Photo-MSU-IQA-Network สัญจร 06/12/2012


ถ่ายภาพรวมเครือข่าย ณ สถานปฏิบัติการนาดูน สถาบันวิจัยวลัยรุกเวช โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ ให้เกียรติเป็นคุณอำนวย ในการพบปะหารือสมาชิกเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มมส ครั้งที่ 7 (สัญจรนอกสถานที่ครั้งที่ 1)

 ก่อนเริ่มพบปะหารือ เจ้าบ้าน ผศ.สุรพล ให้เกียรติต้อนรับและนำเสนอผลดำเนินงานสถานปฏิบัติการนาดูน สถาบันวิจัยวลัยรุกเวช และภาพอนาคตที่อยากเห็น คือ พิพิธภัณฑ์มีชีวิต

เปลี่ยนสภาพโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะกับการพบปะหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ f2f กันทุกคน ไม่มีใครอยู่หัวโต๊ะ ทุกคนเท่าเทียม

พักอาหารว่าง เดินเล่นชมบ้านเก่า และไอ้เข้ 1 ตัว นอนอ้าปากนิ่งเงียบแอบฟังคนคุยอะไรกัน

อาหารกลางวันพื้นบ้านอีสาน ส้มตำ แกงไก่ใส่ฟัก ปลานิลนึ่ง แจ่ว ขนมจีนน้ำยา ข้าวเหนียวข้าวสาว อิ่มแล้วไม่พอ ห่อข้าวเหนียวกลับ (ใคร..?)

อิ่มแล้ว เดินเล่น ถ่ายรูปตามภูมิประเทศ ให้ย่อย ก่อน ลปรร ช่วงบ่าย

นมัสการพระธาตุนาดูนก่อนกลับ และถ่ายรูปกับฆ้องประจำตระกูล “มาลัยพวง“

สาธุ! ขอให้ข้าน้อย ชาติหน้าเกิดมาสวยกว่าที่เป็นอยู่

แวะจุดสุดท้ายก่อนเดินทางกลับอย่างสวัสดิภาพ “บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์“

ประเด็นพบปะหารือ สัญจรครั้งนี้ คือ

1. การถามไถ่ผลดำเนินงานตัวบ่งชี้ 9.1 ระบบประกัน รอบ 6 เดือน

2. สื่อสารทำความเข้าใจผลการประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2555

3. ข้อมูลในระบบติดตามการประกันคุณภาพการศึกษา E-QA ที่พัฒนาขึ้น

4. ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพรายหลักสูตร

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในโครงการที่ขออนุมัติไว้ ดำเนินการครบถ้วน และสมบูรณ์ทุกประเมิน ใช้งบประมาณจริง 8,140 บาท เวลาตั้งแต่ 07.30-17.30 น.

-----------------

สรุปประเด็น การพบปะหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  มมส  สัญจร
วันที่  6  ธันวาคม  2555  เวลา  07.30 – 17.30  น.
ณ  สถานปฏิบัติการนาดูน  สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช

1.  การติดตามผลการดำเนินงานตัวบ่งชี้ที่  9.1  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ปีการศึกษา  2555  รอบ  6  เดือน
ผลการพบปะหารือ
เกณฑ์ที่เป็นกังวลในการดำเนินงาน  ในรอบ  6  เดือนที่เหลือ  คือ  การนำผลการประกันมาปรับปรุงการทำงาน,  การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพ,  แนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
ซึ่งคุณอำนวย  ผศ.ดร.สมเกียรติ  ได้ชี้แจงแต่ละเกณฑ์อย่างละเอียด  และควรดำเนินการอย่างไรในช่วงเวลาที่เหลือ  6  เดือน  เกิดแนวทาง  และบางกิจกรรมเครือข่ายจะร่วมกันดำเนินการ
2.  ผลการประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการ  ปีงบประมาณ  2555  ตัวชี้วัด  4.6.1  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ในระบบบริหารยุทธศาสตร์
ผลการพบปะหารือ
ทุกคนทุกหน่วยงานยอมรับตามหลักเกณฑ์การประเมินตามกติกาที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้  เหตุผลที่นำเอาประเด็นนี้มาหารือกัน  เนื่องจากการประเมินนั้น  ต้องมีข้อมูลแบบ  3  เส้า  คือ  เอกสารหลักฐาน,  การสัมภาษณ์/ข้อมูลเพิ่มเติม,  การสังเกต  ดังนั้นจึงเป็นการซักถามข้อมูลเพิ่มเติมจากทุกหน่วยงานแบบรายหน่วยงาน  แต่ทุกหน่วยงานได้รับฟังร่วมกันหมด  เพื่อขยายความเอกสารที่อยู่ในระบบที่ยังไม่ชัดเจน  ประเด็นที่ตกลงกันคือ
1.  สามารถนำรายละเอียดมาเพิ่มเติมได้  แต่ต้องเป็นเอกสารที่เกี่ยวเนื่องจากที่มีอยู่ในระบบอยู่แล้ว  เช่น  ในระบบมีแต่หน้าปก  แต่ก็สามารถเอาเนื้อหาหรือเล่มจริงมายืนยันเพิ่มเติมได้
2.  เอกสารที่แนบในระบบแต่ไม่ตรงเกณฑ์นั้น  สามารถอ้างอิงกันได้ทุกเกณฑ์  แต่ต้องมาชี้จุดว่าเอกสารอะไรหมายเลขอะไร  หน้าไหน
3.  ไม่อนุญาตให้นำเอกสารมาเพิ่มเติมที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องจากเอกสารที่อยู่ในระบบอยู่แล้ว
4.  น่าเสียดายเพิ่งนึกประเด็นได้  และมีกรณีของคณะศิลปกรรมศาสตร์  นำหลักฐานจากตัวชี้วัดอื่นมาอ้างอิงในตัวชี้วัด  4.6.1  นี้  ซึ่งก็มีรายละเอียดสามารถตอบเกณฑ์มาตรฐานได้  (น่าจะให้ได้)
ทั้งฝ่ายผู้ประเมินและหน่วยงานที่ถูกประเมินในตัวชี้วัดนี้ได้สื่อสารทำความเข้าใจและเป็นที่ตรงกัน  อะไรให้  อะไรไม่ให้  เพราะอะไร  อะไรต้องเอามาเพิ่มหรือขยายความเอกสารที่มีอยู่ในระบบแล้ว  ทำให้สบายใจกันทุกๆฝ่าย  อย่างไม่มีข้อขัดแย้ง  หรือคาใจกลับไป  เนื่องจากทุกประเด็นมีเหตุผลและคำอธิบายอย่างชัดเจน  และบางอย่างของการตัดสิน  ก็ขอฉันทามติจากสมาชิกเครือข่ายทุกคนว่า  แบบนี้  ให้หรือไม่ให้  กลายเป็นการร่วมกันประเมินช่วยกัน  หรือสอบถามหรืออภิมานผลการประเมินอีกครั้ง  จากที่ประเมินจากคนๆเดียว
3.  การทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพรายหลักสูตร
ผลการพบปะหารือ
หน่วยงานไม่เห็นด้วยที่ต้องมีการประเมินหลักสูตร  เนื่องจากมีความซ้ำซ้อนกับการประเมินคุณภาพภายใน  และไม่มีข้อกำหนด  หรือกฎหมายให้ทำ  แต่ทุกคนยอมรับว่าเมื่อมหาวิทยาลัยได้ออกประกาศหรือกติกาออกมาแล้ว  ก็ต้องดำเนินการตามระบบ
มีคำชี้แจงจากที่ประชุมว่าแนวโน้มความเป็นไปได้ในการประเมินภายนอกรอบสี่  ของ  สมศ.  จะเป็นการประเมินลงรายหลักสูตร  เนื่องจากถ้าดูสถิติจากครั้งที่  1-3  คือ
1.  รอบที่  1  เป็นการเมินระดับสถาบัน  ไม่มีการรับรอง  ประเมินแบบกัลยานมิตร
2.  รอบที่  2  เป็นการประเมินแบบกลุ่มสาขาวิชา  เช่น  กลุ่มมนุษยฯ  ก็จะมีหลายคณะมาร่วมกันเขียนเป็นผลดำเนินงานร่วมกัน  ผ่าน  หรือ  ไม่ผ่าน  ก็เป็นกลุ่ม
3.  รอบที่  3  เป็นการประเมินแบบรายคณะ
ดังนั้นในรอบที่  4  มีความเป็นไปได้ว่า  สมศ  จะลงถึงหลักสูตร  ดังนั้น  การที่  มมส  จะดำเนินการประเมินรายหลักสูตรทุกภาคการศึกษา  ก็จะเป็นการเตรียมการล่วงหน้า  หากแนวโน้มการประเมินรอบที่  4  เป็นดังว่า
4.  ระบบติดตามการประกันคุณภาพการศึกษา  รอบ  6  เดือน
ผลการพบปะหารือ
เลื่อนการปิดระบบเพื่อสรุปรอบ  6  เดือน  เป็นวันที่  11  ธันวาคม  2555  เวลา 16.30  น.  และจะยึดตัวเลขในระบบรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย

 


 

หมายเลขบันทึก: 514940เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2013 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท