การปรับความสม่ำเสมอของแม่เหล็ก


การเสริมแผ่นเหล็กเข้าไปในเครื่องเอ็มอาร์ไอ ที่เรียกว่า Passive shimming

สวัสดีครับ


วันนี้ขอนำเสนอภาพที่ไม่ค่อยมีให้เห็นกันบ่อยๆ เป็นภาพของการปรับความสม่ำเสมอของสนามแม่เหล็กหลัก โดยการเสริมแผ่นเหล็กเข้าไปในตำแหน่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการติดตั้งเครื่องเอ็มอาร์ไอ ณ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 




การเสริมแผ่นเหล็ก เพื่อปรับความสม่ำเสมอของสนามแม่เหล็ก แบบนี้เรียกว่า Passive shimming

  

ขั้นตอนที่ทำงานมีดังนี้ 

1. ตรวจวัดความแรงของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งต่างๆ




2. เมื่อทราบค่าความแรงของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งต่างๆแล้ว ก็บันทึกข้อมูลไว้ จากนั้นก็วิเคราะห์ข้อมูล 

หากพบว่า... ที่ตำแหน่งใด มีความแรงสนามแม่เหล็ก ไม่ตรงค่าตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น มีค่ามาก/น้อย ก็จะจดตำแหน่งนั้นๆไว้    



สาเหตุหนึ่งที่ทำให้สนามแม่เหล็กไม่สม่ำเสมอ คือ ช่วงการใส่กระแสไฟฟ้า เข้าไปกระตุ้นขดลวดที่อยู่ภายในให้เกิดสนามแม่เหล็ก ขดลวดมีความต้านทานกระแส ขดลวดได้รับความเย็นที่แตกต่างกัน เนื่องจากอยู่ในระยะไกล/ใกล้ อุปกรณ์ทำความเย็นที่อยู่ภายในเครื่องแตกต่างกัน ทำให้สามารถสร้างสนามแม่เหล็กแตกต่างกัน





3. จากนั้น ก็นำแผ่นเหล็ก ที่มีขนาด หรือ ความหนา ต่างๆที่สอดคล้อง เพื่อนำไปปรับให้สนามแม่เหล็กตรงกับค่าที่ต้องการ 

 




4. สอดแผ่นเหล็ก ได้ที่เลือกแล้วว่าเหมาะสม เข้าไปในแผ่นนำร่อง ก่อนนำไปใส่ตามจุดต่างๆ ที่ต้องแก้ไข (จุดสีดำ คือ แผ่นเหล็กที่สอดเข้าไปในแผ่นนำร่อง เรียบร้อยแล้ว) เสริมแผ่นเหล็กบางตำแหน่ง ณ จุดมีต้องการแก้ไข ไม่ได้เสริมทุกตำแหน่ง





5. ใส่แผ่นนำร่อง เพื่อนำแผ่นเหล็กที่ต้องการไปเสริม ณ ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ   





6. ตรวจสอบความแรงของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งต่างๆซ้ำอีกครั้ง 



7. หากพบว่า ตำแหน่งใด มีความแรงของสนามแม่เหล็กตรงกับที่ต้องการ ก็บันทึกข้อมูลไว้ หากยังมีตำแหน่งใด บกพร่อง ก็แก้ไขอีกครั้ง  

 

8. ตรวจจนกว่าทุกๆจุด ทุกๆตำแหน่งจะได้ความแรงของสนามแม่เหล็กตรงกับค่าที่กำหนดไว้



จบ... 

นี่เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบคุณภาพและประกันคุณภาพเครื่องเอ็มอาร์ไอ 

เป็นขั้นตอนที่วิศวกร ดำเนินการ ครับ



หมายเลขบันทึก: 513953เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท