ทำไมนักส่องพระจึงไปหลงไหลพระสมเด็จเนื้อ "พลาสติกอัดแต่งผิว"


เนื้อพลาสติกอัดนั้น เดิมจะเรียบกริบ จึงต้องใช้สารเคมีโปะ แต่งให้ดูขรุขระ ให้ดูเก่าจากด้านนอก ที่ดูผิวเผินจะเป็นพระ "สกปรก" เลอะๆ ผิวเละๆ ที่เนื้อปูนจะงอกออกมาจากด้านในเนื้อ ผิวนอกจะดูสะอาด ถ้าจะมีอะไรดูเปื้อนๆ ก็จะอยูในเนื้อเลย เพราะเป็นการงอกจากด้านในออกมา

ผมคิดมาหลายเดือนแล้วว่า

ทำไมนักส่องพระ จึงสับสนระหว่างพระเนื้อ "พลาสติกอัดแต่งผิว" กับเนื้อ "ปูน" เปลือกหอย

จากการวิเคราะห์คำพูดของนักส่องพระสมเด็จจำนวนมาก พบว่า

เขาจะดูพระตามตำราที่คนที่มีความรู้มาก แต่อาจไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ทันเขียนเอาไว้

โดยเน้นการดูพิมพ์เป็นหลัก

ทั้งพุทธศิลป์ ศิลปะ ตระกูลช่าง พิมพ์ บล็อก และตำหนิ ที่เริ่มต้นจากลักษณะที่เห็น (Appearance) จากภายนอก

มากกว่า ลักษณะที่ทำให้เกิดเป็นของผิว (Texture) จากภายในของระบเนื้อพระ "ปูนเปลือกหอย"

ที่มักมีลักษระเป็นขาวๆ ด้านๆ

ที่ช่างสามารถใช้พลาสติกมาอัดและแต่งผิวได้ "ดู" ที่ดูจากระยะไกลได้ใกล้เคียงมาก

แต่ถ้าดูระดับใกล้ๆ โดยเน้นลักษณะผิวแล้ว จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง


 

พระเก๊เนื้อพลาสติกแต่งผิว

 


 กล่าวคือ พลาสติก จะเรียบมัน แต่ปูนเดิมๆจะขรุขระ และมีเนื้อปูนดิบ ปูนสุก และตั้งอิ้วงอกทับซ้อนกันจนดูเป็นคลื่นเล็กๆ ที่ทางวงการเรียกว่า "เหี่ยว"

แต่ เนื้อพลาสติกอัดนั้น เดิมจะเรียบกริบ จึงต้องใช้สารเคมีโปะ แต่งให้ดูขรุขระ ให้ดูเก่าจากด้านนอก ที่ดูผิวเผินจะเป็นพระ "สกปรก" เลอะๆ ผิวเละๆ

พระแท้เนื้อปูน งอกทับซ้อนกันหลายชั้น ให้ดูตามรอยแยกก็จะมีน้ำปูนงอกออกมาทุกรอย เหมือนๆกัน

 

ที่เนื้อปูนจะงอกออกมาจากด้านในเนื้อ ผิวนอกจะดูสะอาด ถ้าจะมีอะไรดูเปื้อนๆ ก็จะอยูในเนื้อเลย เพราะเป็นการงอกจากด้านในออกมา


 ลักษณะการงอกจากด้านในนั้น จะต้องเห็นแหล่งที่มาของมวลสารต่างๆ และเส้นทางการไหลหรือคลื่อนที่อย่างชัดเจน

อายุของการงอกจะมีทั้งเก่าใหม่ หลากอายุ ทับซ้อนกันเป็นระบบ เป็นชั้นๆ เหมือนกันทั้งด้านหน้าหลังและข้างๆ

แต่ พระพลาสติกแต่งผิวนั้น การโปะแต่งจะดูมั่วๆ และไม่มีเส้นทางการไหลให้เห็น

ดังนั้น เทคนิคง่ายๆเลย ก็คือ

ถ้าดูการผิวที่งอกใหม่ๆ ให้เห็นเป็นระบบ ถ้ามี เราก็สามารถแยกเนื้อพลาสติกออกจากเนื้อปูนได้โดยง่าย

ใครที่ชอบอ้างว่ายังไม่เคยเห็นของจริง ก็ไม่ยาก แค่ไปเก็บเปลือกหอยที่มีความหนาหน่อย มีสภาพผิวเก่าๆ มานั่งดู (ดังภาพข้างล่าง)


 
จะเห็นลักษณะที่ว่าชัดเจนมาก ทั้งปูนดิบ ปูนสุก และมวลสารสีเหลืองๆคล้ายๆตั้งอิ้ว

เมื่อจำผิวเปลือกหอยไว้ ก็ไปหาแผ่นพลาสติกเปื้อนๆมานั่งดูเทียบกัน

ก็จะเห็นความแตกต่าง และแยกออกจากกันได้โดยง่ายๆๆๆ มากๆๆๆ

และก็ง่ายจริงๆ

ไม่เชื่อลองเลยครับ ได้ผลแน่นอน ขอบอก

หมายเลขบันทึก: 515834เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2013 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2013 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เสียดายที่ผมไม่เป็นคนนิยมสะสมพระเครื่อง และไม่สนใจการเรียนรู้เรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นจะใช้วิชาชีพนี้ประกอบอาชีพ

แค่ความรู้พื้นฐานเล็กๆน้อยๆ เป็นวิชาชีพยังไม่ได้หรอกครับ อิอิอิ

อาจารย์ครับยากทราบว่าเนื้อสมเ็ด็จที่ถูกล้าง ผิวเนื้อจะเป็นอย่างไร ครับ  ถ้ามีรูปด้วยจะดีมากครับ ขอบพระคุณมากครับ

ก็แล้วแต่ความรุนแรงของการล้าง ที่รุนแรงที่สุดก็เหลือเนื้อปูนหยาบๆ แบบเดียวกับพระใหม่ ที่เขาพูดว่าพระล้างส่วนใหญ่พูดเล่นๆ กลบเกลื่อนผิวพระเก๊

สำหรับข้อมูลดีๆๆกับสิ่งที่อาจารย์นำมาบอก ผมจะนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไปครับ

ยินดีครับ สงสัยอะไรโทรมาคุยได้ ท่านจะรู้ได้ภายใน 5 นาทีครับ

ผมชอบอ่านบทความของท่านอาจารย์มากๆครับ นับว่าสามารถใช้ได้จริงในการดูพระสมเด็จ ดีกว่าไปอ่านตามเซียนให้เมื่อยตาครับ ขอแสดงความชื่นชมทุกบทความ (อาจารย์ครับ บทความเก่าๆรูปหายไมดเลยครับอ่านรูปประกอบไม่ได้เลย) หวังว่าสักวันจะได้อ่านหนังสือของอาจารย์นะครับ ..

หนังสือวางขายที่ SE-ED ทั่วประเทศครับ

ขอถามอาจารย์หน่อยครับพระสมเด็จเนื้อแตกลายสังคโลกมีจริงใหมครับ  ขอบคุณครับ


มีในกลุ่มแก่ปูนดิบจัดๆ มีปูนสุกและตังอิ้วน้อย ที่เนื้อนี้มีการทำเก๊ด้วยพลาสติกอัดอบไมโครเวบให้ปริทั้งองค์ แต่รอยปริของจริงจะเป้นเฉพาะที่ผิว แต่ของเก๊จะร้าวลึก ยังไงก็ตามให้สังเกตความเหี่ยว และงอกหลากอายุทับซ้อน ที่ทำได้ยากมากในพระเก๊ครับ

อ่านบทความของอาจารย์ที่ไรผมได้ความรู้เพิ่มมาเลยครับ ขอบคุณมาครับ ผมติตามอาจารย์อยู่ครับ

เป็นบทความที่ดีครับ ตาสว่างขึ้นมาแยะเลย

ร.ต.ชัยวัฒน์ จันทร์เพชั

พระพลาสติกตกจะแตกใหมครับ..ถ้าแตกจะเป็นลักษณะอย่างไร..ถ้าอาจารย์มีรูปก็รบกวนด้วยนะครับ...นับถือ

ขอบพระคุณมากเลยครับ ผมจะกลับไปส่องพระสมเด้จที่บ้าน เผื่อ(ฟลุ๊ก)จะเจอตามที่อาขารย์แนะนำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท