ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 มีหน้าตาอย่างไร ตอนที่ 3


...จุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ของคนในยุคเจนเนอเรชั่นแซด เป็นยุคที่เทคโนโลยี Web2.0 ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับการเกิดขึ้นของอุปกรณ์พกพาอย่าง SmartPhone และ Tablet ซึ่งแทบจะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ และเนื่องจากคุณภาพของอุปกรณ์พกพาที่มีศัยภาพในการทำสิ่งต่างๆเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ราคาลดต่ำลงเรื่อยๆ จึงไม่แปลกที่คนในยุคนี้จะมีอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่าคนละหนึ่งเครื่อง ประกอบกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของ Wireless Internet ที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โลกของข้อมูลอยู่้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกและใช้ข้อมูลที่มีจำนวนมากมายมหาศาลนั้นอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเทคโนโลยี Social Media ที่มีผลอย่างรุนแรง ที่ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างอิสระมากขึ้น ยุคของการทำงานบนเครือข่าย Internet ที่ทำให้คนสามารถหาเลี้ยงชีพได้โดยที่ไม่่ต้องนั่งทำงานในสำนักงาน  8 ชั่่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ดังที่เราเห็นผู้คนเป็นจำนวนมากนั่งอยู่ตามร้านกาแฟ หรือศูนย์การค้า โดยทำงานอยู่กับ Laptop หรือ Tablet ของตนเอง ซึ่งอาจมีการเชื่อมต่อกับโลกของ Internet ผ่าน Wifi หรือ ผ่านระบบ3G จากโทรศัพท์มือถือพวก Smartphone ต่างๆ 

เหตุใดคนเหล่านั้นถึงพกพาเอาอุปกรณ์เหล่านั้นออกมาทำงานนอกบ้านแทนที่จะนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน สภาพแวดล้อมที่นั่งทำงานหรือที่เรียนรู้มีผลทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการทำงานหรือการเรียนรู้นั้นๆให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือไม่ บรรยากาศของสถานที่ที่มีกลิ่นของกาแฟคั่วบด ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานหรืออ่านหนังสือจริงหรือ การนั่งอ่านหนังสือในศูนย์การค้าที่มีผู้คนเดินผ่านไปมามากมาย โดยที่ไม่รู้สึกว่าเป็นการรบกวนสมาธิแต่อย่างใด ทำให้เราเห็นว่าในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ มนุษย์สามารถปรับตัวให้มีสมาธิอยู่กับสิ่งที่สนใจภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความสับสนวุ่นวายได้ เพียงแต่ขอให้เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสะดวกสบายหรือมีความพึงพอใจ และที่สำคัญจะต้องมีช่องติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกได้ทางใดทางหนึ่ง มนุษย์จะเริ่มสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้หรือการทำงานส่วนบุคคล (Personal Learning Environment) เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดสมาธิกับการทำสิ่งนั้นๆ เกิดเป็นประสบการณ์ของการใช้ชีวิตเพื่อการเรียนรู้และการทำงานในรูปแบบใหม่ ดังนั้นเราจะเห็นว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ( Physical Environment)มีความสำคัญต่อการเรียนรู้หรือการทำงานของคนยุคนี้ ขณะเดียวกันปัจจัยสภาพแวดล้อมเสมือน หรือสภาพแวดล้อมออนไลน์ (Virtual Environmet) ก็จะต้องถูกจัดเตรียมอย่างดีพอที่จะทำให้เส้นทางการเรียนรู้หรือการทำงานกับข้อมูลจำนวนมหาศาลมีประสิทธิภาพและมีความราบรื่น เมื่อสภาพแวดล้อมทั้งสองส่วนมีความเหมาะสมแล้ว การเรียนรู้ของมนุษย์จะเปลี่ยนสภาพเป็นวัฏจักรจากข้อมูลที่มีอยู่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่และถ่ายทอดต่อไปกลายเป็นประสบการณ์ในที่สุด และเมื่อคนที่มีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องใดๆก็สามารถที่จะสร้างวัฏจักรในการเรียนรู้ของตนเองไปสู่วัฏจักรในการเรียนรู้ของคนอื่นๆต่อไป

เราจะเห็นว่าสภาพแวดล้อมมีส่วนสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เกิดเป็นองค์ความรู้ และประสบการณ์ แต่สภาพแวดล้อมเสมือนก็มีส่วนช่วยสร้างหรือจัดเก็บองค์ความรู้ และถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งหรือคนอื่นๆเได้ในเวลาอันรวดเร็วและมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมากจนเป็นปัญหาของคนในยุคศตวรรษที่ 21ที่มีข้อมูลมากเกินไป คนในยุคนี้จึงต้องหาหนทางในการคัดเลือกหรือคัดกรองข้อมูลปริมาณมหาศาลเหล่านี้เพื่อที่จะหาข้อมูลที่ตรงและเป็นประโยชน์กับตนเอง องค์ประกอบสภาพแวดล้อมทั้งสองส่วนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดลักษณะของสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้หรือห้องเรียนในอนาคต และจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม.......<โปรดอ่านต่อได้ในตอนที่ 4>

หมายเลขบันทึก: 515643เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2013 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท