jagsan
นาย จักรสันต์ เลยหยุด เลยหยุด

Evaluation as a management tool


สรุปบทเรียน Evaluation as a management tool

ผู้บรรยาย : รศ.ดร.มานพ คณะโต

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


         กรอบการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยนักวิชาการส่วนใหญ่จะใช้กรอบแนวคิดระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก  (WHO Health  System  Framework)     เป็นหลักในการพัฒนาข้อเสนอ    

โดยกรอบแนวคิดดังกล่าวระบุผลลัพธ์       ของ ระบบสุขภาพที่สำคัญ  คือ  การเข้าถึง  ความครอบคลุม  คุณภาพและความปลอดภัย  และผลสัมฤทธิ์ นอกจาก จะทำให้ประชาชนมีสุขดีขึ้นแล้ว ยังต้องมีประสิทธิภาพ สร้างความเป็นธรรม  ปกป้องคุ้มครองความเสี่ยงทั้งด้านสังคมและการเงิน  และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนด้วย  โดยระบบ สุขภาพที่จะบรรลุถึงเป้าหมายเหล่านี้ได้ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานอย่างน้อย 6 ประการ (

six building blocks) ได้แก่ 1) การให้ บริการ  2) บุคลากรด้านสุขภาพ   3) สารสนเทศ    4) ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ วัคซีน และเทคโนโลยี    5) การเงิน    6) ภาวะการนำและการอภิบาล 


           รูปแบบของการประเมินโครงการมีหลายรูปแบบ ได้แก่รูปแบบการประเมินตามแนวคิดของนักประเมินแต่ละท่าน เช่น รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) ไทเลอร์ (Tyler) ครอนบัค  (Cronbach) สคริฟเวน  (Sciven)สเต็ก (Stake)โพรวัส (Provas) และเคริกแพทริกค์ (Kirkpatrick) เป็นต้น ซึ่งรูปแบบต่างๆ เหล่านี้มีกรอบ ความคิดมาจากระบบที่ประกอบด้วย บริบท  (Context) ปัจจัย  (Input) กระบวนการ (Process)  และผลผลิต (Product)  และรูปแบบการประเมินที่ไม่ได้ยึดรูปแบบการประเมิน ของใครแต่ยึดตามวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นหลักหรือตามความต้องการของผู้ที่  เกี่ยวข้องกับโครงการที่ต้องการจะนําผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจตามบทบาท หน้าที่ของตนเอง ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการประเมิน CIPP  ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeame) 

รูปแบบการประเมิน CIPP  ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeame)  มีการประเมิน 4  ขั้นตอน  ตามแนวคิดเชิงระบบ คือ

1. การประเมินสภาวะแวดล้อมหรือปริบท (Context Evaluation) เป็นการ ประเมินเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการกําหนดวัตถุประสงค์ของ  โครงการ

2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อให้ ไดข้อมูลนํามาประกอบในการตัดสินความเหมาะสมของการวางแผนในการทํากิจกรรม ต่าง ๆ วัตถุประสงค์ของโครงการ  สิ่งที่จะประเมินประกอบด้วยบุคลากรของหน่วยงานที่จะทําโครงการ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการดําเนินงาน  ระยะเวลา  เงินทุน  และอาคารสถานที่  ยุทธวิธีที่ใช้ในการดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์

3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เมื่อแผนการหรือ โครงการได้รับอนุมัติให้ดําเนินการ การประเมินกระบวนการจะช่วยให้ผู้ที่รับผิดชอบ  โครงการได้รับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ทําให้ทราบถึงผลของการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร มีปัญหาข้อบกพร่องอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้การดําเนินงานเป็นไปตาม  แผนด้วยดี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการ

4. การประเมินผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อดูว่าเมื่อ  โครงการสิ้นสุดลงแล้วผลสัมฤทธิ์ของโครงการเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับ  วัตถุประสงค์ของโครงการหรือเป้าหมายของโครงการหรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กําหนด  ไว้ในการประเมิน เพื่อประกอบในการตัดสินใจว่าจะยกเลิกโครงการหรือจะขยายโครงการ ออกไปอีก

คำสำคัญ (Tags): #evaluation#management tool
หมายเลขบันทึก: 514904เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2013 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 04:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอพระพุทธป้องปัดกำจัดทุกข์

ขอพระธรรมนำสุขทุกสมัย

ขอพระสงฆ์จงนำอำนวยชัย

ตลอดไปตลอดกศกห้าหกเทอญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท