509. "คำถามสุดท้าย (The Last Question)"


วันนี้มีเรื่องให้ได้คิดอีกครับ เมื่อผมเจอได้ภาพนี้มาจาก Facebookเป็นภาพที่ผมได้มาจากดร.กิตติ มโนคุ้น 

ครับ เป็นภาพและคำคมขององค์ดาไลลามะที่คนทั้งโลกให้ความเคารพครับแล้วเลยทำให้ผมได้เชื่อมโยงกับเรื่องราวในหนังสือเล่มหนึ่ง คือ Rules of Thumb: 52หลักพื้นฐานเพื่อเอาชนะเกมการงานและเกมชีวิต จัดพิพม์โดยสำนักพิมพ์มติชนหนังสือเล่มนี้เขียนโดยคนที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำวารสารด้านธุตรกิจที่โด่งดังมากคือหนังสือFast Comapy (ฟาสต์ คอมปานี่) เอาหล่ะครับ หนังสือเล่มนี้ผมตามอ่านจบจบแล้วก็ประทับใจมากๆ ในหลายๆตอน แต่ตอนที่ทำให้ได้คิดที่สุดคือตอนหนึ่งที่ว่าด้วย“คำถามสุดท้าย” 

มีการพูดถึงสงครามเวียดนามครับว่าเป็นสงครามที่อเมริกันรบชนะในแทบทุกสมรภูมิน้อยใหญ่ แต่ที่สุดกลับแพ้สงครามครับอะไรกัน รบชนะ แต่แพ้สงคราม นี่แหละครับ น่าคิดผู้เขียนเองได้สังเคราะห์งานของนักยุทธศาสตร์ ที่ทำวิจัยเรื่องสงครามเวียดนามต่างพูดออกมาคล้ายกันครับ ว่าอเมิรกันรบชนะ แต่แพ้สงคราม เพราะอะไรเพราะไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันครับ ที่จะนิยามให้ได้ว่า“คำว่าชนะสงครามนั้น ภาพสุดท้ายอยู่ตรงไหน นิยามของมันคืออะไร” เมื่อไม่มีนิยามว่า“คำว่าชนะสงครามคืออะไร”

ผลก็คือการวางแผนการรบก็ไปคนละทางการวางกำลังก็ไปคนละเรื่อง ที่สุดถึงจะรบชนะในหลายสมรภูมิ แต่ ก็สิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งการเงินการทหารมากเกินไป ที่สุดในภาพรวมเลยการเป็นแพ้ครับ กลายเป็นภาพหลอนประเทศมหาอำนาจในทุกวันนี้

Cr: http://techhaze.com/

ผมว่าคำคมของท่านดาไล ลามะนี่พูดไว้ชัดเจนถึงมนุษยชาติครับที่ไม่ยอมตอบคำถามสุดท้ายกันเสียก่อน เราจึงใช้ชีวิตกันแปลกๆ ครับผมเองตอนไปบวชก็ด้วยคำพูดของเพื่อนคนหนึ่ง ที่พูดตรงกับท่านอาจารย์วรภัทร์ครับว่า“แน่ใจเหรอ ว่าชาติหน้าจะได้เกิดเป็นมนุษย์อีก นี่แหละครับ ทำผมสะดุดกึ๊ก และเป็นแรงผลักดันบางอย่างที่ผมต้องตอบโจทย์เรื่องนี้  ผ่านการไปบวชกว่าสามเดือนและผมว่าคำถามนี้เป็นคำถามสุดท้าย คำถามหนึ่งที่ชาวพุทธควรถามตัวเองครับ”

ไม่งั้นเราอาจอยู่ติดวังวนของความคิด การกระทำอะไรบางอย่าง ล้างผลาญตัวเองคนรอบข้างและสังคมอย่างไม่มีที่สิ้นสุดครับ ล่าสุดเมื่อวันก่อน ก็มีโอกาสครับน้องของลูกศิษย์เรียนมาหลายปีจบตรี จบโทแล้ว ก็เกิดอยากไปเรียนป.ตรีในสายการแพทย์ใหม่ ด้วยเหตุผลว่า “อยากมีรายได้สูงๆ” เรื่องนี้เราเลยสนทนากันครับว่าถ้าว่าตามชาวพุทธแแล้ว คุณคนนี้อาจยังไม่ได้ตอบคำถามสุดท้ายของตนเองครับ” ยังไม่พอยังไม่ต้องไกลครับทางตะวันตกมีมาสโลว์ครับ เอาง่ายๆ ผมสรุป Maslow ลดขั้นตอนมาสามขั้นง่ายๆ ครับพื้นฐานที่สุดมนุษย์ต้องการสนองเรื่องของของตัวเองครับขั้นสูงต่อมาถ้าพอแล้วก็มาเรื่องของการยอมรับจากผู้อื่น สูงสุดที่ควรทำคือ“ค้นพบตัวเอง” ครับ



Cr: http://en.wikipedia.org/wiki/Maslow's_hierarchy_of_needs

ถ้าคุณไม่ตอบคำถามสุดท้าย ไม่นิยามว่า “คำว่าชัยชนะในสงครามคืออะไร”คุณจะเผลอติดอยู่กับสองอย่างแรกครับ เรียกว่าจนแก่ก็หาความสุขในชีวิตได้อยากเพราะทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวคุณเองมาตลอด บางคนทำอะไรไปเพื่อเพราะอยาากมีรายได้สูงก็เปลี่ยนงานไปเรื่อย เริ่มต้นใหม่ไปเรื่อย ก็กลายเป็นคนจับจดในเมื่อการรบของคุณคือการเงิน ทิศทางคือเงินหมายครั้งถ้าโชคไม่ดีก็ยากจะลืมตาอ้าปาก หรือลืมได้ก็อาจผลักตัวเองไปขั้นที่สองแสวงหาการยอมรับมันจะได้ได้เงินได้พวก ได้ความมั่นคงมากยิ่งขึ้นไปอีก  คุณก็อาจต้องไปเปิดสนามรบในสนามกอร์ฟต่อไปอีกเพื่อให้คนมายอมรับคุณต่อไป แล้วถ้าไม่ทันฉุกคิด ที่ตามมาอาจเป็นบ้านแตกสาแหรกขาดรบนอกบ้านเสร็จแล้ว ยังมารบในบ้านต่อ ถ้าแรงหน่อย “อาจไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก”

จริงๆแล้วผมก็มองเห็นครับว่าผมเชื่อว่าปัญหาในสังคมมนุษย์นี้ ที่ขัดแย้งกันตั้งแต่เรื่องทำมาหากิน (หากันเข้าไปไม่พอสักที)ทีพอแล้วก็เริ่มก้าวข้ามไปหาการยอมรับ ใครไม่ยอมรับข้า ถือว่าอยู่คนละขั้ว  ที่สุดนำมาสู่การแบ่งสีแบ่งข้างก็เพราะคนส่วนใหญ่ ไม่ตอบคำถามสุดท้ายกันก่อนครับสังคมเราไม่ค่อยช่วยให้ใคร “ค้นพบ” ตัวเองเท่าไหร่ เรากลัว “อดตาย” กับกลัว“คนอื่นไม่ยอมรับ” กันมากครับ ที่สุดเราจึงเห็นแต่ความโกลาหน เต็มไปหมดและอย่างที่องค์ดาไลลามะ ตรัสไว้ท่านสะท้อนภาพความไร้แก่นสารของมนุษย์ส่วนใหญ่ได้ดีทีเดียว

เอ๊าอาจารย์ ไหง พูดเรื่องลบละ อาจารย์น่าจะพูดเรื่องบวกๆ นะ ใจเย็นครับกำลังจะบวกแล้ว จริงๆ Appreciative Inquiry เราคือกระบวนการค้นหาร่วมกันครับว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ซ้อนเร้นอยู่ในระบบ เราคค้นหาเรื่องดีๆเพื่อเอามาขยายให้มันดีครับ เรื่องนี้คุณอาจพลิกเป็นดี ก่อนแก่ตาย (โหดอีกหน่อยแล้วไม่ได้เกดมาเป็นคนอีก) ได้ครับ มาเริ่มกัน

ลองหาคนต้นแบบไกล้ตัว คนที่คุณเห็นกับตาว่าคนพบตัวเองครับคนแรกคืออาจารย์จงจิต อรรถยุกติ ท่านเป็นคนมหัศจรรย์ครับท่านเป็นนายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย  

รู้จักมาสิบกว่าปีแล้วครับ ตลอดเวลาเห็นความสุขในชีวิตท่านมากๆเพราะท่านรักการแปลมากๆ เนื่องจากการแปลเป็นอะไรที่ผู้แปลต้องใช้ศัพท์เฉพาะในแต่ละวงการครับ ทำให้ต้องเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลาคุณจะพบว่าอาจารย์ที่อายุ 76 แล้ว แล้วยังมีดวงตามแจ่มใส กระตือรือร้น อ่านหนังสือและค้นหาความรู้ใหม่ๆ ตลอด เท่าที่ผมรู้จัก ท่านทำแบบไม่ได้สนใจการยอมรับจากใครเพียงเพราะมีความสุขกับการแปลและความรู้เท่านั้นครับ ถามว่าได้เงินไหมได้ได้รับการยอมรับไหมได้ 70ท่านเป็นนายกสมาคมและล่ามแห่งประเทศไทย  

มาคนที่สองอาจารย์ดร.ช่อ วายุภักษ์ ปัจจุบันท่านเกษียณแล้วแต่มารับตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำที่ MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีความสุขมากๆ ท่านจะชอบเข้ามานั่งดื่มกาแฟแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์รุ่นน้อง ท่านมีความเป็นอาจารย์จริงๆเกษียณแล้วก็มานั่งทำงานวิชาการที่ชอบ มาอ่านหนังสือมาคุย เรียกว่าท่านหลงไหล (มีPassion แพสชั่น) ในวิชาเศรษฐศาสตร์จริงๆ ผมเองนั่งคุยกับท่านมา 6-7 ปีก็ชอบความใจกว้างอารมณ์ดีแบบนักเศรษฐศาสตร์ของท่านผมว่าท่านเป็นนักปราชญ์คนหนึ่งทีเดียว ถามว่ามีความสุขไหม มีมากๆเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ ที่มีคนแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนอยู่เสมอ มีรายได้ได้รับกาารยอมรับ ผมว่าถ้าพูดตามหลักมาสโลว์ครับ สองท่านนี้ได้ตอบ “คำถามสุดท้าย”ของชีวิตได้ดีมากๆ และด้วยระยะเวลาหลายปีที่รู้จัก ก็เห็นความสุขการได้รับการยอมรับ แบบไม่ต้องแสวงหา ใช้เวลามากกับคนอื่นที่สำคัญมีรายได้ดูแลครอบครัว เรียกว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่สุขมากๆ จริงๆ

ในมิติขององค์กรแห่งการเรียนรู้เราเรียกว่าทั้งสองท่านมี Personal Mastery (เพอร์ซันนอล มาสเตอรี่ย์​) ทั้งสองท่านค้นพบ "จุดประสงค์ของการมีชีวิตอยู่" คือค้นพบตัวเองจริงๆ ไม่ใช่ทำเพื่อรายได้และการยอมรับ แต่ทำเพราะความรักในสิ่งที่ตนทำจริงๆ ที่สุดเมื่อค้นพบ คุณก็จะเรียนรู้ขยายจุดแข็งอย่างไม่มีวันเหน็ดเหนืื่อย ความสามารถของคุณจะเติบโต อย่างมีทิศทาง และส่งผลเรื่องรายได้และการยอมรับที่ตามมาเองครับ 

ในทาง Appreciative Inquiry คุณอาจช่วยตัวคุณเองและคนในองค์กรค้นหาความหลงไหลPassion ที่นั่นเองคือ Self Actualization ได้ ด้วยการตั้งคำถามดีๆแล้วพากันตอบครับว่า “ให้ลองนึกถึงเหตุการณ์ที่คุณภาคภูมิใจที่สุด เหตการณ์นั้นคืออะไรเล่าให้ละเอียดฉากต่อฉากอะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เรื่องนั้นกลายเป็นความภาคภูมิใจ” แล้วกระตุ้นให้คนค้นหาขยายเรื่องราวที่ภาคภูมิใจออกมาครับ เรื่องราวนั้นอาจกลายเป็น Passionที่จะทำให้เกิดการยกระดับเป็นคำถามสุดท้าย ทำให้ตัวคุณเองรู้จักนิยามสงครามของคุณเองจะทำให้คุณไม่เสียเวลาไปรบกับใคร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้ หรือการยอมรับที่อาจไม่ใช่สมรภูมิที่แท้จริงของคุณครับ ผมเองก็ค้นพบการทำ Appreciative Inquiryคือ Passion ในชีวิตครับ ผมเองก็มีความสุขทั้งในชั่วโมง ทำงานนอกเวลาทำงานเป็นชีวิตจิตใจของผม ทำให้มีความสุข

ตอนทำปริญญาเอกก็ชิลล์ครับ มันมีความสุขไม่กดดัน ยิ่งค้นก็สนุก ทำก็สนุก ก็กลายเป็นงานสอนงานบรรยาย ได้รับการยอมรับ มีรายได้ ไม่ต้องไปรบกับใครครับ เพราะผมรักของผมมีคนเรียนสามสิบคน ชอบแค่คนเดียวก็มีความสุขแล้วครับ ที่สำคัญเห็นลูกศิษย์ไปใช้ในทางการแพทย์ในโรงพยาบาลก็ยิ่งภูมิใจ เมื่อปีก่อนมีกลุ่มชาวบ้านที่ไหนไม่รู้เขียนจดหมายมาขอบคุณ เพราะพวกเขาตั้งกลุ่มแม่บ้านแกะกุ้งแล้วก็พากันหาข้อมูลว่าจะแกะยังไงให้ดี มาเจองานของลูกศิษย์ผมที่เอา AIไปเพิ่มผลผลิตในโรงงานแกะกุ้ง แล้วลูกศิษย์ผมเขาบรรยายถึงขั้นตอนที่ไม่ดีกับขั้นตอนการแกะกุ้งที่พัฒนาขึ้นใหม่อย่างละเอียดเขาบอกว่าเลยเห็นตัวอย่างชัดเลย ทำให้พวกเขาเริ่มอาชีพแบบมีความสุขนี่ไงครับผลจากการทำงานจากสิ่งที่คุณรัก คุณมีความสุขผมทราบมาสักพักใหญ่แล้วครับว่า “สงครามของผมคืออะไร”

เอาหล่ะครับตอบคำถามสุดท้ายของคุณหรือยัง จะได้รบชนะในสงครามชีวิตครับและสำหรับชาวพุทธ เรายังมีสงครามข้ามภพชาติอีกครับก็อาจลองพิจารณาตั้งคำถามตัวเองดูว่า “คุณคิดว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์อีกไหมครับ”

เพียงเล่าให้ฟังลองพิจารณาดูนะครับ 

ปล. คุณอาจแย้งว่า "จะบ้าเหรออาจารย์ แล้วเอาจะเอาอะไรกิน" อย่าตกใจครับ ลองดูแนวคิดทำอะไรให้มันเป็น Serious Hobby (ซีเรียส ฮ๊อบบี้)  และ ทฤษฎี 10,000 ชั่วโมง ครับ ผมเคยเขียนไว้แล้ว  คุณจะเห็นความเป็นไปได้ขึ้นมาเองครับ  จะเห็นวิธีการ ระยะเวลาครับ ไม่นาน และไม่ยากเกินไป  มีอะไรกินแน่นอน แล้วดีกว่าด้วย ยืนยันครับ


หมายเลขบันทึก: 515641เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2013 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 ทฤษฎีมาสโลว์ ใช้ได้ทุกวงการค่ะ

กำลังค้นหาคำตอบของคำถามสุดท้ายในชีวิตอยู่ค่ะว่า ใช่ จริงหรือนั่น^___^

เป็นบันทึกที่ทำให้ความสุขของมนุษย์เกิดขึ้นตามหลักความจริงของธรรมชาติ ขอบคุณมากครับผม

ผมต้องย้อนมองหา "คำถามสุดท้าย" ใหม่แล้วสิครับ อ่านแล้วได้แนวความคิด ๆ ดี ๆ มากมายเลยครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท