10 แนวทางป้องกันการหกล้มในบ้านของผู้สูงอายุ


การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ

 การหกล้มหากไม่ระวังอายุยังไม่ถึงวัยสูงอายุก็ล้มได้ เช่น การเดินสะดุดสิ่งของโดยไม่มองรีบร้อน  หรือมัวพูดโทรศัพท์เพลินเดินสะดุดรากไม้ยังมี เดินชน หรือ ลื่นล้มในห้องน้ำหัวฟาดผนัง ขอบอ่าง ถึงตายก็มี (เคยมีคนรู้จักผู้ชายอายุไม่ถึง 30 สูงใหญ่ ภรรยาสวยมาก มีลูกสาวอายุไม่ถึงปี สามีล้มในห้องน้ำเสียชีวิต ) การมีโรคประจำตัวบางโรคอาการของโรคเกิดกระทันหันได้เสมอ ช๊อก น๊อค ล้ม  เกิดโรคอื่นตามมาอีก

ยิ่งผู้สูงอายุบางท่านเมื่อตอนวัยอายุน้อยๆนมหรืออาหารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง ก็ไม่ได้ใส่ใจกระดูกก็ไม่แข็งแรง พออายุมากขึ้นกระดูกก็ผุง่าย พอล้มกระดูกจึงหักง่าย พอกระดูกหักแล้วการรักษาก็ต้องใช้เวลานานมาก การใช้ชีวิตประจำวันก็ลำบาก ก่อนจะเหมือนเดิม เพราะอายุมากขึ้นไม่เหมือนกระดูกคนอายุน้อย

การเตือน การป้องกัน บอกกล่าวท่านบ่อยๆหรือทำปรับปรุงเพิ่มเติมให้ท่านจึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่ท่านจะหกล้ม หรือไม่สบายก่อนแล้วถึงมาทำ หากทำได้ก่อนทำเลยค่ะ เช่นการทำราวในห้องน้ำ หรือสถานที่ที่ท่านใช้เดินผ่านบ่อยๆมีราวมีหลักอะไรให้จับไหม พื้นห้องน้ำควรเปลี่ยนพื้นหรือไม่  เสื้อผ้าที่ท่านใส่บ่อยๆดูดีปลอดภัยไหม แว่นตาเก่า ขุ่น มัวไปหรือเปล่าควรเปลี่ยนขนาดเลนซ์ใหม่ไหม ฯลฯ

ยิ่งอยู่คนละบ้านนานๆได้พบกันที่เวลาไปต้องตรวจสอบสถานที่ที่ท่านอยู่ สอบถามอาการร่างกายผิดปกติอะไรไหม โดยมากปู่ย่าตายายพ่อแม่เรา จะเกรงใจลูกหลานไม่บอกอะไร เราต้องแอบสังเกตเวลาไปเยี่ย บางอย่างไม่ต้องถาม เตรียมการทำเลยก่อนที่จะมาเสียใจภายหลัง   นำแนวทางการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ มาฝากค่ะ


10 แนวทางการป้องกันการหกล้มในบ้านของผู้สูงอายุ

การหกล้มก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ส่วนใหญ่มักจะเกิดในบ้านเช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ จนทำให้บาดเจ็บขึ้นได้ดังนั้น การป้องกันที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นดังต่อไปนี้ คือ

1. ตรวจสายตาสม่ำเสมอ เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน

2. อย่าทำอะไรรีบร้อนเพราะจะพรากล้มง่าย

3. อย่าเสพของมึนเมาเพราะทำให้การควบคุมตัวเองเสียไป

4. ถ้าขึ้นบันไดหรือเดินบนพื้นที่ขัดจนลื่นอย่าใส่ถุงเท้าเดิน เพราะจะล้มได้ง่าย

5. ถ้าจำเป็นให้ใส่รองเท้าพื้นยางส้นเตี้ย ส่วนรองเท้าพื้นหนัง ก่อนใช้ต้องใช้

   กระดาษทรายขัดให้หยาบเสมอ ถ้ารู้สึกว่าเดินได้ไม่มั่นคงควรใช้ไม้เท้าช่วย

6. อย่าเดินในที่ชื้นหรือที่เปียกน้ำถ้าจำเป็นต้องระวังให้มาก

    และควรมีราวจับเช่นในห้องน้ำ.

7. อย่าใส่เสื้อผ้ายาวรุ่มร่ามเพราะอาจจะเหยียบชายผ้าทำให้ล้มได้

8. ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ถ้าออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ไม่เคยเล่น

9. ซ่อมแซมอุปกรณ์หรือเครื่องเรือนที่ชำรุดหรือเกะกะเพื่อป้องกันการเดินสะดุด

10. ควรมีโทรศัพท์หรือคนดูแลอยู่ด้วยเสมอ เพื่อจะได้ขอความช่วยเหลือ

   เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหากป้องกันที่ดี 


ข้อมูลโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์พลศักดิ์ จีระวิพูลวรรรณ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์

                โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากหนังสือชีวจิต

ด้วยความปรารถนาดี    กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 515688เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2013 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2013 07:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท