พลังชุมชนต้นแบบ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


“การให้ในสิ่งที่ชาวบ้านอยากรู้และให้ในสิ่งที่เขาควรรู้จึงจะเป็นการพัฒนาคนให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาปากท้องและปัญหาอื่นๆของตัวเขาเองได้ แล้วยังส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาร่วมกันของชุมชนได้ด้วย”ลุงประยงค์ กล่าว

                           แผนเม่บทชุมชนไม้เรียงชุมชน ต้นแบบ ของครูประยงค์  รณรงค์

แลกเปลี่ยนความรู้โดย ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นส่งต่อความรู้โดย กาญจนา  นิ่มสุนทร นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

          จากการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆในการพัฒนาองค์กรชุมชนทั้งภาคประชาชนและเอกชนทำให้ฉุกสะท้อนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่พี่น้องชาวไทยจะต้องช่วยกันรวมพลังขับไล่ความยากจนโดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัว มาร่วมกันพลิกฟื้นผืนแผ่นดินไทยทำให้พวกเราอยู่ดี กินดี ภายใต้สภาวะการณ์แข่งขันต่างๆทางสังคม นำไปสู่ความรักความอบอุ่นในครอบครัว ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างองค์กรชุมชนที่ประสบความเสร็จ  ดังนี้ 

      แผนแม่บทชุมชนไม้เรียงอ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราชลุงประยงค์ เป็นชาวบ้านธรรมดา ที่ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนจบชั้น ป.4แล้วเรียนต่อในชีวิตจริงอย่างไม่รู้จบในสถาบันที่วันนี้เขาเรียกได้เต็มปากว่า “มหาวิทยาลัยชีวิต”เป็นผู้นำชุมชนไม้เรียงที่ไม่มีตำแหน่งทางการแต่ได้รับการยอมรับจากคนไม้เรียง คนนครศรีธรรมราช และชุมชนทั่วประเทศว่าเป็น “ผู้นำ”ทางปัญญา ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้และค้นหาทางออกเพื่อให้พึ่งพาตนเอง ไม่ใช่นั่งรอความช่วยเหลือจากรัฐหรือใครก็ได้ ท่านเป็นต้นแบบผู้นำการเรียนรู้
        นอกจากเป็นผู้นำที่เดินไปพร้อมกับชุมชนแล้ว ลุงประยงค์ รณรงค์ ยังเป็น “ครู”ในความหมายที่ทันสมัย คือ
เป็นครูที่ไม่ได้คิดแต่จะถ่ายทอดความคิดของตนเองให้คนอื่นอย่างเดียว แต่ยอมรับว่าทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ถ้าหากมีกระบวนการ และวิธีการที่เหมาะสม ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งออกมาจากข้างในใช้วิธีการสังเคราะห์ ประมวลความคิด และประสบการณ์ต่างๆให้เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่ามีพลังในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในชุมชน ที่สำคัญเริ่มต้นจากการต่อยอดความคิดในกกระบวนการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาสวนยางพารา

        โดยลุงประยงค์เล่าว่า "แรกเริ่มไม่ได้คิดเรื่องการทำแผนและไม่ค่อยรู้ว่าแผนคืออะไร แต่ที่เรามาทบทวนประสบการณ์และวิกฤตหลายๆด้านว่ามันเกิดด้วยสาเหตุอะไร แผนพัฒนาประเทศ นโยบายรัฐ หรือความเข้าใจผิดของชาวบ้านเองที่ทำให้ เกิดปัญหาขึ้นมา แต่ก่อนมนุษย์คิดว่าการทำสวนยางเป็นอาชีพหลัก การทำสวนยางให้เกิดความมั่นคงได้จะไปแก้ปัญหาอย่างอื่นได้หมดเวลาเอาเข้าจริงๆมันไม่ใช่ สวนยางเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านก็จริงแต่ตรงนั้นมันเสี้ยวหนึ่งของวิถีชีวิตของชีวิตชาวบ้านเท่านั้นเองยังอีกหลายอย่างเรื่องที่เรายังไม่ได้ทำพร้อมๆกัน ทำให้เราพัฒนาอาชีพหลักคือ สวนยางไปได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหายาเสพติดไม่ลดลง เพราะฉะน้้นในการที่เราคิดและนำมาเชื่อมโยงกันตรงนี้ก็ทำให้กิจกรรมต่างๆที่ปรากฎขึ้นจากในแผน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มันแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ส่วนหนึ่งและมันจะต้องป้องกันปัญหาในอนาคตได้ด้วยส่วนหนึ่ง และในเวลาเดียวกันเราก็พบเห็นสิ่งดีๆที่มีอยู่ยังไม่ได้พัฒนาก็เอามาพัฒนาพร้อมๆกัน จริงๆเราไม่ได้เป็นคนเรียกเองว่าแผน  แต่คนที่ต้องการเอาแนวทางนี้ไปใช้ขยายผลในที่อื่นก็ตั้งชื่อ ขึ้นมาว่านี่ คือ แผนแม่บทชุมชน"

    แผนแม่บทชุมชน คือ เครื่องมือสร้างกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนแม่บทชุมชนไม้เรียง โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ค้นหาเป้าหมายและกระบวนการในการพัฒนา บนฐานความรู้รู้จักตนเอง รู้ปัญหารู้ทรัพยากร 2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันท่างกลางการปฏbบัติคิด กำหนดทำ สรุป เรียนรู้

    ในเวลาต่อมาซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบทางความคิดและแนวทางปฏิบัติให้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ
ทั้งราชการและเอกชนและสถาบันการศึกษานำไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ลุงประยงค์จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของการจัดระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นของตนเองทำให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นจริง มีรูปธรรมที่จับต้องได้มีพื้นฐานมั่นคงและพัฒนาทั้ง
3 ระดับ คือ พึ่งตนเองระดับครอบครัว พึ่งพาอาศัยกันระดับชุมชนและเครือข่ายและนำผลผลิตบางตัวออกไปสู่ตลาดภายนอกเป็นต้นแบบของวิสาหกิจชุมชนในการจัดการทุนของเอกชน เพื่อพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนทุนในที่นี้ไม่ได้หมายถึง เงิน แต่หมายรวมถึง ทรัพยากร ผลผลิตความรู้ภูมิปัญญาและทุนทางสังคม

“การให้ในสิ่งที่ชาวบ้านอยากรู้และให้ในสิ่งที่เขาควรรู้จึงจะเป็นการพัฒนาคนให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาปากท้องและปัญหาอื่นๆของตัวเขาเองได้ แล้วยังส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาร่วมกันของชุมชนได้ด้วย”ลุงประยงค์ กล่าว

      สำหรับลุงประยงค์ ถือเป็นผู้นำชุมชนที่ได้รับการยอมรับจากชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช
และคนในชุมชนทั่วประเทศว่าเป็นผู้นำทางปัญญาคนหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้และค้นหาทางออกในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

       นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิข้าวขวัญเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่นพัฒนาพันธุกรรมข้าว และพืชพื้นบ้าน วิจัยและพัฒนาผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตรตลอดจนค้นหาทางเลือกร่วมกับเกษตรกรในการทำเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี และเห็นความสำคัญของ “เกษตรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติโดยมีเป้าหมายหลัก ให้เกษตรกรและชุมชน มีการเรียนรู้จากความรู้ภายนอกและการฟื้นฟูความรู้ดั้งเดิมมาจัดการอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอนุรักษ์ และฟื้นฟูธรรมชาติ สามารถลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น สานสร้างเครือข่ายของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และความสำคัญกับเรื่องของวิถีชีวิต สังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม อันเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง การพัฒนาระบบเกษตรกรรมกับการพัฒนาวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข รวมถึงการพัฒนาด้านอื่นอย่างรอบด้าน

        โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาให้กับชาวนาให้ชาวนามีองค์ความรู้ในการทำนาแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งหลักสูตรที่มูลนิธิข้าวขวัญเปิดฝึกอบรม มีทั้งหมด 1 หลักสูตร คือหลักสูตร “การพัฒนาการทำนาแบบยั่งยืน”เพื่อการพึ่งตนเองของชาวนาความยาวของหลักสูตร 5 วัน 4 คืน โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญคือเป็นหลักสูตรที่ปูพื้นฐานความคิดด้านการทำเกษตรแบบพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเอง โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) แบบย่อมาใช้ในการอบรม เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง
และร่วมกันหาทางออกด้วยตนเอง การอบรมภายใต้หลักสูตร “พัฒนาการทำนาแบบยั่งยืน”

ศึกษาเพิ่มเติม : http://www.khaokwan.org ,  http://www.oknation.net/blog/chawsaun

หมายเลขบันทึก: 513739เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท