มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

อธิบายสภาวธรรม


 

อธิบายสภาวธรรม

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล

ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และ อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเว้นสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเว้นทุกขเวทนานั้น ในกามาวจรจิตอันเป็นที่เกิดแห่งทุกขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา

ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เว้นอทุกขมสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งอทุกขมสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

[๖๖๕] ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก

ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก

ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?

ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมดและอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก

ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรม ที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทานธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหา

ทิฏฐิไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมเป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหา

  ทิฏฐิไม่เข้ายึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลสเป็นไฉน ?

  อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น,กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส

ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจรรูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส

  ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส

ธรรมมีวิตกมีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิตกและวิจาร เว้นวิตกและวิจารนั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมมิวิตกมีวิจาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตกมีวิจาร

ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิจาร เว้นวิจารนั้นในรูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร

ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิตอรูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร,รูปทั้งหมดและอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร

ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ เว้นปีตินั้นในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งปีติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ

ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเว้นสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา

ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนาเว้นอุเบกขาเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตรจิตอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขาเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นต้น หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขารย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิดลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ

วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานาความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่งความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิตความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา

สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนี้แต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสอันมีลักษณะเช่นว่านี้อันใดนี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส

[๖๗๔] สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น,กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณเป็นไฉน ?กุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ

ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคประหาณเป็นไฉน

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสบรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ

วิจิกิจฉา เป็นไฉน ? ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ? ฯลฯ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น,เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรมวจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ, โลภะ โทสะ โมหะที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะโมหะ นั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

  ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องบน ๓ ประหาณ, กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะโทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ เป็นไฉน ?

  เว้นธรรมที่ประหาณนั้น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาว

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ

  ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ

ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นไฉน?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมเป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน ?

มรรคที่เป็นโลกุตระทั้ง ๔ และสามัญผลเบื้องต่ำ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของเสกขบุคคล

ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน ?

อรหัตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกข-บุคคล

ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคลเป็นไฉน?

เว้นธรรมคือมรรค ๔ ผล ๔ เหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคล

ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมดคือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริตตะ

ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจรคือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธรรมเป็นมหัคคตะ

ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ

ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ

ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ

ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ

ธรรมทราม เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยโลภะโทสะ โมหะนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมทราม

คำสำคัญ (Tags): #อธิบายสภาวธรรม
หมายเลขบันทึก: 512488เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 07:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

ธรรมปานกลาง เป็นไฉน ?

  กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมปานกลาง

ธรรมประณีต เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมประณีต

ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?

  อนันตริยกรรม ๕ และนิยตมิจฉาทิฏฐิ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน

ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?

มรรคที่เป็นโลกุตระทั้ง ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมาสภาวะ และให้ผลแน่นอน

ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน ?

เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมให้ผลไม่แน่นอน

[๖๘๒] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์

ธรรมมีเหตุคือมรรค เป็นไฉน ?

เว้นองค์แห่งมรรคเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยองค์แห่งมรรคนั้น ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค สัมมาทิฏฐิของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย, เว้นสัมมาทิฏฐิเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรคอโลภะ อโทสะ อโมหะ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เหตุคือมรรค, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค

ธรรมเป็นมรรคเป็นอธิบดี เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดีเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคที่กำลังเจริญมรรค มีวิมังสาเป็นอธิบดี อันสัมปยุตด้วยวิมังสานั้น เว้นวิมังสาเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี

ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้วเกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้วบังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้วตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว คือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเกิดขึ้นแล้ว

  ธรรมยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้ว ยังไม่บังเกิดแล้ว ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้วยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่เกิดขึ้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังไม่เกิดขึ้น

  ธรรมจักเกิดขึ้น เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่ยังไม่ให้ผล เป็นกามาวจรรูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปซึ่งจักเกิดขึ้นเพราะกรรมแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมจักเกิดขึ้น

ธรรมเป็นอดีต เป็นไฉน ?

เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้วอัสดงคตแล้ว ถึงความดับสูญแล้ว เกิดขึ้นแล้วปราศไป ล่วงไป สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอดีต

  ธรรมเป็นอนาคต เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดแล้ว ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้วยังไม่บังเกิดแล้ว ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้วยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่มาถึงสงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอนาคต

  ธรรมเป็นปัจจุบัน เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้วบังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้วตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นเฉพาะแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะแล้วคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปัจจุบัน

  ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอดีตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต

  ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต เป็นไฉน ?

  ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอนาคตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต

  ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปัจจุบันธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน ?

  ธรรมเหล่าใด เป็นภายใน เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล เป็นอุปาทินนะ ของสัตว์นั้น ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน

ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นภายนอก เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล เป็นอุปาทินนะ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ คือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายนอก

  ธรรมเป็นภายในและเป็นภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมทั้ง ๒ ประเภทนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายในและเป็นภายนอก

ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายในเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน

ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายนอกเกิดขึ้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก

  ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายใน ธรรมเป็นภายนอกเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก

ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน ?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน ? จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

  ติกะจบ


  อธิบายสภาวธรรมจากอรรถกถา

  อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี  อธิบายนิกเขปกัณฑ์

โดยลำดับแห่งคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้ เพียงเท่านี้กุศลติกะย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พิสดาร ด้วยนัยกล่าวคือการจำแนกบทธรรมมีกุศลเป็นต้นทั้งหมด ก็นัยกล่าวคือการจำแนกบทแม้แห่งกุศลติกะนี้ใดที่ตรัสไว้แล้ว ก็นัยนี้นั้นแหละเป็นนัยแห่งการจำแนกต่าง ๆ ของติกะและทุกะที่เหลือ อันบัณฑิตทั้งหลาย อาจเพื่อกำหนดนัยกล่าวคือการจำแนกต่าง ๆ ในติกะและทุกะทั้งหมดตามลำดับมีอาทิว่า " ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นไฉน ?ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ก็หรือว่าเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารัมณ์ ฯลฯ ก็หรือว่า ในสมัยนั้น นามธรรมแม้อื่นใดที่อิงอาศัยเกิดขึ้น เว้นเวทนาขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา" ดังนี้ เหมือนในการจำแนกกุศลติกะนี้ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เพื่อทรงสรุปความเทศนาอันพิสดารนั้น แล้วทรงแสดงจำแนกธรรมหมวดติกะ และทุกะทั้งหมดด้วยนัยที่ไม่ย่อเกินไปและไม่พิสดารเกินไปอีกอย่างหนึ่ง จึงทรงเริ่มนิกเขปกัณฑ์ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?) ดังนี้จริงอยู่ จิตตุปปาทกัณฑ์ (ที่กล่าวแล้ว) เป็นเทศนาพิสดาร แต่อรรถกถากัณฑ์เป็นเทศนาย่อ ก็นิกเขปกัณฑ์นี้ เทียบกับจิตตุปปาทกัณฑ์ นับว่าเป็นเทศนาย่อ เทียบกับอรรถกถากัณฑ์ ก็เป็นเทศนาพิสดาร เพราะฉะนั้น นิกเขปกัณฑ์นี้จึงเป็นเทศนาที่ไม่ย่อเกินไปและไม่พิสดารเกินไป กัณฑ์นี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อ นิกเขปกัณฑ์ เพราะทรงสรุปเทศนาพิสดารแสดงไว้บ้าง ด้วยอำนาจแห่งเหตุที่กล่าวไว้ในหนหลังบ้างจริงอยู่ คำนี้ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า

มูลโต ขนฺธโต จาปิ ทฺวารโต จาปิ ภูมิโต

อตฺถโต ธมฺมโต จาปิ นามโต จาปิ ลิงฺคโต

นิกฺขิปิตฺวา เทสิตตฺตา นิกฺเขโปติ ปวุจฺจติ

ท่านเรียกว่า นิกเขปะ เพราะแสดงสรุปไว้โดยมูลบ้าง โดยขันธ์บ้าง โดยทวารบ้าง โดยภูมิบ้าง โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง โดยลิงค์บ้าง ดังนี้ก็นิกเขปกัณฑ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรุปโดยมูล ด้วยนัยมีอาทิว่า กุศลมูล ๓ ทรงแสดงสรุปโดยขันธ์ด้วยนัยมีอาทิว่า เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น ทรงแสดงสรุปโดยทวารด้วยนัยมีอาทิว่า กายกรรมมีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เพราะกรรมเป็นไปทางกายทวารเรียกว่ากายกรรม ทรงแสดงสรุปโดยภูมิด้วยนัยโดยอาทิว่า ในภูมิอันเป็นสุข คือกามาวจร พึงทราบชื่อว่า นิกเขปกัณฑ์ ที่พระองค์ทรงแสดงสรุปเนื้อความเป็นต้น เพราะแสดงด้วยสามารถแห่งอรรถ ธรรม ลิงค์ และนามในที่นั้น ๆ

ว่าด้วยนิทเทสกุศลติกะที่ ๑

ในพระบาลีนั้นพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งกุศลบทก่อนคำว่า ๓ เป็นคำกำหนดจำนวน สภาวธรรมที่ชื่อว่า กุศลมูล ด้วยอรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลด้วย เป็นมูลด้วย หรือว่า เป็นมูล ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นแดนเกิด เป็นชนก เป็นสมุฏฐาน และเป็นตัวให้เกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ด้วยสามารถแห่งอรรถอย่างนี้แล้วบัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงด้วยสามารถแห่งนาม จึงตรัสว่า อโลภะ อโทสะ อโมหะ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ พระธรรมราชา ชื่อว่าทรงแสดงถือเอากุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ด้วยมูลทั้ง ๓ เพราะธรรมดากุศลพ้นจากมูลย่อมไม่มี

บทว่า ตํสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น) ได้แก่ สัมปยุตด้วย

มูลเหล่านั้นมีอโลภะเป็นต้น ในข้อนั้น แม้อโทสะ และอโมหะ ในสังขารขันธ์อันสัมปยุตด้วยอโลภะ ก็สัมปยุตด้วยอโลภะถึงการนับว่า เป็นสังขารขันธ์เหมือนกัน แม้ในสัมปโยคะด้วยสามารถแห่งกุศลมูล ๒ ที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ พระ-ธรรมราชา ชื่อว่า ทรงแสดงกำหนดถือเอากุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นอีก ด้วยประการฉะนี้

บทว่า ตํสมุฏฺฐานํ (มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน) ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยกุศลมูลเหล่านั้นมีอโลภะเป็นต้น โดยนัยแม้นี้ พระธรรมราชาชื่อว่าทรงแสดงกำหนัดกุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งกรรมทวาร

ทั้ง ๓ กุศลในฐานะทั้ง ๓ เป็นอันพระองค์ทรงแสดงกำหนดเอาก่อนด้วย

ประการฉะนี้ แม้ในอกุศล ก็นัยนี้เหมือนกันจริงอยู่ บรรดาอกุศลจิต ๒ แม้อกุศลหนึ่งชื่อว่า พ้นไปจากมูลย่อมไม่มี พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดอกุศลเหล่านั้นแสดงไว้ด้วยมูลทั้ง ๓ขึ้นชื่อว่า อกุศลที่นอกไปจากนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้นมิได้มีเพราะฉะนั้น พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดเอาอกุศลจิต ๑๒ เหล่านั้นนั่นเองแสดงไว้ด้วยสามารถแห่งนามขันธ์ ๔อนึ่ง เพราะอกุศลจิต ๑๒ เหล่านี้มีสภาวะเป็นไปด้วยสามารถแห่งกายกรรม เป็นต้น พระองค์จึงทรงกำหนดแสดงไว้ด้วยอำนาจกรรมทวาร แต่พระบาลีใดที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทสนี้มีอาทิว่า ตเทกฏฺฐา จ กิเลสา (และกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น) ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัยในพระบาลีนั้นว่า กิเลสที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกัน หรือในบุคคลเดียวกัน ในบรรดาอกุศลที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันทั้ง ๒ นัยนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ร่วมกัน อกุศลที่ตั้งอยู่ในบุคคลเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณ อกุศลที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ที่เดียวกับอกุศลมูลนั้น เพราะอรรถว่าตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับอกุศลมูลมีโลภะเป็นต้นนั้น หรือตั้งอยู่ในฐานอื่นที่ทรงแสดงไว้ในที่นั้น ๆในการละกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยเกิดพร้อมกันมาในฐานเท่าที่กล่าวมานี้ คือ ในสังกิลิฏฐิติกะว่า๑ ธรรมที่เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓คือโลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้

ในหีนติกะตรัสว่า ธรรมทราม เป็นไฉน ?อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในอกุศลติกะนี้ตรัสว่า ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในกิเลสโคจฉกะตรัสว่าธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในสรณทุกะ๒ ตรัสว่า ธรรมเกิดกับกิเลส เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ แต่ในทัสสเนนปหาตัพพติกะตรัสว่า สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้น ดังนี้ แม้ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะก็ตรัสว่า สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้น ดังนี้ ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะนั้นนั่นแหละตรัสอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และธรรมเหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้นเป็นสัมปยุตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านั้นเป็นสัมปยุตตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ดังนี้ก็ในสัมมัปปธานวิภังค์ตรัสไว้ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น อกุศล

ธรรมอันลามก เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ แม้กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณมาแล้วในฐานะเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้

 

สมนุปสฺสติ คือ หรือเห็นตนมีรูป ๑ หรือเห็นรูปในตน ๑ หรือเห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาเป็นตน ๑ ฯลฯ เห็นสัญญาเป็นตน ๑ เห็นสังขารเป็นตน ๑เห็นวิญญาณเป็นตน ๑ ตรัสว่า ตนระคนด้วยรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ละ ๓ อย่าง ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า หรือเห็นตนมีเวทนา ๑หรือเห็นเวทนาในตน ๑ หรือเห็นตนในเวทนา ๑บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ตรัสอุจเฉททิฏฐิในฐานะทั้ง ๕ คือ ย่อมเห็นรูปเป็นตน ๑ ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ๑ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ๑ ย่อมเห็นสังขารเป็นตน ๑ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน ๑ ในฐานะที่เหลือตรัสสัสสตทิฏฐิในที่นี้จึงเป็นภวทิฏฐิ ๑๕ วิภวทิฏฐิ ๕ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบทิฏฐิเหล่า

นั้น แม้ทั้งหมดห้ามมรรคแต่ไม่ห้ามสวรรค์ อันมรรคที่หนึ่งพึงประหาณดังนี้ว่าด้วยความสงสัย

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า สตฺถริ กงฺขติ (เคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา) ความว่า ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงในพระสรีระหรือในคุณของพระศาสดาหรือทั้ง ๒ อย่าง เมื่อเคลือบแคลงในพระสรีระย่อมเคลือบแคลงว่าพระสรีระชื่อว่า ประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ เมื่อเคลือบแคลงในพระคุณย่อมเคลือบแคลงว่า พระสัพพัญญุตญาณอันสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้เมื่อเคลือบแคลงในสิ่งทั้ง ๒ นั้น ย่อมเคลือบแคลงว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยความสำเร็จแห่งพระสรีระ อันรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐หรือพระรัศมีซ่านไปวาหนึ่ง ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณสามารถรู้ไญยธรรมทั้งปวงดำรงอยู่ ทรงเป็นผู้นำของโลก มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ จริงอยู่ปุถุชนนี้เมื่อยังเคลือบแคลงในพระอัตภาพ หรือในพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธะนั้น ชื่อว่า เคลือบแคลงในสิ่งทั้งสองนี้

บทว่า วิจิกิจฺฉติ (สงสัย) ความว่า ปุถุชนเมื่อไม่สามารถตัดสินอารมณ์ได้ ย่อมยาก ย่อมลำบาก ย่อมไม่น้อมใจเชื่อ ในอธิการนี้เท่านั้นย่อมไม่ได้อธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ) บทว่า น สํปสีทติ (ย่อมไม่ผ่องใส)ได้แก่ ไม่สามารถจะทำจิตมิให้ขุ่นมัวเลื่อมใส คือย่อมไม่เลื่อมใสในคุณทั้งหลาย

ส่วนในข้อว่า ธมฺเม กงฺขติ (เคลือบแคลงในพระธรรม) เป็นต้น

ก็เมื่อเคลือบแคลงอยู่ว่า ชื่อว่า อริยมรรค ๔ ที่ละกิเลส สามัญผล ๔สงบระงับจากกิเลสทั้งหลาย อมตมหานิพพานเป็นอารัมมณปัจจัยแก่มรรคและผลมีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้บ้าง เมื่อเคลือบแคลงว่า ธรรมนี้เป็นนิยยานิกธรรม เป็นธรรมนำออก หรือเป็นอนิยยานิกธรรม เป็นธรรมไม่นำออกหรือหนอ ดังนี้ ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระธรรม เมื่อเคลือบแคลงว่าสังฆรัตนะนี้คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผู้ตั้งอยู่ในผล ว่ามีอยู่หรือไม่หนอดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า พระสงฆ์นี้เป็นผู้ปฏิบัติดีหรือปฏิบัติชั่วหนอ ดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า วิบากผลแห่งทานที่ถวายในสังฆรัตนะนี้ มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระสงฆ์ เมื่อเคลือบแคลงว่าก็สิกขา ๓ มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า สิกขา ๓ มีอานิสงส์เพราะการศึกษาเป็นเหตุหรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า เคลือบแคลงในสิกขาขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่ล่วงไปแล้ว เรียกว่า ปุพพันตะ (ส่วนอดีต) ที่ยังไม่มาถึงเรียกว่า อปรันตะ (ส่วนอนาคต) ในบรรดาส่วนทั้ง ๒ นั้นเมื่อเคลือบแคลงว่า ขันธ์ในส่วนอดีตในธรรมทั้งหลาย มีขันธ์ที่เป็นส่วนอดีตเป็นต้น มีอยู่หรือไม่มี ? ชื่อว่า เคลือบแคลงในขันธ์เป็นต้นในส่วนอดีตเมื่อเคลือบแคลงว่า ขันธ์เป็นต้นที่เป็นส่วนแห่งอนาคตในอนาคต มีอยู่หรือไม่หนอ ชื่อว่า เคลือบแคลงในขันธ์ เป็นต้นในส่วนอนาคต เมื่อเคลือบแคลงในส่วนทั้ง ๒ ชื่อว่า เคลือบแคลงในปุพพันตะและอปรันตะ (ส่วนอดีตและอนาคต) เมื่อเคลือบแคลงว่าวัฏฏปัจจาการ ๑๒ บท มีอยู่หรือไม่หนอ ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระธรรม อันเป็นอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปันนะ ในธรรมที่เป็นอิทัปปัจจยตาเป็นต้นนั้น พึงทราบวจนัตถะต่อไปนี้ปัจจัยทั้งหลายของชราและมรณะเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า อิทัปปัจจยา ความเป็นแห่งอิทปปัจจยาทั้งหลาย ชื่อว่า อิทัปปัจจยตา อีกอย่างหนึ่ง อิทัปปัจจยานั่นเองชื่อว่า อิทัปปัจจยตา คำว่า อิทัปปัจจยตา นี้เป็นชื่อของธรรมมีชาติเป็นต้น ธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยธรรมนั้น ๆ ในบรรดาธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้น เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม ข้อนี้มีอธิบายว่า ย่อมเคลือบแคลงในอิทัปปัจจยตา และในปฏิจจสมุปปันนธรรม

บทว่า สีเลน ได้แก่ โคศีลเป็นต้น (ประพฤติเหมือนโค)

บทว่า วเตน (ด้วยพรต) ได้แก่ ด้วยโคพรตเป็นต้น

บทว่า สีลพฺพเตน (ด้วยศีลพร ) ได้แก่ ด้วยบททั้ง ๒ นั้น

บทว่า สุทฺธิ ได้แก่ บริสุทธิ์จากกิเลส อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานเท่านั้น เป็นความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยม

ก็ในบทว่า ตเทกฏฺฐา (ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน) นี้ ได้แก่ เป็นธุระตั้งอยู่ในที่เดียวกันแห่งการประหาณ ก็ในพระบาลีนี้ตรัสกิเลส ๒ อย่างเท่านั้นคือทิฏฐิกิเลส และวิจิกิจฉากิเลส ส่วนกิเลส ๘ ที่ไม่ตรัสไว้ในที่นี้ คือ โลภะโทสะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เหล่านี้ บัณฑิตก็พึงนำมาแสดง ด้วยว่า บรรดากิเลส ๘ เหล่านี้ เมื่อทิฏฐิ และวิจิกิจฉาถูกประหาณอยู่ กิเลสเหล่านั้นแม้ทั้งหมด คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ถีนะอุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะที่นำไปสู่อบาย เป็นกิเลสตั้งอยู่ในฐานเดียวกันแห่งการประหาณ ย่อมถูกประหาณ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยเกิดพร้อมกัน ก็ควรนำมาแสดง เพราะจิต ๕ อย่างเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ และจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ๑ ย่อมถูกประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค บรรดาจิตที่สหรคตด้วยกิเลสทั้ง ๕ เหล่านั้น เมื่อจิตที่สหรคตด้วยทิฏฐิเป็นอสังขาริก ๒ ถูกประหาณอยู่ กิเลสเหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะที่เกิดพร้อมกับอสังขาริกทิฏฐิจิต ๒ เหล่านั้น ก็ย่อมถูกประหาณด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกัน ทิฏฐิกิเลสที่เหลือและวิจิกิจฉากิเลส ก็ย่อมถูกประหาณไปด้วยอำนาจกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวแห่งการประหาณเมื่อแม้จิตที่เป็นสสังขาริกสัมปยุตด้วยทิฏฐิทั้งหลาย อันบุคคลประหาณอยู่ กิเลสเหล่านี้คือ โสภะ โทสะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะซึ่งเกิดพร้อมกันกับจิตที่เป็นสสังขาริกสัมปยุตด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมถูกประหาณด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกันทิฏฐิกิเลสที่เหลือ และวิจิกิจฉากิเลสก็ย่อมถูกประหาณไปด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณ บุคคลย่อมได้กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยความเกิดพร้อมกันในกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันด้วยการประมาณเพราะฉะนั้น ท่านจึงนำกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกันนี้มาแสดงไว้ ด้วยประการฉะนี้

บทว่า ตํสมฺปยุตโต (อันสัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น) ได้แก่สัมปยุตด้วยกิเลส ๘ ซึ่งตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้นเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง พึงทำการแยกแสดงความเป็นขันธ์สัมปยุตแต่ละขันธ์อย่างนี้ คือ

สัมปยุตด้วยโลภะนั้น และสัมปยุตด้วยโทสะนั้น บรรดากิเลสเหล่านั้น เมื่อถือโลภะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโลภะ เมื่อถือเอาโทสะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้คือ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ ก็ชื่อว่าสัมปยุตด้วยโทสะ เมื่อถือเอาโมหะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ โทสะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโมทะเมื่อท่านถือเอามานะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ซึ่งเกิดพร้อมกับมานะนั้น ก็ชื่อว่าสัมปยุตตด้วยมานะโดยอุบายนี้ บัณฑิตพึงทำการประกอบว่า ขันธ์สัมปยุตด้วยถีนะนั้นสัมปยุตด้วยอุทธัจจะนั้น สัมปยุตด้วยอหิริกะ สัมปยุตด้วยอโนตตัปปะนั้น

ดังนี้บทว่า ตํสมุฏฺฐานํ ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยโลภะนั้น ฯลฯ ตั้งขึ้นด้วยอโนตตัปปะ ในบทว่า อิเม ธมฺมา ทสฺสเนน ปหาตพฺพา (สภาวธรรมเหล่านี้ อันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ) นี้อธิบายว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าทัสสนะ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคนั้นพึงละ

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ

ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานก่อน

ถามว่า โคตรภู เห็นพระนิพพานก่อนกว่ามิใช่หรือ

ตอบว่า ไม่เห็นก็ไม่ใช่ แต่เห็นแล้วมิได้ทำกิจที่ควรทำ เพราะมิได้ประหาณสังโยชน์ทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่ควรจะกล่าวว่า โคตรภูญาณย่อมเห็นดังนี้ ในข้อนี้ มีชาวชนบทเป็นตัวอย่าง๑ ก็ชาวชนบทนั้นแม้เห็นพระราชา

ในทีใดที่หนึ่งแล้ว ถึงกระนั้นก็กล่าวอยู่ว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้าพระราชาเพราะยังมิได้ทำหน้าที่ถวายเครื่องบรรณาการให้สำเร็จ ดังนี้

บทว่า อวเสโส โลโภ (โลภะที่เหลือ) ได้แก่ โลภะที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคประหาณแล้ว แม้ในโทสะเเละโมหะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกันเพราะว่าโสดาปัตติมรรคประหาณกิเลสที่นำไปสู่อบายเท่านั้น เพื่อทรงแสดงกิเลสอื่นจากกิเลสที่นำไปสู่อบายเหล่านั้น จึงตรัสคำนี้ว่า ตเทกฏฺฐา (กิเลสที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น) จริงอยู่ กิเลส ๕ อย่างเหล่านั้นตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยสัมปโยคะบ้าง โดยการประหาณบ้างจากกิเลสทั้ง ๓นั้นที่มาในพระบาลี

บทว่า เนวทสฺสเนน น ภาวนาย๒ (ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่พึงประหาณ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภาวธรรมอันมรรคเหล่านั้นพึงประหาณ ดุจการประหาณสังโยชน์เป็นต้น

ส่วนการประหาณธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านอนุญาตไว้โดยนัยมีอาทิว่า ธรรม๑ อรรถกถาว่า ยตฺถ กตฺถจิ ราชานํ ทิสฺวาปิ ปณฺณาการํ ทตฺวา กิจฺจนิปฺผตฺติยา อนิฏฺฐตฺตาปิ ราชานํ น ปสฺสามีติ วทนฺโต ในโยชนาบอกสัมพันธ์การแปลว่า บทว่า ทิสวาปิ เป็นบุพพกาลกิริยาของ วทนฺโต บทว่า ทตฺวา วีเสสนะของ กิจฺจนิปฺผตฺติยา และมีศัพท์หลังเป็น สัมภาวนัตถะ

๒ ธรรมที่ไม่พึงประหาณ คือ กุศลจิต ๒๑ วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ รูปทั้งหมดและนิพพานเหล่าใด คือ นามและรูปพึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วเว้น ๗ ภพ เพราะโสดาปัตติมรรคญาณดับอภิสังขารวิญญาณธรรมคือนามและรูปเหล่านั้น ย่อมดับในภพนี้ ดังนี้ อันใด พึงทราบว่า การประหาณนั้น ท่านกล่าวหมายเอาปริยายนี้ว่า ธรรมเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะความที่มรรคเหล่านั้นยังมิได้เกิด ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ละได้แล้ว เพราะการประหาณกิเลสทั้งหลายอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้าเป็นปัจจัย (อุปนิสฺสยปจฺจยานํ)ดังนี้

  ว่าด้วยนิทเทสทัสสนเหตุติกะที่ ๙

ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลงด้วยพระดำรัสว่า ธรรมเหล่านี้ สภาวธรรมเหล่านี้มีเหตุพึงประหาณโดยโสดาปัตติมรรคมีอยู่ ดังนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมที่ควรประหาณดีแล้วแสดงเหตุธรรมและสเหตุกธรรม โดยความเป็นฐานอันเดียวกันกับสังโยชน์เหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตีณิ สญฺโญชนานิ (สังโยชน์ ๓ ) ดังนี้อีกบรรดาเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เหล่านั้น ในเหตุธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ มีโมหะสหรคตด้วยโลภะก็เป็นธรรมมีโลภะเป็นเหตุประกอบโมหะสหรคตด้วยโทสะเป็น ธรรมมีโทสะเป็นเหตุประกอบ อนึ่ง โลภะและโทสะก็เป็นเหตุประกอบกับโมหะ เพราะฉะนั้น โมหะที่สหรคตด้วยโลภะเป็นต้นเหล่านั้นย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในเหตุธรรมและ สเหตุกธรรมอันจะพึงละแม้ก็จริงถึงอย่างนั้น โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่า เป็นเหตุธรรมอย่างเดียว ไม่มีเหตุประกอบ เพราะไม่มีเหตุที่สัมปยุตแห่งกันและกัน เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงการประหาณโมหะที่ไม่มีเหตุประกอบนั้น จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ทสฺสเนนปหาตพฺพเหตุ สภาวธรรมเหล่านี้ มีเหตุพึงประหาณโดยโสดาปัตติมรรค ดังนี้

ในทุติยบท พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะแสดงการประหาณโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุ (สภาวธรรมเหล่านั้นมีเหตุพึงประหาณด้วยภาวนาคือมรรคเบื้องบน ๓ มีอยู่)ดังนี้ ด้วยว่า โมหะอันสหรคตด้วยอุทธัจจะนั้น กระทำสัมปยุตตธรรมกับตนให้เป็นสเหตุกะและหมุนไปข้างหลัง จะจัดเป็นมหาตัพพเหตุบทก็ไม่ได้ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุแห่งกันและกัน เหมือนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ฉะนั้น

ในตติยบท บทว่า อวเสสา กุสลากุสลา (กุศลและอกุศลที่เหลือ) ความว่า การถืออกุศลอีกทรงกระทำไว้เพื่ออันรวมโมหะทั้งหลายอันสหรคตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เพราะโมหะเหล่านั้นไม่ชื่อว่า มีเหตุที่จะพึงละ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุว่าด้วยนิทเทสปริตตารัมมณติกะที่ ๑๓พึงทราบวินิจฉัยใน ปริตตารัมมณติกะ ต่อไป

บทว่า อารพฺภ (ปรารภ) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์ จริงอยู่ตัวเองจะเป็นปริตตธรรม หรือเป็นมหัคคตธรรมก็ตาม ธรรมใดทำปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปริตตะ)

ธรรมใดทำมหัคคตะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า มหัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ) ธรรมเหล่าใดทำอัปปมาณธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ)อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง เป็นอัปปมาณะบ้าง

ว่าด้วยนิทเทสมิจฉัตตติกะที่ ๑๕

พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตติกะ ต่อไป

บทว่า อานนฺตริกานิ (อนันตริยกรรม) นี้ เป็นชื่อของการทำมาตุฆาตเป็นต้นเป็นธรรมให้ผลโดยไม่มีอะไรขัดขวางทีเดียว ด้วยว่าในบรรดาอนันตริยกรรมเหล่านั้น เมื่อบุคคลทำกรรมแม้อย่างหนึ่ง กรรมอื่นจะห้าม

อนันตริยกรรมนั้นแล้วก็ไม่สามารถเพื่อทำโอกาสให้วิบากของตน เพราะว่าเมื่อสร้างพระสถูปทองแม้เท่าเขาสิเนรุ หรือสร้างวิหารมีปราการสำเร็จด้วยแก้ว เท่าเขาจักรวาล แล้วถวายปัจจัย ๔ แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่งเต็มวิหารนั้นตลอดชีวิตก็ดี กุศลกรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามวิบากของอนันตริยกรรมเหล่านั้นได้

บทว่า ยา จ มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิยตา (และนิยตมิจฉาทิฏฐิ) ได้แก่บรรดาอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยว่าพระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อยังบุคคลผู้ถือมิจฉาทิฏฐิดำรงอยู่นั้นให้ตรัสรู้ได้

ว่าด้วยนิทเทสมัคคารัมมณติกะที่ ๑๖

พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป

บทว่า อริยมคฺคํ อารพฺภ (ปรารภอริยมรรค) ได้แก่ กระทำโลกุตรมรรคให้เป็นอารมณ์ ก็ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์เหล่านั้น เป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง ในนิทเทสมัคคเหตุกธรรม (ทุติยบท) พึงทราบว่า ความที่ขันธ์ทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรคเป็นสเหตุกะทรงแสดงไว้ด้วยเหตุ มีปัจจัยเป็นอรรถโดยนัยแรก พึงทราบความที่มัคคังคะที่เหลือเป็นสเหตุกะ ทรงแสดงด้วยเหตุกล่าวคือสัมมาทิฏฐิเป็นมรรคโดยนัยที่ ๒ โดยนัยแห่งตติยบท ทรงแสดงความที่สัมมาทิฏฐิเป็นสเหตุกะ ด้วยบทว่า มคฺเคน อุปฺปนฺนเหตุ ด้วยเหตุอันเกิดขึ้นด้วยมรรค ดังนี้

บทว่า อธิปตึ กริตฺวา (กระทำมรรคให้เป็นอธิบดี) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี ธรรมที่มีอารมณ์เหล่านั้นแล เป็นปริตตธรรมเพราะว่า ในเวลาพระอริยสาวกทั้งหลายกระทำมรรคของตนให้หนักแล้วพิจารณาย่อมได้กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี แต่พระอริยสาวกเมื่อพิจารณามรรคของผู้อื่นด้วยเจโตปริยญาณแม้กระทำให้หนักก็กระทำให้หนักเหมือนมรรคอันตนแทงตลอดแล้วไม่ได้ ถามว่า พระอริยสาวกเห็นพระตถาคตทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์อยู่ ย่อมกระทำมรรคของพระตถาคตให้หนักหรือไม่ ตอบว่า ย่อมกระทำ แต่กระทำให้หนักเหมือนมรรคของตนไม่ได้ ในถ้อยคำของอรรถกถาแม้นี้ว่า พระอรหันต์ไม่ทำธรรมอะไร ๆ ให้หนัก เว้นแต่มรรคผลและนิพพานดังนี้ เป็นการอธิบายความนี้ทีเดียว

บทว่า วิมํสาธิปเตยฺเยน (เจริญมรรคมีวิมังสาเป็นอธิบดี) นี้ ตรัสเพื่อแสดงสหชาตาธิปติ เพราะว่า เมื่อบุคคลเจริญมรรคทำฉันทะให้เป็นใหญ่ฉันทะก็ชื่อว่าอธิบดี มิใช่มรรคเป็นอธิบดี แม้ธรรมที่เหลือก็ชื่อว่า มีฉันทะ

เป็นอธิบดี มิใช่มีมรรคเป็นอธิบดี แม้ในจิตตะก็นัยนี้แหละ แต่เมื่อบุคคลเจริญมรรคกระทำวิมังสาให้เป็นใหญ่อยู่ วิมังสาธิบดีนั่นแหละย่อมเกิด มรรคก็เกิด เพราะฉะนั้น แม้ธรรมที่เหลือก็ย่อมชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี แม้ในวิริยะก็นัยนี้เหมือนกัน

ว่าด้วยนิทเทสอุปปันนติกะที่ ๑๗

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปปันนติกะ ต่อไป

บทว่า ชาตา (เกิดแล้ว) ได้แก่ บังเกิดแล้ว คือมีภาวะของตนอันได้เฉพาะแล้ว บทว่า ภูตา (เป็นแล้ว) เป็นต้นเป็นไวพจน์ของคำว่าเกิดแล้วเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ จริงอยู่ การเกิดนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นแล้วเพราะความเกิดขึ้นแห่งภาวะของตน ชื่อว่า สัญชาต (เกิดพร้อมแล้ว)เพราะเกิดขึ้นด้วยการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า นัพพัตตา(บังเกิดแล้ว)เพราะถึงลักษณะแห่งการเกิดขึ้น ส่วนคำที่ตรัสว่า อภินิพฺพตฺตา

(บังเกิดเฉพาะแล้ว)ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค ที่ชื่อว่า ปาตุภูตา (ปรากฏแล้ว)เพราะเป็นสภาวะปรากฏแล้วมีแล้ว ที่ชื่อว่า อุปปันนา (เกิดขึ้นแล้ว )เพราะพ้นไปจากอดีต คำว่า สมุปฺปนฺนา (เกิดขึ้นพร้อมแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค ที่ชื่อว่า อุฏฺฐิตา (ตั้งขึ้นแล้ว)เพราะตั้งเบื้องบนด้วยความหมายว่าเกิดขึ้นแล้ว ที่ชื่อว่า สมุฏฐิตา (ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว) เพราะตั้งขึ้นแล้วด้วยการประกอบแห่งปัจจัย พึงทราบเหตุกระทำถ้อยคำว่า อุปนฺนา อีกโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ

บทว่า อุปนฺนํเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว)ได้แก่ ถึงการนับโดยส่วนที่เกิดขึ้น คำว่า รูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณ นี้ เป็นคำแสดงสภาวะของธรรมเหล่านั้นในนิทเทสแห่งบทที่ ๒ พึงทราบโดยนัยปฏิเสธธรรมที่กล่าวแล้วนิทเทสแห่งบทที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นก็ติกะนี้พระองค์ทรงแสดงเต็มอัทธา (กาล) ทั้ง ๒ จริงอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีโอกาสอันได้แล้วมี ๒ อย่าง คือ วิบากที่ถึงขณะแล้ว และที่ยังไม่ถึงแล้ว บรรดาวิบากกรรม ๒ เหล่านั้น วิบากที่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วชื่อว่าอุปปันนะ (เกิดขึ้นแล้ว)วิบากที่ยังไม่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) จะเกิดขึ้นในลำดับแห่งจิต หรือในกาลก้าวล่วงไปอีกแสนกัปจะชื่อว่าไม่มี ย่อมไม่เป็นได้ ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวะปัจจัยที่แน่นอน จึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น เหมือนอย่างใน

พระบาลีนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ อัตตาที่ไม่มีรูปนี้สำเร็จด้วยสัญญาตั้งอยู่ ที่นั้นเพราะละสัญญานั้นแล้ว สัญญาอื่นทีเดียวย่อมเกิดแก่บุรุษนี้ สัญญาอื่นนั้นแหละก็ย่อมดับไป ดังนี้ มูลภวังคสัญญา (สัญญาสัมปยุตด้วยมูลภวังค์) ย่อมดับไปในกาลเป็นไปแห่งสัญญาในกามาวจร ในอรูปภูมิแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในกาลแห่งสัญญาฝ่ายกามาวจรดับแล้ว สัญญาสัมปยุตด้วยมูลภวังค์นั้น จักเกิดขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้น อัตตากล่าวคืออรูปจึงไม่ถึงการนับว่าย่อมไม่มี เกิดแล้วว่าชื่อว่ายังดำรงอยู่ทีเดียว ข้อนี้ ฉันใด วิบากแห่งกรรมมีโอกาสอันได้แล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี ๒ อย่าง ฯลฯ ชื่อว่า ย่อมไม่มี ย่อมไม่เป็นไปด้วยอรรถกถาเป็นสภาวะแห่งปัจจัยที่แน่นอน จึงชื่อว่าธรรมทั้งหลายที่จะต้องเกิดแน่นอนก็ผิว่า กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่สัตว์ทำไว้แล้ว พึงให้วิบากทั้งหมดไซร้ โอกาสแห่งกรรมอื่นก็ไม่พึงมี แต่กรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ ให้วิบากแน่นอน และให้วิบากไม่แน่นอนบรรดากรรมที่ให้วิบากแน่นอนและไม่แน่นอนเหล่านั้น อนันตริยกรรม ๕ สมาบัติ ๘ อริยมรรค ๔ ชื่อว่า กรรมมีวิบากที่แน่นอน ก็กรรมที่ให้วิบากที่แน่นอนนั้นถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วก็มี ที่ยังไม่ถึงขณะก็มี ในกรรมทั้ง ๒ นั้น กรรมที่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วชื่อว่า อุปฺปนฺนํ (เกิดขึ้นแล้ว)ที่ยังไม่ถึงขณะ ชื่อว่า อนุปฺปนฺนํ (ยังไม่เกิดขึ้น) วิบากของกรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้น จงเกิดขึ้นในลำดับแห่งจิต หรือในก้าวล่วงไปอีกแสนกัปก็ตามชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่าเป็นภาวะแห่งปัจจัยที่แน่นอนธรรมเหล่านี้แหละชื่อว่าจะเกิดขึ้น เหมือนอย่างมรรคของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ชื่อว่า อนุปปันนะ (ยังไม่เกิดขึ้น) และผลจึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิดแน่นอน

 

ว่าด้วยนิทเทสอดีตติกะที่ ๑๘

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอดีตติกะ ต่อไป

บทว่า อตีตา (ล่วงไปแล้ว) ได้แก่ ก้าวล่วงไป ๓ ขณะ (อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) บทว่า นิรุทฺธา (ดับแล้ว) ได้แก่ ถึงความดับแล้ว

บทว่า วิคตา (ปราศไปแล้ว )ได้แก่ถึงความพินาศไปแล้วหรือถึงจากไปแล้ว

บทว่า วิปริณตา (แปรไปแล้ว) ได้แก่ ถึงการแปรปรวนโดยละปกติไป

ที่ชื่อว่า อัสดงคตแล้ว เพราะอรรถว่า ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้กล่าวคือ

ความดับ บทว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ถึงความดับสูญแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วย

อุปสรรค บทว่า อุปฺปชฺชิตฺวา วิคตา (เกิดขึ้นแล้วปราศไป) ได้แก่เกิดขึ้นแล้วก็จากไป เหตุโดยการตรัสอดีตอีกข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น แม้ในธรรมมีอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ

บทว่า อตีตํเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์โดยส่วนที่ล่วงไปแล้ว)ได้แก่ถึงการนับโดยส่วนธรรมที่เป็นอดีต ก็ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้นเป็นไฉน ?

ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แม้ในธรรมที่เป็นอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกันในนิทเทสอตีตารัมมณติกะ (ที่ ๑๙) ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อตีเต ธมฺเม อารพฺภ (ปรารภอดีตธรรม) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเฉพาะปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น เพราะว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นปรารภธรรมเป็นอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น

ว่าด้วยนิทเทสอัชฌัตตติกะที่ ๒๐

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอัชฌัตตติกะ ต่อไปด้วยบททั้งสองว่า เตสํ เตสํ (เหล่านั้น ๆ) ได้แก่ ทรงกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด บททั้งสองว่า อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ (เป็นภายในเป็นเฉพาะตน) เป็นชื่อของธรรมที่เป็นภายในเกิดในตน บทว่า นิยตา ได้แก่เกิดแก่ตน บทว่า ปาฏิปุคฺคลิกา ได้แก่ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล

บทว่าอุปฺปาทินฺนา (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ จริงอยู่ธรรมเหล่านั้นเกิดด้วยกรรมหรือไม่ก็ตาม แต่ในอัชฌัตตติกนิทเทสนี้ ตรัสว่าอุปาทินนะ ด้วยอำนาจตัณหายึดถือไว้และทิฏฐิลูบคลำแล้ว

บทว่า ปรสตฺตานํ (ของสัตว์อื่น) ได้แก่ สัตว์ที่เหลือเว้นตนเอง

คำว่า ปรปุคฺคลานํ (บุคคลอื่น) เป็นไวพจน์ของคำว่า ปรสตฺตานํ นั่นเอง

คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ บทว่า ตทุภยํ ตัดบทเป็นตํ อุภยํ แปลว่า ธรรมทั้ง ๒ นั้น

ในปฐมบท แห่งอัชฌัตตารัมมณติกะ (ที่ ๒๑) พึงทราบว่า ได้แก่ธรรมที่เป็นปริตตะ และมหัคคตะ ในทุติยบท พึงทราบว่า ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย (ปริตตธรรมและมหัคคตธรรม) แม้อัปปมาณธรรม ในตติยบทพึงทราบว่า ได้แก่ ปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น แต่ว่าอัปปมาณธรรม(ในทุติยบท) ไม่กระทำอารมณ์ในภายนอกและในภายในตามกาล (นิพพานเป็นกาลวิมุตติ)นิทเทสแห่งสนิทัสสนติกะ (ที่ ๒๒) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

เหตุโคจฉกะ

[๖๘๙] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ กามาวจรเหตุ ๙ รูปาวจร เหตุ ๖ อรูปาวจรเหตุ ๖ โลกุตรเหตุ ๖

[๖๙๐] บรรดาเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ

บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยาที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คืออโลภะนี้เรียกว่า อโลภะ

อโทสะ เป็นไฉน ?

ไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้ายไมตรีกิริยาที่สนิทสนม ความสนิทสนม การเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเอ็นดูความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ

อโมหะ เป็นไฉน ?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีต และส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรรความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิดความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้วความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า อโมหะสภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓

[๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะบรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดีความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสองปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวังความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรสความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตรความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหาวิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหาโผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ความปรารถนา วัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌาอกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ

  โทสะ เป็นไฉน ?

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เราอาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแต่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุจิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้ายความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้ายความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้ายความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตนี้เรียกว่า โทสะ

โมหะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลาความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชาอกุศลมูล คือ โมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อกุศลเหตุ ๓

[๖๙๒] อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากของกุศลธรรม หรือ อโลภะอโทสะ อโมหะ ในพวกกิริยาอัพยากตธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓

  [๖๙๓] กามาวจรเหตุ ๙ เป็นไฉน ?

  กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากามาวจรเหตุ ๙

รูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรเหตุ ๖อรูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖

[๖๙๔] โลกุตรเหตุ ๖ เป็นไฉน ?

  กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าโลกุตรเหตุ ๖

บรรดาโลกุตรเหตุ ๖ นั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ

บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คือ อโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ

อโทสะ เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้ายกิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้ายฯลฯ ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียด กุศลมูล คือ อโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ

อโมหะ เป็นไฉน ?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความรู้ในอิทัปปัจจยตาธรรมและปฏิจจสมุปบาทธรรม ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิดความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่า อโมหะสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓

อัพายตเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากตเหตุ ๓สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกุตรเหตุ ๖ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ

[๖๙๕] ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

เว้นธรรมเป็นเหตุเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ

[๖๙๖] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ

ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมไม่มีเหตุ

[๖๙๗] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ

ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือเวทนาขันธ์ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมวิปปยุตจากเหตุ

ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน ?

โลภะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโลภะโทสะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโทสะอโลภะ อะโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และมีเหตุโดยกันและกัน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และมีเหตุธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ

ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?

โลภะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโลภะโทสะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโทสะอโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยกันและกันสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ

ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ

ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

ธรรมไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นคือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

    เหตุโคจฉกะ จบ

จูฬันตรทุกะ

ธรรมมีปัจจัย เป็นไฉน ?

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปัจจัย

ธรรมไม่มีปัจจัย เป็นไฉน ?

อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย

ธรรมเป็นสังขตะ เป็นไฉน ?

ธรรมที่มีปัจจัยเหล่านั้นอันใดเล่า ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นสังขตะ

ธรรมเป็นอสังขตะ นั้นเป็นไฉน ?

ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใดเล่า ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่าธรรมเป็นอสังขตะ

ธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน ?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้

ธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์,รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้

ธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน ?

จักขายตนะฯลฯโผฏฐัพพายตนะสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่กระทบได้

ธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะและอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่กระทบไม่ได้

ธรรมเป็นรูป เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูป

ธรรมไม่เป็นรูป เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูป

ธรรมเป็นโลกิยะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกิยะ

ธรรมเป็นโลกุตระ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระและอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกุตระ

ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้เป็นไฉน?

ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้,ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้,ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฐานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณไม่รู้ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้

  จูฬันตรทุกะ จบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท