การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

           การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง  การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่ทำให้ผู้คนในอนาคตเกิดปัญหาในการตอบสนองความต้องการของตนเอง การพัฒนาที่ยั่งยืนรวมความถึง ๓ ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน การพัฒนาแบบยั่งยืนครอบคลุมใน ๕ ลักษณะ คือ

           ๑. การสร้างความเข้มแข็ง (Empowerment) ได้แก่การเพิ่มขีดความสามารถในการเลือกและทางเลือกให้ผู้คนได้เป็นอิสระจากความหิว จากสิ่งที่พวกเขาขาดแคลน และให้พวกเขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา

           ๒. ความร่วมมือ (Co-Operation) ได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 

           ๓. ความเท่าเทียม (Equity) ได้แก่การให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรการศึกษา การดูแลสุขภาพ การจัดการชีวิต ทรัพยากร ชุมชนของตนเอง

           ๔. ความยั่งยืน (Sustainability) ได้แก่การพัฒนาวันนี้ไม่ทำลายทรัพยากรและโอกาสของคนรุ่นต่อ ๆ ไป แต่สร้างหลักประกันให้คนในอนาคตเป็นอิสระจากความยากจนและได้ใช้ความสามารถขั้นพื้นฐานของตนเอง

           ๕. ความมั่นคงปลอดภัย (Security) ได้แก่ความมั่นใจในในการครองครอง และความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน การคุกคาจากโรคและภัยอันตราย

            การเรียนรู้ คือ พัฒนาการอย่างรอบด้านของชีวิต กล่าวคือ มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย มีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืน (บูรณาการ) ได้สัดส่วน สมดุล เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคม

            การพัฒนาที่ยั่งยืนและรอบด้าน หมายถึง การเจริญงอกงามเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพของการเป็นมนุษย์รอบด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะหรือความสามารถในการปฏิบัติ ด้านความติดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหรือความดีงาม อันจะเกื้อหนุนให้ผู้เรียนดำรงชีวิตในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างมีความสุข

            การเรียนรู้มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอน ดังนี้

            ๑. การรับรู้ (Reception) หมายถึงการที่ผู้เรียน รับ เอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่าง ๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย

             ๒. การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้

              ๓. การปรับเปลี่ยน (Transformation) หมายถึง การพัฒนาศักยภาพระดับสูงของผู้เรียน อันเป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริงของกระบวนการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า (Value) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี

              เพื่อให้เกิดความรู้ที่ยั่งยืนและรอบด้าน การเรียนรู้ที่แท้จริงและถาวรจึงมีองค์ประกอบที่หลากหลาย กล่าวคือ มีการรับรู้ ได้แก่การแสวงหาและการรับข้อมูลผ่านประสบการที่เราเรียกว่าประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส เช่น การอ่านหนังสือ การดูวีดีทัศน์ การทดลองปฏิบัติ การฟังจากผู้อื่น การชิมรส และการดมกลิ่น เป็นต้น มีการบูรณาการความรู้ กล่าวคือ การนำข้อมูลข่าวสารความรู้ที่ได้รับมาผสมผสานเชื่อมโยงกับประสบการณ์ หรือโครงสร้างของความรู้เดิม เพื่อขยายหรือสร้างความรู้ใหม่ เช่น การอภิปรายการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสสร้างแผนที่ความคิด การเขียนบรรยายหรืออธิบายความรู้ เป็นต้น และ มีการประยุกต์ใช้ คือ การนำความรู้มาใช้ในการดำรงชีวิต หรือการแก้ปัญหาในการทำงาน

อ้างอิง

เสรี  พงศ์พิศ.ร้อยคำที่ควรรู้.(กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์พลังปัญญา,๒๕๔๗) ,หน้า ๑๕

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.กรณีตัวอย่าง: รูปแบบการวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยในพื้นที่ โครงการ

โรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี ที ซี คอมนิวนิเคชั่น, ๒๕๔๗.


คำสำคัญ (Tags): #การปฏิรูป
หมายเลขบันทึก: 515342เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2013 03:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2013 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท