มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

หลักฐานที่มาของสภาวธรรม ชุด ๑


 

  โครงการธรรมศึกษาวิจัย

หลักฐานที่มาของสภาวธรรม ชุด ๑

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

การศึกษา หลักฐานที่มาของสภาวธรรม ชุด ๑ ช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงใน

หลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี เพราะใน  มีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้  เพื่อให้การศึกษา หลักฐานที่มาของสภาวธรรม ชุด ๑

  เป็นอย่างเข้าใจ ผู้เขียนจึงสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

  หนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

หลักฐานสภาวธรรม

การควบคุมอายตนะ  ๖

  ๑.  อายตนะ  คือ  จุดตั้งต้นของปฏิจสมุปบาท

[สฬา.สํ.แปล  ๑๘/๒๓๖,๒๓๗/๒๓๖-๒๓๗;  ปฏิจจ.พอ.๑๕๖-๑๕๘]  [สฬา.สํ. บาลี-ไทย ๑๘/๒๓๖,๒๓๗/๑๖๐-๑๖๑] 

อายตนะเป็นจุดตั้งต้นของการปรุงแต่ง  ได้แก่การเกิดขึ้นของเวทนา  ทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์  ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะย่อมจะเกิดอุปาทาน  ...จนเกิดทุกข์ในที่สุด

  ๒.  การตั้งสติกำหนดอายตนะ

[อุปริ.ม.  ๑๔/๓๐๔-๓๑๒/๓๙๕-๔๐๕]

  ๓.  ว่าด้วยธรรมที่เนื่องด้วยอายตนะ ๖  บูรณาการอายตนะ  เข้ากับปฏิจจสมุปบาท  ขันธ์ ๕  มรรคมีองค์แปด  สติปัฏฐาน ๔  สัมมัปปธาน ๔  อิทธิบาท ๔  อินทรีย์ ๕  พละ ๕  โพชฌงค์ ๗  สมถะและวิปัสสนาย่อมเคียงคู่กันไป 

[อุปริ.ม. แปล ๑๔/๔๒๘-๔๓๓/๕๑๓-๕๑๘] [อุปริ.ม. บาลี-ไทย ๑๔/๔๒๘-๔๓๓/๓๖ช-๓๗๔ ]

  ๔.  ความเกิดขึ้น(ในที่นี้หมายถึงอายตนะทำหน้าที่ของมัน)แห่งอายตนะ  นั้นคือความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ [อริยสัจ.ต.พอ. ๓๔๗-๓๔๘]

  ๕. อาการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะตัณหาในอายาตนะภายนอก [อริยสัจ.ต.พอ.๓๔๙-๓๕๐]

  ๖.  เห็นแก่เหยื่อจึงติดเบ็ด  ...  อายตนะภายนอก ๖ เป็นเบ็ด  อันมีเหยื่อคือเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่  น่าปรารถนา  น่าพอใจ  ที่ยวนตายวนใจให้รัก  เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่  และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ  ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน  พร่ำสรรเสริญ  เมาหมกอยู่ซึ่งอารมณ์ทั้งหกนี้  ภิกษุนั้นย่อมได้ชื่อว่าผู้กลืนเบ็ดของมาร(เห็นแก่เหยื่อจึงติดเบ็ด) [อริยสัจ.ต.พอ.๒๕๖-๓๕๗]

  ๗.  นิโรธอริยสัจ – ว่าด้วยความดับตัณหา  ...  จิตไม่มีตัณหา  เรียกว่าอยู่คนเดียว  :  ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน  ไม่พร่ำสรรเสริญ  ไม่สยบมัวเมา  ในรูป เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  และธรรมารมณ์  ...  นันทิย่อมดับ;  เมื่อนันทิไม่มีอยู่  สาราคะ(ความกำหนัดกล้า)  ย่อมไม่มี;  เมื่อสาราคะไม่มีอยู่  สัญโญคะ(ความผูกจิตติดกับอารมณ์)  ย่อมไม่มี  ...  ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว  ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน  พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า  ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว [อริยสัจ.ต.พอ.๓๕๙-๓๖๑]

  ๘.  นิโรธอริยสัจ – ว่าด้วยความดับตัณหา(ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔)  อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖  วิญาณ ๖  สัมผัส ๖  เวทนา ๖  ความหมายรู้ในอายนตนะภายนอก ๖  ความคิดนึกในอายตนะ ๖  ตัณหาในอายตนะ ๖  ความตริตรึกในอายตนะ ๖  ความตริตรองในอายตนะ๖  ที่มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลกนั้น  เมื่อจะละไป  ย่อมละในสิ่งนั้น  เมื่อจะดับไป  ย่อมดับไปในสิ่งนั้น  [อริยสัจ.ต.พอ. ๔๑๐-๔๑๓]

  ๙.  นิโรธอริยสัจ – ไม่เพลิดเพลิน  ไม่พร่ำสรรเสริญ  ไม่เมาหมก  ซึ่งอารมณ์ ๖ (อายนตนะภายนอก ๖)  นันทิ(ความเพลิน)ย่อมดับไป[อริยสัจ.ต.พอ. ๔๑๓-๔๑๔]

  ๑๐. นิโรธอริยสัจ -  ความไม่เพลินในอายตนะภายใน ๖  ความไม่เพลินในอายตนะภายนอก ๖  คือความหลุดพ้นแห่งทุกข์ [อริยสัจ.ต.พอ.๔๒๔] 

  ๑๑. นิโรธอริยสัจ -  ความดับ  ความเข้าไปสงบรำงับ  ของอายตนะภายใน  ของอายตนะภายนอก  คือความดับของทุกข์ [อริยสัจ.ต.พอ. ๔๒๕-๔๒๖]

  ๑๒. นิโรธอริยสัจ -  รู้แจ้งตามที่เป็นจริง  ซึ่งความเกิด  ความดับ  รสอร่อย  โทษต่ำทราม  และอุบายเครื่องออก  แห่งอายตนะภายใน ๖  และอายตนะภายนอก ๖  แล้วละเสียซึ่งตัณหา  บรรเทาเสียซึ่งความเร่าร้อน  ปราศจากความกระหายในอายตนะดังกล่าว  เป็นผู้มีจิตสงบแล้วในภายในอยู่ [อริยสัจ.ต.พอ.๔๒๖]

  ๑๓. นิโรธอริยสัจ -  สตตวิหารธรรม  :  มีสติสัมปชัญญะติดต่อกันไปในการสัมผัสทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  ไม่เกิดยินดียินร้ายขึ้นมาได้(อุเปกขโก  สทา  สโต)  อย่างติดต่อกัน  ไม่มีเวลาเผลอ  [อริยสัจ.ต.พอ. ๔๔๘-๔๕๐]

  ๑๔.  สมุทัยอริยสัจ  -  ความเพลิน(นันทิ)ในอายตนะภายใน  และอายตนะภายนอก  เป็นสมุทัย(เครื่องก่อขึ้น);  ผู้ใดเพลินอยู่กับอายตนะภายในและอายตนะภายนอก  ย่อมไม่พ้นไปได้จากทุกข์ [อริยสัจ.ต.พอ. ๒๙๖-๒๙๗]

การเกิดแห่งกระแสปฏิจจสมุปบาท(ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วทยอยกันเกิดขึ้น)

๑.  การเกิดแห่งทุกข์หรือโลก  คือการเกิดแห่งกระแสปฏิจจสมุป

บาทที่เกิดขึ้นในใจคน  ทุกคราวไป

[สฬา.สํ.แปล ๑๘/๑๐๖,๑๐๗/๑๑๑-๑๑๓;  ปฏิจจ.พอ. ๑๗๓-๑๗๗]

[สฬา.สํ. บาลี-ไทย ๑๘/๑๐๖,๑๐๗/๘๑-๘๒]

    ๑.๑  สายแห่งปฏิจจสมุปบาท  อาการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์[อริยสัจ.ต.พอ.๓๒๘-๘๒๙]

    ๑.๒  ปฏิจสมุปบาท  เป็นอย่างไร ?

[อริยสัจ.ต.พอ. ๓๒๙-๓๓๓]

๒.  ปฏิจจสมุปบาทในรูปของการปฏิบัติ

  ๒.๑  ปฏิจจสมุปบาทเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์(ว่าด้วยการเกิด

แห่งทุกข์และความดับแห่งทุกข์)

[นิทาน.สํ. แปล ๑๖/๔๔/๙๖-๙๘; สฬา.สํ. แปล ๑๘/๑๑๓/๑๑๖-๑๑๗; ปฏิจจ.พอ. ๒๓๙-๒๔๕]  [นิทาน.สํ. บาลี-ไทย๑๖/๔๔/๗๐-๗๑; สฬา.สํ. บาลี-ไทย ๑๘/๑๑๓/๘๔-๘๕]

    ๒.๒  ทรงมุ่งหมายให้ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องของการปฎิบัติ  กล่าวคือ  มิจฉาปฏิปทา  ...บุคคลเผลอหรือปล่อยสติ  ส่งผลทำให้เกิดอวิชชา  เกิดอาการต่างอย่างครบถ้วน  ส่วนสัมมาปฏิปทา  มีนัยตรงข้าม  ...บุคคลมีสติสัมปชัญญะหรือปัญญา    อวิชชาและอาการต่าง ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น  กล่าวโดยสรุป  ความมีสติเป็นตัวปฏิปทาเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวันนั่นเอง[นิทาน.สํ. แปล ๑๖/๓/๕; ปฏิจจ.พอ. ๒๕๗-๒๕๘] [นิทาน.สํ. บาลี-ไทย ๑๖/๓/๕]

    ๒.๓  อวิชชาสัมผัส  คือต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจสมุปบาท(บูรณาการกับขันธ์ ๕)  [ขนฺธ.สํ. แปล ๑๗/๔๗/๕๗-๕๘; ปฏิจจ.พอ. ๑๖๒-๑๖๕]  [ขนฺธ. สํ. บาลี-ไทย ๑๗/๔๗/๓๘-๓๙]

    ๒.๔  นามรูปก้าวลงเมื่ออนุสัยก่อขึ้น[นิทาน.สํ. แปล ๑๖/๓๘,๓๙/๘๖-๘๘  ปฏิจจ.พอ. ๑๖๖-๑๖๗]  [นิทาน.สํ. บาลี-ไทย ๑๖/๓๘,๓๙/๖๓-๖๔]

    ๒.๕  การเกิดขึ้นแห่งไตรทวาร  ย่อมขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นแห่งอวิชชาของปฏิจจสมุปบาท  [นิทาน.สํ. แปล ๑๖/๒๕/๔๘-๕๒;  ปฏิจจ.พอ. ๑๕๘-๑๖๓]  [นิทาน.สํ. บาลี-ไทย ๑๖/๒๕/๓๗-๔๐]

    ๒.๖  ผัสสะ คือนิทานสัมภวะส่วนมากของนิพเพธิกสูตร  ...ผัสสะเป็นหลักธรรมที่ช่วยในการปฏิบัติ  ผัสสะเป็นที่เกิดและที่ดับแห่งกาม  แห่งเวทนา  แห่งสัญญา  และแห่งกรรม;  เรายังขาดความรู้เรื่องผัสสะกันน้อยเกินไป  จึงไม่สามารถปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จในการเอาชนะกาม  ในการควบคุมเวทนา  ในการละเสียซึ่งสัญญา  และในการทำให้สิ้นสุดแห่งกรรมทั้งหลาย;  ผัสสะเป็นตัวการสำคัญในกระแสปฏิจจสมุปบาท  เมื่อมีการกล่าวถึงผัสสะในที่ใด  ก็พึงทราบเถิดว่า  ที่นั้นย่อมมีกระแสปฏิจจสมุปบาทซ่อนอยู่ครบถ้วนในที่นั้น  ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่ากาม  เวทนา  สัญญา  หรือกรรม  อันเป็นนิพเพธิกธรรมแห่งพระสูตรนี้  ดังนั้น  ควรจะถือว่า  ผัสสะทั้งหลาย  เป็นนิทานสัมภวะส่วนมากของนิพเพธิกธรรม  ที่บุคคลพึงรู้แจ้งแทงตลอด  เพื่อความสิ้นสุดแห่งทุกข์ในที่สุด[องฺ.ฉ. แปล ๒๒/๖๓/๔๖๙-๔๗๖;  ปฏิจจ.พอ. ๒๖๙-๒๗๘][องฺ.ฉ. บาลี-ไทย ๒๒/๖๓/๓๙๐-๓๙๗] 

    ๒.๗  ต้นเงื่อนของปฏิจจสมุปบาท  ละได้ด้วยการเห็นธรรมทั้งปวงว่าไม่ควรยึดมั่น  :  อวิชชาซึ่งเป็นต้นเงื่อนของปฏิจจสมุปบาท  จะละได้เพราะการเห็นแจ้งในข้อที่ว่า  ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันบุคคลไม่ความยึดมั่นถือมั่น  ดังปรากฏหลักฐานในบาลีว่า  สพฺเพ  ธมฺมา  นาลํ  อภินิเวสาย  ...  องค์ธรรมนี้ถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา [สฬา.สํ. แปล ๑๘/๘๐/๖๒-๖๓;  ปฏิจจ.พอ. ๒๘๙-๒๙๐][สฬา.สํ. บาลี-ไทย ๑๘/๘๐/๔๘]

    ๒.๘  ต้นเงื่อนแห่งปฏิจจสมุปบาทละด้วยการเห็นอนิจจัง  และอาการแห่งอนิจจังโดยละเอียด(เวทนา เป็นผลของเวเทติ,  เจตนา  เป็นผลของเจเตติ,  สัญญา  เป็นผลของสญฺชานาติ ...เป็นการบูรณาการอายตนิก(ผัสสะ)เข้ากับปฏิจจสมุปบาท) [สฬา.สํ. แปล ๑๘/๗๙/๖๑-๖๒,  ๑๘/๙๓/๘๖-๘๘;  ปฏิจจ.พอ. ๒๙๑-๒๙๔] [สฬา.สํ. บาลี – ไทย ๑๘/๗๙/๔๗, ๑๘/๙๓/๖๓-๖๕]

    ๒.๙  ปัญจุขันธ์ไม่อาจจะเกิดเมื่อรู้เท่าทันเวทนาในปฏิจจสมุปบาท(บูรณาการอายตนิก  ขันธ์ ๕  และอริยสัจ ๔  เข้าด้วยกัน)  [ปฏิจจ.พอ. ๓๓๕-๓๓๗]

  ๒.๑๐  อาการที่ตัณหา ...เครื่องนำไปสู่ภพใหม่  อันประกอบไปด้วยความกำหนัด  ด้วยอำนาจความเพลิน  เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ

ย่อมเจริญขึ้นถึงที่สุด [อริยสัจ.ต.พอ.๓๕๕-๓๕๖]

  ๒.๑๑ ที่ตั้งที่อาศัยแห่งตัณหา  ...  ตัณหานั้น  เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้นที่ ณ ที่ไหน  เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน  มีอายนตะภายใน  อายตนะภายนอก  ฯลฯ [อริยสัจ.ต.พอ.๓๒๒-๓๒๕]

  ๒.๑๒  สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ?  ตัณหาเมื่อจะละไป  ย่อมละไปในสิ่งนั้น ๆ  เมื่อจะดับไป  ย่อมดับไปในสิ่งนั้น ๆ [อริยสัจ.ต.พอ.๔๑๐-๔๑๓]

 

เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท

 

  ๑.  วิญญาณ(จิต)ไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก,  ไม่สยบอยู่ภายใน,  ไม่พึงสะดุ้ง  เพราะเหตุความยึดมั่นถือมั่น,  การก่อตั้งแห่งกองทุกข์ ...  ชาติ  ชรา  มรณะ  ย่อมไม่มีอีกต่อไป(บูรณาการสติปัฏฐาน ๔  เข้ากับขันธ์๕) [อุปริ.ม. แปล ๑๔/๓๑๓-๓๒๒/๔๐๖-๔๑๖;  ปฏิจจ.พอ. ๒๙๔-๓๐๕]  [อุปริ.ม. บาลี-ไทย ๑๔/๓๑๓-๓๒๒/๒๘๖-๒๙๕]

  ๒.  นิโรธอริยสัจ   สักแต่ว่า  ...  เมื่อเธอไม่มี คือที่สุดแห่งทุกข์ [อริยสัจ.ต.พอ. ๔๔๑]

  ๓.  ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้  ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจ  พระบรมศาสดาได้บัญญัติโลก  เหตุให้เกิดโลก  ความดับสนิทไม่เหลือของโลก  และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลก  ไว้ [อริยสัจ.ต.พอ. ๔๔๐]

  ๔.  จงเป็นคนมีสติ  ถอนความตามเห็นว่าตัวตนออกเสีย  พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า [อริยสัจ.ต.พอ. ๔๓๓]

  ๕. ความดับของรูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์  เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ  [อริยสัจ.ต.พอ.๔๑๖-๔๑๗]

  ๖. อุบายแห่งการดำรงจิตในสติปัฏฐาน  : พึงตั้งจิตไว้ในนิมิต  [อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๓๐-๑๒๓๑]

๗. การเจริญสติปัฏฐานนั้น  ถ้าเอากาย เป็นต้น มาเป็นอารมร์แห่งวิตก 

จะเลื่อนลำดับแห่งฌานไม่ได้  เพราะกายเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตลอดไป  จึงควรพิจารณากายในฐานะเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนา  อย่าเอามาเป็นอารมณ์แห่งวิตก บ[อริยสัจ.พอ. ป.๑๒๓๒-๑๒๓๓]

  ๘.  กายคตาสติ  เป็นอุปกรณ์แห่งอินทรีย์สังวร  :  โทษของการไม่อบรมกายคตาสติ;  คุณของกายคตาสติ(เสาเขื่อน  หรือเสาหลัก)   ...พึงสำเหนียกใจไว้ว่า  ‘กายคตาสติของเราทั้งหลาย  จักเป็นสิ่งที่เราอบรม  กระทำให้มาก  กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป  กระทำให้เป็นของที่อาสัยได้  เพียรตั้งไว้เนือง ๆ  เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ  เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี  จงพึงสำเหนียกดังนี้  [อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๓๔-๑๒๓๖] 

  ๙.  ตรัสให้มีสติคู่กันไปกับสัมปชัญญะ  :  พึงเป็นผู้มีสติอยู่  อย่างมีสัมปชัญญะ  นี้เป็นอนุสาสนีแก่พวกเธอทั้งหลาย  [อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๓๘-๑๒๓๙]

  ๑๐.การฝึกเพื่อมีสติสัมปชัญญะโดยอ้อมและโดยตรง [อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๓๙-๑๒๔๒]

  ๑๑.  การทำสติเมื่อถูกติหรือถูกชม[อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๔๒-๑๒๔๔]

  ๑๒. การทำสติเมื่อถูกประทุษร้าย [อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๔๔]

  ๑๓. การมีสติทันอารมณ์ที่มากระทบ  พึงละอกุศล  พึงกระทำความเพียรอย่างทั่วถึงในกุศลธรรมทั้งหลายเถิด  ด้วยการทำอย่างนี้  เธอทั้งหลายจักถึงซึ่งความเจริง  งอกงาม  ไพบูลย์  ในธรรมวินัยนี้  [อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๔๕]

  ๑๔. การฝึกสติในการเผชิญโลกธรรมของอริยสาวก  :  มีลาภ  เสื่อมลาภ

มียศ  เสื่อมยศ  นินทา  สรรเสริญ  สุขและทุกข์  แปดอย่างนี้  เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในหมู่มนุษย์  ไม่ยั่งยืน  มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา  ผู้มีปัญญา  มีสติ  รู้ความข้อนี้แล้ว  ย่อมเพ่งอยู่ในความแปรปรวนเป็นธรรมดาของโลกธรรมนั้น [อริยสัจ.พอ.ป.๑๒๔๕-๑๒๔๗]

    สัมมาวายามะ  เป็นอย่างไร ? [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๒๗] 

ปธานสี่ในฐานะสัมมาวายาโม  เป็นอย่างไร ? [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๒๗-๑๑๒๘]

  การปฏิบัติของผู้มีความเพียรในสี่อิริยาบถ(ยืน เดิน  นั่ง  นอน)

...  โดยบูรณาการกับสัมมสังกับปะ(กามวิตก- เนกขัมมะ,  พยาปาทวิตก-อพยาปาทวิตก,  วิหิงสาวิตก-อวิหิสาวิตก ) [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๒๙-๑๑๓๐]

    การปฏิบัติของผู้มีความเพียรในสี่อิริยาบถ(ยืน เดิน  นั่ง  นอน)

...  โดยบูรณาการกับสติอันเป็นธรรมที่เธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่หลงลืม  กายสงบรำงับไม่กระวนกระวาย  จิตตั้งมั่นเป็นอารมณเดียว  เป็นผู้ปราศจากนิวรณธรรม  เช่นนี้เรียกว่าทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัวต่อความเป็นทาสของกิเลส  เป็นผู้ปรารภความเพียร  อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิตย์ในทุกอิริยาบถ [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๓๐-๑๑๓๑]

  ปธานสี่ ได้แก่  สังวรปธาน  ปหานปธาน  ภาวนาปธาน  และอนุรักขนาปธาน  ในฐานะสัมมัปปธาน  เป็นอย่างไร ?  บูรณาการสติปฏฐาน(ยืน  เดิน  นั่ง  นอน)กับอินทรีย์สังวร(อายตนะภายในและภายนอก) กับสัมมาสังกัปปะ  กับสัมโพชฌงค์  กับอสุภะของซากศพ  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๓๒-๑๑๓๔]

    อินทรีย์สังวร  เป็นอุปกรณ์แก่สัมมาวายามะ  ส่วนที่เป็นการพากเพียรปิดกั้นการเกิดอกุศล [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๔๑-๑๑๔๒]

    เวทนาสาม(โสมนัส  โทมนัส  อุเบกขา)เกี่ยวกับความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล  :  เวทนาสามที่ไม่ควรเสพเพราะทำให้อกุศลเจริญ  หมายถึงเวทนาที่เกิดจากการครองเรือน  เวทนาสามที่ควรเสพเพราะทำให้กุศลเจริญ  หมายถึงเวทนาที่อาศัยเนกขัมมะ  ไม่กี่ยวข้องด้วยเรือน  ฯลฯ  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๔๒-๑๑๕๑]

    การชาคริยานุโยค  ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๕๑]

    อารัพภวัตถุ  -  ที่ตั้งแห่งการปรารถนาความเพียร(อุบายในการปลุกเร้าความเพียร) แปดอย่าง  เป็นอย่างไร ? [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๕๑-๑๑๕๔]

    ปธานิยังคะ  -  องค์แห่งผู้สมควรประกอบความเพียร  ๕  อย่าง  เป็นอย่างไร ?  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๕๕]

    หลักปฏิบัติของสัมมาวายามะ  -  มรณสติ...เพียรอกุศลแข่งกับความตาย  ด้วยการเจริญทำให้มากซึ่งฉันทะ  วายามะ  อุสสาหะ  อุสโสฬหี  อัปปฏิวานี  สติ  และสัมปชัญญะ  อย่างแรงกล้า,  ด้วยการเจริญทำให้มากซึ่งสัญญา  ๑๐  ประการ  ๒  นัยะ [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๕๖-๑๑๕๘]

    หลักปฏิบัติของสัมมาวายามะ  -  การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย  ๕ ประการ  ความชรา  อาพาธ  บิณฑบาต  การคลุกคลีด้วยหมู่คน  สมานสังวาส  ฯลฯ 

[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๕๘-๑๑๖๓]

    บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร  ...  ด้วยการเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๒ อย่าง  คือ  ความไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ(สันโดษ)ในกุศลธรรมทั้งหลาย  และความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ(อัปปฏิวานี)ในการทำความเพียร [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๖๓-๑๑๖๔]

    อุปสรรคของการประกอบของสัมมาวายามะ  :  ภิกษุใดยังละเครื่องตรึงจิตห้าอย่างไม่ได้  ยังตัดเครื่องผูกพันจิตห้าอย่างไม่ได้  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๖๔-๑๑๖๘]

  เพียงแต่รู้อริยสัจ  สัมมาวายามะยังไม่ใช่ถึงที่สุด  -  บุคคลสามจำพวกมี

อยู่  คือ  คนที่มีจิตเหมือนแผลกลัดหนอง  คนที่มีจิตเหมือนสายฟ้าแลบ  คนที่มีจิตเหมือนเพชร [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๗๔-๑๑๗๕]

 

  ๗.  สัมมาสติ

  สติปัฏฐาน ๔  เป็นเอกายนมรรค[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๗๖-๑๑๗๗]

  ลักษณะแห่งความมีสติสัมปชัญญะของภิกษุ [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๗๗]

  สติปัฏฐาน ๔  เป็นเอกายนมรรค[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๗๖-๑๑๗๗]

  ผู้มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมเครื่องอยู่  ย่อมได้ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป  มีตนเป็นสรณะ  ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ  :  มรธรรมเป็นประทีป  มีธรรมเป็นสรณะ  ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ  สติสัมปะชัญญะบูรณาการกับเวทนาสาม ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย  และอวิชชานุสัย  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๗๘-๑๑๗๙]

  ลักษณะแห่งความมีสติสัมปชัญญะ(ระดับสูง)  รู้สึกอย่างแจ่มแจ้งในเมื่อ  เวทนา  สัญญา  และวิตก  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่ดับไป [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๑๗๘]

  สติสัมปะชัญญะ(ระดับธรรมดา)บูรณาการกับเวทนาสาม ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย  และอวิชชานุสัย  [อริยสัจ.พอ.ต.๗๘๗-๗๙๐]

 

  ๘.  สัมมาสมาธิ

    สมาธิภาวนา ๔  ได้แก่  สมาธิภาวนา...เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม,  สมาธิภาวนา...เป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ,  สมาธิภาวนา...เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ,  สมาธิภาวนา...เป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๒๗๘-๑๒๘๑]

  อริยสัมมาสมาธิมีบริขารเจ็ด  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๒๘๖],  ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธิ  มีสัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า 

  สัมมาทิฏฐิแยกเป็น ๒ ชนิด  คือ  สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นไปด้วยอา

สวะ(สาสว)  เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญฺญภาคิย)  มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก(อุปธิเวปกฺก)  กับสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ(อริย)  ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ(อนาสว)  นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก(โลกุตฺตร)  เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน(มคฺคงฺค)  โดยมีธรรมสามอย่าง  คือสัมมาทิฏฐิ  สัมมาวายามะ  และสัมมาสติ  ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาทิฏฐิ[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๒๘๖-๑๒๘๘]

  สัมมาสังกัปปะแยกเป็น ๒ ชนิด  คือ  สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก  ได้แก่  เนกขัมมสังกัปปะ 

อัพยาปาทสังกัปปะ  อวิหิงสาสังกัปปะ  กับสัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ  ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ  นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก  เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน  ได้แก่  ธรรม  คือ  ความตรึก(ตกฺก)  ความตรอง(วิตกฺก)  ความดำริ(สงฺกปฺป)  ความคิดแน่วแน่(อปฺปนา)  ความแน่วแน่ถึงที่สุด(พฺยบฺปนา)  การงอกงามแห่งความคิดถึงที่สุดของจิต(เจตโส  อภินิโรปนา)  และเจตสิกธรรมเครื่องปรุงแต่งการพูดจา(วจีสงฺขาโร) ของผู้มีอริยจิต...  ของผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค  โดยมีธรรมสามอย่าง  คือสัมมาทิฏฐิ  สัมมาวายามะ  และสัมมาสติ  ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาสังกัปปะ[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๒๘๙-๑๒๙๐]

  สัมมาวาจา  แยกเป็น  ๒ ชนิด  คือ  สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก  ได้แก่  เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท  ~ ปิสุณวาท  ~ผรุสวาท  ~สัมผัปปลาปวาท  กับสัมมาวาจาอันเป็นอริยะ  ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ  นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก  เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน  ได้แก่  ธรรม  คือการงด(อารติ)  การเว้น(วิรติ)    การเว้นขาด(ปฏิวิรติ)    และเจตนาเป็นเครื่องเว้น(เวรมณี)จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ข้างต้น   ของผู้มีอริยจิต...  ของผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค  โดยมีธรรมสามอย่าง  คือสัมมาทิฏฐิ  สัมมาวายามะ  และสัมมาสติ  ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาวาจา  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๒๙๐-๑๒๙๑]

  สัมมากัมมันตะ  แยกเป็น  ๒ ชนิด  คือ  สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก  ได้แก่เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต  ~อทินนาทาน  ~กาเมสุมิฉาจาร  กับสัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ  ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ  นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก  เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน

ได้แก่  ธรรม  คือการงด  การเว้น  การเว้นขาด  และเจตนาเป็นเครื่องเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓ ที่กล่าวข้างต้น  ของผู้มีอริยจิต...  ของผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค  โดยมีธรรมสามอย่าง  คือสัมมาทิฏฐิ  สัมมาวายามะ  และสัมมาสติ  ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมากัมมันตะ[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๒๙๐-๑๒๙๓]

  สัมมาอาชีวะ[มิจฉาอาชีวะ – การพูดโกหก(กุหนา)  การพูดหลอกลวง(ลปนา)  การพูดหว่านล้อม(เนมิตฺตกตา)  การพูดท้าให้เจ็บใจจนต้องยอมตกลง(นิปฺเปสิกตา)  การล่อลาภด้วยลาภ(ลาเภนลาภํชิคํสนตา)]  แยกเป็น  ๒ ชนิด  คือ  สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก  ได้แก่  อริยสาวกในกรณีนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว  สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ  กับสัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ  ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ  นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก  เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ได้แก่  ธรรม  คือ  การงด  การเว้น  การเว้นขาด  และเจตนาเป็นเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะที่กล่าวข้างต้น  ของผู้มีอริยจิต...  ของผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค  โดยมีธรรมสามอย่าง  คือสัมมาทิฏฐิ  สัมมาวายามะ  และสัมมาสติ  ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาอาชีวะ[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๒๙๓-๑๒๙๕]

  บริขารเจ็ดของอริยสัมมาสมาธิ  ย่อมมีเอกัคคตาจิตที่แวดล้อมอยู่ด้วยองค์เจ็ดประการ  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๓๑๑] 

  จิตเป็นธรรมชาติประภัสสร  แต่เมื่อจิตนั้นเข้าถึงความเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสอันเป็นอาคันตุกะจรมา (ความจริงมีอยู่ว่า  จิตประภัสสรตามธรรมชาตินั้น  ถูกครอบงำด้วยอุปกิเลสได้  จึงต้องทำการภาวนาคืออบรมจิตให้เปลี่ยนสภาพเป็นประภัสสรามุจเฉท  ซึ่งอุปกิเลสจะครอบงำไม่ได้อีกต่อไป)[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๓๑๐]

  สมาธิจากการเดิน(จงกรม)  ย่อมตั้งอยู่นาน[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๓๑๒]

  ผู้ประกอบด้วยธรรมห้าประการ  คืออดทนต่อรูป ท.  ~ เสียง ท.  ~  กลิ่น  ท.  ~  รส ท.  ~  โผฐัพพะ ท.  เป็นผู้ควรเข้าถึงสมาธิ[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๓๑๓]

  บุพพภาคแห่งการเจริญสมาธิ  ห้าขั้น  คือ  ศีลขันธ์อันเป็นอริยะ,  อินทรียสังวร~,  สติสัมปชัญญะ~,  สันโดษ~,  เสพเสนาสนะ~;  ละ/มีจิตปราสจาก/คอยชำระจิตจาก  อภิชฌา,  ~  พยาบาท,  ถีนมิทธะ,  อุทธัจจกุกกุจจะ  และวิจิกิจฉา  [อริยสัจ.พอ.ป. ๑๓๑๓-๑๓๑๔]

  ผู้ตามประกอบในอธิจิต  พึงทำในใจซึ่งนิมิต  ๓(สมาธินิมิต,  ปัคคาหนิมิต  อุเปกขานิมิต)  โดยกาลอันควร  ในกาลนั้นจิตย่อมอ่อนโยน  ควรแก่การงาน  เป็นจิตประภัสสร  ไม่รวนเร  ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ  เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๓๑๗-๑๓๑๘]

  การทำสมาธิจิต(ภาวนาด้วยการเจริญอุเปกขโก  สทา  สโต  สหรคตด้วยเมตตา) เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย[อริยสัจ.พอ.ป. ๑๓๓๖-๑๓๓๑]

๑.  ความหมายของอริยสัจสี่

อริยสัจสี่มีความหมายตามนัยพระบาลีดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจสี่ประการเหล่านี้แล  เป็นของแท้อย่างนั้น ไม่คลาดเคลื่อนไปได้ ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ…”

ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจสี่นี้  ตามเป็นจริง  พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้นามเรียกว่า เป็นอริยะ”

ในวิสุทธิมรรค  ท่านให้ความหมายของอริยสัจไว้ เป็น  ๔ นัย ดังนี้

  ๑)  เป็นสัจจะที่พระอริยตรัสรู้

  ๒)  เป็นสัจจะของพระอริยะ

  ๓)  เป็นสัจจะที่ทำให้เป็นอริยะ

  ๔)  เป็นสัจจะอย่างอริยะ คือ  จริง แท้  ไม่เท็จ  ไม่ลวง

ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย ได้ให้ความหมายว่า “ที่ชื่อว่า อริยสัจ เพราะเป็นความจริงอันประเสริฐ”

ในมังคลัตถทีปนี  ท่านให้ความหมายไว้เป็น ๓ นัย ดังนี้

  ๑)  เป็นสัจจะของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

  ๒)  เป็นสัจจะของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอริยะ

  ๓)  เพราะเป็นสัจจะที่ทำให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ เพราะสัจจะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้จำเพาะด้วยพระองค์เอง



สํ.ม. ๑๙/๑๗๐๓/๕๔๓. (ถือตามที่อ้างไว้ในวิสุทธิมรรค เล่ม ๓ หน้า ๗๘ แต่บาลีพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย ไม่มีคำว่าอริยะ)

สํ.ม. ๑๙/๑๗๐๗/๕๔๕.

วิ.อ. ๓/๗๘.

ขุ.อ. ๑/๖๙.

มงฺ.อ. ๒/๔๐๗.

คำสำคัญ (Tags): #สภาวะ
หมายเลขบันทึก: 512437เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

๒. องค์ประกอบของอริยสัจสี่

อริยสัจนั้นมีองค์ประกอบ  หรือส่วนประกอบ ๔ ประการ ดังพระบาลีว่า  “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว  อริยสจฺจานิ  กตมานิ จตฺตาริ  ทุกฺขํ  อริยสจฺจํ ทุกฺขสมุทโย  อริยสจฺจํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ” ความว่า  “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน  คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”

สรุปว่า อริยสัจ มีองค์ประกอบ ๔  คือ ทุกข์,  ทุกขสมุทัย เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย,  ทุกขนิโรธ เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธ,  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้น ๆ ว่า มรรค

สำหรับความหมายของอริยสัจแต่ละข้อ ๆ มีอธิบายตามพระบาลี ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขอริยสัจ คือ  ชาติ (ความเกิด)  ก็เป็นทุกข์ ชรา  (ความแก่)  ก็เป็นทุกข์ พยาธิ (ความเจ็บไข้)  ก็เป็นทุกข์ มรณะ  (ความตาย)  ก็เป็นทุกข์ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล  เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ  คือ ตัณหาที่ทำให้มีภพใหม่  ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความติดใจ คอยเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา (และ)  วิภวตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ การที่ตัณหานั้นแลดับไปได้ด้วยการสำรอกออกหมดไม่มีเหลือ การสละเสียได้ สลัดออก พ้นไปได้ ไม่หน่วงเหนี่ยวพัวพัน

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ ได้แก่  สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ

๓.  รายละเอียดของอริยสัจสี่

๓.  ทุกขอริยสัจ อริยสัจ คือ ทุกข์

  ๑)  ความหมายของทุกข์

ทุกข์  คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ,  สภาพที่ทนได้ยาก,  สภาวะที่บีบคั้น

๒)  ประเภทของทุกข์

ในพระสูตรต่าง ๆ เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ๑,  สัมมาทิฏฐิสูตร ๑,  มหาสติปัฏฐานสูตร๑,  เป็นต้น  ได้แสดงทุกข์ไว้  ๑๒  อย่าง  คือ

    ๑)  ชาติ  คือ  ความเกิด เป็นทุกข์

    ๒)  ชรา  คือ  ความเสื่อมความแก่ชรา  เป็นทุกข์

    ๓)  มรณะ  คือ  ความตาย  เป็นทุกข์

    ๔)  โสกะ  คือ  ความโศกเศร้า  เป็นทุกข์

  ๕)  ปริเทวะ  คือ ความร่ำไรรำพัน  เป็นทุกข์

  ๖)  ทุกข์  คือ  ความไม่สบาย  ความเจ็บป่วยทางกาย  เป็นทุกข์

  ๗) โทมนัส  คือ  ความเสียใจ  เป็นทุกข์

  ๘)  อุปายาส  คือ  ความคับแค้นใจ  เป็นทุกข์

  ๙)  อัปปิยสัมปโยค  คือ  ความประสบสิ่งไม่ปรารถนา  เป็นทุกข์

  ๑๐)  ปิยวิปปโยค  คือ  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก  เป็นทุกข์

  ๑๑)  อิจฉิตาลาภะ  คือ  ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น  เป็นทุกข์

  ๑๒)  ปัญจุปปาทานขันธ์ คือ ทุกข์รวบยอด  คือ  ขันธ์  ๕  อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นเป็นทุกข์ 

ที่กล่าวมานี้  คือ  ทุกข์ในอริยสัจ

๓.  ทุกขสมุทัยอริยสัจ อริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย

๑)  ความหมายของทุกขสมุทัย

ทุกขสมุทัย  แยกศัพท์เป็น  ทุกฺข  แปลว่า  ทุกข์  สํ  แปลว่า  พร้อม  อุ  แปลว่า  ขึ้น  อิ 

ธาตุ แปลว่า  ไป  ต่อกันเข้าตามหลักอักขรวิธีเป็น  ทุกขสมุทัย  แปลว่า  ขึ้นไปพร้อมแห่งทุกข์”  ถือเอาโดยความว่า  “เหตุให้เกิดทุกข์  หรือเหตุแห่งทุกข์

๒)  ประเภทของทุกขสมุทัย

เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  บาลีในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร  พระพุทธเจ้าทรงหมายเอา  ตัณหา ๓  คือ

  ๒.๑  กามตัณหา  หมายถึง  ความทะยานอยากในกามารมณ์  ซึ่งได้แก่  รูป  เสียง 

กลิ่น  รส สัมผัสทางกาย  สัมผัสทางใจ  ที่น่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ  เช่น  อยากเห็นรูปที่สวย  ๆ งาม ๆ อยากฟังเสียงเพราะ  ๆ  อยากดมกลิ่นที่หอม  ๆ  อยากรับประทานอาหารที่มีรสอร่อย  ๆ  อยากสัมผัสถูกต้องสิ่งที่นุ่มนวลอ่อนละมุน  อยากจะประสบแต่อารมณ์ที่น่ายินดี  พอใจ  ประทับใจ  ซึ่งความต้องการใคร่จะได้ดังกล่าวนี้  ล้วนเป็นเหตุที่ตั้งชวนให้ลุ่มหลง  ทำให้กิเลสเกิดขึ้นในจิตใจ ชาวบ้านทั่วไปมักจะเข้าใจศัพท์ว่า  กาม” นี้ ไปในทางเพศสัมพันธ์  ซึ่งเป็นความหมายเพียงส่วนหนึ่งของกามเท่านั้น  ในทางธรรม  กามมี  ๒  อย่าง  คือ

  ๒.๑.๑  วัตถุกาม หมายถึง  รูป  เสียง  กลิ่น  รส โผฏฐัพพะ  อันน่าใคร่ น่าปรารถนา  น่ายินดีพอใจวัตถุกามนี้จึงหมายถึงวัตถุที่เป็นเหตุให้ใคร่ให้อยากได้ทุกประเภทตั้งแต่วัตถุหยาบ ๆ  เช่น ทรัพย์ที่เป็นสังหาริมะ  คือเคลื่อนที่ได้  นำเอาไปไหนมาไหนได้  เช่น  ช้าง  ม้า  โค  กระบือ เป็นต้น  และที่เป็นอสังหาริมะ  คือทรัพย์ที่นำไปไหนมาไหนไม่ได้  เช่น  บ้าน  ที่ดิน  เรือก  สวน ไร่  นา  เป็นต้น  ไปจนถึงวัตถุอันละเอียดที่เรียกว่า  วัตถุอันเป็นทิพย์  ดังท่านแสดงไว้ในพระบาลีกามสุตตนิเทสว่า  “วัตถุกามเป็นไฉน  รูป  เสียง กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  อันเป็นที่ชอบใจ  เครื่องลาด  เครื่องนุ่งห่ม ทาสี  ทาส  แพะ  แกะ  ไก่  สุกร  ช้าง  โค  ม้า  ลา  นา  ที่ดิน  เงิน  ทอง  บ้าน นิคม  ราชธานี  แว่นแคว้น  ชนบท  กองพลรบ  คลัง  และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด  อย่างใดอย่างหนึ่ง  ชื่อว่า  วัตถุกาม  อีกอย่างหนึ่ง  กามที่เป็นอดีต  กามที่เป็นอนาคต  กามที่เป็นปัจจุบัน  ที่เป็นภายใน  ที่เป็นภายนอก  ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก  ชนิดเลว  ชนิดปานกลาง  ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย  เป็นของมนุษย์  เป็นของทิพย์  ที่ปรากฏเฉพาะหน้าที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต  ที่หวงแหน  ที่ไม่ได้หวงแหน  ที่ยึดถือว่าของเรา  ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา  ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด  ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด  ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด  ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา  เป็นอารมณ์แห่งตัณหาชื่อว่ากาม  เพราะอรรถว่า  อันบุคคลพึงใคร่  เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด และเพราะอรรถว่า  เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา  กามเหล่านี้  เรียกว่า วัตถุกาม 

  วัตถุเหล่านี้  ได้ชื่อว่า  เป็นวัตถุกาม  ก็เพราะเป็นสิ่งที่คนทั้งหลายใคร่จะได้จะมีไว้ครอบครองเป็นสมบัติของตัวเองทั้งนั้น  เมื่อมีแล้วได้แล้วก็ไม่รู้จักอิ่มจักพอ  ยังอยากจะมีเพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งคนที่เป็นเพศตรงกันข้ามกันที่บุคคลปรารถนาด้วย ต่างคนก็ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพออยากได้ไปเรื่อย  ๆ  ยกเว้นเฉพาะท่านที่มีกิเลสเบาบาง  หรือหมดกิเลสแล้วเท่านั้น

  ๒.๑.๒  กิเลสกาม  หมายถึง  กิเลสเป็นเหตุใคร่  ได้แก่  ความใคร่ที่มีอยู่ภายในจิตใจ เป็นสภาวะที่ต้องการ  ความอยากได้  ความดิ้นรน  กระสับกระส่าย  ที่มีอยู่ภายในจิตใจ  นอนเนื่องอยู่ในจิตใจ  กิเลสกามนี้  มีพระบาลีแสดงไว้ในกามสุตตนิเทสว่า  “กิเลสกามเป็นไฉน  ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด  ความพอใจปรารถนาในกาม  ความเสน่หาในกาม  ความเร่าร้อนในกาม  ความหลงในกาม  ความติดใจในกาม  ห่วงคือกาม  ความประกอบในกาม  ความยึดถือในกาม  เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่า  กาม  สมจริงดังคำว่า  ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า  ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ  เราจักไม่ดำริถึงท่าน  ท่านจักไม่มีอย่างนี้  กามเหล่านี้เรียกว่า  กิเลสกาม๑๐

  จากพระบาลีที่ยกมานี้  ชี้ให้เห็นว่า  ความใคร่ที่เกิดขึ้นภายในจิตปุถุชนหรือความนึกคิดในเรื่องกามนั่นเอง  ชื่อว่า  กิเลสกาม  เป็นสภาวะที่นอนเนื่องหรือหมักดองอยู่ภายในจิตใจ  เมื่อมีสิ่งเร้ามายั่วยุทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ แล้ว กิเลสกามที่นอนเนื่องอยู่ในจิตใจก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองขึ้นมาทันที  ดังอุปมาที่วศิน  อินทสระ ได้กล่าวไว้ว่า  “วัตถุกามคือสิ่งยั่วยวนภายนอก ส่วนกิเลสกามคือกิเลสประเภทความใคร่อันแอบแฝงอยู่ในใจ เมื่อได้ประสบวัตถุกามภายนอก กิเลสภายในออกมารับ ก็เกิดไฟราคะขึ้นเผาใจให้เร่าร้อนเปรียบไปก็เหมือนเชื้อเพลิงที่หัวไม้ขีด  ใจเปรียบเหมือนก้านไม้ขีดไฟ  ส่วนวัตถุกามเปรียบเหมือนหน้าไม้ขีดไฟ  เมื่อหัวไม้ขีดซึ่งติดเชื้อเพลิงไว้เรียบร้อยแล้วมากระแทกกับหน้าไม้ขีดพอเหมาะไฟก็ลุกขึ้น  เมื่อไฟลุกขึ้นแล้วก็เผาไหม้ก้านไม้ขีดซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของเชื้อเพลิง๑๑

  ๒.๒  ภวตัณหา  หมายถึง  ความทะยานอยากในความมีความเป็น  หรือในภพ

  ในประเด็นว่า  ความทะยานอยากในความมีความเป็นนั้น  หมายความถึงความอยากเป็นนั่นเป็นนี่  เช่น  อยากเป็นดารา  อยากเป็นผู้แทนราษฎร  อยากเป็นคนใหญ่คนโตมีชื่อเสียงโด่งดัง และต้องการจะให้เป็นอย่างนั้นตลอดไป  ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น  ยอมรับไม่ได้หรือไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงจึงต้องทำทุกอย่างทุกวิธีที่จะรักษาความมีความเป็นนั้นไว้  โดยที่สุดแม้กระทั่งความอยากมีชีวิตอยู่นาน  ๆ  ไม่อยากตาย

  ในประเด็นว่า  ความทะยานอยากในภพ  หมายความถึง  ความอยากความติดใจที่จะเกิดเป็นมนุษย์  ความอยากเกิดในสวรรค์  ความอยากเกิดในพรหมโลก

  ในพระอภิธรรมปิฎกให้คำจำกัดความแห่งภวตัณหาว่า  “ความพอใจในภพ  ความยินดีในภพ  ความเพลิดเพลินในภพ  ความปรารถนาในภพ ความเยื่อใยในภพ  ความเร่าร้อนในภพ  ความสยบในภพ  ความหมกมุ่นในภพ  ในภพทั้งหลายอันใด  อันนี้เรียกว่า  ภวตัณหา๑๒ เหตุหรือปัจจัยให้เกิดภวตัณหา พระพุทธเจ้าตรัสว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดภวตัณหา ดังพระบาลีในตัณหาสูตรว่า  “ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาย่อมไม่ปรากฏ  ในกาลก่อนแต่นี้ภวตัณหาไม่มี  แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น  เราจึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า  ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ  ภิกษุทั้งหลาย  เราย่อมกล่าวภวตัณหาว่า  มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของภวตัณหา  ควรกล่าวว่า อวิชชา…อวิชชาที่บริบูรณ์ย่อมยังภวตัณหาให้บริบูรณ์  ภวตัณหานี้มีอาหาร  และบริบูรณ์อย่างนี้๑๓ 

  ๒.๓  วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากไม่เป็นนั่นเป็นนี่  เป็นความอยากในเชิงปฏิเสธ กล่าวคือ  ตนเองไม่ชอบใจไม่ปรารถนาสิ่งใดแล้ว  ก็อยากที่จะไม่เป็นอย่างนั้น  ๆ  เช่น  อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บป่วย  อยากไม่ตาย  อยากอยู่ในตำแหน่งมีอำนาจนาน  ๆ  อยากที่จะไม่ให้เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

  อีกความหมายหนึ่ง  วิภวตัณหา  หมายถึง  ความทะยานอยากที่ปราศจากภพ  หรือตัณหาในวิภพ  พระบาลีในปุราเภทสุตตนิเทสได้อธิบายความโดยสรุปว่า  “วิภวตัณหา  หมายถึง  ความอยากเพื่อความไม่เป็นไป  หรือเพื่อความขาดสูญ๑๔

  ในพระอภิธรรมปิฎก กล่าวอธิบายความหมายของวิภวตัณหาว่า  “ความกำหนัด ความกำหนัดนัก  ความยินดี  ความคล้อยไปหา  ความเพลิดเพลิน  ความใฝ่รักเพลิดเพลิน  ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ  นี้เรียกว่า  วิภวตัณหา๑๕

ตัณหา  ๓  นั้น  เมื่อขยายออกไปได้ตัณหาจำนวนถึง  ๑๐๘  ดังนี้

ในพระบาลีปาฏิกวรรค๑๖แสดงตัณหาไว้  ๖ โดยชื่อตามสภาพอารมณ์  คือ

  ๑)  รูปตัณหา  หมายถึง  ตัณหา คือความทะยานอยากที่เกิดขึ้นในรูป

  ๒)  สัททตัณหา  หมายถึง  ตัณหาที่เกิดขึ้นในเสียง

  ๓)  คันธตัณหา  หมายถึง  ตัณหาที่เกิดขึ้นในกลิ่น

  ๔)  รสตัณหา  หมายถึง  ตัณหาที่เกิดขึ้นในรส

  ๕)  โผฏฐัพพตัณหา  หมายถึง  ตัณหาที่เกิดขึ้นในสัมผัส

  ๖)  ธัมมตัณหา  หมายถึง  ตัณหาที่เกิดขึ้นในเรื่องของสิ่งทั้ง  ๕  ข้างต้นที่เคยมีประสพการณ์มาแล้ว

ตัณหา  ๖  นี้  คูณกับตัณหา  ๓  ข้างต้น (คือ กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา) เป็นตัณหา ๑๘  แบ่งตัณหา  ๑๘  นี้  ออกเป็น  ๒  ฝ่าย  คือ  ตัณหาในอารมณ์ภายในและตัณหาในอารมณ์ภายนอก  จึงเป็นตัณหา  ๓๖  (คือ  ๑๘´  = ๓๖)­  ตัณหา  ๓๖  นี้  แบ่งเป็นตัณหาในอดีต  ปัจจุบัน และอนาคต  จึงเป็นตัณหา  ๑๐๘ ( ๓๖´๓ = ๑๐๘)

ตัณหาเกิดมีขึ้นได้เพราะมีเวทนา  คือการเสวยอารมณ์สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  เป็นปัจจัย  ดังพระบาลีมหาขันธกะว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ตัณหามีเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย” ๑๗  ดังตัวอย่างเช่น นายบุญเป็นคนต่างจังหวัดฐานะทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างจะขัดสน ต่อมาภายหลังเขาได้มีโอกาสเข้ากรุงเทพฯหางานทำ  จึงได้โอกาสสัมผัสกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง  ๆ  มีทั้งงานทำและมีทั้งเงินใช้ดีกว่าที่เป็นอยู่เดิม  จึงเกิดความรู้สึกว่า  มีความสบายและพอใจกับที่อยู่ใหม่  เรียกได้ว่า  เกิดสุขเวทนา เพราะความติดใจในสภาพเช่นนั้นจึงไม่อยากจากสภาพเช่นนั้นกลับไปถิ่นเดิม  ลักษณะอย่างนี้เป็นอาการปรากฏของตัณหา เมื่อตัณหาได้เวทนาเป็นปัจจัยเกิดขึ้นจึงดิ้นรนกระสับกระส่ายไปตามเวทนา  หากได้รับเวทนาที่เป็นฝ่ายดีคือสุขเวทนาเป็นผล  ก็จะดิ้นรนเข้าหายึดครอง  แต่ถ้าได้เวทนาที่ไม่ดีไม่พอใจคือทุกขเวทนา  ก็จะต้องดิ้นรนหาทางหลบหลีกให้ได้  ท่านจึงกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า  “ตัณหา  คือ  เครื่องสะดุ้งกระเสือกกระสนแห่งสัตว์๑๘

ตัณหาตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  เมื่อยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวจิตใจของสัตว์อย่างมั่นคงแล้ว  จะยึดเหนี่ยวในอารมณ์เพิ่มขึ้นตามแรงผลักดันของตัณหา และตัณหานี่เองเป็นปัจจัยคือเป็นเหตุให้เกิดอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นต่อไปอีก

ตัณหาเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ๒ แบบ

  เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว  ตัณหานั่นแหละเป็นสาเหตุแห่งทุกข์นั้น  ซึ่งเมื่อแยกแยะ

สาเหตุจะได้เป็น  ๒  ประเด็นหลัก๑๙ คือ

    ๑)  ตัณหาเป็นสาเหตุให้แสวงหาเพื่อดำรงชีพ

  ๒)  ตัณหาเป็นสาเหตุให้ต้องเวียนเกิดตายในภพอีกต่อไป

    ประเด็นที่สอง  เมื่อบุคคลเต็มไปด้วยตัณหาที่ครอบงำจิตใจแล้วก็ดิ้นรนไปตามอำนาจของตัณหานั้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดแล้ว  ก็ย่อมเป็นเหตุให้ทำกรรมต่าง ๆ  ทั้งถูกและผิด  กรรมที่ทำด้วยอำนาจของตัณหานี่เอง  เป็นพลังส่งเสริมให้ไปเกิดในภพใหม่  จะเกิดในภพอย่างไรนั้นสุดแล้วแต่กรรมที่ทำลงไปจะเป็นสิ่งที่คอยจำแนกให้ดีหรือเลว  เพราะกรรมนั่นแหละย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวหรือประณีตต่างกัน๒๐  การที่มนุษย์หรือสัตว์อื่นไปเกิดในภพภูมิที่ดีหรือที่เลวต่างกัน  เพราะกรรมคือการกระทำเป็นตัวจัดการ  และเพราะพลังอำนาจของตัณหานั่นเอง  มนุษย์จึงได้ทำกรรม

๓.  นิโรธอริยสัจ อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ

๑)  ความหมายของทุกขนิโรธ

ทุกขนิโรธ  มาจาก  ๒  ศัพท์  คือ  ทุกฺข  แปลว่า  ทุกข์  และนิโรธ  แปลว่า  ดับโดยไม่เหลือหรือดับสนิท รวมกันแปลว่า  ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์” พระพุทธเจ้าทรงอธิบายลักษณะของทุกขนิโรธว่า  “โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ ความดับโดยสำรอกทิ้งอย่างไม่มีเหลือซึ่งตัณหานั้น  จาโค ความสละตัณหานั้น  ปฏินิสฺสคฺโค ความวางตัณหานั้น มุตฺติ ความปล่อยตัณหานั้น  อนาลโย ความไม่พัวพันอาลัยตัณหานั้น”๒๑

๒)  ประเภทของนิโรธ

นิโรธเป็นคำไวพจน์ของนิพพานคือใช้แทนกันได้ ในปฏิสัมภิทามรรค๒๒ แบ่งนิโรธออกเป็น  ๕  อย่าง  หรือ  ๕  ระดับ  คือ

  ๒.๑  วิกขัมภนนิโรธ  ได้แก่  การดับนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้ของผู้เจริญปฐมฌาน  ท่านผู้รู้อธิบายว่า  “ได้แก่  สมาบัติ  ๘  คืออรูปฌาน  ๔  อรูปฌาน  ๔  เป็นวิกขัมภนนิโรธทั้งหมด  เพราะนับแต่เข้าถึงปฐมฌานแล้วเป็นต้นไป อกุศลธรรมทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น ย่อมถูกข่มให้ระงับดับไปเอง แต่ก็ดับชั่วเวลาที่อยู่ในฌานสมาบัติเท่านั้น

  ๒.๒  ตทังคนิโรธ ได้แก่  การเจริญสมาธิถึงขั้นชำแรกทำลายกิเลส  ดับความเห็นผิดต่าง  ๆ ลงได้  ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน  ท่านผู้รู้อธิบายว่า “หมายถึงการดับกิเลสขั้นวิปัสสนา  คือการใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะของสิ่งทั้งหลาย  เช่น  พิจารณาความไม่เที่ยงเป็นต้น  พิจารณาเห็นแง่ใด ก็เกิดญาณขึ้นกำจัดความเห็น  หรือความยึดถือในทางตรงกันข้ามที่ขัดต่อสัจธรรมในแง่นั้น ๆ ลงได้” ๒๔

  ๒.๓  สมุจเฉทนิโรธ  ได้แก่  การเจริญโลกุตรมรรค  ซึ่งส่งผลให้ถึงความสิ้นกิเลส  ดับกิเลสลงได้เด็ดขาด  สมุจเฉทนิโรธนี้  หมายถึง  อริยมรรคทั้ง  ๔  คือ  โสดาปัตติมรรค  สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค  และอรหัตมรรค

  ๒.๔  ปฏิปัสสัทธินิโรธ  ได้แก่  การดับกิเลสในขณะแห่งผล  โดยเป็นภาวะที่กิเลสราบคาบไปแล้ว  หมายถึง  อริยผลทั้ง  ๔  คือ  โสดาปัตติผล  สกทาคามิผล  อนาคามิผล  อรหัตผล

  ๒.๕  นิสสรณนิโรธ  ได้แก่  การดับกิเลสซึ่งเป็นภาวะพ้นออกไปจากกิเลส  ดำรงอยู่ต่างหาก ห่างไกลจากกิเลส  ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสเลย

๓.  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ  อริยสัจ คือ  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

๑)  ความหมายของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  แปลว่า  ข้อปฏิบัติหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับ

โดยไม่เหลือแห่งทุกข์”  หรือเรียกอย่างสั้น  ๆ ว่า  “มรรค”

๒)  องค์ประกอบของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  โดยความ  ก็คืออริยมรรคมีองค์  ๘  ดังพระบาลีในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล  คือ  สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะ  สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ๒๕

  ดังนั้น  คำว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”  และ  “อริยมรรค”  จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน ใช้เป็นคำไวพจน์แทนกันและกันได้

  นอกจากนั้น  อริยมรรคยังหมายถึง  “มัชฌิมาปฏิปทา”๒๖ กล่าวคือข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง หรือที่นิยมแปลกันว่า  “ทางสายกลาง”  ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อตรัสรู้  เพื่อนิพพาน  โดยไม่สุดโต่งเอนเอียงไปในด้านกามสุขัลลิกานุโยค  คือพัวพันหาความสุขในกาม และอัตตกิลมถานุโยค  คือการทำตนหรือทรมานตนให้ลำบากเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุหรือบรรลุเป้าหมายที่ตนเองประสงค์

๓)  อธิบายองค์ประกอบของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา 

อริยมรรคประกอบด้วยองค์  ๘  ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น  มีคำอธิบายดังนี้

 

  ๓.๑  สัมมาทิฏฐิ*  แปลว่า  ความเห็นชอบ พระบาลีพุทธพจน์ชี้ไปที่ความรู้ในอริยสัจสี่ว่า “ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ”๒๗

    สัมมาทิฏฐิยังมีคำจำกัดความอีก ดังนี้ คือ

    รู้กุศล กุศลมูล และอกุศล อกุศลมูล  ดังพระบาลีว่า  “เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าอกุศล  รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  อริยสาวกชื่อว่า  เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้๒๘

    เห็นไตรลักษณ์  ดังพระบาลีว่า  “ภิกษุเห็นรูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญ-ญาณอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า  ไม่เที่ยง  ความเห็นของเธอนั้น  เป็นสัมมาทิฏฐิ๒๙

    “ภิกษุเห็นจักษุ…โสตะ…ฆานะ…ชิวหา…กาย…มโน…รูป…เสียง…กลิ่น…รส…

สัมผัส…ธรรมารมณ์อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง  ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่า  เป็นสัมมา-ทิฏฐิ”๓๐ 

  กล่าวโดยสรุป ความสำคัญของสัมมาทิฏฐิ  อาจแบ่งตามพระพุทธพจน์ได้เป็น ๕ ประเด็น ดังนี้

  ๑)  เป็นนิมิตหมายแห่งการตรัสรู้ ดังพระบาลีว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระอาทิตย์

จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน  สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนคือแสงเงินแสงทอง  ฉันใด  สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจ  ๔  ตามความเป็นจริงคือสัมมาทิฏฐิ  ฉันนั้นเหมือนกัน  ภิกษุผู้มีความเห็นชอบพึงหวังข้อนี้ได้ว่า  จักรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้”๓๑

  ๒)  เป็นหัวหน้าหรือเป็นตัวนำขององค์มรรคทั้ง  ๗ ดังพระบาลีว่า  “ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาองค์มรรคทั้ง  ๗  นั้น  สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นหัวหน้า  ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นหัวหน้าอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฏฐิว่า  เป็นมิจฉาทิฏฐิ  รู้จักสัมมาทิฏฐิว่า  เป็นสัมมาทิฏฐิรู้จักมิจฉาสมาธิว่า เป็นมิจฉาสมาธิ  รู้จักสัมมาสมาธิว่า  เป็นสัมมาสมาธิ  ความรู้ของเธอนั้น  เป็นสัมมาทิฐิ๓๒

  และว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  บรรดาองค์ทั้ง  ๗  นั้น  สัมมาทิฐิย่อมเป็นตัวนำ  ก็สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำอย่างไร  คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ  สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้  เมื่อมีสัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง พอเหมาะได้  เมื่อมีสัมมา สมาธิ  สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้  ภิกษุทั้งหลาย  ด้วยประการนี้แล  พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์  ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์  ๑๐ ”๓๓

  ๓)  เป็นเครื่องมือสำหรับทำลายอวิชชาคือความไม่รู้ ดังพระบาลีว่า  “ข้อที่ภิกษุจักทำลายอวิชชา  จักยังวิชชาให้เกิด  จักทำนิพพานให้แจ้งด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก  ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก  ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้  ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก๓๔

  ๔) เป็นเหตุให้กุศลธรรมเกิดและเจริญ  ดังพระบาลีว่า  “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับสัมมาทิฏฐินี้เลย  เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ  กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น  และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง๓๕

  ๕)  เมื่อสิ้นชีวิตเป็นเหตุให้เกิดในสุคติภพ  ดังพระบาลีว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย เมื่อกายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย  สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ  เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์๓๖

  นอกจากนี้  ท่านยังแบ่งสัมมาทิฏฐิเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับที่ยังมีอาสวะ และระดับโลกุตระ ดังพระบาลีว่า

  “ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน  เรากล่าวสัมมาทิฏฐิเป็น  ๒  อย่าง  คือสัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง  สัมมาทิฐิของพระอริยะ  ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง 

    ภิกษุทั้งหลาย  สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า  ทานที่ให้แล้วมีผล  ยัญที่บูชาแล้วมีผล  สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี  ทำชั่วแล้วมีอยู่  โลกนี้มี  โลกหน้ามี  มารดามี  บิดามี  สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี  สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่  นี้สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์

  ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาทิฏฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ  เป็นโลกุตระ  เป็นองค์มรรค๓๗

  อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิประเภทที่ยังมีอาสวะนั้น  เป็นโลกิยะ หมายความถึงความเห็นชอบที่ยังเนื่องด้วยโลก  เกี่ยวข้องหรือขึ้นต่อโลก  ได้แก่  ความเห็น  ความเชื่อ  ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตที่ถูกต้อง ที่อยู่บนพื้นฐานแห่งหลักความดีหลักศีลธรรม เป็นไปตามทำนองคลองธรรม  สัมมาิฏฐิประเภทนี้ เกิดจากการรับฟังหรือได้ยินได้ฟังมาจากผู้อื่นซึ่งก็เป็นปัจจัยภายนอก  หรือองค์ประกอบทางสังคมด้วยอาศัยศรัทธาเป็นเครื่องเชื่อมโยงหรือชักนำหรือตั้งอยู่ในพื้นฐานแห่งศรัทธา  เฉพาะอย่างยิ่งเกิดจากการหล่อหลอม  ขัดเกลา ทางสังคม  เช่น  การอบรมสั่งสอนทางด้านศีลธรรมมารยาท เป็นต้น แม้จะอิงอาศัยกับโยนิโสมนสิการบ้าง แต่ก็เป็นระดับตัวกุศลเป็นเหตุกระตุ้น  เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า  ดังเช่น  ความดี  ชั่ว  ถูก  ผิด  อะไรดีกว่า เลวกว่า  เป็นต้น  ตลอดถึงหลักความเห็นความเชื่อต่าง ๆ ที่จะรักษาคุณความดีเอาไว้  เพราะเป็นทิฏฐิที่ได้ฟังได้ปฏิบัติต่อ  ๆ  กันมา  จึงมีลักษณะเป็นหลักการกฎเกณฑ์  มาตรฐาน  ความเชื่อที่มนุษย์เองเป็นผู้ปรุงแต่ง  สร้างสรรค์  บัญญัติตั้งขึ้น  เป็นของที่ต่างจากกฎธรรมดาของธรรมชาติอีกชั้นหนึ่ง  มีลักษณะที่เกี่ยวข้องความเป็นโลกีย์  กล่าวคือ มีรายละเอียดหรือข้อปลีกย่อยผิดแปลกแตกต่างกันออกไปบ้างตามกลาลสมัย ท้องถิ่น พลังของสภาพสิ่งแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงของสังคมบ้าง  ดังนั้น  จึงสรุปได้ว่า  ทิฏฐิในประเภทเรื่องที่ถูกใจ ค่านิยมทั้งหลายทั้งปวงรวมอยู่ในทิฏฐิประเภทโลกิยะทั้งสิ้น 



สํ.ม. ๑๙/๑๖๗๘/๕๓๔.

วิ.มหา. ๔/๑๔/๑๘, สํ.ม. ๑๙/๑๖๖๕/๕๒๘, ขุ.ปฏิ. ๓๑/๕๙

 

  ส่วนสัมมาทิฏฐิประเภทที่ไม่มีอาสวะ  เป็นโลกุตระ  กล่าวคือ ความเห็นชอบที่เหนือโลก  ไม่ถูกโลกครอบงำ  ได้แก่  ความเห็น  ความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตได้อย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง  เข้าใจกฎธรรมดาของสภาวะธรรมชาติ  หรือจะกล่าวว่า  ความเข้าใจธรรมธรรมชาตินั่นเอง  สัมมาทิฏฐิประเภทนี้ เกิดจากมีโยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบหรือเป็นปัจจัยอยู่ภายใน  การได้เห็นยินได้ฟังมาดี  หรือกัลยาณมิตรคือเพื่อนดีอาจจะช่วยได้บ้าง  เป็นเพียงแต่การกระตุ้นให้บุคคลนั้นใช้โยนิโสมนสิการแล้วเห็นได้ประจักษ์แก่ตนเอง สัมมาทิฏฐิระดับนี้เพียงแต่รับฟังผู้อื่นเชื่อเขามาด้วยศรัทธาเท่านั้นไม่อาจจะให้เกิดขึ้นได้  เพราะต้องเป็นการรู้จักที่ตัวสภาวะเอง  ต้องเอาธรรมชาติมาเป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาโดยตรง  ดังนั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นหลักการ  กฎเกณฑ์  ข้อยึดถือ  ที่ปรุงแต่งหรือบัญญัติซ้อนเพิ่มขึ้นมา  เป็นอิสระจากทุกอย่าง  ไม่ขึ้นกับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป  เกี่ยวข้องกับธรรมชาติแท้  ๆ  มีสภาพและกฎธรรมดาเหมือนกันในที่ทุกกาลสมัย  ทุกสถานที่ ตามนัยนี้  จึงมีลักษณะเป็น โลกุตระ

    และคำว่า  “ทิฏฐิ”  นี้  ยังหมายถึงความเชื่อ  ลัทธิ ทฤษฎี  ความเข้าใจตามนัยเหตุผล  ข้อที่เข้ากับความเข้าใจของตน  หลักการที่เห็นสม  ข้อที่ถูกใจ ข้อที่เชิดชูเอาไว้  ความใฝ่นิยม  หรือที่เรียกกันว่า  ค่านิยม  รวมไปถึงอุดมการณ์  แนวทัศนะในการมองโลกและชีวิตที่เรียกกันว่า  โลกทัศน์และชีวทัศน์ ๆ ตลอดจนถึงทัศนคติพื้นฐานที่สืบเนื่องจากความเห็นความเข้าใจและความใฝ่นิยมเหล่านั้น๓๘ 

    สัมมาทิฏฐิมีความสำคัญและมีอุปการะมากในกิจทั้งปวงดังที่กล่าวมานี้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งมนุษย์แต่ละบุคคลที่จะต้องปลูกฝังฝึกฝนอบรมให้เกิดให้มีในตน  เพราะว่า  ความเห็นชอบนั้น เป็นพื้นฐานเบื้องต้นแห่งการทำความดีทั้งหมด  ถ้าหากมีความเห็นชอบเห็นถูกต้องอยู่ในตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว  บุคคลอาจที่จะสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเอง  และแก่สังคมเท่าที่ควรจะเป็นไปได้  สังคมโดยรวมก็ไม่ต้องสับสนเดือดร้อนวุ่นวายไปด้วยปัญหาต่าง ๆ นานา จะเป็นสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองและสงบร่มเย็น

  ๓.๒  สัมมาสังกัปปะ  แปลว่า  ความดำริชอบ  มีคำจำกัดความโดยพระบาลีว่า  “สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน  ความดำริในการออกจากกาม  ความดำริในความไม่พยาบาท  ความดำริในอันไม่เบียดเบียน  อันนี้เรียกว่า  สัมมาสังกัปปะ๓๙

  และยังมีคำจำกัดความชนิดแยกเป็นระดับโลกิยะและโลกุตระโดยพระบาลีดังนี้ 

  “ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน  เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น  ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑  สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ  เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ 

    ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน ความดำริในเนกขัมมะ  ดำริในความไม่พยาบาท  ดำริในความไม่เบียดเบียน  นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์” 

    “ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ  เป็นองค์มรรคเป็นไฉน  ความตรึก  ความวิตก  ความดำริ  ความแน่ว  ความแน่  ความปักใจ  วจีสังขาร  ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึกมีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค๔๐

    จากพระบาลีที่ยกมาข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า สัมมาสังกัปปะนั้นมี ๓ ประการ คือ

    ๑)  เนกขัมมสังกัปปะ คือ  ความดำริหรือความตรึกนึกคิดที่จะออกจากกามทั้ง ๒ ประเภท* หรือความดำริที่จะไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งที่สนองความอยากต่าง ๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว คิดจะเสียสละ ความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง ความคิดที่ปราศจากราคะและโลภะ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ กล่าวคือ ความดำริ ความคิดที่ผิด ความคิดเกี่ยวกับเรื่องกาม  ความคิดนึกที่เกี่ยวพัน  หมกมุ่น  ติดข้อง  อยู่ในเรื่องกามที่จะมาสนองทางความต้องการของตน

    ๒)  อพยาปาทสังกัปปะ  คือ  ความดำริความตรึกนึกคิดในเรื่องที่จะไม่พยาบาท  เคียดแค้นชิงชัง  ขัดเคือง  หรือเพ่งมองคนอื่นสัตว์อื่นในแง่ร้ายต่าง  ๆ  โดยมีความคิดนึกมุ่งถึงธรรมคือเมตตา ความปรารถนาดีมีมิตรไมตรีอยากจะให้ผู้อื่นสัตว์อื่นมีความสุขเป็นที่ตั้ง ดังคำสุภาษิตว่า “เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก”๔๑  เป็นความคิดนึกที่ปราศจากโทสะ  ซึ่งตรงกันข้ามกับมิจฉาสังกัปปะข้อว่าด้วยพยาบาทวิตก กล่าวคือ ความคิดนึกเกี่ยวกับความอาฆาตเคืองแค้นคอยจ้องที่จะทำลาย ล้างผลาญ คนอื่นหรือสัตว์อื่นให้พินาศขาดสูญไป

  ๓)  อวิหิงสาสังกัปปะ คือ  ความดำริความตรึกตรองนึกคิดในเรื่องที่จะไม่เบียดเบียน  คิดทำร้าย ทำลายผู้อื่นหรือสัตว์อื่น โดยมีความนึกคิดมุ่งไปในธรรมคือกรุณา  ความสงสารคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์  และยังมุ่งไปในธรรมคือมุทิตา  ความพลอยยินดีที่ผู้อื่นได้ประสบกับความสำเร็จในชีวิตในทุก  ๆ  ด้าน  ทั้งยังประกอบด้วยธรรมคืออุเบกขา  ความวางตัวเป็นกลางโดยรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราคิดว่า  ตัวเราเองได้ลาภเป็นต้นมีใจฉันใด  คนอื่นที่เขาได้ลาภก็มีใจฉันนั้น ดังนั้นมนุษย์ที่ถือกันว่าตนเองเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าในโลกจึงไม่ควรเบียดเบียนไม่ควรกระทำความเดือดร้อนให้แก่สัตว์อื่นและแก่มนุษย์ด้วยกันเอง อวิหึงสาสังกัปปะนี้เป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะและมีความหมายตรงกันข้ามกับมิจฉาสังกัปปะกล่าวคือวิหึงสาวิตก หมายถึง ความคิดนึกไปในทางเบียดเบียน  มุ่งที่จะทำให้ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นต้องเดือดร้อน  อยู่ไม่เป็นสุข

    เมื่อมนุษย์แต่ละคนมีความดำริชอบประกอบด้วยเหตุด้วยผลด้วยกันทั้งหมด  หรือแม้จะไม่หมดแต่ก็เป็นส่วนมากแล้ว ย่อมจะทำให้สังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข มีการเอื้อประโยชน์ต่อกัน ไม่ต้องหวาดระแวงต่อภัยอันตรายที่จะเกิดแก่ตน  ไม่ต้องตามฆ่า  ล้างผลาญ  แก้แค้น  หาอุบายที่จ้องจะทำลายกัน  มีแต่จะร่วมกันคิดสร้างสรรค์ความเจริญให้เกิดให้มีขึ้นแก่สังคมโดยรวมเท่านั้น

  ๓.๓  สัมมาวาจา แปลว่า  เจรจาชอบ  มีพระบาลีจำกัดความหมายไว้ว่า  “สัมมาวาจา เป็นไฉน  การงดเว้นจากการพูดเท็จ  งดเว้นจากการพูดส่อเสียด  งดเว้นจากการพูดคำหยาบ  งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ  อันนี้เรียกว่า  สัมมาวาจา๔๒ 

  และจัดเป็น  ๒  ระดับเช่นกัน คือ ระดับโลกิยะและโลกุตระ  โดยพระบาลี  ดังนี้ 

    ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน  เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น  ๒  อย่าง  คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑  สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ 

    ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน  คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ  งดเว้นจากการพูดส่อเสียด  งดเว้นจากการพูดคำหยาบ  งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ  นี้  สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ 

  ภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ  เป็นองค์มรรคเป็นไฉน  ความงด  ความเว้น  ความเว้นขาด  เจตนางดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง  ๔  ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก  มีจิตหาอาสวะมิได้  พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค  เจริญอริยมรรคอยู่  นี้แล  สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ  เป็นโลกุตระ  เป็นองค์มรรค๔๓

  เจรจาชอบในที่นี้  ท่านมุ่งถึงลักษณะการพูด  ๔  อย่าง  คือ

  ๑)  การงดเว้นจากการพูดเท็จ  ก็คือ  ให้พูดเฉพาะคำจริง  เรื่องจริง  เรื่องที่เชื่อถือได้

  ๒)  การงดเว้นจากการพูดส่อเสียด  ให้ร้ายผู้อื่น  ทำคนอื่นให้ขัดเคือง  ก็คือ  ให้พูดตรงไปตรงมา  ไม่เป็นคนชนิดที่ต่อหน้าว่าดีพอลับหลังกลับนินทา  หรือพูดให้ผู้อื่นเสียหาย

  ๓)  การงดเว้นจากการพูดคำหยาบ  ก็คือ  ให้เจรจาปราศรัยกันด้วยถ้อยคำที่สุภาพ  ไพเราะ  นุ่มนวล  อ่อนหวาน  ซาบซึ้งประทับใจ

    ๔)  การงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ  โดยความก็คือ  ให้พูดเฉพาะคำหรือเรื่องที่มีประโยชน์มีสาระเป็นการพูดที่ประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม

    อนึ่ง ในเรื่องการเจรจาชอบนี้  พึงพิจารณาดูลักษณะพระวาจาของพระพุทธเจ้าที่ท่านยกมาแสดงประกอบพระพุทธคุณ ข้อว่า สุคโต  ในความหมายว่า  พูด  หรือ  ตรัสดี  นั้นเป็นตัวอย่าง กล่าวคือลักษณะของพระวาจาที่พระพุทธเจ้าจะตรัสหรือไม่ตรัสนั้นมี  ๖  อย่าง  คือ๔๔

  ๑)  วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นประโยชน์  และไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนพวกอื่น พระพุทธองค์ไม่ตรัส

  ๒)  วาจาใด จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์  และไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนพวกอื่น พระพุทธองค์ไม่ตรัส

  ๓)  วาจาใด จริง แท้ และเป็นประโยชน์  แม้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนพวกอื่น พระพุทธองค์ทรงรู้กาลเพื่อตรัสวาจานั้น

  ๔)  วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นประโยชน์  แม้เป็นที่รักที่ชอบใจของชนเหล่า

อื่น  พระพุทธองค์ไม่ตรัส

  ๕)  วาจาใด ที่จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเหล่าอื่น  พระพุทธองค์ไม่ตรัส

  ๖)  วาจาใด ที่จริง แท้ เป็นประโยชน์ และเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเหล่าอื่น พระพุทธองค์ทรงรู้กาลเพื่อตรัสวาจานั้น

    จากข้อความที่ยกมานี้  สรุปลักษณะแห่งพระวาจาที่พระพุทธเจ้าตรัสและที่ไม่ตรัสได้เป็น  ๒  อย่างคือ

    ๑)  วาจาที่เป็นคำจริง  แท้  เป็นประโยชน์  ถึงคนอื่นจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม  พระพุทธเจ้าจะทรงกำหนดกาลเวลาว่า  เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก่อนแล้วจึงตรัสวาจาเช่นนี้

    ๒) วาจาที่เป็นคำที่ไม่จริงแท้ ไม่มีประโยชน์  แม้คนอื่นจะชอบหรือก็ไม่ก็ตาม 

หรือเป็นคำจริงแท้ แต่ไม่มีประโยชน์ คนจะชอบหรือไม่ชอบฟังก็ตาม จะไม่ตรัสวาจา

ประเภทนี้

    วาจาชอบนั้นก่อให้เกิดคุณประโยชน์ได้อย่างมากมาย  เช่น  ใช้พูดแนะนำชักชวนให้คนอื่นรู้จักทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทั้งระดับโลกิยะและโลกุตระ ประโยชน์ในปัจจุบัน ในอนาคตคือปรโลก และปรมัตถประโยชน์คือพระนิพพาน การพูดดีก่อให้เกิดผลดีทั้งแก่ตนและคนอื่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เป็นเหตุให้สร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง  ความสามัคคีเป็นปึกแผ่น  ความมั่นคงทั้งแก่ตนและประเทศชาติ  หากพูดชั่ว  ซึ่งเรียกว่า  มิจฉาวาจา  ก็จะก่อให้เกิดผลเสียหาย  นำสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาตามมาอย่างมากมายทั้งในปัจจุบัน  แม้สิ้นชีวิตไปก็ยังคงต้องตามเสวยผลกรรมของการพูดไม่ดีอีกต่อไปด้วย 

  ๓.๔  สัมมากัมมันตะ  แปลว่า  การกระทำชอบหรือการงานชอบ  มีพระบาลีจำกัดความไว้ว่า  “สัมมากัมมันตะเป็นไฉน  การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์  งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม  อันนี้เรียกว่า  สัมมากัมมันตะ๔๕

  จากพระบาลีที่ยกมานี้ชี้ให้เห็นว่า  สัมมากัมมันตะมีประเด็นสำคัญ  ๓  ประเด็น คือ 

  ๑)  เว้นจากปาณาติบาต  กล่าวคือ  ไม่ทำลายชีวิตของคนหรือสัตว์อื่น  โดยความก็คือความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตประจำวันที่ไม่เบียดเบียนทำร้ายชีวิตร่างกายของผู้อื่นหรือแม้แต่ชีวิตของตนเองทั้งโดยตรง  ก็คือไม่ฆ่าไม่ทำลายชีวิตของผู้อื่น  ทั้งโดยอ้อมคือการส่งเสริมให้มีการเช่นนั้นโดยวิธีการต่าง  ๆ

  ๒)  เว้นจากอทินนาทาน  กล่าวคือ  ไม่ถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของหวงแหนซึ่งเจ้าของไม่ได้ให้โดยอาการวิธีการต่าง  ๆ  เช่น  การลักขโมย  การยักยอกฉ้อฉล  การล้วงละเมิดลิขสิทธิ์กรรมสิทธิ์  เป็นต้น

  ๓)  เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร กล่าวคือ  ไม่ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย  ก็คือการประพฤติในเรื่องเพศที่เหมาะสม  เช่น  ไม่ล่วงละเมิดในคู่ครองของคนอื่น  ไม่นอกใจคู่ครองของตนเองไม่ประพฤติอนาจารล่วงละเมิดในทางเพศในบุคคลและสถานที่ต้องห้าม

  สัมมากัมมันตะก็จัดเป็น  ๒ ระดับ  ได้แก่ระดับโลกิยะ และโลกุตระ  กล่าวคือ สัมมากัมมันตะของบุคคลผู้ยังมีอาสวะ  และสัมมากัมมันตะของพระอริยบุคคล๔๖

  ๓.๕  สัมมาอาชีวะ แปลว่า  อาชีพชอบหรือเลี้ยงชีพชอบ  มีพระบาลีให้คำจำกัดความไว้ว่า  “สัมมาอาชีวะเป็นไฉน  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย  สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ  อันนี้เรียกว่า  สัมมาอาชีวะ๔๗ 

  การเลี้ยงชีพชอบ โดยสรุปก็คือ  การละมิจฉาชีพหมายถึงอาชีพที่ทุจริตผิดจากทำนองคลองธรรมทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ และการประกอบสัมมาชีพหาเลี้ยงชีวิตโดยความขยันหมั่นเพียรด้วยอาชีพที่สุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน

  อาชีวะหรืออาชีพนั้นมีอยู่มากมายทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม  และเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในหมู่มนุษย์ทุกหมู่เหล่าต้องมี  พูดง่าย  ๆ  ก็คือ  ทุกคนต้องมีอาชีพ  ทั้งนี้เพื่อจะให้เกิดรายได้แล้วนำเอารายได้นั้นมาประคับประคองชีวิตให้ดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติสุข  ถ้าหากไม่มีอาชีพการงานก็จะต้องเป็นอยู่ด้วยความลำบากเพราะขาดปัจจัยที่จะเกื้อหนุนจุนเจือ ไม่อาจจะทนอยู่ได้เป็นเวลานาน

  สัมมาอาชีวะก็แยกเป็นระดับ ได้แก่  ระดับโลกิยะ  และโลกุตระ  กล่าวคือ สัมมากัมมันตะของบุคคลผู้ยังมีอาสวะ  และสัมมากัมมันตะของพระอริยบุคคล๔๘ 

  สรุปว่า  สัมมาอาชีวะมี  ๒  กล่าวคือ  สัมมาอาชีวะของคฤหัสถ์และของบรรพชิต  และมี ๒ ระดับคือ โลกิยะและโลกุตระ  สัมมาอาชีวะนี้แม้จะเป็นเพียงระดับโลกิยะ  หากบุคคลในสังคมพากันตั้งใจปฏิบัติตาม  กล่าวคือ  ในการประกอบอาชีพหาเลี้ยงชีวิตก็ทำไปโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องชอบธรรม  ก็จะได้รับอานิสงส์ที่เห็นได้ง่าย  ๆ  คือ  จะไม่มีความเดือดร้อนทั้งกายและใจทั้งแก่ตนและคนอื่น  เพราะว่าบุคคลไม่มีการเบียดเบียนกันและกัน  เมื่อมีหรือแสวงหาวัตถุได้เพียงพอแก่การสนองความต้องการของตนในระดับหนึ่งแล้ว  จากนั้นก็หันมาแสวงหาหรือพัฒนาตนเองให้ได้รับความสุขอันประณีตยิ่ง  ๆ  ขึ้นไปอีกระดับ  จนถึงความสุขอันประณีตที่สุด

  ๓.๖  สัมมาวายามะ แปลว่า  เพียรชอบหรือพยายามชอบ  มีพระบาลีในพระสูตรจำกัดความหมายไว้ว่า  “สัมมาวายามะเป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เกิดฉันทะพยายาม  ปรารภความเพียร  ประคองจิตไว้  ตั้งจิตไว้เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น  เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว  เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น  เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย  เจริญยิ่งไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว  อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ 

  ในคัมภีร์พระอภิธรรมมีคำจำกัดความอีกแบบหนึ่งว่า  “สัมมาวายามะเป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ  ความก้าวหน้า  ความบากบั่น  ความขะมักเขม้น  ความพยายาม  ความอุตสาหะ ความอึดสู้  ความเข้มแข็ง  ความมั่นคง  ความก้าวหน้าไม่ลดละ  ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ  ความไม่ทอดทิ้งธุระ  การแบกทูนเอาธุระไป  วิริยะ  วิริยินทรีย์  วิริยพละ  สัมมาวายามะ  วิริยสัมโพชฌงค์ที่เป็นองค์มรรคนับเนื่องในมรรค  นี้เรียกว่า  สัมมาวายามะ๕๐

  จากข้อความพระบาลีในพระสูตรที่ยกมานี้  พอจะสรุปลักษณะความเพียรชอบนั้นได้เป็น ๔  ประเด็น  คือ

  ๑)ความเพียรเพื่อจะระมัดระวังป้องกันอกุศลธรรมกล่าวคือสิ่งไม่ดีทั้งหลาย  เช่น  ความโลภ  โกรธ  หลง  เป็นต้นที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้นภายในจิต  เรียกว่า  “สังวรปธาน”

  ๒)  ความเพียรเพื่อจะละหรือกำจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดหรือเบาบางไป  เรียกว่า  “ปหานปธาน”

  ๓)  ความเพียรเพื่อจะเจริญกุศลธรรมกล่าวคือสิ่งดีงามทั้งหลาย  เช่น  ความไม่โลภ  ไม่โกรธ  ไม่หลง  เป็นต้น  หมายความว่า  ทำให้กุศลธรรมเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีขึ้นภายในจิตใจของตน  เรียกว่า  “ภาวนาปธาน”

  ๔)  ความเพียรเพื่อจะรักษาส่งเสริมกุศลธรรมที่เกิดมีขึ้นภายในจิตแล้ว  ให้ตั้งอยู่ได้นาน  ไม่ให้สาบสูญ  ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น  เรียกว่า “อนุรักขนาปธาน”

  ความเพียงทั้ง  ๔  นี้  เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า  “สัมมัปปธาน”๕๑  แปลว่า  ความเพียร

ที่ตั้งไว้โดยชอบหรือความเพียรที่ถูกต้อง หรือเรียกสั้น  ๆ  ว่า  ปธาน”๕๒  คือ  ความเพียรเป็นเหตุเริ่มตั้ง ก็ได้  นอกจากนั้นแล้ว  ความเพียร  ๔  ข้อนี้ยังมีอธิบายไว้ในสังวรสูตร  ความว่า 

  ๑)  “ภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว  ไม่ถือโดยนิมิต (ไม่เคลิบเคลิ้มหลงติดในรูปลักษณะโดยรวม  เช่น  บุรุษ  สตรี เป็นต้น) ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ (ไม่เคลิบเคลิ้มหลงติดในลักษณะปลีกย่อย  เช่น  หน้าตา  แขน  ขา  เป็นต้น)  ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์  ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว  พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเลว กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้  ย่อมรักษาจักขุนทรีย์  ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์  ฟังเสียงด้วยหู  ดมกลิ่นด้วยจมูก  ลิ้มรสด้วยลิ้น  ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย  รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ  ก็เช่นเดียวกัน นี้เรียกว่า สังวรปธาน

  ๒)  ปหานปธานเป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมครอบงำ  ย่อมละ  ย่อมบรรเทา  ย่อมทำให้พินาศ  ย่อมให้ถึงความไม่มีซึ่งกามวิตก  พยาบาทวิตก  วิหิงสาวิตก  อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว  นี้เรียกว่า  ปหานปธาน 

  ๓)  ภาวนาปธานเป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  วิริยสัมโพชฌงค์  ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  สมาธิสัมโพชฌงค์  อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก  อาศัยวิราคะ  อาศัยนิโรธ  น้อมไปในความสละ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน

  ๔)  อนุรักขนาปธานเป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว  กล่าวคือ  อัฏฐิกสัญญา  ปุฬวกสัญญา  วินีลกสัญญา  วิปุพพกสัญญ  วิจฉิทกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน…”๕๓ 

    ความเพียรพยายามนี้เป็นหลักธรรมที่สำคัญมากในพระพุทธศาสนาจะมีปรากฏในที่หลายแห่ง  เพราะพระพุทธศาสนาต้องการจะเน้นในเรื่องการลงมือทำความเพียรเป็นสำคัญ  เพื่อจะได้พบกับความจริงที่มีอยู่โดยธรรมชาติ  พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาก็ทรงบำเพ็ญเพียรอย่างยิ่งยวดเริ่มจากทรงกระทำทุกกรกิริยาจนถึงเปลี่ยนมาเป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ  ด้วยความความเพียรอันประกอบด้วยองค์  ๔  ทรงเริ่มตั้งความเพียรว่า  “หนัง  เอ็นและกระดูก  จงเหลืออยู่  เนื้อเลือดในร่างกายของเราจงเหือดแห้งไปก็ตามที ยังไม่บรรลุผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรง ความเพียร ความบากบั่นของบุรุษ จักไม่หยุดความเพียร”๕๔ จนได้พบหลักความจริงของธรรมชาติแล้วทรงนำมาประกาศเปิดเผยแก่ผู้อื่น

  การปฏิบัติและได้รับผลในการปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปอันเที่ยงธรรมตามเหตุปัจจัยของกฎธรรมชาติ  พระพุทธเจ้ามิใช่ผู้ทรงบันดาล  ทุกคนผู้มุ่งหวังความุขความสำเร็จเพื่อตน  ไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตาม  จำเป็นต้องเพียรพยายามสร้างเหตุปัจจัยด้วยกำลังเรี่ยวแรงของตนให้เต็มที่เต็มความสามารถและทำไปจนได้บรรลุสิ่งนั้น ไม่ควรคิดมุ่งหวังสิ่งใดแล้วอ้อนวอนขอเอาผลที่ตนต้องการจากอำนาจพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง  โดยไม่ต้องทำอะไร ๆ  ซึ่งขัดกับหลักพระศาสนา พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาทรงเป็นแต่ผู้บอกชี้ผิดชี้ถูก ทรงชี้ทางไปนรก ทางไปสวรรค์ ไปนิพพาน เท่านั้น  ดังพระบาลีที่ว่า  “ความเพียรท่านทั้งหลายต้องทำเอง พระตถาคตเป็นแต่ผู้บอก(ทาง) ให้”๕๕ 

    อนึ่ง  การทำความเพียรต้องเริ่มจากภายในคือจิตก่อน  หมายความว่า  ต้องทำจิตให้

พร้อมและถูกต้องแล้วจึงส่งผลออกกทางภายนอกคือกาย กล่าวคือลงมือปฏิบัติให้ประสาน

กลมเกลียวกันระหว่างจิตกับกาย  และในการทำความเพียรนี้  พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า  ควร

รีบทำ  อย่าผัดวันประกันพรุ่ง  ดังพระบาลีว่า  ความเพียรต้องรีบทำในวันนี้  ใครเล่าจะพึงรู้ว่า  จะตายเสียในวันนี้หรือพรุ่งนี้๕๖

    ความเพียรโดยชอบมีอุปการะมากในการทำกิจธุระทุกอย่าง เพราะว่าเป็นเหตุส่งเสริมให้บุคคลประสบผลสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ  ทั้งยังเป็นไปเพื่อความสุข  ความเจริญแก่ตนและสังคม  และในระดับสูง  หากเหตุปัจจัยพร้อมแล้วสามารถทำให้บรรลุคุณพิเศษได้  ในทางตรงกันข้าม  หากความเพียรนั้นเป็นความเพียรที่ผิดที่เรียกว่า  มิจฉาวายามะ  เช่น  เพียรที่จะสร้างความชั่วความเสื่อมเสีย  เพียรที่จะปล้น  ฆ่า  คดโกง  เอารัดเอาเปรียบคนอื่น  เป็นต้น  ก็จะส่งผลไปในทางเสียหาย  ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนและคนอื่นด้วย  ความเพียรในทางที่ผิดนี้  เป็นความเสียหายที่รุนแรงสาธุชนควรหลีกเลี่ยง

  ๓.๗  สัมมาสติ แปลว่า  ระลึกชอบ  มีพระบาลีจำกัดความหมายไว้ว่า  “สัมมาสติ เป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่  มีความเพียรมีสัมปชัญญะ  มีสติ  กำจัดอภิชฌา  และโทมนัสในโลกเสียได้  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่…พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่…พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้  อันนี้  เรียกว่า  สัมมาสติ๕๗ 

    จากพระบาลีนี้  จะเห็นได้ว่า  สัมมาสติ  ก็คือสติเป็นเครื่องพิจารณาพิจารณากาย  เวทนา จิต  และธรรม  แล้วสามารถกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ของภิกษุผู้มีความเพียรมีสติ  มีการตื่นตัวอยู่เสมอ  ท่านประสงค์เอาสติปัฏฐานทั้ง  ๔  กล่าวคือ  กายานุปัสสนา  เวทนานุปัสสนา  จิตตานุปัสสนา  ธัมมานุปัสนา 

  สติ  แปลกันโดยทั่วไปว่า  ความระลึกได้  ซึ่งเมื่อเพ่งดูความ  ก็หมายถึงความไม่หลงลืม ความจำสิ่งต่าง  ๆ  เหตุการณ์เรื่องราวต่าง  ๆ  ที่ผ่านมาแม้จะนานได้ดี  นอกจากมีความหมายว่า ระลึกได้แล้ว  ยังมีความหมายว่า  ไม่เผลอเลอ  ไม่เลินเล่อ  ไม่ฟั่นเฟือนเลอะเลือน  หรือมีความระมัดระวัง  มีความพร้อมอยู่เสมอในการที่จะรับรู้ถึงสิ่งต่าง  ๆ  ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรกับสิ่งนี้ สติมีอุปการะมากในการทำกิจทั้งปวง จะทำกิจอะไรก็ตาม หากมีสติกำกับอยู่เสมอก็จะไม่เกิดความผิดพลาด  หากขาดสติก็จะส่งผลเสียทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น  ดังเช่น  กรณีเป็นคนขับรถพอเผลอขาดสติก็อาจเกิดอุบัติเหตุทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้  สติมักจะได้รับการเปรียบเทียบว่า  เหมือนคนรักษาประตูที่คอยกำกับดูแลคนเข้าออกตรวจสอบดูความเรียบร้อย  คนที่ควรเข้าข้างในได้ก็ให้เข้าข้างใน  คนที่ไม่ควรให้เข้าก็กันเอาไว้ข้างนอก

  ๓.๘  สัมมาสมาธิ แปลว่า  ตั้งใจมั่นชอบ มีพระบาลีจำกัดความหมายไว้ว่า “สัมมา-

สมาธิ เป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  สงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม  บรรลุปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่  เธอบรรลุทุติยฌาน  มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะวิตกวิจารสงบไป  ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร  มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่  เธอมีอุเบกขา  มีสติสัมปชัญญะ  เสวยสุขด้วยกาย  เพราะปีติสิ้นไป  บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้  เป็นผู้มีอุเบกขา  มีสติอยู่เป็นสุข  เธอบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อน  ๆ  ได้  มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่  อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๕๘ 

  ๓.๘.๑  ความหมายของสัมมาสมาธิ  

    จากพระบาลีที่ยกมานี้พอสรุปได้ว่า สัมมาสมาธิหมายถึงสมาธิในฌานสี่  กล่าวคือ ปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌานและจตุตถฌาน  เป็นสมาธิประเภทที่เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เป็นไปเพื่อความลดละและหลุดพ้นจากสรรพกิเลส 

  ส่วนในคัมภีร์พระอภิธรรมมีพระบาลีเป็นคำจำกัดความว่า  “สัมมาสมาธิเป็นไฉน  ความตั้งอยู่  ความตั้งแน่ว  ความมั่นลงไป  ความไม่ส่ายไป  ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต  ภาวะที่มีจิตไม่ซัดส่าย ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ  สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค  อันใด  นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๕๙

    สมาธิ  แปลว่า  ความตั้งจิตมั่น  หรือความตั้งมั่นของจิต  หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่ออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนด  คำว่า  “จิตฺตสฺเสกคฺคตา”  หรือเรียกสั้น  ๆ ว่า  “เอกคฺคตา”  แปลว่า  ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง  กล่าวคือ  อาการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับอารมณ์หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปที่อื่น ก็เป็นคำไวพจน์ที่ใช้แทนสมาธิ

  ๓.๘.๒  ประเภทของสมาธิ 

  ในพระไตรปิฎกจะกล่าวสมาธิไว้  ๒  ประเภท  ได้แก่  สัมมาสมาธิ  และมิจฉาสมาธิ  ส่วนในอรรถกถา  ท่านแยกสมาธิเป็น  ๓  ระดับ๖๐  คือ

    ๑)  ขณิกสมาธิ  แปลว่า  สมาธิชั่วขณะ  เป็นสมาธิขั้นต้นซึ่งคนทั่วไปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่การงานของตน  ๆ  ในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี  และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเจริญวิปัสสนาได้ด้วย

    ๒)  อุปจารสมาธิ แปลว่า  สมาธิเฉียด  ๆ  เป็นสมาธิระดับกลาง  สามารถระงับนิวรณ์  ๕  ได้ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะแห่งฌาน

    ๓)  อัปปนาสมาธิ แปลว่า  สมาธิแน่วแน่แนบสนิท  เป็นสมาธิระดับสูงสุด  มีในฌานทั้งหลายทั้งรูปฌาน  ๔  และอรูปฌาน  ๔  สมาธิขั้นนี้ถือได้ว่าเป็นผลสำเร็จแห่งความต้องการในการทำสมาธิ 

 

  ๓.๘.๓  ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

    จิตที่ฝึกอบรมจนเป็นสมาธิแล้ว ย่อมจะเป็นจิตที่มีสมรรถภาพ  มีลักษณะดังนี้๖๑

  ๑)  เป็นจิตที่เข้มแข็ง มีพลังมาก  เปรียบเหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียวย่อมจะมีกำลังมากกว่าที่ไหลกระจัดกระจายไป

    ๒)  เป็นจิตที่สงบ  ประณีต  เปรียบเหมือนแอ่งน้ำที่มีน้ำนิ่ง  ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อม เช่น  ถูกลมพัด  หรือคนโยนก้อนดินลง เป็นต้น

    ๓)  เป็นจิตใสกระจ่าง  มองเห็นอะไรได้ตามความเป็นจริง  เปรียบเหมือนน้ำที่สงบนิ่ง  ไม่มีคลื่นไม่มีสีไม่มีตะกอนทำให้ขุ่น  ย่อมจะเห็นอะไรได้อย่างชัดเจน  ถูกต้อง

    ๔)  เป็นจิตที่นุ่มนวล  เหมาะแก่การใช้งานทุกประเภท  เพราะไม่เครียด  ไม่สับสนวุ่นวาย ไม่กระด้าง  ไม่วอกแวก  ไม่สะทกสะท้าน

    ๕)  เป็นจิตที่มีอำนาจพิเศษต่าง  ๆ  เช่น  แสดงอิทธิปาฏิหารย์ ระลึกชาติ  รู้ใจคนอื่นได้ เป็นต้น  และในขั้นสูงสุดสามารถเข้าสู่ภาวะที่เรียกกันว่า นิพพานได้

    อริยมรรคมีองค์  ๘  นี้  โดยย่อแล้ว  สามารถสรุปลงในไตรสิกขา  หมายถึง  ข้อธรรมที่ควรศึกษาและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  ๓  ประการ  ได้แก่  อธิศีลสิกขา  อธิ-จิตตสิกขา  และ อธิปัญญาสิกขา  หรือเรียกง่าย  ๆ  ว่า  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ดังนี้๖๒

๑)  อธิศีลสิกขา  คือ  การฝึกความประพฤติสุจริตทางกาย  วาจา  และ

อาชีวะ ได้แก่  รวมเอาองค์มรรคข้อสัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  และสัมมาอาชีวะ

๒)  อธิจิตตสิกขา  คือ  การฝึกปรือในด้านคุณภาพและสมรรถภาพของจิต 

ได้แก่  รวมเอาองค์มรรคข้อสัมมาวายามะ  สัมมาสติ  และสัมมาสมาธิ

๓)  อธิปัญญาสิกขา  คือ  การฝึกปรือปัญญาให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ 

สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงจนถึงความหลุดพ้น  มีจิตใจเป็นอิสระ  ผ่องใส  เบิกบานโดยสมบูรณ์  ได้แก่  รวมเอาองค์มรรคข้อสัมมาทิฏฐิ  และสัมมาสังกัปปะ

๔.  สรุปเนื้อหาของอริยสัจสี่

 

อริยสัจดังที่กล่าวมานี้  โดยสรุปแล้ว  ก็มีเพียง  ๑  คือ  ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ดังพระพุทธพจน์ว่า  ทั้งในกาลก่อนและในบัดนี้เราสอนแต่เรื่องทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น”๖๓ โดยอริยสัจข้อทุกข์และทุกขสมุทัยรวมเป็นเรื่องทุกข์  และข้อทุกขนิโรธกับทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทารวมเป็นเรื่องความดับทุกข์

ทุกข์ในอริยสัจสี่นี้  โดยสรุป  ท่านหมายเอาทุกข์ในเบญจขันธ์  เพราะว่า  เบญจขันธ์นั้นเป็นศูนย์รวมแห่งทุกข์ทุกชนิด  ดังพระบาลีพุทธพจน์ว่า ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็น

ทุกข์…”๖๔

โดยพระบาลีที่ยกมานี้  จึงอาจกล่าวได้ว่า  อริยสัจสี่  ก็คือความจริงของชีวิต  เพราะว่าในชีวิตของคนเรานั้น  มีอริยสัจครบทั้ง  ๔  อยู่ประจำตัวแล้ว  ทุกข์มีอยู่จริงในชีวิต  ทั้งทุกข์ทางกายและทางใจ  เหตุให้เกิดทุกข์คือตัณหาก็มีอยู่จริงในชีวิต  จุดหมายในการแก้ทุกข์เพื่อความสิ้นทุกข์หรือปราศจากทุกข์ก็ต้องแก้ในชีวิตของเรานี้เองไม่ใช่ที่อื่นหรือสิ่งอื่น  และวิธีการแก้ทุกข์ก็ต้องลงมือแก้ในชีวิตคือเบญจขันธ์นี้ให้ถูกต้องตรงประเด็นและครบถ้วน

และที่สำคัญ  อริยสัจสี่  คือหลักการแก้ปัญหาชีวิตที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ  หมายความว่า  เมื่อจะแก้ปัญหาชีวิตให้ได้ผลสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว  ก็ต้องดำเนินการตามหลักการของอริยสัจสี่  กล่าวคือเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น  ก่อนอื่นก็ต้องรู้จักสภาพแห่งปัญหาตามที่เป็นจริง  เมื่อรู้สภาพแห่งปัญหาแล้วก็ต้องค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาให้ได้ว่า  มันเกิดมาจากอะไร  ต่อจากนั้น  ก็กำหนดจุดหมายในการแก้ปัญหาว่า  ต้องการผลของการแก้ปัญหาระดับใด  และประเด็นสุดท้าย  ก็คือการกำหนดขั้นตอนวิธีปฏิบัติการหรือดำเนินการในการแก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติตามนั้นอย่างจริงจัง  เสร็จแล้วก็มีการทบทวนดู  (ญาณ ๓) แต่ละขั้นตอนในการแก้ปัญหา  เพื่อความถูกต้องและเรียบร้อย  หากยังมีจุดบกพร่องอยู่ก็ต้องรีบหาทางแก้ไขจนกว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ

๕.  กระบวนการของอริยสัจสี่

คำว่า  กระบวนการ”  หมายถึง  ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย  ๆ  เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบไปสู่ผลอย่างหนึ่ง, กรรมวิธีหรือลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง๖๕

  จากการศึกษาเรื่องอริยสัจสี่  ผู้วิจัยมองเห็นกระบวนธรรมหรือกระบวนความคิดในอริยสัจสี่  สรุปได้เป็น  ๒  กระบวนการ  คือ

-  กระบวนการของเหตุและผล

-  กระบวนการตรวจสอบ

๕.  กระบวนการของเหตุและผล

กระบวนการของอริยสัจสี่  ก็คือ  ความดำเนินไปอย่างมีระบบของธรรมะที่เกี่ยวเนื่องกันสัมพันธ์กันในลักษณะที่เป็นเหตุและผลของกันและกัน หรือกระบวนการเกิดขึ้นและกระบวนดับไปของทุกข์อันเป็นธรรมชาติของชีวิตตามความสัมพันธ์กันแห่งเหตุและผล

  กระบวนการของอริยสัจสี่  เริ่มที่ทุกข์ก่อน  เพราะว่าทุกข์เป็นธรรมฝ่ายผล  เป็นสภาพที่เห็นได้ง่าย และมีปรากฏอยู่ประจำและเป็นจริงในชีวิตของมนุษย์ทุกคน เมื่อมีทุกข์ก็ต้องมีสาเหตุที่ทำให้มันเกิด ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือตัวตัณหา เพราะเมื่อคนยังมีตัณหามีความทะเยอทะยานอยากด้วยประการต่าง  ๆ  จึงเป็นเหตุให้ต้องเกิดความคิดหาอุบายที่จะทำหรือพูด  เพื่อจะให้ได้สิ่งที่ตนต้องการมาสนองความอยากซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์  และเมื่อได้มาสมปรารถนาแล้ว  ก็ยังเป็นทุกข์อีก  เนื่องจากจะต้องคิดหาอุบายที่จะรักษามันไว้ไม่ให้สูญสลายหรือเปลี่ยนแปลงไป หากสิ่งที่ตนได้มาทุกอย่างนั้นมีอันต้องเปลี่ยนแปลงสูญสลาย

ไปตามเหตุปัจจัยแล้ว  ก็ไม่พ้นจากความทุกข์ไปได้

เมื่อรู้เห็นทุกข์พร้อมทั้งสาเหตุตามที่เป็นจริงแล้ว  ย่อมจะเบื่อหน่ายคลายความต้องการในสิ่งที่เป็นทุกข์หรือก่อให้เกิดทุกข์  และคิดหาหนทางที่จะพ้นไปจากทุกข์โดยกำหนดว่า  เมื่อมีทุกข์ อุบายที่จะแก้ทุกข์ดับทุกข์ก็ต้องมีเช่นกัน  จึงได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำตนให้พ้นจากความทุกข์ เรียกว่า  ทุกขนิโรธ  ไว้  กำหนดเป้าหมายเอาไว้แล้ว  ก็จำเป็นต้องมีวิธีดำเนินการ  เรียกว่า  มรรค  เพื่อจะให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น

อนึ่ง  ทุกข์รวมทั้งสาเหตุนี้  พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า  เป็นสภาวธรรมที่ต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น (เรียกชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาทหรือปฏิจจสมุปปันนธรรม) จะเกิดขึ้นเองลอย  ๆ โดยไม่มีสาเหตุไม่ได้  โดยทรงแสดงถึงกระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์  ด้วยพระบาลีว่า  “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย  จึงมีสังขาร  สังขารเป็นปัจจัย  จึงมีวิญญาณ  วิญญาณเป็นปัจจัย  จึงมีนามรูป นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา  เวทนาเป็นปัจจัย  จึงมีตัณหา  ตัณหาเป็นปัจจัย  จึงมีอุปาทาน  อุปาทานเป็นปัจจัย  จึงมีภพ ภพเป็นปัจจัย  จึงมีชาติ  ชาติเป็นปัจจัย  จึงมีชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยอาการอย่างนี้๖๖ นั้นเป็นสมุทัยวาร (สายเกิด) แห่งปฏิจจสมุปบาทหรือกระบวนการของเหตุและผลในการเกิดขึ้นของทุกข์

พระบาลีในสมุทัยวารนี้เท่ากับรวมเอาอริยสัจ  ๒  ข้อ  คือทุกข์และทุกขสมุทัยเข้าด้วยกัน ส่วนในอริยสัจ  ท่านแยกชาติ  ชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  และอุปายาส  มาไว้ข้อที่ ๑  คือทุกข์  ในฐานะที่เป็นปัญหาที่ประสบซึ่งจะต้องคิดอ่านหาทางแก้ไข  แล้วจึงกล่าวถึงกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดทุกข์ว่า  มีอะไรบ้าง  อะไรเป็นเหตุของอะไร  อะไรเป็นผลของอะไร  จนจบทั้งกระบวนการ  จัดเป็นข้อที่  ๒  คือทุกขสมุทัย  ในฐานะที่เป็นสาเหตุของปัญหา  และตรัสถึงกระบวนการของดับทุกข์ไว้ว่า  เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ  สังขารจึงดับ  เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ  เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ  เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ  เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ  เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ  เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ  เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ  เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ  เพราะภพดับชาติจึงดับ  เพราะชาติดับ  ชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาสจึงดับ  เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้”๖๗ นั้นเป็นนิโรธวาร (สายดับ) แห่งปฏิจจสมุปบาทหรือกระบวนการของเหตุและผลในการดับของทุกข์ซึ่งนิโรธวารนี้  มีความหมายเท่ากับอริยสัจข้อที่  ๓  คือทุกขนิโรธ  แสดงให้เห็นว่า  เมื่อแก้ปัญหาอย่างถูกต้องตรงสาเหตุแล้ว  ปัญหานั้น ๆ ก็จะดับไปตามเหตุปัจจัย  และเมื่อถือเอาโดยความแล้ว  ยังบ่งถึงแนวทางปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่จะต้องลงมือปฏิบัติในการจัดการกับปัญหาให้สำเร็จลุล่วงได้  อันหมายถึงอริยสัจข้อที่  ๔  คือ  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อย่างไรก็ตาม  นิโรธวาร (สายดับ) ของปฏิจจสมุปบาทนี้  ถึงแม้จะกินความถึงอริยสัจข้อที่ ๔ ด้วย แต่ก็ยังไม่ให้ผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน เพราะว่า ปฏิจจสมุปบาทแสดงเฉพาะแต่กระบวนการที่เป็นไปตามธรรมชาติอย่างเดียว ไม่ได้แสดงวิธีการไว้ว่า ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เพื่อการปฏิบัติที่ได้ผล  ข้อนี้  ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับหมอที่รู้วิธีการแก้ไขโรค  แต่ไม่ได้สั่งยาและบอกวิธีการปฏิบัติในการรักษาโรคไว้  ส่วนอริยสัจข้อที่  ๔  จะแสดงข้อปฏิบัติไว้เพื่อวัตถุประสงค์ข้อนี้คือความดับทุกข์อย่างชัดเจนโดยตรง  และสามารถทดลองพิสูจน์ได้ว่า  หากลงมือปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด โดยเริ่มต้นที่สัมมาทิฏฐิกล่าวคือมีความเห็นที่ถูกต้องดีงามตามเป็นจริงนี้  เรื่อยไปจนถึงสัมมาสมาธิอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว  ก็สามารถจะนำไปสู่จุดหมาย  กล่าวคือ  การแก้ปัญหาได้อย่างเห็นผลแน่นอน

๕.  กระบวนการตรวจสอบ

อริยสัจสี่  เป็นหลักการหรือคำสอนที่แสดงถึงกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์ และกระบวนการดับไปของทุกข์ว่า  ดำเนินไปอย่างไร  และเพื่อความสมบูรณ์ครบถ้วนของการดำเนินการแต่ละขั้นตอน  พระพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงกระบวนการตรวจสอบ  เพื่อตรวจสอบการดำเนินการแต่ละขั้นตอนไว้ด้วย  ได้แก่ เรื่องญาณ  ๓  คือ  สัจจญาณ  กิจจญาณ  กตญาณ 

  ๑)  สัจจญาณ  คือ  รู้สภาพหรือภาวะที่เป็นจริงของแต่ละเรื่องว่า  คืออะไร กล่าวคือรู้ว่า  อะไรคือทุกข์ของชีวิต  อะไรคือสาเหตุของทุกข์  ภาวะดับทุกข์เป็นอย่างไร  วิธีการดับทุกข์คืออะไร

  ๒)  กิจจญาณ คือ  รู้ถึงหน้าที่หรือวิธีการที่จะพึงกระทำในแต่ละเรื่องว่า พึงปฏิบัติอย่างไร  กล่าวคือ

  ๒.๑  ในเรื่องทุกข์นั้น  รู้ว่า  เป็นสิ่งที่พึงรู้ให้ชัดเจน

  ๒.๒  ในเรื่องสมุทัยนั้น  รู้ว่า เป็นสิ่งที่พึงละหรือกำจัดให้สิ้นไป

๒.  ในเรื่องนิโรธนั้น  รู้ว่า  เป็นสิงที่ต้องทำให้เป็นจริงขึ้น หรือทำให้สำเร็จบริบูรณ์

  ๒.๔  ในเรื่องมรรคนั้น  รู้ว่า  เป็นสิ่งที่ต้องเจริญ  คือทำให้ครบถ้วน ปฏิบัติให้สมบูรณ์๖๘

    ๓)  กตญาณ  คือ  รู้ในสิ่งที่ลงมือปฏิบัติไปแล้ว  เป็นการตรวจสอบผลของการกระทำที่ดำเนินการหรือลงมือปฏิบัติไปแล้วว่า ได้ผลหรือมีผลเป็นอย่างไร เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์หรือไม่ กล่าวคือ

  ๓.๑  เรื่องทุกข์  ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้อรู้อย่างชัดเจน  ถี่ถ้วน  และตามเป็นจริงนั้น  รู้อย่างชัดเจน  ถูกต้องแล้ว หรือยัง

๓.  เรื่องสมุทัย  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องละอย่างเด็ดขาดนั้น ละได้แล้ว หรือยัง

๓.  เรื่องนิโรธ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำให้เป็นจริง  คือสำเร็จผลบริบูรณ์นั้น 

ทำสำเร็จแล้วหรือยัง 

๓.  เรื่องมรรค ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเจริญ  คือทำให้ครบถ้วนนั้น  ทำให้

ครบถ้วนแล้วหรือยัง

กล่าวโดยสรุปในคำสอนเรื่องอริยสัจสี่นั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงกระบวนการเกิดและกระบวนการดับของทุกข์ ซึ่งเป็นกระบวนความสัมพันธ์ของเหตุและผลทั้งในกระบวนการเกิดและกระบวนการดับของทุกข์  ดังที่ท่านพระอัสชิเถระ (พระเถระรูปสุดท้ายในกลุ่มพระปัญจวัคคีย์)สรุปแสดงแก่พระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็นอุปติสสปริพาชก  ว่า 

เย  ธมฺมา  เหตุปฺปภวา  เตสํ เหตุ ตถาคโต  (อาห)

เตสญฺจ  โย  นิโรโธ  เอวํวาที  มหาสมโณติ ฯ๖๙

ความว่า  ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น 

และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้  พร้อมทั้งทรงแสดงหลักการตรวจสอบ (ญาณ  ๓) เพื่อความสมบูรณ์ครบถ้วนของการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาตามกระบวนการของอริยสัจสี่  ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบที่สามารถตรวจอบได้ด้วยตนเอง

๖.  ความสำคัญของอริยสัจสี่

อริยสัจสี่ เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา  เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เองโดยพระปัญญาอันชอบยิ่ง  ไม่มีใครเป็นครูเป็นอาจารย์  เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงใช้เป็นอุปกรณ์ในการแสดงพระธรรมเทศนาประกาศพรหมจรรย์  อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะที่เรียกว่า  “พระพุทธศาสนา”

ความสำคัญของอริยสัจสี่นี้ อาจสรุปเป็น  ๔  ประการ  คือ

  ๑)  เป็นหัวใจของธรรมทั้งปวง

  ๒)  เป็นที่ประมวลลงของธรรมทั้งปวง

  ๓)  เป็นสัจจะของชีวิต 

  ๔)  เป็นเครื่องทำคนให้เป็นพระอริยะ

๖.๑ เป็นหัวใจของธรรมทั้งปวง

อริยสัจสี่เป็นหลักธรรมที่นับว่า  เป็นหัวใจของธรรมทั้งปวง  เพราะพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา ทรงรับรอง ทรงยืนยันว่า พระองค์พระองค์ทรงกล้าประกาศพระองค์ว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพราะทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ ดังพระบาลีที่ว่า  ภิกษุทั้งหลาย  ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจสี่นี้  มีรอบ  ๓  มีอาการ ๑๒ อย่างนี้  ยังไม่หมดจดดีแล้ว  เพียงใด  ภิกษุทั้งหลาย  เรายังยืนยันไม่ได้ว่า  เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์  เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น  ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล  ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจสี่นี้  มีรอบ  ๓  มีอาการ  ๑๒  อย่างนี้  หมดจดดีแล้ว  ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า  เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ  อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก พรหมโลก  ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์  เทวดาและมนุษย์๗๐ 

กล่าวโดยสรุปอริยสัจสี่ในความหมายว่า  เป็นหัวใจแห่งธรรมทั้งปวง  ก็คือเป็นหลักธรรมสำคัญที่สุดที่ทุกคนผู้ประสงค์จะพ้นจากทุกข์และบรรลุสุขอันไพบูลย์  กล่าวคือ สุขในพระนิพพาน  อันเป็นที่สิ้นภพสิ้นชาติ  บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันตขีณาสพ  หมดสิ้นทุกข์สิ้นกิเลสและอาสวะทั้งปวง จำต้องปฏิบัติจนรู้แจ้งแทงตลอดตามเป็นจริงเสมอกันทุกคนไม่มียกเว้น ดังข้อความพระบาลีในขทิรสูตรว่า

ภิกษุทั้งหลาย  ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ  ตามความเป็นจริงแล้ว  จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ  ดังนี้  มิใช่ฐานะที่จะมีได้  เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบตะเคียน  ใบทองหลาง  หรือใบมะขามป้อม  ห่อน้ำหรือตาลปัตรนำไป  ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ…ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ  ตามความเป็นจริงแล้ว  จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ  ดังนี้  มิใช่ฐานะที่จะมีได้

ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย  ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ตามความเป็นจริงแล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้  เป็นฐานะที่จะมีได้  เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เราจักเอาใบบัว ใบทองกวาว  หรือใบย่านทรายห่อน้ำหรือตาลปัตรนำไป  ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีไ ด้ ฉันใด  ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ…ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ  ตามความเป็นจริงแล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้  ฉันนั้นเหมือนกัน…”๗๑

และพระบาลีว่า “ภิกษุทั้งหลาย  เพราะไม่ตรัสรู้  ไม่เข้าใจอริยสัจสี่  ทั้งเราและเธอจึงได้วิ่งแล่น เร่ร่อนไป (ในชาติทั้งหลาย) สิ้นกาลนานอย่างนี้”๗๒

  “บุคคลครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) อยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้า  ก็เพื่อการรู้  การเห็น การบรรลุ  การกระทำให้แจ้ง  การเข้าถึงสิ่งที่ยังไม่รู้  ยังไม่เห็น  ยังไม่บรรลุ  ยังไม่กระทำให้แจ้ง ยังไม่เข้าถึงว่า  นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย  นี้ทุกขนิโรธ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา๗๓

๖.  เป็นที่ประมวลลงของธรรมทั้งปวง

อริยสัจสี่เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล หรือผลกับเหตุ เพราะมีเหตุอย่างนี้จึงมีผลอย่างนี้ หรือที่มีผลอย่างนี้เพราะมีเหตุอย่างนี้ ผลอย่างหนึ่งอาจจะเกิดมาเพราะเหตุปัจจัยอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ได้  ดังพระบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสกับสกุลุทายีว่า  เราจักแสดงธรรมแก่ท่านว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ”๗๔ และอีกตัวอย่างที่พระอัสชิเถระแสดงแก่สารีบุตรปริพาชกว่า  “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น  และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้๗๕  เป็นต้น

อันที่จริง ธรรมทั้งปวงในพระพุทธศาสนาถึงจะมีจำนวนมาก  ตามที่ท่านโบราณบัณฑิตทั้งหลายในพระพุทธศาสนาได้จัดเรียบเรียงเข้าหมวดหมู่กันไว้  ในคราวทำสังคายนาจัดเป็น ๓ ปิฎก คือ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  และพระอภิธรรมปิฎก  เรียกรวมกันว่า พระไตรปิฎก” มีทั้งหมด ๔๕ เล่ม เป็นที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้อย่างถูกต้องบริบูรณ์ ที่กำหนดว่า  มีจำนวน  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์  แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปสั้น  ๆ  ธรรมทั้งปวงนั้นก็มาประมวลรวมลงที่หลักอริยสัจสี่ ที่มีอยู่มากมายนั้นเป็นแต่รายละเอียดปลีกย่อยของอริยสัจสี่เท่านั้นดังพระบาลีในมหาหัตถิปโทปมสูตร ว่า  “ผู้มีอายุทั้งหลาย  รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่เที่ยวไปบนผืนแผ่นดินทั้งสิ้นทั้งปวงย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง  รอยเท้าช้างนั้น กล่าวได้ว่า เป็นยอดเยี่ยมในบรรดารอยเท้าเหล่านั้นโดยความมีขนาดใหญ่ฉันใดกุศลธรรมทั้งสิ้นทั้งปวงก็สงเคราะห์ลงในอริยสัจสี่  ฉันนั้น๗๖

๖.  เป็นสัจจะของชีวิต (ปญฺจุปฺปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา)

คำว่า  สัจจะ”  แปลว่า  จริง  หมายถึง  ความจริง  เรื่องจริง  สิ่งที่เป็นจริง  ในพระไตรปิฎกไม่ได้แบ่งความจริงไว้อย่างชัดเจนว่า  เป็น  ๒  ระดับ  คือ สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ เพียงแต่กล่าวถึงลักษณะของความจริงด้วยคำว่า  สัจจะบ้าง  สัจฉิกัตถปรมัตถ์บ้าง๗๗  ปรมัตถสัจจะบ้าง๗๘  อริยสัจบ้าง  แต่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างละเอียดแล้ว  ก็จะพบความจริง  ๒  ระดับนี้ในคำสอนของพระพุทธเจ้า  ดังข้อความในอรรถกถาทีฆนิกาย สุมังคลวิลาสินีว่า  “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย  ผู้ประเสริฐกว่าผู้สอนทั้งหลาย  ได้ตรัสสัจจะไว้  ๒  อย่าง  คือ  สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ ไม่มีสัจจะอย่างที่  ๓  พระพุทธดำรัสเกี่ยวกับสมมติ ชื่อว่า เป็นสัจจะ เพราะเหตุที่เป็นที่สมมติของโลก  ส่วนพระพุทธดำรัสเกี่ยวกับปรมัตถ์  ชื่อว่าเป็นสัจจะ  เพราะเป็นลักษณะที่เป็นจริงของธรรมทั้งหลาย๗๙

สมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมติ กล่าวคือ  จริงตามมติร่วมกัน  ตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือหมายรู้ร่วมกัน  เป็นเครื่องมือสื่อสารพอให้สำเร็จประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  เช่น  คน  สัตว์  คนดี  คนชั่ว  โต๊ะ  เก้าอี้  หนังสือ  เป็นต้น  เช่น  ภาษาสามัญพูดว่า  น้ำ  ว่าเกลือ  เป็นต้น

ปรมัตถสัจจะ  ความจริงโดยปรมัตถ์  กล่าวคือ  จริงตามความหมายสูงสุดตามความหมายแท้อย่างยิ่ง  หรือตามความหมายแท้ขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะ  และเท่าที่พอจะกล่าวถึงได้หรือพอจะยังพูดให้เข้าใจกันได้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือ  รู้จักสิ่งเหล่านั้นตามที่มันเป็น  และเพื่อจะให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด  คือการหยั่งรู้สัจธรรมที่จะทำให้ความยึดมั่นถือมั่นความหลงผิดทั้งหลายสลายหมดไป  ทำให้วางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง  หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์  มีใจเป็นอิสระ  ปลอดโปร่ง  ผ่องใส  เบิกบาน  มีความสุขที่แท้จริง  สิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์  เช่น  นามธรรม  รูปธรรม  เวทนา  สัญญา สังขาร  วิญญาณ  หรือ  จิต  เจตสิก  รูป  นิพพาน  เป็นต้น๘๐

๖.  เป็นเครื่องทำคนให้เป็นพระอริยะ

มนุษย์ไม่ได้เป็นคนดีหรือเป็นคนชั่วมาแต่กำเนิด  กล่าวคือ พอเกิดขึ้นมาหรือพอคลอดออกจากท้องมารดาเป็นเด็กอ่อนแล้วก็กลายเป็นคนดีหรือคนชั่วเลยทันที แต่ในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า  คนจะดีหรือชั่วนั้นเป็นเพราะกรรมคือการกระทำทั้งทางกาย  วาจา  และใจที่ดีและไม่ดี  มิใช่เพราะชาติกำเนิด  ดังพระบาลีว่า บุคคลไม่เป็นคนถ่อย(คนเลว) เพราะชาติกำเนิด ไม่เป็นพราหมณ์ (คนดี) เพราะชาติกำเนิด แต่เป็นคนถ่อยเพราะการกระทำ  เป็นพราหมณ์เพราะการกระทำ๘๑

ความเป็นพระอริยบุคคล  กล่าวคือ  บุคคลผู้ประเสริฐ  ก็ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่เกิด  แต่เป็นได้เพราะการฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นลำดับ  ซึ่งหลักธรรมสำคัญที่ทำให้ปุถุชนคนธรรมดามีความพากเพียรพยายามปฏิบติตามจนได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง  ๆ  ตั้งต้นแต่พระโสดาบัน  สกทาคามี  อนาคามี  จนถึงพระอรหันต์  ก็คือ  อริยสัจสี่

เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารของศากยวงศ์เมืองกบิลพัสดุ์ทรงสละสิริราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวชแสวงหาคุณธรรมใหญ่ เพื่อจะได้หลุดพ้นจากเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสทั้งปวง ได้ทรงประพฤติปฏิบัติจนได้ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณคือทรงค้นพบอริยสัจสี่ เป็นพระบรมศาสดาสัมมาพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระอริยบุคคลในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แม้สาวกบริษัทของพระองค์ทั้งฝ่ายบรรพชิต  ได้แก่  ภิกษุ  ภิกษุณี  สามเณร  สามเณรี  ทั้งฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ อุบาสก  อุบาสิกา ก็ต้องอาศัยอริยสัจทั้งสี่ข้อเป็นเครื่องบำเพ็ญเพียรจึงได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลดังพระบาลีว่า  ภิกษุทั้งหลาย  เพราะเป็นเหตุให้ตถาคตเป็นอริยะ  ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก  ทั้งมารและพรหม  ในหมู่ประชาชน  พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์  เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น  จึงเรียกว่า อริยสัจ๘๒

ในการทรงแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง  พระองค์จะทรงแสดงอริยสัจสี่มากที่สุด  ผลแห่งการแสดงธรรมคืออริยสัจสี่นั้น  ผู้ฟังธรรมจะได้ดวงตาเห็นธรรม  กล่าวคือ  ได้

บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับพระโสดาบันบ้าง  สกทาคามีบ้าง  อนาคามีบ้างเสมอ

พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดง  คือ  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร๘๓ ที่เรียกกันว่า ปฐมเทศนา” โปรดเหล่าปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสี ก็ทรงแสดงอริยสัจสี่เป็นหลักสำคัญ  ผลในการทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้  ทำให้โกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม คือเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานรับรองถึง  ๒  ครั้งว่า  “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ” จนท่านได้นามว่า  “อัญญาโกณฑัญญะ” ท่านทูลขอการบรรพชา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการบรรพชาด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา ครบองค์เป็นพระรัตนตรัย  คือ  พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระพุทธรัตนะ  พระธรรมคำสอนของพระองค์เป็นพระธรรมรัตนะ  พระอริยสงฆ์สาวกของพระองค์เป็นพระสังฆรัตนะ

ในการทรงแสดงธรรมครั้งต่อ  ๆ  มา  ดังเช่น  ที่ทรงแสดงแก่ยสกุลบุตร๘๔ บิดามารดาและภรรยาของยสกุลบุตรเป็นต้น ก็ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจสี่ ผลในการแสดงธรรมในครั้งนั้น ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นอริยบุคคลแล้วทูลขอการบรรพชา  พระพุทธเจ้าทรงโปรดให้ท่านบวชโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา บิดามารดาและภรรยาของท่านเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล เป็นอุบาสกและอุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา

๗.  คุณค่าของอริยสัจสี่

อริยสัจสี่เป็นหลักคำสอนที่ครอบคลุมถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว ทั้งในส่วนทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้ทั้งหมด ฉะนั้น จึงสรุปคุณค่าของอริยสัจสี่  ดังนี้

๗.  เป็นหลักการแห่งปัญญา  กล่าวคือ  ในอริยสัจทั้ง  ๔  นั้น  มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ  ญาณ  หมายถึง  ความรอบรู้  ความหยั่งรู้  ความรู้ชัดเจนประกอบอยู่ด้วยถึง  ๓  ญาณ  ได้แก่ สัจจญาณ  กิจจญาณ  และกตญาณ  หมายความว่า  ทุกขั้นตอนของอริยสัจทั้ง  ๔  ต้องประกอบด้วยความรู้  ๓  ขั้น  คือรู้ว่าอะไรคืออะไร  เช่น  รู้ว่า  สิ่งนี้เป็นปัญหา อย่าง ๑,  รู้ว่า  ควรทำอย่างไรกับสิ่งนี้  เช่น  รู้ว่าปัญหาอย่างนี้  เราควรจะมีวิธีจัดการเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง อย่าง ๑,  และรู้ว่า ได้ทำครบถ้วนแล้วหรือยัง อย่าง ๑,  ความรู้ลักษณะอย่างนี้ได้ชื่อว่าเป็นปัญญา  ดังนั้น  จึงเป็นหลักการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและจัดการกับชีวิตของมนุษย์ด้วยภูมิปัญญามนุษย์เองอย่างมีระบบ  สมควรแก่เหตุและผล  เป็นระบบวิธีที่เป็นแบบอย่างในวิธีการแก้ปัญหาทุก ๆ ปัญหา  เป็นหลักการแก้ปัญหาโดยนำเอาความรู้หลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์  ไม่ต้องอ้างอำนาจพิเศษเหนือธรรมชาติหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด  ๆ  มาช่วยดลบันดาลให้ได้รับผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ

๗.  เป็นหลักความจริงกลาง

 

๗.  เป็นหลักความจริงกลาง ๆ  หรือความจริงที่เป็นสากล  หมายความว่า  ทุกข์หรือความทุกข์ ย่อมจะมีปรากฏจริงในชีวิตมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด อาศัยอยู่ที่ส่วนไหนของโลก นับถือศาสนาอะไร มีฐานะความเป็นอยู่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อยู่ในวัยและเพศไหนก็ตาม ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้วจะต้องมีทุกข์อย่างแน่นอนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง เว้นไว้แต่พระอรหันต์ที่ท่านถึงที่สุดทุกข์คือระงับทุกข์ได้แล้วไม่ต้องมีทุกข์อีกต่อไป ส่วนที่เหลือถึงแม้สัตว์อื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ก็มีทุกข์เหมือนกัน ทุกข์ของแต่ละคนอาจจะเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น บางคนอาจจะทุกข์เพราะเจ็บป่วย  ทุกข์เพราะแก่ชรา  ทุกข์เพราะตาย ทุกข์เพราะไม่ได้ตามที่ปรารถนา เป็นต้น เมื่อมีทุกข์แล้ว  สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็เป็นอย่างเดียวกัน  ความดับทุกข์หรือภาวะที่หมดทุกข์ก็เป็นอย่างเดียวกัน  และวิธีการสำหรับปฏิบัติให้บรรลุจุดหมายคือความดับทุกข์นั้น ก็ย่อมเป็นวิธีเดียวกัน

๗.๓  เป็นหลักความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เป็นความจริงที่ปรากฏแก่ชีวิตตลอดไป ถึงจะมีสิ่งอื่นที่มนุษย์พากันสร้างสรรค์มาเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของตนให้ดียิ่งขึ้น  สิ่งนั้นจะเจริญขึ้นหรือเสื่อมลง  สูญสลายไปแล้วมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นมาทดแทนก็ตาม  หรือแม้มนุษย์เองจะต้องพากันสิ้นชีวิตตายไปตามกาลเวลา  แต่หลักความจริงที่เรียกว่า“อริยสัจ”นี้ ก็จะคงยืนหยัดอยู่เป็นหลักที่มีเหตุผลไม่เปลี่ยนแปลง  เป็นของทันสมัยใหม่เสมอ  และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ในทุก  ๆ  กรณี  ทุกสถานที่  และตลอดไป

๘.  อริยสัจสี่ในฐานะวิธีการแก้ปัญหาสังคม

 

  จากความหมาย  กระบวนการ ความสำคัญและคุณค่าของอริยสัจสี่ดังที่กล่าวมาแล้ว  จะเห็นได้ว่า  อริยสัจสี่ก็คือวิธีการแก้ปัญหาชีวิตโดยตรง  และในฐานะที่เป็นวิธีการแก้ปัญหาชีวิต จึงสามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้ด้วย  เพราะปัญหาสังคมก็คือปัญหาในส่วนรวม  หรือในส่วนที่ทุกชีวิตต้องรับผิดชอบร่วมกัน 

……………….

ลักษณะสำคัญของพุทธจริยศาสตร์

หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นระบบจริยศาสตร์หนึ่งที่ได้วางหลักการหรือแนวคิดในเชิงจริยธรรมไว้อย่างเป็นระบบ พระพุทธองค์ทรงเน้นถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการพัฒนาคุณค่าของความเป้นมนุษย์และการอยู่ร่าวมกันในสังคมอย่างสันติสุข “ด้วยการประพฤติแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา” พระพุทธองค์ทรงถือว่าความดีความชั่วมนุษย์เป็นผู้ประกอบขึ้นมาเอง ไม่การผูกขาดหรือถูกกำหนดไว้ตายตัว จากพระเจ้าองค์ใดให้ตกเป็นคนหรือของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ทุกคนมีอิสระที่จะลดหรือเพิ่มพูนคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ของตัวด้วยการกระทำของตนเองได้ คุณค่าของความเป็นมนุษย์มิได้อยู่ที่วัตถุหรือความสุขทางกายภาพเท่านั้นเป็นตัวกำหนดเช่นที่พวกวัตถุนิยมยึดถือกัน หรือมิได้อยู่ที่ชาติตระกูล หรือการกำหนดจากเทพเจ้า ดังที่พวกเทวนิยมกล่าวอ้างกัน ทรงถือว่าคุณค่าของความเป็นมนุษย์นั้นอยู่ที่การมีเจตจำนงอิสระของมนุษย์ในการกระทำสิ่งต่างๆ และการกระทำนี่เองเป็นตัวกำหนดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ การกระทำที่ทรงยกย่องว่าเป็นการแสดงถึงความเป็นมนุษย์ก็คือการดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท การให้ความเคารพและตีค่าของชีวิตผู้อื่นไม่น้อยไปกว่าคุณค่าของชีวิตตนเอง ซึ่งทรงตรัสถึงเรื่องไว้ว่า

...เมื่อเห็นคุณค่าในชีวิตและรักชีวิต มนุษย์ควรรักษา ปรับปรุงบชีวิตให้ดี ดำเนินชีวิตไปตามแนวทางที่ถูกต้อง ผู้ฉลาดย่อมย่อมดำเนินงานชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท สำหรับมนุษย์สิ่งอื่นใดที่ถือว่ารักยิ่งกว่าชีวิตเป็นไม่มี เมื่อเข้าใจความจริงข้อนี้ มนุษย์ควรให้การบริหารชีวิตไว้จงดี ทั้งนี้พึงเคารพและตีคุณค่าชีวิตของผู้อื่น ไม่น้อยไปกว่าคุณค่าชีวิตของตน..[1].

กล่าวได้ว่าคำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ ประมวลเป็นหัวใจอันเป็นลักษณะทางจริยศาสตร์ได้ ๓ ประการ คือ

๑) การไม่ทำชั่ว

๒) กระทำแต่ความดี

๓) ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

จากหลักจริยศาสตร์  ๓ ประการดังกล่าวมา ชี้ให้เห็นลักษณะสำคัญของพุทธจริยศาสตร์ว่าไม่ได้กล่าวถึงเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และที่ไม่มุ่งให้เกิดคุณประโยชน์แก่มนุษย์ เป็นแนวคิดจริยศาสตร์ที่ดำเนินอยู่บนหลักที่เรียกว่าสายกลางที่ให้อิสรเสรีภาพอย่างเต็มที่แก่มนุษย์ ยกความเป็นใหญ่ให้มนุษย์ ในความเคลื่อนไหวทุกๆ ด้านของชีวิต ยึดและส่งเสริมศีลธรรมของมนุษย์ มุ่งให้เกิดประโยชน์ และความสุขแก่มนุษย์ ยิ่งกว่านี้พระพุทธองค์ทรงให้สัจธรรมที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้นแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์จึงเป็นคำสอนที่เกี่ยวกับการอธิบายเรื่องความดีสูงสุดและเกณฑ์ตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าความประพฤติใดเป็นความประพฤติที่ดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร ถูกหรือไม่ถูก ดีหรือไม่ดี และผิดหรือไม่ผิด เป็นต้น ซึ่งมีหลักการทางจริยศาสตร์แนวพุทธศาสนาที่สำคัญ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม และการชำระใจให้สะอาดผ่องแผ้ว นับเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา และเป็นหลักการที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้เรื่องความดีความชั่วจึงเป็นลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของคำสอนในทางพุทธศาสนา แต่พุทธศาสนามิได้สอนเฉพาะเรื่องความดีเท่านั้น แต่ยังสอนให้เว้นชั่ว และทำจิตให้บริสุทธิ์ด้วย ดังข้อความที่มีปรากฏในพุทธพจน์ว่า

ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่าพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่งผู้ทำร้ายผู้อื่นผู้เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม  การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑ หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย[2]

ดังนั้นจะเห็นลักษณะอันพื้นฐานที่สำคัญของจริยศาสตร์แนวพุทธ  คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องความประพฤติของมนุษย์  และว่าด้วยปัญญาที่ว่าความดีคืออะไร  ความชั่วคืออะไร  ความถูกผิดคืออะไร  ความยุติธรรมคืออะไร  หน้าที่  กรณียะและสิทธิคืออะไร  ในพุทธปรัชญาจึงมีการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในเรื่องความคิด และทฤษฏีทางจริยศาสตร์ พร้อมทั้งการแนะนำในเชิงปฏิฐาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับชีวิต ซึ่งเรียกว่า เอกายมรรค” คือทางอันเอก หรือทางอันประเสริฐเพียงทางเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชีวิตบรรลุถึงซึ่งสิ่งที่เรียกว่า Summun Bonum อันเป็นความดีสุดยอด เป็นบรมสุข เป็นความสมบูรณ์ทางศีลธรรม อันนับได้ว่าเป็นความรู้แจ้งหรือความรู้สูงสุดด้วย วิถีชีวิตดังกล่าวนี้เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นไปได้ เพราะว่ามนุษย์และโลกเป็นอย่างมันเป็นนั่นเอง วิถีชีวิตดังกล่าวนี้ ที่เป็นส่วนบุคคลก็จะช่วยให้คนได้บรรลุถึงซึ่งความดีสูงสุดไม่ในชีวิตนี้ก็ชีวิตต่อไป ส่วนที่เป็นส่วนสังคมก็เป็นไปเพื่อความอยู่ดีกินดีและความสุขของคนหมู่มาก หรือของมนุษย์ชาติทั่วไป (พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย) จึงเห็นได้ว่า “ความอยู่ดีกินดีและความสุขของมนุษยชาติทั่วไปซึ่งแม้จะเป็นคุณค่าสัมพัทธ์ (relative) แต่พุทธศาสนาก็ยอมรับว่าเป็นคุณค่าหรือความดีที่สูงส่งประการหนึ่งและก็เป็นได้ทั้งความสุขในทางวัตถุและความสุขในทางจิตใจ”[3]

จากที่กล่าวมาก็พอสรุปลักษณะอันเป็นแนวคิดสำคัญของพุทธจริยศาสตร์ดังนี้

๑) คำสอนทั้งปวงของพุทธศาสนาสรุปลงได้ในหลักทั่วไปหรือหลักกว้างๆ ๓ ประการ คือ เว้นชั่ว ทำดี และทำจิตให้บริสุทธิ์ ฉะนั้น เรื่องความดีจึงเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนของพุทธศาสนา แต่พุทธศาสนามิได้สอนเฉพาะเรื่องความดีเท่านั้น แต่ยังสอนให้เว้นชั่วและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วย

๒) ในเรื่องความดี พุทธศาสนาสอนให้รู้ทั้งลักษณะของความดี ผลของความดี และวิธีการทำความดีด้วย ในเรื่องความชั่วและการทำจิตให้บริสุทธิ์ก็เช่นกันเดียวกัน

๓) หากมองในแง่แนวคิดเชิงจริยศาสตร์ของพุทธศาสนาแล้ว คำสอนของพุทธศาสนามีความลึกซึ้งและกว้างขวางกว่าทฤษฎีทางจริยศาสตร์ระบบอื่นๆ อยู่เป็นอันมาก เรื่อง จริยศาสตร์จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งหรือแง่มุมหนึ่งในคำสอนของพุทธศาสนาเท่านั้น

  ประวัติผู้รวบรวมและเขียน

ชื่อสกุล    นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี



[1]The Following Pali textbooks printed in the name of the Pali Text Society (PTS.),London:1955-1962. SN. I: p 75.

[2]ที. มหา.  ๑๐ / ๕๔ / ๔๐.

[3] สุเชาวน์ พลอยชุม, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑-๒.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท