มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

ปรัชญาตะวันออก


 

  โครงการธรรมศึกษาวิจัย 

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

  การศึกษา ปรัชญาตะวันออกช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงในหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี เพราะใน  มีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้  เพื่อจะให้ ปรัชญาตะวันออกเป็นที่เข้าใจ ผู้เขียนจึงสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

  หนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทที่ ๑

ปรัชญาตะวันออก

ปรัชญาตะวันออก หมายถึง แนวความคิต หลักการและความรู้ต่าง ๆ ทางปรัชญาที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันออกทั้งหมด ซึ่งนักปราชญ์ในซีกโลกตะวันออก ก่อตั้งขึ้น ก่อกำเนิดขึ้น และระบบปรัชญาตะวันออกนี้แบ่วออกเป็น ๒ สายด้วยกัน คือ

๑.ปรัชญาอินเดีย

๒.ปรัชญาจีน

ในที่นี้จะข้อกล่าวถึงเฉพาะปรัชญาอินเดียเท่านั้น ซึ่งมีอิทธิพลมาก และขยายไปทั่วดินแดนของงซีกโลกตะวันออกทั้งหมด

ปรัชญาอินเดีย

ปรัชญาอินเดีย หมายถึงปรัชญาทุกสำนัก ทุกระบบที่เกิดขึ้น เจริญขึ้นในอินเดียทั้งหมด ซึ่งมีศาสดาชาวอินเดีย เช่น ฮินดู อันได้แก่ ปรัชญาอินเดียยุคพระเวท ปรัชญายุคอุปนัษัท ปรัชญาภควัทคีตา ฯลฯ ปรัชญาพุทธ ปรัชญาจารวาก ปรัชญาเชน เป็นต้น

การแบ่งยุคของปรัชญาอินเดีย

ปรัชญาอินเดียแบ่งออกเป็น ๓ ยุค ด้วยกันคือ

. ยุคพระเวท (dic period) เริ่มตั้งแต่มีการเกิดมีพระเวทขึ้นตามประวัติระบบแห่งแนวความคิตของอินเดีย กำเนิดขึ้นช่วงระยะเวลาระหว่าง ๑,๐๐๐ ปี ถึง ๑๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล

. ยุคมหากาพย์ (epic period) ยุคนี้มีคัม๓ร์ที่สำคัญคือ ๑.รามายนะ ๒.มหาภารตะ กำเนิดขึ้นช่วงระยะเวลาระหว่าง ๑๐๐ ปีก่อนพุทธกาล ถึง พ.ศ. ๗๐๐ (ยุคนี้ศาสนาพุทธกันศาสนาเชนเจริญรุ่งเรืองเป็นคู่แข่งของศาสนาพราหมณ์)

. ยุคระบบทั้ง ๖ (period of the six systems) กำเนิดปรัชญาขึ้นทั้ง ๖ ระบบแห่ง ปรัชญาฮินดู คือ

ปรัชญานยายะ

ปรัชญาไวเศษิกะ

ปรัชญาสางขยะ

ปรัชญาโยคะ

ปรัชญาปูรวมีมามสา

ปรัชญาเวทานตะ

ดังนั้นปรัชญาทั้ง ๖ ระบบนี้ได้กำเนิดขึ้นช่วงระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. ๗๐๐ ปีลงมา ยุคนี้เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ได้เกิดการวิวัฒนาการเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งมาเป็นศาสนาฮินดูในปัจจุบัน และปรัชญาอินเดียได้แบ่งเป็น ๒ สายใหญ่ๆ ด้วยกันตามความเชื่อถือ คือ

๑. ปรัชญาอินเดียสายอาสติก

๒. ปรัชญาอินเดียสายนาสติก

ปรัชญาอินเดียสายอาสติก

หมายถึงระบบปรัชญาที่ยอมรับนับถือความมีอยู่ของพระเจ้าว่า พระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด และความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท อันเป็นระบบปรัชญาของพราหมณ์และฮินดูทั้งหมด ได้แก่

ปรัชญาอินเดียยุคพระเวท

ปรัชญาอุปนิษัท

ปรัชญาภควัตคีตา

ปรัชญาระบบทั้ง ๖ คือ ๑.ปรัชญานยายะ ๒.ปรัชญาไวเศษิกะ ๓.ปรัชญาสางขยะ ๔.ปรัชญาโยคะ ๕.ปรัชญาปูรวมีมามสา ๖.ปรัชญาเวทานตะ

ปรัชญาอินเดียสายสติก หมายถึงระบบปรัชญาที่ปฏิเสธพระเจ้า ปฏิเสธความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท มี ๓ ระบบคือ

ปรัชญาจารวาก

ปรัชญาเชน

ปรัชญาพุทธ

ปรัชญาเหล่านี้ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์พระเวท กล่าวคือมีความเชื่อถือในพระเจ้า ความศักดิ์สิทธิ์ ถือได้ว่าได้รับอิทธิพลมาโดยตรง จากคัมภีร์พระเวท อันได้แก่ปรัชญาอินเดียสายอาสติก ส่วนปรัชญาสายนาสติก เป็นระบบที่ปฏิเสธไม่ยอมเชื่อถือใในเรื่องพระเจ้า คือได้รับอิทธิพลมาโดยทางอ้อมปรัชญาอินเดียสายอาสติก แบ่งได้ดังนี้ คือ

. ปรัชญาอินเดียยุคพระเวท

กำเนิดขึ้นในช่วงระหว่าง ๑,๐๐๐ ปี ถึง ๑๐๐ ปีก่อนพุทธกาล คนอินเดียโบราณให้การเคาารพนับถือ และบูชาโลกธาตุทั้ง ๔ คือดิน น้ำ ลม ไฟ รวมทั้งต้นไม้ ภูเขา แนวความคิตและความเชื่อถือมีลักษณะเป็น วิญญาณนิยม (aminism) ว่าวิญญาณเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์อยู่ในสิ่งที่ตนเองนับถือ และสามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ จึงมีการบวงสรวงเพื่อให้วิญญาณที่สิงสถิตย์นั้นเกิดความพอใจ จะได้ไม่บันดาลสิ่งที่เป็นโทษให้เกิดกับตน เมมื่อกาลเวลาผ่านไปวิญญาณก์ได้รับการยกย่องขึ้นให้เป็นเทพเจ้า และกาารให้การบูชาโดยการเซ่นไหว้ด้วย เนื้อสัตว์ ขนม เนย ด้วยการโยนสิ่งเหล่านี้ลงกองไฟ ก็เป็นการแสดงความเคารพนับถือขณะเดียวกันก็เป็นสาส์นใช้ในการติดต่อเทพพระเจ้าที่ตนนับถืออีกด้วย

คัมภีร์พระเวทนั้นเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด ลักษณะเดิมเป็นคัมภีร์ที่ได้รับฟังสืบต่อ ๆ กันมา และถายทอดให้แก่ศิษย์โดยการเล่าและจดจำกันมา โดยพวกพราหมณ์ถือว่าพระเวทนั้นเป็นการได้รับฟังจากพระพรหม พระพรหมเป็นผู้ประทานโดยการผ่านทางพวกพราหมณ แบ่งออกเป็น ๔ อย่างคือ

. ฤคเวท มีลักษณะเป็นคำฉันท์ เป็นบทร้อยกรอง ใช้สำหรับสวดสรรเสริญเทพเจ้า

. ยชุรเวท มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชาายัญ เซ่นสรวงต่าง ๆ

. สามเวทมีลักษณะเป็นคำฉันท์ใช้สำหรับสวดขับกล่อมเทพเจ้า และใช้สวดในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์

. อถรรพเวทเป็นที่รวบรวมเวทมนต์คาถาอาคมต่าง ๆ สำหรับใช้ร่ายแก้เสนียดจัญไร นำสวัสดิมงคลมาสู่ตน และเพื่อใช้ทำลายหรือให้เกิดผลร้ายแก่ศัตรู

. ปรัชญาอุปนิษัท

มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เวทานตะ โดยมีความหมายว่า การนั่งใกล้อาจารย์ของผู้เป็นศิษย์ เพื่อรับคำสอนอย่างตั้งอกตั้งใจเกี่ยวกับเรื่องความจริง หรือสัจธรรมที่จะบรรเทาความสงสัยและทำลายอวิชชาของผู้เป็นศิษย์ให้หมดไป การกำเนิดของอุปนิษัทนี้เกิดขึ้นประมาณ ๑๐๐ ปีก่อนพุทธกาลแลละสิ้นสุดลงในราว พ.ศ. ๗๐๐ มีแนวความคิดแบบเอกเทวนิยมเป็นการยกย่องเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งงเพียงองค์เดียวคือ พระพรหม

คัมภีร์อุปนิษัทกล่าวว่า ความรู้ที่แท้จริงคือความรู้ที่เกี่ยวกับอาตมัน หรือพรหมัน เพราะทำให้บุคคลหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ โดยแบ่งระดับความรู้เป็น ๒ ชนิดคือ

๑. ควาามรู้อย่างต่ำ (อปรวิทยา) ได้แก่ความรู้ที่ได้จาก ฤคเวท  สามเวท อถรรพเวท พิธีกรรม การเรียน ฯลฯ

๒. ความรู้อย่างสูง (ปรวิทยา) ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับพรหมัน อันเป็นอมตะ

. ปรัชญาภควัทคีตา

เป็นส่วนหนึ่งที่มาจากมหากาพย์ มหาภารตะ เป็นคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีอิทธิพลแก่ชาวอินเดียมากที่สุด เกิดขึ้นประมาณ ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคัมภีร์ปรัชญาที่เน้นเรื่องกรรม ชาวฮินดูถือว่าคัมภีร์นี้คือคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ไม่ใช่คำสอนที่มนุษย์แต่งขึ้น เป้นปรัชญาที่ประสานความรู้ กรรมและความภักดีเข้าด้วยกัน โดยกล่าวว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยสติปัญญา เจตจำนงและอารมณ์ สติปัญญาก่อให้เกิดความรู้ เจตจำนงก่อให้เกิดกรรม และอารมณ์ก่อให้เกิดความภักดี

ภควัทคีตาอธิบายว่า อาตมัน (ตัวตน) เป็นสิ่งที่ยืนยง เที่ยงแท้ ไม่มีอะไรทำลายได้ ไม่มีการเกิด ไม่มีการแตกดับ ดำรงอยู่ตลอดไป ไม่เคลื่อนไหว ไม่เสื่อมสลายเป็นสิ่งดั่งเดิม สิ่งที่ทำลายได้คือร่างกาย การเคลื่อนจากร่างเก่าที่แตกดับแล้วไปสู่ร่างใหม่ของอาตมัน เป็นเสมือนเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ คือร่างกายของคนเราเปลี่ยนแปลงได้ แต่อาตมันไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อคนเราแจ้งในสภาวะที่แท้จริงของพรหมัน ประจักษ์ถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชีวาตมันและพรหมัน เมื่อนั้นก็จะบรรลุโมกษะ

. ปรัชญาอินเดียยุคระบบทั้ง ๖

ปรัชญาอินเดียยุคระบบทั้ง ๖ มีอยู่ ๖ สำนักด้วยกันคือ

๑. ปรัชญานยายะ ๒. ปรัชญาไวเศษิกะ ๓. ปรัชญาสางขยะ ๔. ปรัชญาโยคะ ๕. ปรัชญาปูรวมีมามสา๖. ปรัชญาเวทานตะ

. ปรัชญานยายะ

เป็นปรัชญาที่ฤษีโคตมะ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น” นยายะ” แปลว่า การโต้แย้ง เป็นระบบปรัชญาที่เน้นหนักไปในทางส่งเสริมสติปัญญา การวิเคราะห์ และการโต้แย้งเชิงตรรกวิทยาและญาณวิทยา เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตรรกศาสตร์

ปรัชญานยายะถือว่า ”ความรู้เป็นสิ่งที่เปิดเผยให้ปรากฏทั้งผู้รู้ (subject) และสิ่งที่ถูกรู้ (object) โดยที่ตัวความรู้เองไมม่ได้เป็นทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้  ความรู้ทุกประเภทเป็นสิ่งที่ถูกรู้ปรากฏตัวออกมา (ปรากฏตัวขึ้น) เหมือนดวงไฟที่ส่องสว่างทำให้วัตถุที่อยู่ในที่มืดปรากฏตัวขึ้นมา

.ปรัชญาไวเศษิกะ

ผู้ก่อตั้งคือ กนาทะ และคำว่า ไวเศษิกะนั้นแปลว่า “วิเศษ” หมายถึงคุณลักษณะเฉพาะตัวของส่วนประกอบของสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล คุณลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นจักรวาลนี้ นยายะถือว่ามีจำนวนนับประมาณมิได้ และแต่ละสิ่งมีลักษณะแตกต่างกัน

ปรัชญาไวเศษิกะเป็นปรัชญาคู่กับปรัชญานยายะ มีจุดมุ่งหมายเหมือนกันคือ การหลุดพ้นจากทุกข์ของชีวาตมัน โดยมีสิ่งที่ควรศึกษาดังนี้

๑.ทฤษฎีแห่งความรู้ คือ ยอมรับทฤษฎีแห่งความรู้ทั้งหมดของปรัชญานยายะ และย่อทฤษฎีนั้นลงมาเป็น ๒ อย่างคือ ปรัตยักษะ๑  อนุมาน๑

๒.ปทารถะ กล่าวว่า สิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และสิ่งที่มีอยู่จริงนั้นมีจำนวนมากมายจนนับไม่ถ้วน เป็นสิ่งที่เรารู้ได้หรือสิ่งที่มีอยู่จริงที่รับรู้ได้ทั้งหมด มี ๗ อย่าง คือ ทรัพยะ๑  คุณ๑ กรรมะ๑  สามานยะ๑  วิเศษ๑  สมวายะ๑  อภาวะ๑

. ปรัชญาสางขยะ

นี้ผู้ก่อตั้งคือ กปิละ กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีก่อนพุทธกาล และมีผู้สืบทอดต่อมาหลายคน เช่น อาสุริยะ ปัญจสิขะ อิศวรกฤษณะ เป็นต้น อิศวรกฤษณะได้เขียนหลักคำสอนขึ้น เรียกว่า “สางขยาการิกา” เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด สางขยะ

แปลว่าจำนวน หมายถึงระบบปรัชญาที่มุ่งแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสัจภาพโดยการจำแนกวัตถุแห่งการรับรู้ออกเป็นจำนวนต่าง ๆ มากมายถึง ๒๕ ชนิด และนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ จัดเป็นทวินิยมเชิงสัจนิยม เพราะกล่าวถึงสภาวะ ๒ อย่างคือ ปุรุษะ๑  ประกฤติ๑  ว่าเป็นมูลเหตุของสรรพสิ่งทั้งปวง

. ปรัชญาโยคะ

ผู้ก่อตั้งคือ ”ปตัญชลี” ท่านได้เขียนหนังสือขึ้นเรียกว่า “โยคะสูตร” คำว่า โยคะ นี้ใช้ในความหมายหลายอย่าง เช่น “วิธีการ” หมายถึงกาารจะเข้าถึงจุดหมายใด ๆ นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการ เพื่อนำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงจุดมุ่งหมาย คือบรรลุโมกษะ โยคะใช้ความหมายว่า “รวม” คือการรวมเอาอาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ากับอาตมันสากลหรือปรมาตมัน โดยความมุ่งหมายของปตัญชลี โยคะ หมายถึง “วิริยะ” คือความพากเพียรเพื่อแยกปุรุษออกเด็ดขาดจากประกฤติ เพื่อให้ปุรุษอันเป็นวิญาณที่บบริสุทธิ์เข้าถึงสถานะแห่งโมกษะ

ปรัชญาโยคะมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจาากความทุกข์ยาก ๓ ประเภทคือ

๑. ความทุกข์ที่เกิดจากเหตุภายใน เช่น โรคภัยไข้เจ็บ คือต้องไม่ยึดถือโลก

๒. ความทุกข์ที่เกิดจากเหตุภายนอก เช่น ถูกโจรร้ายคุกคาม คือต้องสำรวมจิตทำจิตให้บริสุทธิ์

๓. ความทุกข์ที่เกิดจากสิ่งนอกอำนาจหรือเหนือธรรมชาติ เช่น อำนาจอันเล้นลับ ละเอียดอ่อน คือต้องทำสมาธิทำจิตให้สงบ อันเป็นจุดหมายแท้จริงสูงสุดของปรัชญาโยคะ

ปตัญชลีกล่าวว่า โยคะได้แก่การยุติพฤติกรรมทั้งมวลของจิต คือต้องทำให้จิตหยุดนิ่ง ไม่สัญจรเร่ร่อนอย่างไม่มีขอบเขต วิธีทำให้จิตหยุดนิ่งในที่นี้คือ การบำเพ็ญสมาธิ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติโยคะ ซึ่งแบ่งงเป็น ๔ ตอน คือ

๑. สมาธิบาท ว่าด้วยองค์ประกอบ จุดมุ่งหมายของสมาธิ

๒. สาธนาบาท ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การบรรลุสมาธิ

๓.. วิภูติบาท ว่าด้วยอำนาจวิเศษที่จะพึงบรรลุถึงได้ด้วยการบำเพ็ญโยคะ

๔. ไวกัลยบาท ว่าด้วยความหลุดพ้น  หรือ โมกษะ เป็นต้น

ตามทัศนะของโยคะ ยอมรับในความมีอยู่ของพระเจ้า ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ปตัญชลีมองในแง่การปฏิบัติอย่างเดียว โดยการแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้า (อิศวรประนิธาน) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามทัศนะของโยคะนั้น พระเจ้ามิใช่ผู้สร้างโลก แต่เป็นผู้บันดาลให้เกิดการรวมตัวและแยกตัวของปุรุษและประกฤติ พระเจ้าช่วยให้ผู้ปฏิบัติโยคะที่มีความภักดีต่อพระองค์ได้รับความสะดวกในการปฏิบัติธรรมและเข้าถึงโมกษะได้ง่าย

. ปรัชญามีมามสา

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปูรวมีมามสา” คำว่า “มีมามสา” แปลว่า “การสอบสวน การพิจารณา เดิมทีใช้ในกาารอธิบายความแห่งพิธีกรรมในพระเวท และในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญแก่พิธีกรรมที่บัญญัติไว้ในพระเวทด้วย ปรัชญามีมามสาคำสอนนั้นเป็นคำสอนตอนต้นของคัมภีร์พระเวท อันได้แก่ตอนที่ว่าด้วยมันตระและพราหมณะ อันเรียกว่า กรรมกัณฑ์ และถือว่าพระเวทเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ ไม่มีผู้แต่ง มีความถูกต้องสมบูรณ์และมีความสำคัญที่สุด การอธิบายคัมภีร์พระเวทและแสดงความคิดทางปรัชญาเพื่อเสริมสร้างพระเวทให้มีหลักฐาน มีความสมเหตุสมผลและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาสาระสำคัญของมีมามสา คือการสอบสวนถึงธรรมชาติแห่งการกระทำที่ถูกต้องซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า”ธรรม” และพูดถึงธรรมเป็นส่วนใหญ่ ข้อเสนอมูลฐานของมีมามสาคือ “หน้าที่หรือการกระทำเป็นสาระสำคัญยิ่งของความเป็นมนุษย์ ถ้าไมม่มีการกระทำปัญญาก็ไม่มีผล ถ้าไม่มีการกระทำความสุขก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีการกระทำจุดหมายปลายทางของมนุษย์ก็ไม่มีทางทำให้สมบูรณ์ได้

. ปรัชญาเวทานยะ

ผู้ก่อตั้งคือ “พาทรายนะ” และเป็นผู้เรียบเรรียงคัมภีร์ “เวทานตะสูตร”  เป็นการสอบสวนในส่วนสุดท้าย หรือเบื้องปลายของคัมภีร์พระเวท ได้แก่การสอบสวนพิจารณาอุปนิษัท คำว่า “เวทานตะ” แปลว่า “ที่สุดของพระเวท หรือหมายถึงความรู้ที่สูงสุด”

ปรัชญาเวทานตะแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มด้วยกัน คือ

๑. อทไวตะ เวทานตะ

๒. วิศิษตะ ทไวตะ เวทานตะ

๓. ทไวตะ เวทานตะ

. อทไวตะ เวทานตะ

เกิดขึ้นสมัยของ เคาฑปาทะ และพัฒนาถึงขีดสุดยอดในสมัยของ ศังกราจารย์ ซึ่งเป็นนักปรัชญาฮินดู ที่มีชื่อเสียงที่สุด เกิด ค.ศ. ๗๘๘–๘๒๐ มีอายุเพียง ๓๒ ปี

วรรณคดีที่ถือว่าสำคัญ และเป็นที่มาของอทไวตะ เวทานตะ ได้แก่ อรรถกถา ๓ เรื่อง คือ

๑. อรรถกถา อุปนิษัท (ของศังกราจารย์)

๒. อรรถกถา ภควัทคีตา

๓. อรรถกถา พรหมสูตร (ของพาทรายนะ)

สาระสำคัญของปรัชญาอทไวตะ เวทานตะ ของศังกราจารย์มีใจความสำคัญดังนี้

๑. สิ่งแท้จริง อันติมะ มีเพียงสิ่งเดียวคือ พรหมัน

๒.อันติมะ ในแง่แห่งความจริง โลกมิใช่สิ่งที่แท้จริง โลกเป็นเพียงปรากฏการณ์ของพรหมัน ด้วยอำนาจคือมายา

๓. ชีวาตมันถูกยึดด้วยความหลงผิด เพราะอำนาจของวิทยา ว่าตนเองแตกต่างจากพรหมันและเข้าใจผิดว่าพรหมันเป็นโลกแห่งความหลากหลาย (มากมาย)

๔. เมื่อวิทยาเกิดขึ้นและทำลายอวิทยาเสียได้ บุคคลย่อมบรรลุโมกษะ

. ปรัชญาวิศิษทไวตะ เวทานตะ

ผู้ก่อตั้งคือ รามานุชะ ท่านเกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๐๑๗–๑๑๓๗ รวมอายุได้ ๑๒๐ ปีท่นได้แต่งอรรถกถาพรหมสูตรขึ้นเรียกว่า “ศรีทาษยะ” รามานุชะกล่าวว่า  เอกัตภาพที่ปราศจากนานัตภาพ และนานัตภาพที่ปราศจากเอกัตภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เอกัตภาพจะต้องเป็นสิ่งที่สืบเนื่องหรือเกี่ยวโยงกับนานัตภาพเสมอ เอกภาพเป็นสิ่งที่มีขึ้นโดยวิวิธภาพ ถ้าวิวิธภาพไม่มีเอกภาพก็ไม่มีเช่นกัน

รามานุชะ คัดค้านศังกราจารย์ในเรื่อง “พรหมัน” โดยเห็นว่า พรหมันคือพระเจ้าที่มีตัวตน ซึ่งมีบรรดาชีวาตมันและสสารประกอบขึ้นเป็นร่างกายของพระองค์ และมีทัศนะว่าอาตมันหรือชีวาตมันว่า ชีวาตมัน (ตัวตน) เป็นสิ่งที่มีตัวตนมีอยู่จริง ชีวาตมันอยู่ภายใต้การควบคุมของพระเจ้า และมีถานะเป็นเรือนกายของพระเจ้า ชีวาตมันมีสภาพเป็นปรมาณู การบรรลุโมกษะของชีวาตมัน เป็นสภาวะที่คล้ายคลึงกับพระเจ้า และรู้แจ้งสภาวะที่แท้จริงของตนเองว่า “เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของพระเจ้า

ทฤษฎีของรามานุชะ เป็นทฤษฎีไตรภาคีเอกานุภาพ เพราะเขาถือว่า สิ่งแท้จริงอันติมะมีอยู่ ๓ อย่าง คือ สสาร ชีวาตมัน และพระเจ้าและสิ่งที่แท้จริงทั้ง ๓ อย่างนี้รวมกันเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาตะวันออก
หมายเลขบันทึก: 512721เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

พระเจ้าหรือพรหมัน

พระเจ้าหรือพรหมันเป็นพระเจ้าที่มีตัวตน เป็นสิ่งสมบูรณ์หรือสูงสุดในจักรวาล ทรงเป็นสัพพัญญู เสวยสุขแห่งโมกษะอยู่ชั่วนิรันดร์กาล ทรงมีพระกายทิพย์ ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้พิทักษ์และผู้ทำลายสากลจักรวาล และเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้สักการะบูชาและภักดีต่อพระองค์ พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ออกมา ๕ ภาค คือ

ภาคที่ ๑ สำแดงพระองค์เป็นวิญญาณแห่งสากลจักรวาล ซึ่งเรียกว่า “อันตรยามี” เป็นผู้ควบคุมสากลจักรวาลจากภายใน

ภาคที่ ๒ สำแดงพระองค์เป็นพระเจ้าสูงสุด เรียกว่า “นารายณ์” หรือ ปรวาสุเทพ

ภาคที่ ๓ ในฐานะแห่งพระผู้สร้าง ผู้พิทักษ์และผู้ทำลายสากลจักรวาล ทรงสำแดงพระองค์ใน ๔ ลักษณะ เรียกว่าวยูหะ คือ

วยูหะที่ ๑ สำแดงพระองค์เป็นพระเจ้านามว่า วาสุเทพ (วาสุเทพนี้เป็นภาคสำแดงของปรวาสุเทพ)

วยูหะที่ ๒ สำแดงพระองค์เป็นผู้ควบคุมการรับรู้ของชีวาตมันและเป็นผู้ทำลายสากลจักรวาล (เรียกว่า สังกรษณะ)

วยูหะที่ ๓ สำแดงพระองค์เป็นผู้ควบคุมอารมณ์ของชีวาตมันและในฐานะผู้สร้างสากลจักรวาล (เรียกว่า ปรัทยุมนะ)

วยูหะที่ ๔ สำแดงพระองค์เป็นผู้ควบคุมควาสตั้งใจของชีวาตมันและเป็นผู้พิทักษ์สากลจักรวาล (เรียกว่า อนิรุทธะ)

ภาคที่ ๔ สำแดงพระองค์เสด็จลงมาถือกำเนิดในโลกนี้ เป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง ตามสมมควรแก่เหตุการณ์ ภาคนี้เรียกว่า วิภวะหรืออวตาร การอวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์มีจุดประสงค์เพื่อพิทักษ์ธรรม และขจัดอธรรมในหมู่มนุษย์ให้สิ้นไป ภาคอวตารนี้มี ๒ ลักษณะ คือ

๑. พระเจ้าลงมาถือกำเนิดเอง เช่น ศรีกฤษณะ พระราม เป็นต้น

๒. ชีวาตมัน ได้รับการดลบันดาลใจจากพระเจ้า เช่น พระศิวะ พระพุทธเจ้า เป็นต้น ผู้ปรารถนาความหลุดพ้นพึงบูชาาเฉพาะภาคที่อวตารจากพระเจ้าเท่านั้น

ภาคที่ ๕ สำแดงพระองค์เป็นรูปบูชาในเทวาลัยต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เลื่อมใสและภักดีในพระองค์ได้มีโอกาสปรนนิบัติบูชา

รามานุชะแบ่งชีวาตมันออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. ชีวาตมันที่หลุดพ้นตลอดกาล

๒. ชีวาตมันที่หลุดพ้น โดยการบรรลุโมกษะ

๓. ชีวาตมันที่ยังติดข้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฎ

โมกษะ

รามานุชะ ถือว่า ชีวาตมันทั้งหลายต้องติดข้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เพราะอำนาจของความโง่เขลา (อวิทยา) และกรรม (อกุศลกรรม) ดังนั้น ชีวาตมันจึงต้องพยายามขจัดอวิทยาและอกุศลกรรมให้หมดไปโดยความรู้ชอบและการกระทำที่ชอบที่จะไม่ส่งผลให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป นั่นคือการบรรลุโมกษะ ความรู้ชอบนี้ หมายถึงความรู้ที่แท้จริงได้แก่ ความภักดีสูงสุดต่อพระเจ้า โดยการมอบกายถวายชีวิตทั้งหมดแก่พระเจ้า มีความจงรักภักดีอย่างมั่นคงและระลึกถึงพระเจ้าตลอดเวลา

ดังนั้น โมกษะ หมายถึงการรู้แจ้งของชีวาตมันเกี่ยวกับสภาพแท้จริงของตนเองว่าเป็นส่วนประกอบแห่งร่างกายของพระเจ้า ความรู้แจ้งนี้ทำให้เกิดผล ๒ ประการ คือ

๑. ทำลายอำนาจของกรรมให้หมดสิ้นเชิง อันเป็นเหตุให้ชีวาตมันมีความบริสุทธิ์ในภายใน

๒. ทำให้ได้รับความกรุณาจากพระเจ้า ซึ่งพระองค์จะทรงบันดาลให้เกิดความรู้แจ้งเกี่ยวกับพระองค์

. ปรัชญาทไวตะ เวทานตะ

ปรัชญาทไวตะนี้ ผู้ก่อตั้งคือ มัททวะ ค.ศ. ๑๑๙๙–๑๒๗๘ หลักคำสอนของมัททวะ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรื่องเทพเจ้าของรามานุชะ เพียงแต่มีชื่อเรียกต่างกัน มัททวะถือว่าเทพเจ้าสูงสุดคือพระวิษณุ ส่วนเทพเจ้าของรามานุชะคือพระนารายณ์ คำสอนของมัททวะมีลักษณะเป็นพหุนิยมที่เด่นชัด เขากล่าวว่าสรรพสิ่งในโลกประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน แม้กระทั่งวิญญาณมีความเชื่อว่า วิญญาณของแต่ละคนก็แตกต่างจากวิญญาณอื่น ๆ และแตกต่างจากวัตถุด้วย มีลักษณะเป็นสัจนิยมอีกด้วย

เรื่องเทพเจ้าถือว่าเทพเจ้าสูงสุดคือพระวิษณุเต่เพียงผู้เดียว มีรูปร่างลักษณะเป็นตัวตน เป็นสาระสำคัญของสรรพสิ่งในโลก ผู้สร้างโลก เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลก และในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับคืนไปสู่พระเจ้าคือวิษณุ

เรื่องสัจนิยมมัททวะถือว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีความแตกต่างกัน มีความเป็นจริงและเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

เรื่องพหุนิยม มัททวะถือว่า สรรพสิ่งในโลกประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ มากมาย

ปรัชญาอินเดียสายนาสติกะ

ปรัชญาสายนี้ตรงข้ามกับปรัชญาอินเดียสายอาสติกะมีอยู่๓ สำนัก คือ

๑. ปรัชญาจารวาก

๒. ปรัชญาเชน

๓. ปรัชญาพุทธ

. ปรัชญาจารวาก

ปรัชญาจารวากนี้เรียกอีกชื่อว่า “ปรัชญาโลกายัติ” เพราะปฏิเสธ อดีด ปัจจุบัน และอนาคต เน้นการแสวงหาความสุขในโลกเป็นสำคัญ ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ การกระทำพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่ก่อให้เกิดผลใด ๆ ทั้งสิ้น ต่อมาสานุศิษย์ของพฤหัสบดี “จารวาก” ได้นำมาฟื้นฟูคำสอนว่า “เราควรแสวงหาความสุขตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ โดยการกิน การดื่มและการแสวงหาความสุขทางกามารมณ์ให้มากที่สุด เพราะเมื่อร่างกายแตกสลาย (ตาย) ไปแล้วจะไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย”

สรรพทรรศนะสังคหะ กล่าวตามแนวคำสอนของจารวากว่า ไม่มีสวรรค์ ไม่มีความหลุดพ้น (โมกษะ) ไมม่มีวิญญาณใด ๆ อยู่ในโลกอื่น ไม่มีการกระทำใด ๆ ก่อให้เกิดผลกรรม การบูชาไฟ การปฏิบัติตามพระเวท การร่ายมนต์ของนักบวช และการทาตัวด้วยขี้เถ้า เป็นอุบายวิธีการหาเลี้ยงชีพของคนโง่และคนไร้ยางอาย ถ้าหากสัตว์ที่ถูกฆ่าบูชาจะได้ไปเกิดในสวรรค์จริง ทำไมไม่ทำพิธีบูชายัญบิดามารดาของตนเอง เพื่อให้ท่านไปสวรรค์ ดังนั้นมนุษย์ทุกคนควรแสวงหาความสุขในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จงแสวงหาความสุขจากกามารมณ์ให้มากที่สุด แม้จะต้องเป็นหนี้สินก็ตาม เพราะเมื่อร่างกายแตกสลาย กลายเป็นเถ้าถ่านแล้ว จะไม่กลับฟื้นคืนชีพมาอีกเลย

สาระสำคัญที่ควรสึกษาคือ

. ญาณวิทยา ยอมรับว่า ความรู้ที่แท้จริงมีเพียงสิ่งเดียว คือ “ความรู้ประจักษ์ อันเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

. อภิปรัชญา เป็นลักษณะวัตถุนิยม และยึดถือความรู้ประจักษ์เป็นความถูกต้อง โดยยืนยันว่าวัตถุเท่านั้นเป็นสิ่งสูงสุด (สสาร) นรก สวรรค์เป็นสิ่งที่รับรู้ไม่ได้โดยสัมผัสไม่มีอยู่จริง สรรพสิ่งเกิดขึ้นมาจากธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การตายของมนุษย์และสัตว์เกิดจากการแยกตัวของธาตุทั้ง ๔ เท่านั้น ปฏิเสธโลกหน้า เรื่องจิตหรืออาตมัน  ว่าไม่เที่ยง ขึ้นอยู่กับร่างกาย เมื่อร่างกายแตกดับก็เพราะธาตุ ๔ แยกตัวออกจากกัน วิญญาณหรือจิตก็ดับสลายไป จึงถือว่า เป็นการปฏิเสธชาติหน้าโดยตรง

. จริยศาสตร์ เป็นแนวความคิดแบบวัตถุนิยม ยึดถือความสุขทางเนื้อหนังมังสาเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต โดยตักตวงความสุขให้เต็มที่ และถือว่าจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตมีอยู่ ๔ อย่าง คือ

๑. อรรถะ ทรัพย์สมบัติ

๒. กามะ ความสุขจากกามารมณ

๓. ธรรมะ ความสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม

๔. โมกษะ ความหลุดพ้นจากทุกข์

ปรัชญาเชน

ปรัชญาเชน เป็นปรัชญาที่มีมาก่อนพุทธกาล มีศาสดาสืบต่อกันมาเรียกว่า “ตีรัตถังกร” รวมทั้งหมด ๒๔ คน คนแรกชื่อ “กฤภเทพ” เป็นคนที่ ๒๓ คนสุดท้ายชื่อ “มหาวีระ”หรือ “วรธมาน” เกิดเมื่อประมาณ ๕๔๐ ปีก่อนคริสต์กาล

ปรัชญาเชนมีสาระสำคัญดังนี้

. ญาณวิทยา

แบ่งเป็น ๒ อย่างคือ

อปโรกษะ ได้แก่ความรู้โดยตรง

  ปโรกษะ ได้แก่ความรู้โดยอ้อม

อปโรกษะ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างคือ

๑.. อวธิ (อวธิชญาณ) ผู้บรรลุอวธิชญาณนี้สามารถมีทิพยจักษุ คือ การได้ตาทิพย์ มองเห็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้

๒. มนหปรยายะ (มนหปรชญาณ) สามารถกำหนดรู้จิตของผู้อื่นได้

๓. เกวละ คือ ความรู้ที่ได้รับจากอำนาจของ เกลวชญาณ เป็นความรู้สูงสุดและสมบูรณ์จนทำให้หมดกิเลสหมดไปและเข้าถึง เกวละ คือ นิรวาณ (นิพพาน)

ปโรกษะ  ความรู้โดยอ้อม แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ

๑.มติ คือ ความรู้ที่ได้รับโดยผ่านประสาทสัมผัส ประสบการณ์ เหตุผลและการอนุมาน

๒. ศรุติ ความรู้เกิดจากการบอกเล่าของคนอื่น ตำราต่าง ๆ การได้ยินได้ฟัง

.อภิปรัชญา

อภิปรัชญาของเชนมีลักษณะเป็น พหุสัจนิยม หรือสัมพุทธสัจนิยม ซึ่งมีทฤษฎีที่สำคัญเรียกว่า “อเนกันตวาท”  ตามหลักอภิปรัชญา เชน เรียกวัตถุว่า ปุทคละ และวิญาณว่า ชีวะ เชนกล่าวว่า สิ่งแท้จริงทั้งที่เป็นวัตถุและชีวะมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่ละสิ่งของสิ่งแท้จริงนี้มีคุณลักษณะเป็นของตนเอง สิ่งทั้งหลายต่างเป็นจริงโดยสภาพของมันเอง วัตถุ ประกอบขึ้นด้วยปรมมาณูจำนวนมากนับไม่ถ้วน วิญาณหรือชีวะก็มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ชีวะได้แก่ วิญาณ มิได้รวมถึงร่างกาย แม้ว่าร่างกายเป็นที่สิงสถิตย์อยู่ของวิญาณก็ตาม ชีวะมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน มีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วสากลจักรวาล มีทั้งสิงสถิตย์อยู่ในร่างกายและล่องลอยอยู่โดยปราศจากร่างกาย

ปรัชญาเชน กล่าวว่า คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของชีวะทั้งหมดนี้คือ สัมปชัญญะ ชีวะทุกชนิดทุกระดับมีสัมปชัญญะ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอนูกรรมที่ห่อหุ้มชีวะอยู่ ถ้าอนูกรรมห่อหุ่มชีวะมาก ชีวะก็แสดงสัมปชัญญะออกมาได้น้อย เพราะมีสิ่งขัดขวางมาก และถ้าอนูกรรมห่อหุ่มชีวะน้อย ชีวะก็แสดงสัมปชัญญะออกมามาก เพราะมีสิ่งขัดขวางมาก โดยดั่งเดิมชีวะมีคุณสมบัติหรือมีคุณลักษณะเหมือนกันหมดมรศรัทธา ความรู้ ความสุข ความเพียรเป็นอนันต์ แต่สิ่งที่ทำให้ชีวะแตกต่งกันก็เพราะ พัทธชีวะ ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฎสงสาร เชน ถือว่าชีวะเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ไม่แตกดับไม่เปลี่ยนแปลง แต่การที่ชีวะต้องมาติดข้องเวียนว่ายตายเกิดในสภาพของชีวิตที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง เพราะผลของกรรมเก่าที่ทำไว้ จุดมุ่งหมายของเชนคือทำลายกรรมเก่าให้หมดสิ้นไป และไม่ทำกรรมใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อทำได้สำเร็จ ชีวะก็ได้ชื่อว่า “เปลื่องตนพ้นจากพันธนาการทั้งปวง”

อชีวะในความหมายของเชน ได้แก่สิ่งที่ไม่มีชีวิตและปราศจากสัมปชัญญะ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ

๑. วัตถุ (ปุทคละ) หมายถึงสิ่งที่มีรูปร่าง มองเห็นได้ และสัมผัสจับต้องได้ วัตถุ (ปุทคละ) มีคุณสมบัติที่สำคัญ ๔ ประการคือ สัมผัสได้ มีสี มีกสิ่น และมีรส

๒. ที่ว่าง (อากาศะ) อากาศหรือที่ว่างนี้เป็นสสารชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ และไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๒.๑ โลกากาศ คือ ที่ว่างที่มีอยู่ใในโลก

๒.๒ อโลกากาศ คือ ที่ว่างที่อยู่นอกโลกออกไปไม่มีที่สิ้นสุด

๓. เวลา (กาละ) เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด

๔. การเคลื่อนไหว (ธรรมะ)

๕. การหยุดนิ่ง (อธรรมะ)

โมกษะเชนกล่าวว่า กิเลส ตัณหาเกิดขึ้นมาได้เพราะอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งในธรรมมชาติอันแท้จริงของงชีวะและธรรมชาติของสิ่งอื่น ๆ บุคคลผู้ที่จะทำลายอวิชชาและบรรลุโมกษะได้นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ

๑. สัมมาทัสสนะ คือมีศรัทธาที่ถูกต้องเชื่อมั่นในคำสอนของตีรัตถังกร ซึ่งเป็นศาสดาผู้เข้าถึงความหลุดพ้นแล้ว

๒. สัมมาญญาญะ คือมีความรู้เกี่ยวกับความจริงตามหลลักคำสอนของศาสดา ของศาสนาเชน

๓. สัมมาจริตะ คือ มีความประพฤติชอบ ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาเชน

จริยศาสตร์

ปรัชญาเชนเป็นอเทวนิยม ปฏิเสธพระเวท และพิธีกรรมมต่าง ๆ ของพราหมณ์ ปฏิเสธพระเจ้าสูงสุด แต่เน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ ข้อปฏิบัติหรือ “ประณิธาน” ของเชนนั้นเรียกว่า “พรต” แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ

.อนุพรตเป็นข้อปฏิบัติสสำหรับคฤหัสถ์ เป็นขั้นพื้นฐาน

. มหาพรต เป็นข้อปฏิบัติขั้นสูงหรืออุกฤต สำหรับนักบวช

ประณิธาน” หรือ “พรต” ของเชนมี ๕ ประการ คือ

๑. อหิงสางดเว้นจากการประทุษร้าย การเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งทาง กายย วาจา ใจ

๒. สัตยะ การรักษาความสัตย์ คือไม่กล่าวเท็จ รวมถึงคำพูดไพเราะน่าฟัง และก่อประโยชน์แก่ผู้ฟัง

๓. อัสเตยะงดเว้นจากการขโมย หรือถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้ รวมไปถึงไม่คดดกงโดยวิธีต่าง ๆ ทั้งทาง กาย วาจา ใจ

๔. พรหมจริยะการไม่ประพฤติผิดทางกาม หรือทางประเวณีทุกชนิด ทั้งทาง กาย วาจา ใจ ข้อนี้เป็นข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ ส่วนข้อปฏิบัติของนักบวช คือการรักษาพรหมจรรย์ งดเว้นเกี่ยวกับทางเพศสัมพันธ์โดยสิ้นเชิง

๕. อปริครหะการไม่โลภ ไม่ยึดมั่นติดอยู่ในสิ่งใดหรืออารมณ์ใด ๆ  คือไม่เพลิดเพลินในกามคุณ ๕ ด้วย

ศาสนาเชน เมื่อมหาวีระผู้เป็นศาสดาสิ้นชีวิตลง ศาสนาเชนก็แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ

. นิกายทิคัมพร (เปลือยกาย) การปฏิบัติเคร่งครัดและเข้มงวดมาก ยึดการทรมานร่างกาย ให้เจ็บปวด เป็นหลัก นิกายนี้ปฏิเสธสัตรีว่าไม่สามารถบรรลุธรรมได้

. นิกายเศวตามพร (นุ่งห่มผ้าขาว) ยึดการปฏิบัติสายกลาง

. ปรัชญาพุทธ

เกิดขึ้น ณ ประเทศอินเดีย เมื่อ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราชหรือ ๖๒๓ ปีก่อนคริสต์กาล คำว่า “พุทธ” แปลว่า ผู้รู้หรือผู้ตื่นแล้ว หมายถึงการรู้แจ้งซึ่งสภาวะธรรมต่าาง ๆ ตามสภาพที่เป็นจริง หรือการตื้นขึ้นจากการหลงงมงาย ความเป็นทาสของกิเลสและตัณหา เป็นต้น ปรัชญาพุทธเป็นลักษณะ “สัจนิยม” หรือ “ธรรมชาตินิยม” ถือว่าธรรมชาติทั้งหลายต้องเป็นไปตามหลักแห่งงธรรมชาติ และหลักแห่งความจริง โดยสอนเน้นหนักที่ต้องเชื่ออย่างมีความมีเหตุผลและวิจารณญาณ ดังปรากฏใน “กาลามสูตร”

ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า

. คำสอนปฏิรูป คือปฏิรูปคำสอนเดิมของพราหมณ์ เช่น การทำบุญ พราหมณ์สอนให้ทำบุญโดยกำเนิด แต่พระพุทธเจ้าสอนให้ทำบุญกับพวกพราหมณ์ผู้บริสุทธิ์ด้วนไตรทวาร (กายวาจา ใจ)

มีผลบุญเกิดแก่ผู้ทำมากกว่า

. คำสอนปฏิวัติ คือการเปลี่ยนแปลงคำสอนเดิมทั้งหมดให้เป็นตรงกันข้าม เช่น พราหมณ์สอนว่ากาารฆ่าาสัตว์บูชายัญได้กุศลยิ่ง และจะสมปรารถนาทุกสิ่ง แต่พระพุทธเจ้าสอนว่า การฆ่าสัตว์ทุกชนิดเป็นบาปเป็นความชั่ว แต่คนเราควรมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย

. คำสอนที่ตั้งขึ้นใหม่คือคำสอนที่พระองค์ทรงค้นพบแล้ว สั่งสอนนคนอื่นให้ประพฤติตามเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง เช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น

สาระสำคัญทางพระพุทธศาสนา

. อริยสัจ ๔ ได้แก่

๑.๑ ทุกข์ คือ ความทุกข์ยาก

๒.๒ สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

๓.๓ นิโรธ คือ ความดับทุกข์

๔.๔ มรรค คือ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

. ไตรลักษณ์ หมายถึง สามัญลักษณ์สามัญธรรมดาที่ทุกสิ่งมีเสมอเหมือนกันหมดของสรรพสิ่งทั้งหลาย ได้แก่

๒.๑ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ความเปลี่ยนแปลง ของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

๒.๒ ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ความขัดข้อง ความทนอยู่ไม่ได้ของสรรพสิ่ง ได้แก่ ทุกขเวทนา อันเกิดจากความเจ็บปวด จากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น

. อนัตตาความมิใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจของเรา เป็นสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ เป็นต้น

. ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท หมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือธรรมที่อาศัยกันเกิด โดยไม่อาจแยกหรือตัดขาดจากกันได้ เป็นธรรมที่มีความสำคัญเพราะ

๑. แสดงถึงกฏธรรมชาติที่มีการเลื่อนไหลไม่หยุดนิ่ง มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนในท่ามกลาง และมีความแตกดับในที่สุด

๒. แสดงถึงกฏธรรมดาของทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

๓. แสดงถึงกฏแห่งสังสารวัฏ คือ วงจรแห่งความทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกิเลส กรรม วิบาก

๔. เป็นหลักธรรมข้อใหญ่ที่รวมเอาหลักธรรมมาไว้ได้ทั้งหมด

๕. เป็นธรรมที่ว่าด้วยชีวิตเราเองในปัจจุบัน

ปฏิจจสมุปบาท มีความสัมพันธ์กันโดยมีองค์ประกอบ ๑๒ ข้อ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น

โมกษะหรือนิพพาน

ปรัชญาพุทธ ถือว่านิพพานเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต เป็นบรมสุขไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเดือดร้อนใจใด ๆ  ตามทัศนะของปรัชญาพุทธ นิพพานมี ๒ อย่าง คือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่การดับกิเลสตัณหาาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป แต่เบญจขันธ์หรือนามรูป (ตัวบุคคล) ยังมีชีวิตอยู่

๒. อนุปาททิเสสนิพพาน ได้แก่ การดับกิเลสตัณหาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปพร้อม ๆ กันเบญจขันธ์หรือนามรูป ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย

นิกายทาางพุทธศาสนา

เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว พุทธศาสนาได้แบ่งแยกเป็น ๒ นิกาย เริ่มตั้งแต่พุทธสตวรรษที่ ๑– ๔ คือ

กลุ่มที่ ๑ เห็นว่าหลักคำสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้ตามเดิม เช่น เถรวาท สถวีรวาท ทักษิณนิกาย หีนยาน สาวกยาน ปัจเจกยาน โดยเฉพาะหีนยาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เถรวาท” มีประเทศไทย ลังกา พม่า ลาว กัมพูชา ให้การนับถือเป็นจำนวนมากที่สุด

กลุ่มที่ ๒ เห็นว่าธรรมและวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ควรได้รับการดัดแปลง ปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะสมกับกาละเทศะ และสังคม เช่น มหาสังฆิกะ อุตตรนิกาย มหายาน โพธิสัตว์ยาน พุทธยาน เอกยาน อนุตรยาน โดยในปัจจุบันนี้ มหายานมีบุคคลนับถือมมากที่สุด คือ ประเทศจีน เกาหลี ธิเบต และญี่ปุ่น เป็นต้น

สรุปปรัชญาอินเดีย

ทุกระบบของปรัชญาอินเดียจะเน้นการครองตน การมีชีวิตที่สมบูรณ์ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ดังนั้นจะเห็นว่าทุกระบบเกิดจากความไม่พอใจในสภาพที่เป็นอยู่ของชีวิต โดยชี้ให้เห็นว่าชีวิตนั้นมีทุกข์นาประการ จึงพยายามคิดค้นหาวิธีการดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า โมกษะ (ความหลุดพ้น) แลละจากการวิเคราะห์จะเห็นว่า ปรัชยาอินเดียโดยส่วนมากจะชี้แนะหนทางแห่งความหลุดพ้นตามแบบของตนไว้ ปรัชยาอินเดียทุกระบบมีความเชื่อในกฏแห่งกรรม กฏแห่งเหตุผล และกฏของธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง ว่าทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ส่วนกฏแห่งศีลธรรมนั้นมีความเชื่อว่า ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทุกระบบมีทัศนะตรงกันว่า อวิชชาหรืออวิทยา เป็นสาเหตุความติดข้อง และการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ส่วนวิชชาหรือปัญญาญาณ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความหลุดพ้นจากสิ่งติดข้องนั้น โดยทุกระบบมุ่งโมกษะเป็นจุดหมายสูงสุด โดยต้องปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ด้วยการบำเพ็ญสมาธิและวิปัสสนา ให้เห็นตามความเป็นจริงด้วยการควบคุมตนเองและควบคุมจิตใจ ไม่ปล่อยไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา

แต่อย่างไรก็ตาม “อวิชชา” ในปรัชญาอินเดียๆไม่ได้มีความเห็นตรงกันทุกระบบ เช่น ปรัชญาฮินดูว่า การเห็นหรือรู้ชัดว่ามีสิ่งเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า “อาตมัน” ส่วนพุทธปรัชญากล่าวว่าการเห็นเช่นนั้นถือว่าเป็นอวิชชา และยังตั้งข้อสังเกตได้อีกว่าลัทธิจารวากมีแนวคิดยึดถือวัตถุนิยมจัด คือต้องหาความสุขเฉพาะในขณะที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น ซึ่งผิดแปลกจากระบบปรัชญาของอินเดียทั้งหมด



  ประวัติผู้รวบรวมและเขียน

ชื่อสกุล    นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท