คำว่า 在 Zai4 = จ้าย แปลว่า อยู่


*ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของคำว่า土Tu3 = ถู่ แปลว่า ผืนดิน คือ คนไทยเรามักจะสับสนกับคำว่า 士Shi4 = ซ(รื่)อ แปลว่า นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญ


เราเคยเรียนคำว่า 有You3 = โหย่ว แปลว่า มี

ไปบ้างแล้วนะครับ

คงจะจำกันได้นะครับว่า有You3 = โหย่ว แปลว่า มี

นั้น มาจากคำสองคำ คือคำว่า手Shou3 = โส(ซ่)ว แปลว่า มือ

กับคำว่า肉Rou4 = โย(ร่)ว แปลว่า เนื้อ

คำต่อไปที่จะขอพูดถึงก็มีส่วนหนึ่งที่เป็นคำว่า 手Shou3 = โส(ซ่)ว แปลว่า มือ

เช่นเดียวกับ有You3 = โหย่ว ที่แปลว่า มี

นั่นเองครับ

วันนี้ขอเสนอคำว่า在Zai4  = จ้าย แปลว่า อยู่

นะครับ


คำว่า在Zai4  = จ้าย แปลว่า อยู่

เกิดจากคำสองคำ คือ

1.คำว่า手Shou3 = โส(ซ่)ว แปลว่า มือ

2.กับคำว่า土Tu3 = ถู่ (ถ.ถุง สระ อู ไม้เอก –  ถู่) แปลว่า ผืนดิน




คำว่า土Tu3 = ถู่ (ถ.ถุง สระ อู ไม้เอก –  ถู่) แปลว่า ผืนดิน

มาจากคำเต็ม ๆ ว่า 地土Di4tu3 = ตี้-ถู่ แปลว่า แผ่นดิน

จากลักษณะของคำ เดาความได้ว่า

土Tu3 = ถู่ แปลว่า ผืนดิน

เกิดจากคำสองคำ คือ คำว่า 十Shi2 = ส(รื)อ แปลว่า เลขสิบ

ซึ่งในความหมายโดยนัยของคำว่า十Shi2 = ส(รื)อ แปลว่า เลขสิบ

นั้น แปลว่า มากมาย นั่นเอง

เมื่อคำว่า十Shi2 = ส(รื)อ ในที่นี้แปลว่า มากมาย นั้น

มาวางอยู่บน “ขีดยาว ๆ หนึ่งขีด”

ซึ่งมีความหมายโดยนัย คือ ลักษณะของผืนดินทั้งหมด

แล้วนั้น

土Tu3 = ถู่ จึงแปลว่า ผืนดิน

เพราะเกิดจากการวมคำสองคำขึ้นมาคือ

1. 十Shi2 = ส(รื)อ ในที่นี้แปลว่า มากมาย

2. “ขีดยาว ๆ หนึ่งขีด”ซึ่งหมายถึงลักษณะของผืนดินทั้งหมด


***ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของคำว่า土Tu3 = ถู่ แปลว่า ผืนดิน

คือ คนไทยเรามักจะสับสนกับคำว่า 士Shi4 = ซ(รื่)อ แปลว่า นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญ

กล่าวคือคำว่า土Tu3 = ถู่ แปลว่า ผืนดิน

ขีดบน จะสั้น

แต่คำว่า 士Shi4 = ซ(รื่)อ แปลว่า นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญ

ขีดบน จะยาว


ขอยกตัวอย่างเช่น

1.คำว่า地土Di4tu3 = ตี้-ถู่ แปลว่า แผ่นดิน

2.คำว่า名士 Ming2shi4 = หมิง-ซ(รื่)อ แปลว่า คนมีชื่อเสียง

(a notable person; a famous person; a celebrity)

3. คำว่า战士Zhan4shi4 = จ(รั้)น-ซ(รื่)อ แปลว่า นักรบ

(soldier; combatant; warrior; fighter)

เป็นต้น


คำสำคัญ (Tags): #地土#名士#战士
หมายเลขบันทึก: 512725เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท