าสำหรับแจกวิภักติ 3 รูป ได้แก่ –อารฺ, -ฤ, - อรฺ, เป็นแข็ง กลาง อ่อน ตามลำดับ(คือรูปทำพฺฤทธิ,  รูปเดิม, และหดเสียง) นั่นเอง

ทบทวนวิภักติที่จะบอกการก ถือว่าวิภักติมาตรฐานสำหรับแจกนามเพศชาย/หญิง เป็นดังนี้ (สำหรับเพศกลางจะเล่าในบทต่อๆ ไป)

..

  เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรฺตฺฤ

  -s

  -āu

  -as

กรฺม

  -am

  -āu

  -as

กรฺณ

  -ā

  -bhyām

  -bhis

สมฺปฺรทาน

  -e

  -bhyām

  -bhyas

อปาทาน

  -as

  -bhyām

  -bhyas

สมฺพนฺธ

  -as

  -os

  -ām

อธิกรณ

  -i

  -os

  -su


นามที่ลงท้ายด้วยสระ ในบทที่ผ่านมา

วิภักติในเอกพจน์จะเปลี่ยนไปพอสมควร แต่นามที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะมักจะดำเนินตามนี้ สำหรับอาลปนะนั้น มักจะเป็นไปตามกรรตุการก เว้นแต่เอกพจน์ อาจไม่เปลี่ยนแปลง

การแจกนาม ฤ การานฺต ตัวอย่าง กรฺตฺฤ ปุ. ผู้ทำ แบ่งออกเป็น 3 เค้า คือ กรฺตาร, กรฺตฺฤ  และ กรฺตฺรฺ (อาจแตกต่างจากแบบข้างบนเล็กน้อย)

..

  เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

อาลปนะ

  กรฺตรฺ

  กรฺตาเรา 

  กรฺตารสฺ

กรฺตฺฤ

  กรฺตา

  กรฺตาเรา

  กรฺตารสฺ

กรฺม

  กรฺตารมฺ

  กรฺตาเรา

  กรฺตฺฤๅนฺ

กรฺณ

  กรฺตฺรา

  กรฺตฺฤภฺยามฺ

  กรฺตฺฤภิสฺ

สมฺปฺรทาน

  กรฺเตฺร

  กรฺตฺฤภฺยามฺ

  กรฺตฺฤภฺยสฺ

อปาทาน

  กรฺตุรฺ  (กรฺตุสฺ)

  กรฺตฺฤภฺยามฺ

  กรฺตฺฤภฺยสฺ

สมฺพนฺธ

  กรฺตุรฺ  (กรฺตุสฺ)

  กรฺตฺโรสฺ

  กรฺตฺฤๅณามฺ

อธิกรณ

  กรฺตริ

  กรฺตฺโรสฺ

  กรฺตฺฤษุ

ศัพท์ที่ลง -ฤ การานฺต นี้มีสองพวก พวกที่หนึ่งมีความหมายแปลว่า ผู้กระทำ, อีกพวกหนึ่งเป็นคำนับญาติ (จะเรียนในบทต่อไป) คำนับญาตินั้นจะแจกแตกต่างออกไปจากนี้เล็กน้อย ยกเว้น สฺวสฺฤ และ นปฺตฺฤ เป็นคำนับญาติ แต่แจกรูปตามข้างบนนี้ (จึงไม่ต้องแปลกใจ ที่ภาษาอังกฤษจะเรียกญา่ติด้วยคำลงท้าย -ther, -ter เช่น father, mother, sister, brother, etc.)

นามที่มีความหมายว่าผู้กระทำ นี้บางครั้งก็ใช้เป็นคุณศัพท์ไปขยายคำนามอื่น หากนำไปขยายนามเพศหญิง ก็เปลี่ยนเสียงท้ายเป็น อี และแจกแบบ อี การานต์ เช่น กรฺตฺฤ > กรฺตฺรี   ส่วนเพศกลาง คงเค้าเดิม แต่เสียงท้ายจะแจกแบบ วาริ หรือ มธุ แต่ไม่ค่อยพบการใช้แบบนี้

ศัพท์

  • อาจารฺย ปุ. ครู อาจารย์ (บาลี อาจริย) (จาก อา+√จรฺ)
  • กรฺตฺฤ ปุ. ผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เขียน, คุณ. ทำ, สร้าง (บาลีใช้ กตฺตุ, ไทยใช้ กรรตุ) (จากธาตุ √กฺฤ)
  • กาล ปุ. เวลา
  • กฺฤปา ส. ความกรุณา ความเมตตา
  • ทาตฺฤ ปุ. ผู้ให้ (จาก √ทา), คุณ. ใจกว้าง เอื้อเฟื้อ
  • ทุรฺชน ปุ. คนเลว (ทุสฺ+ชน)
  • ทฺรษฺฏฺฤ ปุ. ฤษี ผู้รจนาพระเวท, คุณ. เห็น
  • ธาตฺฤ ปุ. ผู้สร้างโลก (พระเจ้า) บาลี ธาตา, ไทยใช้ ธาดา. (จากธาตุ √ธา)
  • นปฺตฺฤ ปุ. หลาน (บาลี นัดดา)
  • นมสฺ นปุ. เกียรติยศ การนับถือ (มักใช้แบบไม่แจกรูป ร่วมกับ สัมปรทานการก)
  • นิศฺจย ปุ. การตัดสินใจ ความแน่นอน
  • เนตฺฤ ปุ. ผู้นำ (มาจากธาตุ √นี)
  • ปณฺฑิต ปุ. ผู้มีการศึกษา, บัณฑิต
  • ปท นปุ. ก้าวเท้า
  • ปฺรายศฺจิตฺต นปุ. การบำเพ็ญตบะ (คำว่า ตบะ ใช้ว่า ตปสฺ ยังไม่เรียน)
  • ภรฺตฤ ปุ. ผู้คุ้มครอง ผู้สนับสนุน เจ้า สามี เจ้านาย (บาลี ภตฺตา, ไทยใช้ ภัสดา, คนละคำกับ ภารฺตฺฤ/บาลี ภาตา/ไทย ภาดา/ภาดร)
  • รกฺษิตฺฤ ปุ. ผู้คุ้มครอง (จาก √รกฺษฺ)
  • วฺยวหาร ปุ. การดำเนินคดี (จาก วิ-อว√หฺฤ)
  • ศาสฺตฺฤ ปุ. ผู้ปกครอง ผู้ลงโทษ (บาลี. สตฺถา, ไทยใช้ ศาสดา)
  • สฺรษฺฏฺฤ ปุ. ผู้สร้างโลก
  • สฺวสฺฤ ส. น้องสาว, พี่สาว

คุณศัพท์

  • ทริทฺร ปุ.นปุ, ทริทฺรา ส. ยากจน (บาลี. ทลิทฺท)
  • วร ปุ.นปุ. วรา ส. ดีที่สุด ยอดเยี่ยม, ดีกว่า (ใช้ร่วมกับ อปาทาน การก)


แบบฝึก 2

แปลสันสกฤตเป็นไทย

दुर्जनस्य च सर्पस्य वरं सर्पो न दुर्जनः.

सर्पो दशति कालेन दुर्जनस्तु पदे पदे॥4 ॥

  • आचार्यं लभस्व प्रायश्चित्तं समाचरेति पापं द्विजातय आदिशन्ति। 1
  • काव्यानि रचयाम कीर्तिं वन्दाम नृपतीनाश्रयामहै श्रियं लभामहा इति कवयो वदन्ति।2
  • स्वसुर्गृहे कन्ये न्यवसताम्। 3
  • नृपे रक्षितरि सुखेन प्रजा वसन्ति। 4
  • धर्माय देवान्यजावहा अर्थाय कीर्तये च सभासु पण्डितैः सह विवदावहा इति ब्राह्मणस्य पुत्ररोस्निश्चयः। 5
  • मुक्त्य ईश्वरः सृष्टेः कर्ता मनुष्यैर्भक्त्या सेव्यताम्।6
  • नृपतयः प्रजानां रक्षितारो दुर्जनानां च शास्तारो वर्तन्ताम्। 7
  • शास्त्रस्य कर्त्रे पाणिनये नमः। 8
  • लोकस्य स्रष्टृभ्यो वसूनां दातृभ्यो देवेभ्यो नमो नमः। 9

แปลไทยเป็นสันสกฤต
  1. ภรรยาพึงรักสามี
  2. นักรบทั้งหลายพึงตามผู้นำ

    และพึงต่อสู้กับศัตรูทั้งหลาย

  3. ที่แม่น้ำ  เด็กชายหวังว่าจะพบกับพี่สาวทั้งสอง
  4. โลกถูกสร้างแล้วโดยพระเจ้า(ผู้สร้าง)
  5. ในบ้านของสาธุผู้ให้ อาหารถูกให้แก่นักบวชผู้ขอ(ภิกษุ) *ใช้คำว่า ผู้ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่าสาธุ
  6. พระราชาโภชทรงเอื้อเฟื้อแล้ว (अवर्तत) ต่อผู้แต่ง(ใช้อธิกรณ) บทสดุดี
  7. คนรับใช้ทั้งหลาย พึงรับใช้เจ้านาย
  8. ท่านทั้งหลาย จงอาศัย5 เทวดาทั้งหลาย3 ผู้คุ้มครอง2 แห่งคนดีทั้งหลาย1 เพื่อเป็นที่พึ่ง4(กรรมการก)
  9. มนุษย์ทั้งหลายมีชีวิตด้วยความเมตตาของผู้สร้างโลก
  10. ดูก่อน ผู้ใจบุญ คนยากจนน้อมไหว้ท่าน(ท่าน ไม่ต้องแปล)
  11. บุรุษคนนั้นนำน้องสาวทั้งหลายไปสู่เมือง (ใช้ประโยคกรรมวาจก)

 


หมายเลขบันทึก: 515971เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2013 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (72)

อาจารย์เก่งมาก หาตัวจับวางได้ยาก

ไม่เข้าใจคะอาจารย์ .. ฤ การานฺตะ

- ทำไมต้องแยกเค้าเป็นสามรูปด้วยค่ะเพราะเหตุอันใด

-  จาก กรฺตฺฤ เป็น กรฺตาร, กรฺตฺฤ  และ กรฺตฺรฺ (คือรูปทำพฺฤทธิ,  รูปเดิม, และหดเสียง)  อันนี้พอเข้าใจ

แต่พอนำมาแจกในตารางแยกเป็นสีเขียวน้ำเงินม่วงแล้ว งงค่ะ 

คือหนูงงว่าไอเจ้าสามคำนี้ กรฺตาร, กรฺตฺฤ  และ กรฺตฺรฺ จะจับมาผันตามช่องอย่างไรอะค่ะ

ในส่วนของการจดศัพท์ที่ลงท้ายด้วย ฤ นั้น ก็จดรวมพวกที่ลงท้ายด้วย ฤ ไว้ด้วยกันทั้งหมดได้ใช่ไหมค่ะ

ไม่ต้องแยกประเภทยิบย่อยออกมาอีก

นิยมในความรอบรู้ของอาจารย์มากนะคะ

แม้ว่าตัวเองจะเรียนรู้ตามได้น้อย

แต่ก็แวะเข้ามาให้กำลังใจค่ะ

ด้วยความชื่นชอบจริงๆ

http://www.youtube.com/watch?v=jST0GPS5RV0 สงสัยนาทีที่ 0.01 คะ

 Greeting !! In our house .... ทำไมไม่เป็น คฤเหษุ = ในบ้านของเรา (ทั้งหลาย ) ผันตามนปุงสกลิง อะการานตะ

เอ ...หรือว่าเขาจะสนธิกันค๊ะ

จะว่าไปแล้วตั้งแต่ดูหลายคลิปมารู้สึกว่าเด็กน้อยสองคนนี้จะสนุกที่สุดแล้วคะ พูดชัดเจน ไม่เร็วไป คำศัพท์ก็ง่ายๆ แถมยังพอมีซับอังกฤษให้เดาๆได้บ้างในกรณีที่ฟังไม่ทัน นี่หนูก็จดๆศัพท์ที่พอจะทราบไว้บ้างอะคะ เป็นการฝึกฟังไปในตัว ^-^

ดูแล้วมันจริงๆคะ  ต่อไปถ้าเรียนไปได้เยอะแล้วก็คงจะมันกว่านี้แน่เลยตามที่อาจารย์ได้กล่าวไว้

ทฺฤศฺไย = ฉันปราถนาที่จะถูกมอง (หนูแปลถูกไหมค่ะ ?)

นมสฺ อันนี้เป็นนามกลางลงท้ายสระอะไรละคะ ดูแปลกๆ

พระราชาโภชทรงเอื้อเฟื้อแล้ว (अवर्तत) ต่อผู้แต่ง(ใช้อธิกรณ) บทสดุดี

พระราชาโภช ??  โภชนี้คืออะไรค่ะ

คงไม่สายเกินไปที่จะกล่าวคำว่ากราบสวัสดีปีใหม่นะครับอาจารย์ธวัชชัย มาให้กำลังใจในการเขียนด้วย อยากจะบอกว่าติดตามอยู่เรื่อยๆนะครับ แม้ว่ามันจะยากเกินไปสำหรับผม ลองพยายามแล้ว แต่ก็ชอบและใจรักครับ สักวันอาจจะทำได้เหมือนคนอื่นๆ เขา ทุกวันนี้ผมก็ดูคนอื่นเป็นกำลังใจว่าเขาเรียนกันได้เราก็น่าจะเรียนได้ถ้าตั้งใจเนอะครับอาจารย์ แต่บางทีเนื้อหามันก็เยอะเหลือเกิน ดั่งนั้นก็ขอฝากตัวไว้เป็นศิษย์ ไว้เผื่อมีปัญหาอะไรจะขออนุญาติมาถามให้หายสงสัยนะครับ ว่าแล้วก็ถามเลยดีกว่าว่าภาษาสันสกฤต บาลี ฮินดี ทั้งสามนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราจะสังเกตอย่างไรว่าอันไหนเป็นอันไหน เพราะตัวอักษรเหมือนกัน

สวัสดีครับ คุณครูพี่อ้อย ครูอ้อย แซ่เฮ และพี่คุณหมอตันติราพันธ์

ขอถือโอกาสสวัสดีปีใหม่เลยนะครับ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ คุณทศวรรษ 

ขอบคุณมากครับ ที่ยังติดตามมาตลอด และขอสวัสดีปีใหม่เ่ช่นกันครับ

ถ้าติดขัดตรงไหนก็บอกนะครับ

หรือจะให้ทบทวนเทวนาครีใหม่ จะได้เริ่มต้นจริงๆ จังๆ ก็บอกได้ครับ

สันสกฤต บาลี ฮินดี ถ้าเรารู้ภาษาใดภาษาหนึ่ง ก็จะแยกออกได้หมดเลยครับ

เอาอย่างนี้ แยกภาษาฮินดีก่อน, ภาษาฮินดีจะมีคำว่า है, और, मे บ่อยมาก เห็นแบบนี้เป็นฮินดีแน่ๆ อีกอย่างหนึ่ง คำภาษาฮิืนดีจะไม่ค่อยติดยาวเป็นพืด จะแยกห่างเป็นคำๆ ครับ

ภาษาสันสกฤตกับบาลี ก็เอาเกณฑ์เดียวกับที่เราเรียนภาษาสันสกฤต/บาลี ในภาษาไทยนั่นแหละครับ ถ้าภาษาไหนมี ศ ษ หรือ ตัวสังโยค (ควบ) เยอะ ก็มักจะเป็นภาษาสันสกฤต นี่เป็นวิธีดูง่ายๆ ครับ

แต่ถ้าถามในเชิงภาษาศาสตร์ ภาษาฮินดีนั้น มีการผันรูปน้อยกว่า แทบไม่มีการสมาสคำ และไม่มีสนธิครับ

ส่วนภาษาบาลีนั้นมีพัฒนาการของศัพท์และไวยากรณ์ในทางที่ง่ายกว่า เช่น ไม่มีทวิพจน์ แจกการกนามหลายการกเหมือนกัน ทำให้รูปการกเหลือน้อย  ภาษาสันสกฤตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงรูปทางไวยากรณ์มากกว่า พยัญชนะซ้อนกันมาก และสนธิหลากหลายกว่าครับ

คุณศรีฯ ถามมาเยอะ ตอบทีละข้อ

1. แยกเค้าเป็น 3 รูป เพราะนำมาแจกไม่เหมือนกัน

เค้า กรฺตารฺ แจก รูปสีำน้ำเงิน เป็น กรฺตา (ตัวนี้ไว้ค่อยอธิบาย), กรฺตารฺ+เอา, กรฺตารฺ+อสฺ = กรฺตาเรา, กรฺตารสฺ เป็นต้น

เค้า กรฺตฺรฺ แจกรูปสีเขียว +อา, +เอ, เป็น กรฺตฺรา, กรฺตฺเ้ร เป็นต้น (ที่เหลือเพี้ยนๆ ไปบ้าง แต่ก็ประมาณเดิม)
เค้า กรฺตฺฤ แจกรูปสีม่วง ภฺยามฺ, ภิสฺ, นามฺ เป็น กรฺตฤภฺยามฺ, กรฺตฺฤภิสฺ, กรฺตฤๅณามฺ(ตัวนี้ยืดเสียงสระท้ายก่อน) ฯลฯ

ป.ล. ในตัวอย่างมีพิมพ์ผิด การก 3 และ 4 ตอนนี้แก้แล้ว

(ถ้ายังไม่เข้าใจ ถามมาใหม่)

..

  เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรฺตฺฤ

  kartār-s

  (ลบเสียงท้าย)

  = kartā

  kartār-āu

 = kartārāu

  kartār-as

= kartāras

กรฺม

  kartār-am

= kartāram

  kartār-āu

 = kartārāu

 kartṛ-as = kartṝn*

 (คำนี้พิเศษ ยืดเสียงท้าย

แล้วลง นฺ ไม่เอา อสฺ)

กรฺณ

 kartr-ā

= kartrā

  kartṛ-bhyām

= kartṛbhyām

kartṛ-bhis

= kartṛbhis

สมฺปฺรทาน

  kartr-e

= kartre

  kartṛ-bhyām

= kartṛbhyām

  kartṛ-bhyas

= kartṛbhyas

อปาทาน

    kartr-as

=   kartus

  kartṛ-bhyām

= kartṛbhyām

  kartṛ-bhyas

= kartṛbhyas

สมฺพนฺธ

    kartr-as

=  kartus

  kartr-os

= kartros

  kartṛ-ām*

= kartṝām (แทรก น)

อธิกรณ

      kartr-i

=   kartar-i

 kartr-os

 =   kartros

kartṛ-su

=kartṛṣu


คฺฤเหษุ คงจะเผลอไป ที่พูดมา ไม่ค่อยมีสนธิ  (หา นาทีที่ 0.01 ไม่เจอ, ตอนต้นเหรอครับ)

ทฺฤศฺไย ได้ครับ

นมสฺ เป็น สฺ การานตฺ ครับ เรายังไม่เรียนการแจก เขาให้เราลองใช้ดู เพราะปกติจะใช้แบบไม่แจก (แต่จริงๆ รูป กรรตุ, และกรรม ก็คือ นมสฺ อยู่ดี)

พระราชาชื่อ โภช भोज ครับ ;)

ใช่ค่ะ นาทีแรกๆเลย

คิดว่าพอเข้าใจแล้วนะค่ะ แต่เดี๋ยวลองทำแบบฝึกหัดดูก่อน เผื่อว่าถ้าไม่เข้าใจอาจจะได้มาถามใหม่ อิอิ

สรุปว่า ฤ การานฺตะ คำๆหนึ่งแตกออกเป็นสามภาค แล้วทั้งสามภาคที่แตกออกมานั้นก็นำมาผันกระจายคละกันไปในตารางผันการกทั้งแปดแบบนั้นใช่ไหมค่ะ  ?

แล้วแบบ ฤ ที่อาจารย์ให้มานั้นมันเป็นเพศอะไรกันแน่อะค่ะ ชายหรือหญิง แล้วก็ยังมี ฤ การานฺตะ แบบต่อไปแต่ว่าต่างเพศกันอีกเหรอค่ะ โอ้ยย งง คะ

แล้ว นมะ (นโม นมะ)นี่รูปไหนครับ นโม กับ นมะ มาจากศัพท์เดียวกันใช่ไหม

ฤ แตกเป็น 3 รูปครับ และนางอื่นๆ ที่พยัญชนะการานต์ก็จะแบ่งเ็ป็น 3 รูปด้วย ต่อๆ ไป

ฤ ที่ให้เป็น ปุ. แต่ ปุ. กับ ส. ต่างกัน แค่ กรรม พหุ (ปุ ยืดเสียงท้ายแล้วเติม -นฺ, ส. ยืดเสียงท้ายแล้วเติม -สฺ, รอดูบทต่อไป)

นอกจาก สระการานต์ที่ผ่านๆ มา ต่อไปนี้ ชาย/หญิง แจกเหมือนกัน ยกเว้น กรรม พหุ.

นโม นมะ ก็คือ นมสฺ นมสฺ ตัวเดียวกันนั่นเองครับ, แต่ทำสนธิ เป็น นโม นมะ ครับ

นามพยัญชนะการานต์นี่มันช่างเรื่องมากเสียจริงๆเลยนะค่ะอาจารย์ นี่ยังเหลืออีกเยอะไหมค่ะ ประมาณกี่แบบ หุๆ

แล้วแตกรูปพิศดารกว่านี้ไหมค่ะ หรือนี่คือที่สุดของนามแล้ว แปลกกว่านี้ไม่มีแล้ว ขอบ่นเล็กน้อย ฮิๆ

พยัญชนะการานต์ ก็มีแบบสองเค้า กับสามเค้า จำให้ได้ว่าคำไหนสองคำไหนสาม

แต่จะว่าไป รูปแจกจะตรงกว่า นะครับ จับตัววิภักติใส่ ก็ตามนั้นเลย (ฤ การานต์ ยังมีแปลกๆ อยู่บ้าง)

นอกจากนี้ก็มีนามแจกพิเศษ คอยดูต่อไป...

ที่จะต้องสนใจคือ เมื่อลงวิภักติที่เป็นพยัญชนะ ก็จะสนธิ เปลี่ยนเสียงนิดหน่อยด้วย

แบบฝึก 1

จงแปล 1) ภลสฺว = ท่านจงถูกรับ ( ข้อนี้อาจารย์เขียนสลับที่กันหรือเปล่าค่ะ แปลกใจว่าทำไมถึงไม่ลง ย เพื่อให้เป็นอาชญมาลา กรรมมาจก อะคะ เพราะมันก็ใช้ปัจจัยบอกบุรุษอาตมเนบทของอาชญมาลา )

 2) อาศฺรยามไห = เราทั้งหลายถูกปราถนาที่จะขอเป็นที่พึ่ง (ข้อนี้งงตรงว่ามันสนธิกันยังไงถึงได้ออกมาเป็น อาศฺร และทำไมไม่ลง ย เพื่อให้เป็นอาชญมาลา กรรมวาจก)

 3) นฺยวสตามฺ = เขาจงถูกอาศัย (อันนี้ก็สนธิกันยังไงถึงได้เป็น นฺยว เดาว่ามาจากธาตุ √วสฺ + นิ หรือเปล่าค่ะ ? )

 4) ยชามไห = เราทั้งหลายปราถนาที่จะถูกบวงสรวง

 5) เสวฺยตามฺ = ท่านจงถูกรับใช้เชื่อฟัง

ป.ล. ส่วนใหญ่หนูจะงงว่าทำไมถึงไม่ลง ย เพราะอาจารย์บอกว่านำธาตุดิบมาลงปัจจัย ย แล้วแจกตามอาตมเนบทของอาชญมาลาได้เลย หรือหนูอาจจะกำลังสับสนอยู่.. อิอิ


ต้องระวัง เพราะโจทย์ไม่ได้เป็นอาชฺญารถะ ทุกข้อ

และธาตุบางตัวก็เป็นได้ทั้งปรัสไมบท และอาตมเนบท เช่น ยชฺ, ยชามไห คือ บวงสรวงเพื่อตนเอง ไม่ได้เป็นกรรมวาจก

ธาตุไหนเป็นปรัสไม หรืออาตมเน ให้ดูรูปแจก ว่า ลง ติ หรือ เต

อาศฺรยเต นี่เป็นอาตมเนบท แน่ๆ, ดังนั้น อาศฺรมไห คือ อาตมเนบท เพราะธาตุกำหนด เป็นกรรตุวาจกธรรมดา ไม่ได้เป็นกรรมวาจก เพราะไม่ได้ลงย คือ พวกเราปรารถนา/จะต้อง ไปอาศัย 

ดูเหมือนเป็นธาตุอาตมเนบททั้งหมด

ลภฺ (เขียนผิด ใช่แล้ว) เป็นอาตมเนบท (ต้องจำให้ได้ ศัพท์นี้เจอบ่อย) จึงเป็น "ลภสฺว" ไม่ใช่ "ลภ"

ยชฺยามไห อันนี้ก็ต้องแปลว่า เราทั้งหลายปราถนาที่จะถูกบวงสรวง ถูกไหมค่ะ ?

เป็นรูปอาชฺญมาลา กรรมวาจก อาตมเนบท 

ท่านทั้งหลายจงถูกบวช ควรจะเป็นข้อไหนค่ะ ระหว่าง  อุปนียธฺวมฺ กับ อุปนยธฺวมฺ ? 

ถ้าจะกล่าวอย่างนี้ถูกไหมค่ะว่าอาชฺญรถะที่แจกเป็นอาตมเนบทก็คือ ประโยคคำสั่งหรือขอร้องเพื่อตนเอง (แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะเอาจริงๆก็ไม่ได้เน้นตรงที่เพื่อตนเองมากนัก )

แต่ถ้าเป็นกรรมวาจก อาชญรถะด้วยก็คือ ประโยคที่ถูกสั่งหรือถูกขอร้องเพื่อตนเอง ?

ยชฺ หดเสียงเป็น อิชฺ ก่อนลง ย, ได้ อิชฺยามไห เป็นกรรมวาจก แปลว่าถูกบวงสรวง ครับ

อุปนียธฺวมฺ ครับ  เติม ย ได้เลย

กรรมวาจก ก็คือถูกสั่ง แต่ไม่ใช่เพื่อตนเองก็ได้ ถ้าเป็น "ธาตุ" ปรัสไมบท

ส่วนที่ใช้ไำด้สองบท ก็มีน้อย, ที่พูดมาก็ถูกครับ แต่ให้ระวังเรื่องกรรมวาจก กับธาตุอาตมเนบท

ในส่วนของอาลปนะเอกพจน์มันสนธิกับอะไรอะค่ะ ถึงออกมาเป็นรูปนั้น

อาลปนะ ส่วนมาก ทวิ พหุ จะใช้เหมือน กรรตุการก

แต่เอกพจน์ จะใช้เค้าอ่อน กรฺตฺรฺ kartr และไม่ลงวิภักติ

แต่แยกย่อยอีกที (เหมือนการก 7) เป็น กรฺตรฺ kartar

เค้าอ่อนที่ปรากฏ มันก็มีสองรูปนั่นแหละ คือ กรฺตรฺ และ กรฺตฺรฺ แล้วแต่ว่ายึดตัวไหนเป็นหลัก

ถ้า กรฺตรฺ เป็นหลัก ก็ต้องอธิบาย กรฺตฺรฺ ว่าหดเสียง, ถ้ายึด กรฺตฺรฺ เป็นหลัก ก็ว่า กรฺตรฺ มีการแทรกเสียง อะ

ฯลฯ

อาจารย์ยังไม่ตอบตรงนี้หนูเลยคะ

√ศฺริ+อา สนธิยังไงถึงได้ อาศฺร

 √วสฺ + นิ สนธิกันยังไงถึงได้ นฺยว (ลืมแล้วคะ อิอิ)

ภาษากรีกนี่และภาษาเยอรมันนี่เขามีสนธิไหมค่ะอาจารย์ ?


อา  อุปสรรค ศฺริ เติม อะ (หมวด 1)  เป็น อาศฺรยะ แล้วลงวิภักติ อวไห

ni-a(อดีต)+vas +a = nyavasa + tām

กรีกมีสนธิแต่ไม่เยอะครับ เยอรมันไม่มีครับ

กรรตุการก พหูพจน์ ทั้งตารางเก่าและใหม่ของอาจารย์ไม่ตรงกันอะค่ะ ตอนนี้คือให้ยึดตารางใหม่ข้างล่างหรือเปล่าคะ ?

ของเก่าได้  กรฺตาสฺ

ของใหม่ได้ กรฺตารสฺ

กรฺตารสฺ ครับ, อิๆ เขียนผิดอีกแล้ว..

นับตั้งแต่ได้เรียนรู้สันสกฤต   ก็ได้รู้ได้คิดจนแตกฉาน

ได้รู้ทั้งคำไทยคำโบราณ   จนเชี่ยวชาญคิดเล่นเห็นอย่างครู

พระคุณครูเท่าแผ่นฟ้ามหาสมุทร   พระคุณครูไม่สิ้นสุดมหาศาล

สอนให้ศิษย์ได้คิดรู้จนชำนาญ  ศิษย์กราบกรานระลึกถึงพระคุณครู

วันนี้ ๑๖ มกราคม วันครู ถือเป็นวันดี ถึงแม้หนูจะยังไม่มีโอกาสได้ไปกราบครูถึงที่นะค่ะ ฉะนั้นจึงขอถือโอกาสนี้กราบครูและขอบพระคุณครูมากๆ ที่ตลอดเวลาคอยจ้ำจี้จ้ำไช เอาใจใส่ ตอบทุกคำถามที่หนูสงสัยโดยไม่แสดงท่าทีเบื่อหน่ายหรือรำคาญเลยสักนิด ยอมรับว่าบางครั้งหนูก็เกรงใจ แต่ครูก็ไม่เคยบ่นหรือบ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำถามสักครั้ง

ดังนั้นหนูก็จะตั้งใจเรียนให้เต็มที่ที่สุด ให้สมกับที่ครูอุตส่าห์สละเวลามาสอนมาให้ความรู้นะค่ะและก็ขอให้ครูมีสุขภาพแข็งแรงอยู่เป็นที่พึ่งให้ลูกศิษย์ตลอดไป 

ทุกวันนี้รู้สึกภูมิใจและดีใจเสมอที่คิดว่าเรานี่ช่างโชคดีที่ได้มีโอกาสมาเจอคนเก่งและใจดีเช่นครู

ขอบพระคุณมากๆคะ ^-^ 

ด้วยความซาบซึ้งและยินดีครับ

การเรียนผ่านเว็บแบบนี้ สื่อสารยากกว่าการสอนในห้องเรียนปกติ และต้องอาศัยความขยัน เอาใจใส่มากกว่าการเรียนในห้องเรียน ซึ่งนักเรียนทำได้ดีมาก โดยเฉพาะการถามนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเรียน ครูจะทราบว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ อย่างไร ก็จากการถามนี่แหละ ดังนั้นอย่าได้เกรงใจ ถามเท่าที่อยากถาม นอกจากทำให้่ตัวเองเข้าใจกระจ่างแล้ว คนอื่นๆที่มาอ่านก็จะได้เข้าใจด้วย

ดีใจมากๆ ครับที่มีผู้สนใจและตั้งใจเรียนสม่ำเสมออย่างนี้

ขออวยพรให้คุณศรีฯ และศิษย์สันสกฤตทุกท่านในที่นี้มีความสุข ประสบความสำเร็จในการเรียนนะครับ ;)

วันนี้วันครู

มากราบขอบพระคุณคุณครูที่ให้ความรู้เสมอมา

ขอให้คุณครูมีสุขภาพแข็งแรง จะได้มีแรงคอยสั่งสอนแนะนำให้ศิษย์ตามอัธยาศัยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและระมัดระวังค่ะ  :)


ขอขอบคุณและยินดีัครับ คุณหยั่งรากฯ

ดอกไม้สวยๆ และกลอนงามๆ

ถือว่าต่างก็เป็นครู ช่วยแนะนำซึ่งกันและกันครับ ;)

อาจารย์ค่ะทั้ง ยชาวหา และ วิวทาวหา ปัจจัย วหา นี่มาจากไหนอะคะ หนูหาไม่เจอเลย เจอแต่ให้ยืดเสียงอาที่พยัญชนะหน้าแล้วเติม อาว , อาวหิ , อาวไห หรือ อาวเห

เป็นหลักสนธิครับ ;)

ได้รวบรวมสนธิไว้หรือยังครับ จะได้ค้นง่ายๆ

การสังเกตสนธิข้อหนึ่งก็คือ ดูว่า มีสระ ใกล้สระหรือเปล่า ถ้าคำหน้าลงท้ายสระ แล้ววรรค คำหลังขึ้นต้นด้วยสระ แปลว่ามีสนธิเกิดขึ้น พยัญชนะหายไปแน่นอน เพราะในภาษาสันสกฤต มักจะไม่ปล่อยให้สระ กับสระแยกกันโดยไม่สนธิ  ยชาวหา และ วิวทาวหา ข้างบนมีสระ อะ และ อิ ตามมา, แสดงว่า มีอะไรหายไป

ยชาวไห yájāvahāi > yájāvahāy > yájāvahā (เมื่อสระตามมา จะลบ ยฺ หรือ วฺ ก็ได้)  

วิ+วทฺ ก็เหมือนกัน

แบบฝึกหัดต้องการฝึกสนธิด้วยครับ

อาจารย์ค่ะ ปริวรฺต แปลว่าเธอจงแปล ถูกไหมค่ะ

แล้ว ศิลายามฺ ปตฺตฺร นี่คือจารึกหินเหรอค่ะ สองคำนี้เขียนติดคำเป็นคำเดียวกัน หรือ แยกกันค่ะ หนูงง

โอยย.. สันสกฤตนี่หลุมพรางเยอะมากจริงๆ ตามแทบไม่ทัน 

ลภามไห + อิติ --> ลภามหายฺ + อิติ --> ลภามหายิติ

ทำไมไม่เป็นแบบนี้ละค่ะ ?


อาจารย์หนูมั่วเยอะมากเลยคะ อิอิ พักหลังนี่โจทย์เริ่มยาว คำเริ่มเยอะ ปัญหาหนูคือ ไม่รู้จะเรียงคำไหนเป็นคำไหนก่อน งงจริงๆ แยกได้แปลได้แต่พอตอนเรียงคำให้เป็นประโยคกลับไม่รู้เรื่องคะ อิอิ อาจารย์มีเทคนิคไหมค่ะ

  • आचार्यं लभस्व प्रायश्चित्तं समाचरेति पापं द्विजातय आदिशन्ति। 1 = เหล่าพราหมณ์สั่งว่าเธอจงปฎิบัติการบำเพ็ญตบะรับบาปซึ่งครู

  • काव्यानि रचयाम कीर्तिं वन्दाम नृपतीनाश्रयामहै श्रियं लभामहा इति कवयो वदन्ति।2 = เราทั้งหลายปราถนาที่จะรจนากลอนทั้งหลาย เราทั้งหลายปราถนาที่จะให้เกียรติพระราชาทั้งหลายซึ่งเกียรติยศ เราทั้งสองปราถนาที่จะพึ่งพาซึ่งพระศรี กวีกล่าว

  • स्वसुर्गृहे कन्ये न्यवसताम्। 3 = แม่หญืงทั้งสองคนได้อาศัยที่บ้านของพี่สาว

  • नृपे रक्षितरि सुखेन प्रजा वसन्ति। 4 = เหล่าประชาชนอาศัยในพระราชาผู้คุ้มครองด้วยความสุข

  • धर्माय देवान्यजावहा अर्थाय कीर्तये च सभासु पण्डितैः सह विवदावहा इति ब्राह्मणस्य पुत्ररोस्निश्चयः। 5 = เพื่อเกียรติยศและเพื่อเป้าหมายความถูกต้องที่ในสภาพร้อมด้วยเหล่าบัณฑิตโต้เถียงกันที่จะสังเวยซึ่งเทวดา พราหมณ์กล่าว
  • मुक्त्य ईश्वरः सृष्टेः कर्ता मनुष्यैर्भक्त्या सेव्यताम्।6 = พระเจ้าผู้สร้างถูกสั่งถูกสั้งให้สร้างโลกเพื่อปลดปล่อยมนุษย์ทั้งหลายด้วยความภักดี

  • नृपतयः प्रजानां रक्षितारो दुर्जनानां च शास्तारो वर्तन्ताम्। 7 อันว่าพระราชาทั้งหลายผู้คุ้มครองและผู้ปกครองสั่งให้คนทั้งหลายดำรงอยู่ จากประชากร

  • शास्त्रस्य कर्त्रे पाणिनये नमः। 8 = ข้อนี้แยก ปาณินเย ไม่ได้คะ เรียงมั่วๆอิอิ ซึ่งมือทั้งหลายสำหรับผู้เขียนการนับถือของความรู้

  • लोकस्य स्रष्टृभ्यो वसूनां दातृभ्यो देवेभ्यो नमो नमः। 9 = ขอนอบน้อมแด่ผู้สร้างโลกของโลกของทรัพย์ทั้งหลายสำหรับความเอื้อเฟื้อจากเทวะทั้งหลาย
บางข้อมีซ้ำกันหลายการก ถือเป็นส่วนขยาย แต่บางทีเยอะจัดขยายไม่ถูกเลยคะ ฮิๆ

ไม่เป็นแบบนี้ ลภามไห + อิติ --> ลภามหายฺ + อิติ --> ลภามหายิติ

ลบแล้วเว้นวรรคครับ ไม่งั้นงงตายเลย

ปริวฺฤต ก็ได้ แต่ไม่นิยม ธาตุนี้เป็นอาตมเนบท ควรใช้ ปริวฺฤตสฺว

ถ้า ศิลายำ ปตฺตฺร แบบนี้แยก, ถ้า ศิลปตฺตฺร ก็เป็นสมาส เขียนติดกันครับ


การบ้านค่อยดูพรุ่งนี้ ที่การกซ้ำกัน เป็นส่วนขยาย ดูคำอธิืบายตรง ฤ การานต์ให้ดีนะ ;)

เทคนิคการแปลคือ แปลศัพท์แล้ววงเล็บการก เอาไว้ ทุกคำเลย ถ้า้เป็นกริยาก็วงเล็บพจน์ บุรุษด้วย จะได้เห็นชัดๆ

  • आचार्यं लभस्व प्रायश्चित्तं समाचरेति पापं द्विजातय आदिशन्ति। 1 = เหล่าพราหมณ์สั่งว่าเธอจงปฎิบัติการบำเพ็ญตบะรับบาปซึ่งครู
  • आचार्यं लभस्व, จงหาอาจารย์
  • प्रायश्चित्तं समाचर,इति จงปฏิบัติการบำเพ็ญตบะ, ว่า
  • पापं द्विजातयस् आदिशन्ति, (โปรดสังเกต คำหลังขึ้นต้นด้วยสระ แสดงว่ามีสนธิ โดยตัดอะไรหายไปสักตัว)
  • พราหมณ์ทั้งหลายสั่งคนชั่ว/คนบาป, पापं  ในที่นี้หมายถึง คน
  • พอจะเข้าใจประโยคนะครับ คำพูดอยู่หน้า อิติ คั่น ประโยคหลักอยู่หลัง,
  • काव्यानि रचयाम कीर्तिं वन्दाम नृपतीनाश्रयामहै श्रियं लभामहा इति कवयो वदन्ति।2 = เราทั้งหลายปราถนาที่จะรจนากลอนทั้งหลาย เราทั้งหลายปราถนาที่จะให้เกียรติพระราชาทั้งหลายซึ่งเกียรติยศ เราทั้งสองปราถนาที่จะได้รับโชคลาภพึ่งพาซึ่งพระศรี กวีทั้งหลายกล่าว. คำที่มีหลายความหมาย ต้องดูให้ดี

  • नृपे रक्षितरि सुखेन प्रजा वसन्ति। 4 = เหล่าประชาชนอาศัยในพระราชาผู้คุ้มครองด้วยความสุข. คำแปลแปลกๆ อิๆๆ.. แต่ก็แปลถูกไวยากรณ์. อันนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของอธิกรณการก ที่ใช้แบบเอกเทศ ไม่มีความหมายถึงสถานที่ แต่มีความหมายลอยๆ ว่า "เมื่อพระราชาคุ้มครอง (ทั้งสองคำเป็นการก 7) ประชาชนก็อยู่อย่างมีความสุข. ภาษาอังกฤษเรียกว่า locative absolute พบบ่อยมาก. เจอการก 7 ดูให้ดี อาจแปลว่า "เมื่อ.." ไว้จะอธิบายในบทต่างหาก


  • धर्माय देवान्यजावहा / अर्थाय कीर्तये / च / सभासु  पण्डितैः सह विवदावहा इति ब्राह्मणस्य पुत्ररोस्निश्चयः। 5 = เพื่อเกียรติยศและเพื่อเป้าหมายความถูกต้องที่ในสภาพร้อมด้วยเหล่าบัณฑิตโต้ เถียงกันที่จะสังเวยซึ่งเทวดา พราหมณ์กล่าว
  • อย่าลืมวิภักติง่ายๆ ब्राह्मणस्य पुत्ररोस्निश्चयः = ब्राह्मणस्य पुत्ररोस् निश्चयः การตัดสินของลูกทั้งสอง ของพราหมณ์, อิติ = ว่า, มีว่า
  • धर्माय देवान्यजावहै = เราทั้งหลายปรารถนาจะสังเวย/บูชาเทวดาทั้งหลายเพื่อธรรมะ
  • अर्थाय कीर्तये च सभासु  पण्डितैः सह विवदावहै = เราปรารถนาจะถกเถียงกับเหล่าบัณฑิตในสภา เพื่ออรรถะ(เพื่อเป้าหมาย หรือความถูกต้อง)
  • ควรแปลข้อความหลักหลังอิติ ก่อน
  • การตัดสิน/ข้อวินิจฉัยของลูกชายทั้งสองของพราหมณ์ มีว่า  "เราปรารถนาจะถกเถียงกับเหล่าบัณฑิตในสภา เพื่อความถูกต้อง"
  • मुक्त्य ईश्वरः सृष्टेः कर्ता मनुष्यैर्भक्त्या सेव्यताम्।6 = พระเจ้าผู้สร้างถูกสั่งถูกสั้งให้สร้างโลกเพื่อปลดปล่อยมนุษย์ทั้งหลายด้วย ความภักดี
  • มุกฺตฺย < มุกฺตฺไย(หดเสียง) เพื่อความหลุดพ้น, ภกฺยฺยา ด้วยความถักดี(ตรงนี้ไม่ได้หดเสียง)
  • เทพเจ้า(อีศฺวร) ผู้สร้างได้ทำแล้ว(แห่ง)ซึ่งการสร้างโลก, พึงได้รับการบูชาโดยมนุษย์ทั้งหลายด้วยความภักดี
  • सृष्टेः แสดงความเป็นเจ้าของ แต่มีความหมายเหมือนกรรม


  • नृपतयः प्रजानां रक्षितारो दुर्जनानां च शास्तारो वर्तन्ताम्। 7 อันว่าพระราชาทั้งหลายผู้คุ้มครองและผู้ปกครองสั่งให้คนทั้งหลายดำรงอยู่ จากประชากร
  • อันว่าพระราชาทั้งหลาย พึงเป็น(วรฺตนฺตามฺ) ผู้ปกครอง(ของ)ประชาชน, และผู้ลงโทษ(ของ)คนชั่วทั้งหลาย
  • อาจจะงงๆ เรื่องการแบ่งวรรค แต่ก็ขอให้จำเป็นแบบไว้


  • शास्त्रस्य कर्त्रे पाणिनये नमः। 8 = ข้อนี้แยก ปาณินเย ไม่ได้คะ เรียงมั่วๆอิอิ ซึ่งมือทั้งหลายสำหรับผู้เขียนการนับถือของความรู้
  • ทำไมปาณินิมาอยู่ตรงนี้ก็ไม่ทราบ ;)
  • ความนอบน้อมจงมีแด่ปาณินิ(पाणिनये ปุ.) ผู้สร้าง(कर्त्रे) แห่ง/ซึ่งวิชาความรู้(शास्त्रस्य) 
  • ต้องฝึกเดาศัพท์ด้วย


  • लोकस्य स्रष्टृभ्यो / वसूनां दातृभ्यो देवेभ्यो / नमो नमः। 9 = ขอนอบน้อมแด่ผู้สร้างโลกของโลก, แด่เทวดาทั้งหลาย ผู้เื้อื้อเฟื้อของทรัพย์ทั้งหลายสำหรับความเอื้อเฟื้อจากเท วะทั้งหลาย
  • स्रष्टृभ्यो  การก 4, देवेभ्यो ก็การก 4, เจอคำว่า นมสฺ ให้หาการก 4 เลย, จะเป็นการก 5 คงจะแปลยาก
  • दातृभ्यो देवेभ्यो แด่เทวดาทั้งหลาย ผู้ให้/ผู้เอื้อเฟื้อ, วสูนำ เป็นการก 6 ก็จริง แต่ความหมายเหมือนกรรม คล้ายภาษาอังกฤษ เช่น givers of life ผู้มอบชีวิต ไม่ใช่ผู้มอบของชีวิต 

มึน...

หูย.. ความแยกของมันคือ ต้องพอเดาๆรูปประโยคดูนะค่ะ เพราะบางทีเล่นแปลเอาตรงตัวตามหลักไวยากรณ์ก็เห็นจะได้ความหมายที่ไม่ค่อยจะถูกต้องนัก ฟังดูแปลกๆ  ถ้าอย่างนี้หนูคิดว่าต้องใช้เวลาแปลเรื่อยๆจนกว่าจะคุ้นชินกับมันอะคะ ถึงพอจะคลำทางได้ว่ามันน่าจะมีความหมายทำนองนี้..

- อาจารย์ค่ะ ฤ การานฺต ที่แปลว่าผู้ทำ..ทั้งหลาย ต้องผันตามคำนามนั้นที่มันขยายใช่ไหมค่ะ

เช่นแด่เทวดาทั้งหลาย ผู้สร้าง คำว่าผู้สร้างนี้ก็ต้องผันตามเทวดาทั้งหลาย วิภักติที่ พหูพจน์ใช่ไหมค่ะ

- สงสัยแบบฝึกหัดด้วยคะข้อที่ 8 เพื่อเป็นที่พึ่งนี่ใช้กริยาหรือนามคะ คำไหน

 

อย่าง ธาตุ √เสวฺ ก็มีหลายความหมาย แปลให้ได้ความต้องอาศัยจินตนาการนิดหน่อย

ฤ การานฺต ในบทนี้เขาเน้นคำที่มีสองความหมาย คือใช้เป็นนามหลักด้วย เป็นคำขยายด้วย, ถ้าเ้ป็นคำขยาย ความหมายก็็ต่างไปเล็กน้อย. โดยทั่วไปคำขยายต้องผันตามคำหลักอยู่แล้ว.  स्रष्टृभ्यो ผันตรงกับ देवेभ्यो ก็เป็นคำขยายของ เทวดา ได้หมาย เหมือนกันว่าตรงนั้นเป็น  लोकस्य स्रष्टृभ्यो (देवेभ्यो)/ वसूनां दातृभ्यो देवेभ्यो / नमो नमः

เป็นที่พึ่ง ก็คำนาม ศรณ แบบที่เราเคยใช้ จำ "พุทฺธํ ศรณํ คจฺฉามิ" ก็ได้ ทั้งคำว่าที่พึ่ง และผู้เป็นที่พึ่ง เป็นกรรมทั้งสองตัว


มาลองส่งเท่านี้ดูก่อนคะ ยังไม่ค่อยแน่ใจ เผื่อว่าที่ถามมาข้างบนนั้นจะผิด..

แปลไทยเป็นสันสกฤต

  1. ภรรยาพึงรักสามี = 

      भार्या भर्तॠन्स्निह्यतु


  2. นักรบทั้งหลายพึงตามผู้นำ

    และพึงต่อสู้กับศัตรูทั้งหลาย = 

      क्षत्रिया नेतारमनुगच्छन्तु च शत्रुभिर्युध्यन्ताम्


  3. ที่แม่น้ำ  เด็กชายหวังว่าจะพบกับพี่สาวทั้งสอง = 

     नद्यां बालः स्वस्ऋभ्यां संगच्छताम्


  4. โลกถูกสร้างแล้วโดยพระเจ้า(ผู้สร้าง) = 

     लोको ईशवरे कर्रास्ऋजत्


  5. ในบ้านของสาธุผู้ให้ อาหารถูกให้แก่นักบวชผู้ขอ(ภิกษุ) *ใช้คำว่า ผู้ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่าสาธุ = 

      गृहे साधोर्दात्तुर् अन्नं भिक्षवे इम्यते


  6. พระราชาโภชทรงเอื้อเฟื้อแล้ว (अवर्तत) ต่อผู้แต่ง(ใช้อธิกรณ) บทสดุดี = 

      नृपतिः कररि सतुतिमवर्त


  7. คนรับใช้ทั้งหลาย พึงรับใช้เจ้านาย = 

      भृत्या भर्तारं सेवन्ताम्


1.  ภรรยาพึงรักสามี =  भार्या भर्तॠन्स्निह्यतु .ถูกแล้ว, แต่ควรใช้เอกพจน์มากกว่า

2. นักรบทั้งหลายพึงตามผู้นำและพึงต่อสู้กับศัตรูทั้งหลาย =
  क्षत्रिया नेतारमनुगच्छन्तु च शत्रुभिर्युध्यन्ताम्  ถูกแล้ว. (ใช้ จ ไว้หลังสุด ก็ได้) ... शस्त्रुभिर्युद्ध्यन्तांश्च

4. โลกถูกสร้างแล้วโดยพระเจ้า(ผู้สร้าง) = लोको ईशवरे कर्रास्ऋजत् . สนธิผิด โลกสฺ อีศวเร > โลก อีศวเร. แต่ในที่นี้ควรใช้ ธาตฺฤ.

5.ในบ้านของสาธุผู้ให้ อาหารถูกให้แก่นักบวชผู้ขอ(ภิกษุ) *ใช้คำว่า ผู้ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่าสาธุ =
  गृहे साधोर् दात्तुर् अन्नं भिक्षवे इम्यते. > साधोर्दातुर्गृह अन्नं भिक्षवे यम्यते. สนธิ (สาโธสฺ ทาตุสฺ คฺฤเห อนฺนํ ภิกฺษเว ยมฺยเต. (ยมฺ ไม่เปลี่ยนเป็น อิมฺ) (दातृ สะกดผิด)

6.พระราชาโภชทรงเอื้อเฟื้อแล้ว (अवर्तत) ต่อผู้แต่ง(ใช้อธิกรณ) บทสดุดี =

नृपतिः कररि सतुतिमवर्त. พระราชาโภช ควรใช้ มหาราช โภช, หรือ มหาราชโภช ก็ได้. (กรฺตฺฤ สะกดผิด)

> มหาราชโภชสฺ /มหาราชสฺ[1] โภชสฺ[1] สฺตุเตสฺ[6] กรฺตริ[7] อวรฺตต.

>> มหาราชโภชะ/มหาราโช โภชะ สฺตุเตะ กรฺตรฺยวรฺตต. (ผู้แต่งแห่ง บทสดุดี, สตุเตสฺ กรฺตฺฤ)

ที่เหลือถูกแล้ว

 

 


งง ข้อ 6 ตรง  < ต่อผู้แต่ง(ใช้อธิกรณ) >

กรฺฤ หดเสียงเป็น กรฺรฺ + อิ = กรฺริ แบบนี้ผิดเหรอค่ะอาจารย์

ของอาจารย์คือ กรฺฤ ปุ. ผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เขียน, คุณ. ทำ, สร้าง   หมายความว่าตกตัว ตฺ ไปเหรอค่ะ ?


ใช่ครับ, ต้องเป็น กรฺตฺฤ ในตัวอย่างครับ ในรายการศัพท์เขียนผิด, แก้ไขในบทเรียนแล้ว

คุณศรีฯ เคยดูหนังอินเดีย ที่มีซับไตเติ้ลภาษาฮินดีบ้างหรือเปล่า

ไม่เคยคะ ส่วนใหญ่จะดูเป็นพูดฮินดีซับอังกฤษ หรือ พูดฮินดีไปเลยไม่มีซับ แต่หนูก็ไม่รู้เรื่องนะค่ะแต่ชอบดูและชอบฟังคะ ฮ่าๆ ช่วงนี้บ้าดูแต่ India Got talent

ส่วนสันสกฤตนั้นทั้งฟังและดูจนจะขึ้นสมองแล้วคะ ฟังทุกวันทั้งวันทั้งคืนตอนทำการบ้านไปด้วยก็ฟัง ชอบฟังมนต์ต่างๆเหมือนกันแม้จะไม่รู้เรื่อง แต่พอมาเรียนแกรมม่านี่พอจับใจความได้เยอะเลยคะ พอเดาๆได้เยอะมากว่าคำนี้แปลว่าอะไรชอบและสนุกมากคะ

จริงๆอาทิตย์ก่อนหนูเพิ่งดูหนังเรื่องฤาษีวิศวามิตรไป  นั่นก็ขึ้นซับเป็นฮินดีเหมือนกันคะ แต่ไม่รู้เรื่อง อิอิ

ว่าจะถามอาจารย์นานแล้วว่านักแสดงหญิงที่เล่นหนังเรื่องโอมนะมะชิวายคนนี้เธอชื่อ Manjeet Kullar ปริวรรตเป็นไทยควรจะเขียนว่าอย่างไรดีค่ะ

นี่ถ้าเราเรียนไปได้เยอะแล้วอยากจะได้แบบฝึกหัดประเภทที่ว่าโจทย์ให้รูปภาพมาแล้วให้นักเรียนแต่งประโยคเขียนบรรยายรูปภาพตามใจชอบอะคะ คงจะสนุกน่าดู แต่ก็น่าจะได้ทั้งศัพท์และไวยากรณ์กว้างขวางมากพอแล้วถึงจะเขียนได้ ตอนนี้หนูยังครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่เลยคะ ฮิๆ






(แห่ง) นี่ใช้การกที่เจ็ดเหรอค่ะอาจารย์

ขอตอบเป็นอักษรไทยนะค่ะ เพราะหลังจากที่อาจารย์แก้ให้แล้วหนูย้อนกลับมาดูจะได้ไม่งงคะ เทวนาครีจะตาลายเอาได้ อิอิ

(7.) คนรับใช้ทั้งหลาย พึงรับใช้เจ้านาย = ภฺฤตฺยา ภรฺตารํ เสวนฺตามฺ

(8.) ท่านทั้งหลาย จงอาศัย5 เทวดาทั้งหลาย3 ผู้คุ้มครอง2 แห่งคนดีทั้งหลาย1 เพื่อเป็นที่พึ่ง4(กรรมการก)              = สาธุษุ รกฺษิตฤ เทวานฺศรณานิ นิวสนฺตุ

(9.) มนุษย์ทั้งหลายมีชีวิตด้วยความเมตตาของผู้สร้างโลก = มนุษฺยาะ กฺฤปยา สฺรษฺฎฺรฺชีวนฺติ

(10.) ดูก่อน ผู้ใจบุญ คนยากจนน้อมไหว้ท่าน(ท่าน ไม่ต้องแปล)  = เห ทาตรฺศูทฺรา นมนฺติ

(11.) บุรุษคนนั้นนำน้องสาวทั้งหลายไปสู่เมือง (ใช้ประโยคกรรมวาจก) = ปุรุษะ สฺวสฺฤานฺนครํ นียนฺเต

ชื่อน่าจะเป็น มนชิต แต่นางสกุลเดาไม่ออก หาตัวเทวนาครีก็ไม่เจอ

แห่ง แปลว่า ของ โดยมากก็ใช้การก 6 ครับ, แต่บางทีอาจมียกเว้น

8.) ท่านทั้งหลาย จงอาศัย5 เทวดาทั้งหลาย3 ผู้คุ้มครอง2 แห่งคนดีทั้งหลาย1 เพื่อเป็นที่พึ่ง4(กรรมการก)              = สาธุษุสาธูนำ รกฺษิตฤรกฺษิตฺฤๅนฺเทวานฺศรณานิ นิวสนฺตุ. (รกฺษิตฺฤ และเทว ต้องเป็น กรรม พหุ เหมือนกัน) ส่วน ศรณ จะเป็นเอกพจน์ก็ได้

(9.) มนุษย์ทั้งหลายมีชีวิตด้วยความเมตตาของผู้สร้างโลก = มนุษฺยาะ กฺฤปยา สฺรษฺฎฺรฺชีวนฺติ. ควรวางตำแหน่ง สฺรษฺฏุรฺ กฺฤปยา

(11.) บุรุษคนนั้นนำน้องสาวทั้งหลายไปสู่เมือง (ใช้ประโยคกรรมวาจก) = ปุรุษะ สฺวสฺฤานฺนครํ นียนฺเต

ประโยคกรรมวาจก จะต้องเปลี่ยนประธานเป็นกรณการก และกรรมเป็น กรรตุการก, ปุรุเษ นครํ สฺวสาโร(สฺวสารสฺ) นียนฺเต.

การเขียนนั้น ฝึกเขียนได้เรื่อยๆ เลยครับ ดีมากๆ

เวลาอาจารย์พิมพ์ตัวโรมันอาจารย์ใช้ฟ้อนหรือค่ะหรือว่าอาศัยcopy เอา

เพื่อนๆหนูเขาเรียนภาษาต่างประเทศอื่นๆกัน ดูเขามีความสุขเวลาที่ได้สนทนากับเจ้าของภาษานั้นๆ หรือแม้แต่ดูสื่อต่างๆ อ่านข่าวอ่านหนังสือพิมพ์  แต่สันสกฤตเราก็ไม่รู้จะไปพูดกับใครนะค่ะอาจารย์ นอกจากพูดกับเทวรูปที่บ้าน

 ^-^ 

ทราบมาว่าสันสกฤตก็มีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆไหมค่ะ ในแบบที่ไม่ได้เน้นโลกโบราณหรืออิงกับทางศาสนาหรือความเชื่อมากๆ

ก๊อปปี้ครับ ไม่อยากลงฟอนต์พิเศษ เพราะต้องพิมพ์หลายภาษา จะตีกันยุ่ง ;) เคยลงคีย์บอร์ดหลายภาษา พอจะสลับภาษาแล้วบางทีมันไม่เข้ากันครับ เลยเหลือแต่อังกฤษกับไทยตามปกติ ถ้าพิมพ์เทวนาครีก็ใช้โปรแกรม พิมพ์โรมันก็ก๊อปเอามา เพราะไม่ได้พิมพ์มาก

เรียนภาษาเก่าจะเสียเปรียบตรงที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ แต่อาจใช้ในแวดวงเดียวกันได้

หนังสือพิมพ์ นิตยสารสันสกฤตก็มีครับ คนเขียนบล็อกเป็นภาษาสันสกฤตก็มีเยอะเหมือนกัน คุยกับพวกนี้ได้

วารสารวิชาการภาษาสันสกฤตที่อินเดียก็จำเพาะให้ส่งบทความเป็นภาษาสันสกฤต


ผมคิดการการพูดสันสกฤตคงจะมากขึ้น เพราะมีคนเรียนมากขึ้น อยากพูด อยากใช้

ให้รวบรวมศัพท์สันสกฤตไว้มากๆ นะครับ จะได้ใช้สะดวก สัก 3,000 คำ ก็แจ๋วเลย

ไว้เรียนจบไวยากรณ์ คงได้ธาตุเกือบหมด (ที่จำเป็น)


ลองอ่าน สุํธรฺมา หนังสือพิมพ์รายวันภาษาสันสกฤต http://sudharma.epapertoday.com/ (หน้าเดียวก็อ่านได้หลายวัน นึกถึงตอนเรียนภาษาอังกฤษ ซื้อบางกอกโพสต์มาฉบับเดียวอ่านได้เป็นอาทิตย์)

แก้คำผิด ปุรุเษ นครํ สฺวสาโร(สฺวสารสฺ) นียนฺเต. > ปุรุเษณ นครํ สฺวสาโร(สฺวสารสฺ) นียนฺเต.

 ภาษาทมิฬ ติรุเวมปาไว - திருவெம்பாவை พิธีนี้มีชื่อเป็นสันสกฤตไหมค่ะ หนูไม่เคยได้ยินเลย

ถ้าอาจารย์อยู่นครศรีธรรมราชจะถามว่าตอนนี้เขายังทำกันอยู่ไหม พิธีนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่สิบแปดแล้วหนูกะว่าจะหาเวลาว่างไปอยู่แล้วจะเอาพระพรมาฝากอาจารย์คะ ^-^

คงจะไม่มีครับ คงเป็นธรรมเนียมของฝ่ายทมิฬโน่นเลย

ขอบคุณล่วงหน้าครับ ถ่ายรูปมาดูด้่วยก็ดีครับ ดีเลยเผื่อเอามาเขียนโหรา อิๆๆ

ขอถามอีกสักเรื่องคะ ตอนนี้หนูหาหนังสือเล่มนี้อยู่ ปกรณัมปรัมปรา เป็นเรื่องของเทพกรีก และเทพนอร์ส

เชื่อว่าอาจารย์ต้องมีเก็บไว้แน่ๆ เพราะพิมพ์มานานแล้ว

 อยากจะได้มากๆ ทราบมาว่าตอนนี้ไม่พิมพ์แล้วและหายากมากๆ

มือสองหนูก็เอาคะ ถ้าอาจารย์ทราบแหล่งได้โปรดแนะนำด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ


มั่วอีกตามเคยคะ ไม่รู้ว่าชาติไหนจะแปลได้กับเขา อิอิ 

दुर्जनस्य च सर्पस्य वरं सर्पो न दुर्जनः.

सर्पो दशति कालेन दुर्जनस्तु पदे पदे॥4 ॥


คนเลวของคนเลวและงูและของงูไม่ดีไปกว่ากัน

งูกัดคนเลวในเวลาที่เดิน (ก้าวเท้า)

# หนูก็แยกสนธิได้แถมข้อนี้ง่ายด้วยแต่แปลไม่รู้เรื่องคะ ฮือๆ

ค่อนข้างยาก แต่ก็จำๆ ไว้นะครับ

ในบรรดาคนชั่ว และในบรรดางู, งูดีกว่า, ไม่ใช่คนชั่ว

งูกัด ตามกาล, แต่คนชั่ว(กัด)ทุกฝีก้าว. 

พบบ่อยที่ สัมพันธการก แปลว่า "ในบรรดา"

ปเท ปเท แปลว่า ทุกก้าวๆ,  วรมฺ (ไม่แจก) แปลว่า ดีกว่า.. 


หนังสือปกรณัม ไม่แน่ใจครับ มีคนสนใจเยอะ คงพิมพ์ใหม่เร็วๆ นี้ครับ


จะแปลว่า เมื่อเทียบกันแล้ว ก็ได้.

ง่ายมาก จนแปลยาก ใช่ไหมครับ ;)

โอ้โห ต้องยอมเขาเลยคะ  หนูแปลแบบนี้ไม่ได้แน่คาดไม่ถึงเลย ยากจัง

แถมสุภาษิตความหมายก็คมคายเชือดเฉือนใจคะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท