การจัดการความรู้ในยุคสังคมฐานความรู้: มันคืออะไร !?


เมื่อเห็นว่าเกร็ดความรู้ (Tacit) เป็นประโยชน์ก็มีน้ำใจแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการรวมกลุ่มหรือสร้างเวที สร้างชุมชนเพื่อเผยแพร่ ช่วยกันยกระดับให้เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการยอมรับ มีคนนำเอาไปปรับใช้ (Apply/Utilize) ร่วมกับแก่นความรู้ (Explicit) วนเวียนเช่นนี้ตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Infinity)

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2549 บุคลากรฝ่ายอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 10 ประกอบด้วย อาจารย์สุวเดช อาจารย์กัมปนาท อาจารย์ผอบ อาจารย์อุดม อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ อาจารย์บุญชอบ อาจารย์ศิวารินทร์ อาจารย์ธิดาใจ อาจารย์ชิณวรชัยและผม ได้รับมอบหมายให้เข้ารับการอบรมทางวิชาการเรื่อง การจัดการความรู้ในยุคสังคมฐานความรู้ (Knowledge Management in the Knowledge-based Society) ในระหว่างเวลา 09.00 16.30 น. ณ โรงละคอน อาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ ชั้น 16 วิทยาเขตกล้วยน้ำไท งานนี้จัดขึ้นโดยหน่วยพัฒนาวิชาการ สำนักวิชาการ

ในวันนั้นคนที่ร่วมอบรมส่วนใหญ่ถูก "กำหนด" ให้เข้าร่วมตามหน้าที่กันทั้งนั้น ในเมื่อเป็น "หน้าที่" จะหนีไปทางอื่นก็จะดูไม่งาม เราก็ต้องใช้เวลาช่วงนั้นทำ "หน้าที่" ให้คุ้มค่าที่สุด ไม่ปล่อยผ่านเลยไปเฉยๆ เวลาเป็นสิ่งมีค่าเสมอ อย่างที่เขาพูดๆ กัน

ดังนั้นเวลาทั้งหมดจึงถูกผมใช้ตักตวงเอาความรู้ให้มากที่สุด เมื่อได้ความรู้แล้วก็จะได้นำเอาบทเรียนยากๆ มาเล่าสู่กันฟัง สำหรับคนที่ไม่ได้เข้าร่วมอบรม เพื่อหวังว่าจะเป็นการจุดประกายให้เกิดการเริ่มต้นเปิด คลังความรู้ แบบง่ายๆ ขึ้นมาก่อน ซึ่งต่อไปมันจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในสังคมฐานความรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพเลยทีเดียว

เวลา 09.15 10.35 น. เป็นการบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้ในยุคสังคมฐานความรู้ บรรยายโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ท่านเป็นผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ท่านเป็นผู้มากประสบการณ์ และมีความสามารถสูงในการถ่ายทอดความรู้เป็นผลทำให้ความรู้เกี่ยวกับ KM ที่ผมมีเพียงหางอึ่งก็เพิ่มขึ้นเป็นหางปลาในครานี้นั้นเอง 

  การจัดการความรู้ ก็ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรมากมาย ขอบอกตรงนี้เลยว่า...เพียงแค่เราเริ่มต้นทำความเข้าใจกับ ความรู้ (Knowledge)” เสียก่อน ว่ามันแบ่งได้ 2 พวก

พวกแรก แก่นความรู้ (Explicit Knowledge)” พวกนี้เป็นความรู้ในด้านวิชาการ มีหลักการ ทฤษฎีที่ผ่านการวิจัย ทดลอง พิสูจน์มาแล้ว เป็นความรู้ในสายวิทยาศาสตร์ เราเก็บความรู้นี้เอาไว้ด้านหนึ่งเพราะมันเป็นประโยชน์ในการทำงานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

พวกหลังคือ เกร็ดความรู้ (Tacit Knowledge)” พวกนี้เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญา ประสบการณ์ เป็นเทคนิคเฉพาะตัว (สามารถฝึกฝนและลอกเลียนไปใช้ได้หากมีความสามารถในระดับเดียวกัน) เกิดจากปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาซึ่งผู้คิดใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ได้ผลเช่นเดิม

การจัดการความรู้พวก Explicit ก็คือ การที่เราศึกษาเข้าถึงศาสตร์ต่างๆ ให้ได้ แล้วก็นำไปใช้ประโยชน์ จากนั้นก็เกิดการเรียนรู้จากการใช้ นำไปสู่การยกระดับพัฒนาความรู้ แล้วเก็บรวบรวมความรู้นั้นไว้ นำเสนอ เปิดโอกาสให้คนใหม่ๆ เข้าถึงมัน แล้วนำเอาความรู้ไปปรับใช้ (Apply/Utilize) วนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้ไปอย่างต่อเนื่อง

ตรงจุดที่เรานำเอาความรู้ไปปรับใช้ (Apply/Utilize) นี่เอง มันเป็นจุดเชื่อมต่อกับการจัดการความรู้พวก Tacit ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ผสมผสานกับการนำ Explicit ไปใช้ในชีวิตจริงเกิดเป็นเกร็ดความรู้ใหม่

 เมื่อเห็นว่าเกร็ดความรู้ (Tacit) เป็นประโยชน์ก็มีน้ำใจแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการรวมกลุ่มหรือสร้างเวที สร้างชุมชนเพื่อเผยแพร่ ช่วยกันยกระดับให้เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการยอมรับ มีคนนำเอาไปปรับใช้ (Apply/Utilize) ร่วมกับแก่นความรู้ (Explicit) วนเวียนเช่นนี้ตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Infinity)

มาถึงตรงนี้ก็ทำให้ผมเกิดประกายความคิด "ปิ๊งแว้บ" (ยืมสำนวน ดร.ประพนธ์มาใช้) ขึ้นมาว่า องค์ความรู้ในการบริหารอาคารสถานที่ในสถานศึกษานั้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทาง และเป็นความรู้ที่ประกอบด้วย Explicit & Tacit ที่สอดประสานกันได้อย่างกลมกลืน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องจัดการกับมันให้เป็นระบบเสียที!

หมายเลขบันทึก: 51272เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท