มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

ความเจริญของโลกตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท


 

วิวัฒนการโลกตามหลักพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐

พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

การนำเสนอของรายงานฉบับนี้ เป็นไปตามหลักสูตรพระสุตตันตปิฎก๑ โดยมีเนื้อหาสาระที่สะท้อนให้เห็น ความเป็นไปของโลก ตามเนื้อหาในพระสูตร และยังมีเนื้อหาอันเป็นคำสอนที่มีปรากฎอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาต่าง ๆ  ในทรรศน์ของนักค้นคว้า และคติความเชื่อของศาสนานั้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา และสามารถนำมาเปรียบเทียบในการตั้งข้อสังเกต ให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี  ในคติความเชื่อความศรัทธา อันเป็นคำสอนของศาสดาทั้งหลายได้เป็นอย่างดี

ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงหวังว่า  จากการรวบรวมเนื้อหา และจัดขึ้นเป็นรูปเล่มนี้ คงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใคร่ในการศึกษาบ้าง  หากเกิดข้อบกพร่องขึ้น อันเนื่องมาจากการค้นคว้าและรวบรวม  จึงขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว.

   

อาจารย์ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

    มหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย

    นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา

สารบัญ

ทฤษฎีวิวัฒนการโลกตามหลักพุทธศาสนา

เปรียบเทียบระหว่างศาสนา

ศาสนาสอนอะไร

บทที่ ๑

ทฤษฎีวิวัฒนการโลกตามหลักพุทธศาสนา

เปรียบเทียบระหว่างศาสนา

พุทธศาสนากล่าวถึงกำเนิดของสรรพสิ่งว่า สิ่งทั้งหลาย “สภาวธรรม” คือ สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นไปเอง เป็นอยู่เองโดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดมาทำให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มันเป็นไปเองอย่างนั้น โดยอาศัยอำนาจของเหตุปัจจัยในตัวมันเอง ว่าโดยสภาวธรรมแล้วมี ๒ ประการ คือ

๑.ธรรมชาติคือตัววัตถุที่มีอยู่เอง อันเป็นส่วนประกอบที่เกิดจากลักษณะ ๔ อย่าง เป็นอย่างน้อย เรียกว่า ธาตุ ได้แก่

ธาตุดิน คือ สิ่งที่มีลักษณะแค่นแข็ง

ธาตุน้ำ คือ สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบ

ธาตุลม คือ สิ่งที่มีลักษณะพัดไปมา

ธาตุไฟ คือ สิ่งที่มีลักษณะร้อน

ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธรรมธาตุ” เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในโลกเป็นภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมชาติ

๒.ธรรมนิยามเป็นกฏธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ตามหลักเหตุผลของปัจจัยทั้งหลายอันเป็นส่วนประกอบของสังขาร กฏธรรมชาติมีหลักว่า เมื่อธาตุหรือธรรมธาตุเหล่านี้ผสมหรือสงเคราะห์เข้ากัน ตั้งแต่ ๒ อย่างขึ้นไปในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก็จะเกิดปรากฏการ คือแสดงตัวออกมาให้เห็นแตกต่างไปจากธาตุเดิมของมัน ที่เราเรียกโดยสมมติว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ เช่น ธาตุดินผสมธาตุน้ำ ก็จะมีลักษณะเป็นโคลนตม ธาตุไฟผสมกับธาตุน้ำในอัตราส่วนที่ไฟมากกว่าน้ำ น้ำก็จะกลายเป็นไอระเหยไปในอากาศ แล้วเย็นลงอีก จึงจับตัวเป็นก้อนเมฆ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า ธรรมนิยามหรือกฏธรรมชาติหรือกำหนดแห่งธรรมดาไม่เกี่ยวักบผู้สร้างผู้บันดาลเลยพุทธศาสนาเป็น (อเทวนิยม) ไม่เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้บันดาลในทุก ๆ สรรพสิ่งตามหลักความเชื่อทางศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม.(เทวนิยม).

พุทธศาสนานั้นได้กล่าวถึงมนุษย์ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ รูปธรรม(กาย) นามธรรม (จิต) ซึ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรื่องขันธ์ ๕ อันเกี่ยวกับมนุษย์โดยตรง คือ

๑. รูปธรรมคือ กายนั้นได้มาจากพ่อและแม่ ในอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวว่า  วิญญาณเข้ามาปฏิสนธิในครรภ์มรรดาโดยมีวิวัฒนาการมาเป็นขั้น ๆ ดังนี้ เมื่อเชื้อของพ่อแม่ผสมกันติดแล้ว ก็เริ่มก่อตัวเป็นต่อมเล็ก ๆ ใส ๆ ดังน้ำมันงาที่ติดอยู่ที่ขนเนื้อทราย (ปฐํม  กลํล ) หลังจากนั้นก็ขยายตัวเปลี่ยนสภาพเข้มข้นขึ้นเป็นระยะ ๆ  หลังจากนั้นประมาณ ๕ สัปดาห์ก็จะงอกเป็นปุ่ม ๕ ปุ่ม ซึ่งเติบโตขึ้นเป็นแขนขาและศีรษะ จนมีอวัยวะครบทุกอย่าง จึงคลอดออกมาเป็นทารก เริ่มรับรู้อารมณ์ภายนอกโดยผ่านทางอินทรีย์ทั้ง ๖ นี่คือกระบวนการเกิดขึ้นเป๋นโครงสร้างทางกาย.

๒. นามธรรมคือ จิตมีปรากฏการณ์ ๔ อย่าง ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อกายรับรู้โลกภายนอก โดยผ่านอายตนะ ๖ เรียกว่า วิญญาณ จึงเกิดความรู้สึกอารมณ์ขึ้นแล้ว เกิดการจำได้หมายรู้อารมณ์และปรุงแต่งให้คิดเพื่อจะแสดงพฤติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง กระบวนการทางจิตนี้ เป็นการทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อสมอง (มุทธา) โดยการอ้างหลักฐานตามที่พระอัสสชิเถระกล่าวตอบอุปติสปริพาชกว่า…

“ เย  ธมฺมา  เหตุปฺปภวา  เตสํ  เหตํฺ  ตถาคโต (อาห) เตสญฺจ  โย นิโรโธ จ  เอวํวาที มหาสมโณ.”

แปลว่า “สิ่งใดเกิดจากเหตุ  พระตถาคตตรัสถึงเหตุของสิ่งเหล่านั้น และตรัสถึงความสิ้นสุดลงแห่งสิ่งเหล่านั้นด้วย ”นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังทรงตรัสถึง กฏแห่งความจริงไว้หลายประการ ในที่นี้จะขอยกขึ้นแสดงไว้พอเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจพอสังเขป คือ

พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึง สิ่งที่เป็นความจริง และประกอบด้วยเหตุผลอย่างแท้จริง เช่น อริยสัจ ๔  หลักปฏิจจสมุปบาท กฏแห่งกรรม กฏแห่งไตรลักษณ์ แม้จะมีอยู่หลายประการ แต่ก็เป็นหลักความจริงตามกฏของธรรมชาติ อันมีความเกี่ยวเนื่องกับสัตว์โลกอย่างใกล้ชิดทีเดียว.

ทุกข์เป็นความจริงเพียงประการเดียวของชีวิต โดยทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น  ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด  นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ตามพุทธพจน์นี้  ชีวิตมีแต่ความทุกข์เท่านั้น ฉะนั้น ตัวมนุษย์เองเป็นผู้สร้างโลกแห่งความทุกข์ให้แก่ตนเอง  ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า แต่ละคนจะทุกข์มากน้อยก็แล้วแต่ตัวเองเป็นผู้กระทำ (กรรม) และเป็นไปตามกฏแห่งกรรมเท่านั้น  ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เป็นไป

คำสอนทางพุทธศาสนา ได้กล่าวว่า  ความทุกข์จะสิ้นสุดลงได้ ต้องดำเนินตามคำแนะนำไว้คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยการบันดาล ตามความพอใจของพระผู้เป็นเจ้า.แม้ในพุทธศาสนา ยังกล่าวต่อไปอีกว่า บุคคลใด ๆ เมื่อสร้างกรรมดี ได้รับความสุขเป็นเครื่องตอบแทน ย่อมไปสวรรค์ และถ้าสร้างกรรมชั่ว ย่อมได้รับความทุกข์ความลำบากแสนสาหัส เป็นเครื่องตอบแทน ย่อมไปสู่นรก พระเจ้าไม่ใช่เป็นผู้กำหนดให้เป็นไปดังนี้

คริสต์ศาสนาสอนอย่างไร

ในปฐมกาลพระเจ้าทรงสร้างโลกและสรรพสิ่งโดยวิธีเนรมิตให้สิ่งต่าง ๆ เกิดเป็นขึ้นมาทันที ทรงสร้างฟ้าและแผ่นดินซึ่งว่างเปล่า มีแต่ความมืดปกคลุมเหนือน้ำและพระวิญญาณของพระเจ้าแผ่คลุมอยู่เหนือน้ำนั้น พระองค์ทรงใช้เวลาสร้างอยู่ ๖ วัน คือ

วันแรก  ทรงสร้างแสงสว่างกำจัดความมืดให้ชื่อว่ากลางวัน  ส่วนความมืดให้ชื่อว่ากลางคืน

วันที่สอง  ทรงสร้างฟากฟ้าอากาศ  มีเวลาเย็นและเวลาเช้า

วันที่สาม  ทรงสร้างแผ่นดิน  ทะเลและพืชพันธ์ธัญญาหารบนผืนแผ่นดินนั้น

วันที่สี่  ทรงสร้างดวงอาทิตย์ให้ส่องสว่างเวลากลางวัน และทรงสร้างดวงดาว  ดวงจันทรืให้ส่องสว่างเวลากลางคืน

วันที่ห้า  ทรงสร้างสัตว์นา ๆ ชนิด  ทั้งบนบกและในน้ำ

วันที่หก  ทรงสร้างมนุษย์ให้มีลักษณะตามแบบอย่างพระองค์เป็นชายและหญิง  ให้เป็นเจ้าของพืช  สัตว์และผืนแผ่นดิน

วันที่เจ็ด  ทรงพักงานสร้างทั้งปวง เพราะสำเร็จแล้วตั้งแต่วันที่หก ทรงอวยพรและทรงตั้งไว้เป็นวันบริสุทธิ์ศักสิทธิ์

การถูกพระเจ้าลงโทษ

ศาสนาคริสต์ถือว่า  มนุษย์และสรรพสิ่งในโลก  เป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงอำนาจ สร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่า มนุษย์และสรรพสิ่งในโลกหาได้มีความยิ่งใหญ่ และมีความสมบูรณ์ดุจพระผู้เป็นเจ้าไม่ ส่วนโลกและสรรพสิ่งในโลกนั้น มีความจำกัดต้องอาศัยอำนาจของพระผู้สร้าง  จึงเกิดมีขึ้นได้ และดำรงอยู่ได้ในโลก จึงหาได้เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ตลอดกาล อย่างพระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างไม่ โลกจึงมีการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และสูญสิ้นไป ลักษณะของความไม่สมบูรณ์ต่าง ๆของโลก ที่เป็นสภาพที่ไม่น่าพึงปรารถนาจึงเป็นสภาพที่จำเป็น  และเป็นสภาพพื้นฐานที่โลกและสรรพสิ่งในโลกไม่อาจสละทิ้งได้ หรือกล่าวได้ว่าเป็นความชั่วร้ายอันเนื่องมาจากสภาพที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง  ซึ่งไม่ได้เกิดจากน้ำมือของมนุษย์โดยตรงเช่น  น้ำท่วม  แผ่นดินไหว  ภูเขาไฟระเบิด  โรคระบาด  ลมพายุ  การพิการของร่างกาย เป็นต้น ศาสนาคริสต์สอนว่า  ความเลวร้ายต่าง ๆ เกิดมีขึ้นได้ก็เพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงลงโทษมนุษย์  เพราะมนุษย์ทำบาปและทรยศ ต่อพระองค์ ไม่เชื่อฟังพระองค์ ประพฤติเลวร้าย ปราศจากความรักและความศรัทธาต่อพระองค์  ไม่มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ จึงทำโทษมนุษย์ให้เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไว้แต่เบื้องต้น และพระเจ้ายังทำการลงโทษอย่างอื่นอีก

ดังแสดงไว้ในคัมภีร์พระคริสต์  ที่กล่าวยืนยัน ความหมายของความชั่วร้ายตามธรรมชาติ  เช่น เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงทราบว่าเอวาทำบาป  พระองค์ครัสกับเอวาว่า “เราจะเพิ่มความทุกข์ลำบากขึ้นมากมาย  ในเมื่อเจ้ามีครรภ์และคลอดบุตร ” แล้วพระองค์ทรงสาปหญิงนั้นว่า  “ให้กายาลำบากยากใจพรั่น  ในเวลาที่เจ้านี้จักมีครรภ์  เจ็บปวดสั่นยามคลอดตลอดกาย..” 

ทรงลงโทษให้ผู้หญิงมีความทุกข์  ความเจ็บปวดเวลาคลอดบุตร และเป็นธรรมชาติที่สัตรีหลีกเลี่ยงไม่ได้  ถึงแม้ไม่ต้องการจะมีความทุกข์และความเจ็บปวดเช่นนั้น  และถ้าท่านทำความชั่วละทิ้งพระผู้เป็นเจ้า  พระองค์จะนำความพินาศมาสู่ท่าน  ท่านจะเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายไม่ว่าท่านจะทำอะไร  จนกระทั่งถูกทำลายไปหมดสิ้นอย่างรวดเร็ว พระองค์จะให้ท่านเป็นโรคร้ายจนกระทั่งไม่มีใครเหลืออยู่เลยในแผ่นดินที่ท่านจะเข้าไปยึดครองนั้น  พระผู้เป็นเจ้าจะทรงลงโทษท่านด้วย โรคติดต่อ ด้วยการอักเสบและไข้ พระองค์จะให้เกิดความแห้งแล้ง  แมลงทำลายและเกิดโรคเชื้อราทำลายพืชของท่าน  ความพินาศเหล่านี้จะเกิดกับพวกท่าน  จนกระทั่งพวกท่านล้มตายไป  จะไม่มีฝน  พื้นดินจะแห้งแข็งประดุจเหล็ก  พระผู้เป็นเจ้าจะทรงส่งพายุฝุ่นทรายมาแทนฝนจนกระทั่งพวกท่านถูกทำลายจนหมดสิ้น…พระผู้เป็นเจ้าจะทรงบันดาลให้ท่านเป็นผีดังที่ให้เกิดแก่ชาวอียิปต์  ตามตัวของพวกท่านจะมีแผลตกสะเก็ดและคันรักษาเท่าใดก็ไม่หาย…(เฉลยธรรมบัญญัติ ๒๘/๒๐–๒๔,๒๗–๒๘).

ฉะนั้นจึงเป็นการสรุปให้เห็นได้ว่า  พุทธศาสนา  สอนให้มองไปหาเหตุที่เกิด และสุดท้ายมีผลแปรเปลี่ยนไปอย่างไร ตามความเป็นจริง ตามธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  เมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์  สอนว่าทุกสรรพสิ่งเป็นไปตามอำนาจความพอใจหรือน้ำพระทัยของพระผู้เป็นเจ้า โดยทำความเข้าใจได้ว่า  พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งมวล และทำลายด้วย เป็นต้น.

๒.สาระสำคัญของอัคคัญญสูตร

  .๒.๑ เกิดที่บุพพาราม  กรุงสาวัตถี

  ๒.๒ บุคคล พระพุทธเจ้ากับสามเณร ๒ รูป ชื่อวาเสฏฐกับภารทวาชะผู้เป็นพราหม์

  ๒.๓ สาระคำโต้ตอบ- ถูกพราหม์ด่าว่า  วรรณะพราหม์ประเสริฐสุดวรรณะอื่นเลวทราม  พราหม์พวกเดียวเท่านั้นเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ บริสุทธิ์- ไม่บริสุทธิ์  เกิดจากอุระของพรหม  วรรณะอื่นเลวทรามเกิดจากเท้าของพรหม

  ๒.๔ สาระคำตอบของพระพุทธเจ้า  คนก็คือคน เกิดจากมารดา( นางพราหมณี ) มิใช่เกิดจากพรหม  คนจะเลวจะดีเกิดที่การกระทำ มิใช่วรรณะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งปัจจุบันและอนาคต เป็นต้นฯ

.วิวัฒนาการคืออะไร

เมื่อมีสาเหตุให้โลกถึงความดับ  เหล่าโอปาติกะทั้งหลาย  ย่อมอุบัติในหมู่พรหมอันมีชื่อว่า  “อาภัสสรพรหม” ซึ่งล่องลอยอยู่ในจักรวาล

เมื่อโลกเย็น  ย่อมปรากฎน้ำ ความมืดมิด มีแสงสว่าง เกิดง้วนดิน สัตว์กินง้วนดิน ต่อมาเกิดตัณหา ร่างกายหยาบขึ้นรัศมีที่เคยมีแต่เก่าก่อนหายไป พระจันทร์พระอาทิตย์ก็ปรากฎ เดือน  ปี ฤดู  ทก็ปรากฎ ง้วนดินปรากฎสภาวะดังรวงผึ้ง  เกิดการดูถูกกันด้วยวรรณะผิวพรรณ สวย-ไม่สวย ต่อมาง้วนดินหมดไป อาหารอื่นกระบิดินคล้ายเห็ด จึงเกิดการดูหมิ่น กระบิดินหมดกลายเป็นเครือดิน  ดุจผลมะพร้าวดูหมิ่นกันด้วยวรรณะ เครือดินหมดไปเกิดข้าวสารี ไม่มีรำ-แกลบ ลักษณะเมล็ดสีขาวสะอาด ต่อมาเกิดเพศหญิง เพศชาย เพ่งดูกันเกิดความกำหนัด สมสู่กัน ( เสพอสัทธรรม ) ต่อมาเกิดอายเพราะโดนดูถูกเพราะเหตุร่วมเสพเมถุน จึงสร้างเรือนกำบังเพื่อการเสพอสัทธรรมนั้น  และต่อมาเกิดการกักตุนอาหารข้าวสารี เพราะความเกียจคร้าน จึงเกดการกักตุนอาหาร ข้าวสาารีจึงกลายมีแกลบมีรำ ต่อมาเกิดความลำบากเริ่มอดอยาก จึงแบ่งเขตกันทำการเกษตรและละเมิดสิทธิล่วงล้ำเขต เกิดวีรบุรุษขึ้น ยกบุคคลขึ้นเป็น หัวหน้า ( มหาชนสมบัติ ) มีหัวหน้าเขตมีกษัตริย์  มีราชา  จึงเป็นเหตุให้เกิดวรรณะ ๔ คือ

กษัตริย์  =  หัวหน้าคน

พราหมณ์  =ลอยบาป

แพศย์  =  ยึดมั่นในเมถุน ประกอบงานเป็นแผนก

คติภพแห่งวรรณะทั้ง ๔ นี้

กระทำทุจริตกรรม  จึงไปสู่อบาย

  กระทำสุจริตกรรม  ไปสู่สุคติสวรรค์

  กระทำสุจริตกรรมทุจริตกรรม ก็สุขบ้างทุกข์บ้าง

  สำรวมกายวาจาใจ เจริญในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็ปรินิพพาน

วรรณะใดเป็นภิกษุ  สิ้นพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วเพราะรู้ชอบ  วรรณะนั้นปรากฎว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย  โดยธรรมแท้จริง

พระองค์ทรงสรุปว่า ในหมู่ชนที่รังเกียจด้วยโคตร กษัตริย์ประเสริฐสุด  ในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด  ดังพระบาลีแสดงไว้ว่า…..

อหํปิ  วาเสฏฺฐฺ  เอวํ  วทามิ  ขตฺติโย  เสฏฺโฐฺ  ชเนตสฺมิ  เย  โคตฺต ปฏิสาริโน วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  โส  เสฏฺโฐฺ  เทวมานุเสติ.

  ( ที. ปา. ๑๑/๕๑–๗๒/๘๗–๑๐๗ )

อัคคัญญสูตร

ในอัคคัญญสูตรนั้นพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถาม สามเณร สามเณรทั้งสองนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันด่าว่าข้าพระองค์ทั้ง ๒ ด้วยคำเหยียดหยามอย่างยิ่งข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันว่า  พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทรามพราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียว บริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม เจ้าทั้งสองคนมาละวรรณะที่ประเสริฐที่สุดเสียแล้ว ไปเข้ารีดวรรณะที่เลวทราม คือ พวกสมณะที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคฤหบดี เป็นพวกดำ เป็นพวกเกิดจากเท้าของพรหม ข้อนั้นไม่ดี ไม่สมควร

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่าของพวกเขาไม่ได้ จึงพากันพูดอย่างนี้

กำเนิดมนุษย์

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ตามที่ปรากฎอยู่ คือ นางพราหมณีทั้งหลายของพวกพราหมณ์ มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกกินนมอยู่บ้าง อันที่จริง พวกพราหมณ์เหล่านั้น ก็ล้วนแต่เกิดจากช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น พากันอวดอ้างอย่างนี้ว่า พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม

พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม เขาเหล่านั้นกล่าวตู่พรหม และพูดเท็จก็จะประสบแต่บาปเป็นอันมาก ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ด้วยกันสี่คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียดพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศลนับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพนับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรมเป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน อกุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอยู่แม้

ในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์บางคนในโลกนี้  แม้แพศย์บางคนในโลกนี้  แม้ศูทรบางคนในโลกนี้ ฯลฯ มีปรกติฆ่าสัตว์มีปรกติลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศลนับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ

นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นมีปรากฎอยู่แม้ในศูทรบางคนในโลกนี้ ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ฝ่ายกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ พราหม์ก็ตาม แพศย์ก็ตาม ศูทรก็ตาม เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่

ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาววิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นมีปรากฏอยู่แม้ในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็เมื่อวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ รวมเป็นบุคคล ๒ จำพวก คือพวกที่ตั้งอยู่ในธรรมดำ วิญญูชนติเตียนจำพวกหนึ่ง  พวกที่ตั้งอยู่ในธรรมขาว วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่งเช่นนี้ ไฉนพวกพราหมณ์จึงพากันอวดอ้างอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พวกพราหมณ์เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หา

บริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์พวกเดียวเป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มี กำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้เล่า ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของพวกเขาข้อนั้นเพราะเหตุ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่าบรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านั้น ผู้ใดเป็นภิกษุสิ้นกิเลสและอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ได้วางภาระเสียแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นปรากฏว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายโดยชอบธรรมแท้ มิได้ปรากฎโดยไม่ชอบธรรมเลย ด้วยว่าธรรมเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า

พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความเกิดขึ้นแห่งโลก

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านานที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่า สัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหารมีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน

มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้จะกลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่โดยมาก เหล่าสัตว์พากันจฺติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้ และสัตว์นั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้าน

สมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฎ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฎ กลางวันกลางคืนก็ยังไม่ปรากฎ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฎ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฎ เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฎ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่าสัตว์เท่านั้น

ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฎแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยวให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น ฯ

ต่อมามีสัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลนพูดว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี่จักเป็นอะไร แล้วเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู เมื่อเขาเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดูอยู่ ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว เขาจึงเกิดความอยากขึ้น  แม้สัตว์พวกอื่นก็พากันกระทำตามอย่างสัตว์นั้นเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู เมื่อสัตว์เหล่านั้นพากันเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดูอยู่ ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเกิดความอยากขึ้น

ต่อมาสัตว์เหล่านั้นพยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือแล้วบริโภค ในคราวที่พวกสัตว์พยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือ แล้วบริโภคอยู่นั้น เมื่อรัศมีกายของสัตว์เหล่านั้นก็หายไปแล้ว ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏแล้ว ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏ

เมื่อดวงดาวนักษัตรปรากฏแล้ว กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏแล้ว เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฏอยู่ ฤดูและปีก็ปรากฏ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นมาอีก

เหตุแห่งการดูหมิ่น

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมาสัตว์เหล่านั้นพากันบริโภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านั้นมัวเพลินบริโภคง้วนดินอยู่ รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงามนั้นพากันดูหมิ่น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้ เมื่อสัตว์ทั้งสองพวกนั้นเกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกันขึ้นเพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินก็หายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงพากันจับกลุ่ม ครั้นแล้ว ต่างก็บ่นถึงกันว่า รสดีจริง รสดีจริง ดังนี้

ถึงทุกวันนี้ก็เหมือนกัน คนเป็นอันมากได้ของที่มีรสดีอย่างใดอย่างหนึ่ง มักพูดกันอย่างนี้ว่า รสอร่อยแท้ๆ รสอร่อยแท้ๆ ดังนี้ พวกพราหมณ์ ระลึกได้ถึงอักขระ ๑- ที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณนั้นเท่านั้น แต่ไม่รู้ชัดถึง เนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา เมื่อง้วนดินของสัตว์เหล่านั้นหายไปแล้ว ก็เกิดมีกระบิดินขึ้น กระบิดินนั้นปรากฏลักษณะคล้ายเห็ดกระบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีเหมือนเนยใส หรือเนยข้นอย่างดีฉะนั้น ได้มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ฉะนั้น

  ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพยายามจะบริโภคกระบิดิน สัตว์เหล่านั้นบริโภคกระบิดินอยู่รับประทานกระบิดิน มีกระบิดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลนาน  สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองจำพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม พากันดูหมิ่นสัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้ เมื่อสัตว์ทั้งสองพวกนั้น เกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกันขึ้น เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย กระบิดินก็หายไป เมื่อกระบิดินหายไปแล้ว ก็เกิดมีเครือดินขึ้น เครือดินนั้นปรากฏคล้ายผลมะพร้าวทีเดียวเครือดินนั้น ถึงพร้อมด้วยสี รส กลิ่น มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น ได้มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ฉะนั้น ฯ

ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพยายามจะบริโภคเครือดิน สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดินอยู่ รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็นอาหาร ดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดินอยู่ รับประทานเครือดิน มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร ดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น

สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม พากันดูหมิ่นพวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า พวกเรามี ผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้ เมื่อสัตว์ทั้ง ๒ พวกนั้นเกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย เครือดินก็หายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว

สัตว์เหล่านั้นก็พากันจับกลุ่มครั้นแล้วต่างก็บ่นถึงกันว่า เครือดินได้เคยมีแก่พวกเราหนอ เดี๋ยวนี้เครือดินของพวกเราได้สูญหายเสียแล้วหนอ ดังนี้ ถึงทุกวันนี้ก็เหมือนกัน คนเป็นอันมาก พอถูกความระทมทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งมากระทบ ก็มักบ่นกันอย่างนี้ว่า สิ่งของของเราทั้งหลายได้เคยมีแล้วหนอ แต่เดี๋ยวนี้ สิ่งของของเราทั้งหลายได้มาสูญหายเสียแล้วหนอดังนี้ พวกพราหมณ์ระลึกได้ถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดีเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น  แต่ไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ

ข้าวสารีเกิดขึ้น

ครั้นต่อมา เมื่อเครือดินของสัตว์เหล่านั้นหายไปแล้ว ก็เกิดมีข้าวสาลีขึ้นเองในที่ที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มี แกลบ ขาวสะอาด กลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ตอนเย็นสัตว์เหล่านั้นนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าเขาพากันไปนำเอาข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็นข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกแล้วก็งอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่องไปเลย ครั้งนั้น พวกสัตว์บริโภคข้าวสาลีที่เกิดขึ้นเองในที่ที่ไม่ต้องไถ พากันรับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหารดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน ก็โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลีอันเกิดขึ้นเองอยู่ รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ดำรงมาได้สิ้นการช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไป

เกิดเพศหญิงและเพศชาย

ครั้นต่อมา สตรีก็มีเพศหญิงปรากฏ และบุรุษก็มีเพศชายปรากฏ นัยว่า สตรีก็เพ่งดูบุรุษอยู่เสมอ  บุรุษก็เพ่งดูสตรีอยู่เสมอ เมื่อคนทั้งสองเพศ ต่างเพ่งดูกันอยู่เสมอ ก็เกิดความกำหนัดขึ้น เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย เพราะความเร่าร้อนเป็นปัจจัย เขาทั้งสองจึงเสพเมถุนธรรมกัน ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็โดยสมัยนั้นสัตว์พวกใดเห็นพวกอื่นเสพเมถุนธรรมกันอยู่ ย่อมโปรยฝุ่นใส่บ้าง โปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง พร้อมกับพูดว่า คนชาติชั่ว จงฉิบหาย คนชาติชั่ว จงฉิบหาย ดังนี้ แล้วพูดต่อไปว่า ทำไมขึ้นชื่อว่าสัตว์ จึงทำแก่สัตว์เช่นนี้เล่า ข้อที่ว่ามานั้น จึงได้เป็นธรรมเนียมมาจนถึงทุกวันนี้ ในชนบทบางแห่ง คนทั้งหลาย โปรยฝุ่นใส่บ้าง โปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง ในเมื่อเขาจะนำสัตว์ที่ประพฤติชั่วร้ายไปสู่ตะแลงแก

หมายเลขบันทึก: 512387เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เกิดเพศหญิงและเพศชาย

ครั้นต่อมา สตรีก็มีเพศหญิงปรากฏ และบุรุษก็มีเพศชายปรากฏ นัยว่า สตรีก็เพ่งดูบุรุษอยู่เสมอ  บุรุษก็เพ่งดูสตรีอยู่เสมอ เมื่อคนทั้งสองเพศ ต่างเพ่งดูกันอยู่เสมอ ก็เกิดความกำหนัดขึ้น เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย เพราะความเร่าร้อนเป็นปัจจัย เขาทั้งสองจึงเสพเมถุนธรรมกัน ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็โดยสมัยนั้นสัตว์พวกใดเห็นพวกอื่นเสพเมถุนธรรมกันอยู่ ย่อมโปรยฝุ่นใส่บ้าง โปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง พร้อมกับพูดว่า คนชาติชั่ว จงฉิบหาย คนชาติชั่ว จงฉิบหาย ดังนี้ แล้วพูดต่อไปว่า ทำไมขึ้นชื่อว่าสัตว์ จึงทำแก่สัตว์เช่นนี้เล่า ข้อที่ว่ามานั้น จึงได้เป็นธรรมเนียมมาจนถึงทุกวันนี้ ในชนบทบางแห่ง คนทั้งหลาย โปรยฝุ่นใส่บ้าง โปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง ในเมื่อเขาจะนำสัตว์ที่ประพฤติชั่วร้ายไปสู่ตะแลงแกง พวกพราหมณ์มาระลึกถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี อันเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น แต่พวกเขาไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ

สมัยนั้นการโปรยฝุ่นใส่กันนั้นแล สมมติกันว่าไม่เป็นธรรม มาในบัดนี้ สมมติกันว่าเป็นธรรมขึ้น ก็สมัยนั้น  การเสพเมถุนกัน สัตว์พวกนั้นเข้าบ้านหรือนิคมไม่ได้ สิ้นสองเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อใดแล สัตว์ทั้งหลายพากันเสพอสัทธรรมนั่นอยู่เสมอ เมื่อนั้น จึงพยายามสร้างเรือนกันขึ้น เพื่อเป็นที่กำบังอสัทธรรมนั้นครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่ง เกิดความเกียจคร้านขึ้นจึงได้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เราช่างลำบากเสียนี่กระไร ที่ต้องไปเก็บข้าวสาลีมา ทั้งในเวลาเย็นสำหรับอาหารเย็น ทั้งในเวลาเช้าสำหรับอาหารเช้า อย่ากระนั้นเลย เราควรไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภคทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวเถิด

  แต่นั้นมา สัตว์ผู้นั้นก็ไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภคทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวกัน ฉะนี้แล ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์ผู้นั้นแล้วชวนว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ มาเถิด เราจักไปเก็บข้าวสาลีกัน สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ฉันไปเก็บเอาข้าวสาลี ไว้เพื่อบริโภคพอทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวแล้ว

ต่อมา สัตว์ผู้นั้นถือตามแบบอย่างของสัตว์ผู้นั้น จึงไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้คราวเดียวเพื่อสองวันแล้วพูดว่าได้ยินว่า แม้อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันท่านผู้เจริญ ต่อมาสัตว์อีกผู้หนึ่ง เข้าไปหาสัตว์ผู้นั้น แล้วชวนว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ มาเถิด เราจักไปเก็บข้าวสาลีกัน สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ฉันไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภคพอทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวแล้ว ฯครั้งนั้นแล สัตว์ผู้นั้นถือตามแบบอย่างของสัตว์นั้น จึงไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว เพื่อสี่วันครั้งนั้นแล สัตว์ผู้นั้น ถือตามแบบอย่างของสัตว์นั้น จึงไปเก็บข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว เพื่อแปดวัน แล้วพูดว่า แม้อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันท่านผู้แล้วพูดว่า แม้อย่างนี้ก็ดีเหมือนกัน ท่านผู้เจริญ

เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นพยายามเก็บข้าวสาลีสะสมไว้เพื่อบริโภคกันขึ้น เมื่อนั้นแล ข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวมีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกแทน ปรากฏว่าขาดเป็นตอนๆ (ตั้งแต่นั้นมา) จึงได้มีข้าวสาลีเป็นกลุ่มๆ ฯ

ในครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพากันมาจับกลุ่มต่างก็มาปรับทุกข์กันว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ เกิดมีธรรมทั้งหลายอันเลวทรามปรากฏขึ้นในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่า เมื่อก่อนพวกเราได้เป็นผู้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในวิมานนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน บางครั้งบางคราวโดยระยะยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยขึ้นบนน้ำ ทั่วไปแก่เราทุกคน ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามปั้นง้วนดินกระทำให้เป็นคำๆด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภค เมื่อพวกเราทุกคน พยายามปั้นง้วนดินกระทำให้เป็นคำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภคอยู่ รัศมีกายก็หายไป เมื่อรัศมีกายหายไปแล้ว  ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น แล้ว ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้วกลางคืนและกลางวันก็ปรากฏขึ้น เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฎขึ้นแล้ว เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและปีก็ปรากฏ พวกเราทุกคนบริโภคง้วนดินอยู่ รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหารดำรงชีพอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่พวกเรา ง้วนดินจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว จึงมีกระบิดินปรากฏขึ้น กระบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนบริโภคระบิดิน เมื่อพวกเราทุกคนบริโภคระบิดินนั้นอยู่ รับประทานระบิดิน มีระบิดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่พวกเรา กระบิดินจึงหายไป

เมื่อระบิดินหายไปแล้ว จึงมีเครือดินปรากฏขึ้น เครือดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามบริโภคเครือดิน เมื่อพวกเราทุกคนบริโภคเครือดินนั้นอยู่ รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่พวกเรา เครือดินจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว จึงมีข้าวสาลีปรากฏขึ้นเองในที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวที่ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาดกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ตอนเย็นพวกเราทุกคนไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าพวกเราทุกคนไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็น ข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่องไปเลย เมื่อพวกเราทุกคนบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดขึ้นเองในที่ไม่ต้องไถอยู่ รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่พวกเรา ข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวมีรำหุ้มเมล็ดบ้าง มีแกลบห่อเมล็ดไว้บ้าง แม้ต้นที่เกี่ยวแล้วก็ไม่งอกขึ้นแทนที่ ปรากฏว่าขาดเป็นตอนๆ จึงได้มีข้าวสาลี เป็นกลุ่มๆ อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรมาแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน

เกิดความโลภขึ้นจึงขโมยข้าวสารีและเกิดการเบียดเบียนกัน

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลภ สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์ทั้งหลายจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนอย่างนี้ว่า แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมชั่วช้านัก ที่สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์ผู้นั้นแล รับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์นั้นสงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น

ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนว่าไม่ให้ทำกรรมอันชั่วช้านั้น ที่สงวนส่วนของตนไว้ ไปเอาส่วนที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์พวกหนึ่งประหารด้วยฝ่ามือ พวกหนึ่งประหารด้วยก้อนดินบ้าง พวกหนึ่งประหารด้วยท่อนไม้

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็นัยเพราะมีเหตุเช่นนั้นเป็นต้นมา การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การกล่าวเท็จจึงปรากฏ การถือท่อนไม้จึงปรากฏ

ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุมกัน ต่างก็ปรับทุกข์ว่า พ่อเอ๋ย การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้ ( การเบียดเบียนกัน ) จักปรากฏ  ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้นเกิดปรากฏแล้วในสัตว์

เกิดผู้นำในการปกครอง

สัตร์เหล่านั้นจึงปรึกษากันว่า พวกเราจักสมมติสัตว์ผู้หนึ่งให้เป็น ( หัวหน้า ) ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ เป็นผู้ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ ส่วนพวกเราจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ (หัวหน้า ) ดังนี้ ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้น พากันเข้าไปหาสัตว์ที่สวยงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า และน่าเกรงขามมากกว่าสัตว์ทุกคนแล้ว จึงยกให้เป็นหัวหน้าทำหน้าที่ในการว่ากล่าวเหล่าสัตว์ผู้ทำผิด

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมติ ดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติจึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรกเกิดชนชั้นต่างๆเพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลายดังนี้แล

กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สองเพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้ายังชน เหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม ดังนี้แล

ราชา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สามดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังนี้แล การบังเกิดขึ้นแห่งพวกกษัตริย์นั้น มีขึ้นได้ เพราะรู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณ อย่างนี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือ ไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม

  ดูกรวาเสฏฐะและ ภารทวาชะ ความจริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชนทั้งในเวลา ที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์บางจำพวกได้มี ความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การกล่าวเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏ ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้นเกิดปรากฏแล้วในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรไปลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้ากันเถิด

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะ เหตุที่สัตว์เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้าอยู่ ดังนี้แล พวกพราหมณ์ๆ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรกพราหมณ์เหล่านั้นพากันสร้างกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า เพ่งอยู่(การเจริญฌาน)ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ พวกเขาไม่มีการหุงต้ม และไม่มีการตำข้าว เวลาเย็น เวลาเช้า ก็พากันเที่ยวแสวงหาอาหารตามคามนิคมและราชธานี เพื่อบริโภคในเวลาเย็นเวลาเช้า

เขาเหล่านั้น ครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก คนทั้งหลายเห็นพฤติการณ์ของพวกพราหมณ์นั้นแล้วพากันพูดอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย สัตว์พวกนี้แลพากันมาสร้างกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วเพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว เวลาเย็นเวลาเช้า ก็พากันเที่ยวแสวงหาอาหารตามคามนิคมและราชธานี เพื่อบริโภคในเวลาเย็นเวลาเช้า เขาเหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้วจึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุนั้นแล พวกเจริญฌาน ๆ ดังนี้ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สองสัตว์บางพวกเมื่อไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าจึงเที่ยวไปยังคามและนิคมที่ใกล้เคียงแล้วก็จัดทำพระคัมภีร์มาอยู่ คนทั้งหลายเห็นพฤติการณ์ของพวกพราหมณ์นี้นั้นแล้ว จึงพูดอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย ก็สัตว์เหล่านี้ ไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า เที่ยวไปยังบ้าน และนิคมที่ใกล้เคียง จัดทำพระคัมภีร์ไปอยู่

บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่ง ( ไม่ทำฌาน )อยู่ ดังนี้แล คำว่า อชฺฌายิกา อชฺฌายิกา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม  สมัยนั้น การทรงจำ การสอน การบอกมนต์ ถูกสมมติว่าเลวมาในบัดนี้สมมติว่าประเสริฐด้วยประการดังกล่าวมานี้แล การอุบัติขึ้นแห่งพวกพราหมณ์นั้นมีขึ้นได้ เพราะรู้กันว่าเป็นของดีเป็นของโบราณอย่างนี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม

บรรดาสัตว์เหล่านั้นแล สัตว์บางจำพวกยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆเพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆ นั้น

คำว่า เวสฺสา เวสฺสา ดังนี้ จึงอุบัติขึ้นด้วยประการดังที่กล่าวมานี้

การอุบัติขึ้นแห่งพวกแพศย์นั้นมีขึ้นได้ เพราะรู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณ อย่างนี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น

มีสมัยอยู่ ที่กษัตริย์บ้าง พราหมณ์ บ้าง แพศย์บ้าง  ศูทรบ้าง ตำหนิธรรมของตนจึงได้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวก สมณะจะเกิดมีขึ้นได้ จากวรรณะทั้งสี่ นี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกัน หรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม  ความจริงธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในประชุมชน ทั้งใน เวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ

เบื้องหน้าแห่งความตาย

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สมณะก็ดี ... ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เป็นเหตุเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก

ทั้งสิ้น ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี .พราหมณ์ก็ดี .แพศย์ก็ดี .ศูทรก็ดี ..สมณะก็ดี ...ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

กษัตริย์ก็ดี .พราหมณ์ก็ดี .แพศย์ก็ดี .ศูทรก็ดี .สมณะก็ดี .มีปรกติกระทำกรรมทั้งสอง  [คือสุจริตและทุจริต]ด้วยกายบ้าง กระทำกรรมทั้งสองด้วยวาจาบ้าง กระทำกรรมทั้งสองด้วยใจบ้าง มีความเห็นปนกัน ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกัน เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกันเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ฯ

กษัตริย์ก็ดี .พราหมณ์ก็ดี .แพศย์ก็ดี ..ศูทรก็ดี ..สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็บรรดาวรรณะทั้งสี่นี้ วรรณะใดเป็นภิกษุ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว วางภาระเสียได้แล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว หมดเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้นปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย โดยธรรมแท้จริง มิใช่นอกไปจากธรรมเลย

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ความจริงธรรมเท่านั้น เป็นของประเสริฐที่สุดในประชุมชน ทั้งในเวลาเห็นอยู่ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สนังกุมารพรหมก็ได้ภาษิตคาถาไว้ว่า

  กษัตริย์เป็นประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจ

  ด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

  เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ ฯ

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมขับถูกไม่ผิด ภาษิตไว้ถูก ไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราเห็นด้วย ถึงเราก็กล่าวอย่างนี้

จบอัคคัญญสูตร

สรุปเนื้อหาในอัคคัญญสูตร

กำเนิดโลกและความเสื่อม

เนื้อหาตอนแรก พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงถึง กำเนิดของโลกและจักรวาล  แต่มิใช่กล่าวถึงจุดกำเนิดของโลกและจักรวาล เพียงกล่าวไว้ว่าเมื่อโลกได้เสื่อมไป และได้เจริญขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งก็มีสัตว์ชั้นอาภัสสรพรหมมาเกิด  ซึ่อก็เป็นมนุษย์จากโลกเก่าที่เสื่อมไปในอดีตนั่นเอง  แต่อย่างไรก็ตามเราก็ได้ทรรศนะเกี่ยวกับความเป็นมาของโลกตามธรรมชาติของพระสูตรนี้ได้บ้าง

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในสมัยปฐมกาล  โลกและจักรวาลทั้งสิ้นเต็มไปด้วยน้ำ มืดมนมองไม่เห็นอะไร  ยังไม่มีดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ ตลอดจนกลางวัน  กลางคืน ฤดู วัน  เดือน  ปี ก็ยังไม่เกิดขึ้น  เพศหญิงเพศชายยังไม่ปรากฎ  สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเรียกว่าสัตร์ทั้งสิ้น  พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า  กำเนิดแรกของโลกและจักรวาลมาจากไหน  แต่ตรัสถึงการเกิด การสลายตัวของโลกมีการรวมตัวกัน  มีการสลายตัววนเวียนกลับไป  สมัยเมื่อโลกหมุนเวียนกลับไปสู่ความพินาศ  สัตรทั้งหลายไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหมกันโดยมาก เมื่อโลกหมุนกลับ หมายถึง การเกิดใหม่ภายหลังความพินาศคือกลับมาสู่ความเจริญ  สัตว์เหล่านั้นก็มาจุติในโลกนี้

คัมภีร์ อังคุตตรนิกาย  ติกนิบาต.20/520/216.” จากการค้นคว้าได้พบว่า  พระพุทธองค์ทรงตรัสกับอานนท์ว่า  นี้เรียกโลกธาตุอย่างเล็กพันจักรวาล  โลกคูณด้วยส่วนพันแห่ง  โลกธาตุอย่างเล็กซึ่งมีพันจักรวาลนั้น  นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาล  โลกคูณด้วยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาลนั้น  นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่มีประมาณแสนโกฏิจักรวาล

“จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับที่ดวงจันทร์  ดวงอาทิตย์โคจร  ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ ในโลกมีพันจักรวาลนั้นมีดวงจันทร์พันดวง  มีดวงอาทิตย์พันดวง  มีขุนเขาสุเนรุพันหนึ่ง  มีชมพูทวีปพันหนึ่ง  มีอปรโคยานทวีปพันหนึ่ง  มีอุตตรกุรุทวีปพันหนึ่ง  มีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง  มีมหาสมุทรสี่พัน  มีท้าวมหาราชสี่พัน  มีเทวโลกจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง  มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง  มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง  มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง  มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง  มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสดีพันหนึ่ง  มีพรหมโลกพันหนึ่ง

จึงเห็นได้ว่า  พระพุทธองค์ตรัสว่าแสนโกฏิจักรวาลนั้นมีมากมายในพระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย  ติกนิบาต  ที่กล่าวไว้ข้างต้นมีข้อที่หน้าศึกษา  ดังนี้

๑.ในทรรศนะของพระพุทธเจ้า  คำว่า  “ โลกธาตุ “  กับคำว่า  “ จักรวาล “  มีความหมายต่างกันโดยที่โลกมีความหมายกว้างขวางกว่า  พระองค์ตรัสว่า  โลกธาตุหนึ่งนั้นประกอบด้วยจักรวาลหลายจักรวาลรวมกันอย่างน้อยที่สุดพันจักรวาล

๒.จักรวาลหนึ่งนั้น  พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเอาการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นเกณฑ์  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  ในจักรวาลอื่นนั้นก็มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหมือนกัน  ซึ่งเหตุผลในข้อนี้  ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันให้ความสนใจเป็นอย่างมากและให้ความยอมรับ  จึงสันนิษฐานต่อไปว่า  สุริยจักรวาลไม่น่าจะมีแต่จักรวาลของเราเท่านั้น โดยใชัหลักการทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์จึงพบ  ระบบสุริยจักรวาลอื่น ๆ อีกเป็นต้น.

เนื้อความในคำภีร์ยังกล่าวว่า  โลกทั้งหมดไม่ไช่สิ่งที่ตั้งอยู่ถาวร  แต่มีการเกิดขึ้น  เปลี่ยนแปลง  และแตกสลายไปในที่สุด  แล้วก็มีการตั้งขึ่นใหม่อีก  ส่วนอายุของโลกนั้นใช้ระยะเวลายาวนานมาก  โดยกำหนดอายุเป็นกัปป์ ดังนี้.

อายุของโลก

๖๔อันตรกัปป์  เท่ากับ  ๑  อสงไขยกัปป์

  อสงไขยกัปป์  เท่ากับ  ๑  มหากัปป์

  มหากัปป์  เท่ากับ อายุของจักรวาล

เวลา ๑ อันตรกัปป์  เป็นการกำหนดนับโดยถือเอาอายุของมนุษย์ ( อายุกัปป์ ) ตั้งแต่เริ่มต้นซึ่งมีอายุยืนถึงอสงไขยปีเป็นอายุ ( เวลา  ๑  อสงไขยปี  เทียบเวลาในปัจจุบันแล้วประมาณ  ๑๐๐  ล้านปี )  ต่อมาอายุของมนุษย์ค่อย ๆ ลดลงมาตามลำดับจนกระทั่งถึงอายุ ๑๐ ปี เป็นอายุของมนุษย์ ( สมัยพุทธกาลอายุขัยของมนุษย์ประมาณ ๑๐๐  ปี )  เมื่อลดลงถึง ๑๐ ปี  อายุของมนุษย์จะค่อย ๆ มีอายุยืนขึ้นไปอีกจนถึงอสงไขยปี  ซึ่งเป็นอายุของมนุษย์ในต้นกัปป์  การนับอายุของมนุษย์จากอสงไขยปีลงมาถึง๑๐ ปี  แล้วนับจาก ๑๐ ปี ย้อนขึ้นไปถึงอสงไขยปี  เช่นนี้เรียกว่า  ๑ อันตรกัปป์ที่หมุนเวียนไปมาเช่นนี้ถึง ๖๔ รอบ จึงนับเวลาได้ ๑  อสงไขยกัปป์  อายุของจักรวาลหนึ่ง ๆ  “ เท่ากับ  ๔  อสงไขยกัปป์หรือ  ๑  มหากัปป์ “ และยังแบ่งมหากัปป์ออกเป็น  ๔  อสงไขยกัปป์  ดังนี้.

ระยะเวลาก่อนเกิดโลก

๑.สังวัฏฏกัปป์  :กัปป์ที่พินาศอยู่  เป็นกัปป์ที่จักรวาลดำเนินไปสู่การทำลาย

๒.สังวัฏฏฐายีกัปป์  กัปป์ที่พินาศแล้ว  มีแต่ความพินาศตั้งอยู่  เป็นกัปป์ที่จักรวาลถูกทำลายหมดสิ้น  จนมีแต่ความว่างเปล่าของอากาศ

๓.วิวัฏฏกัปป์  กัปป์ที่เจริญขึ้นตามลำดับ  เป็นกัปป์ที่เมื่อจักรวาลถูกทำลายลงหมดแล้ว  เริ่มตั้งขึ้นใหม่

๔.วิวัฏฏฐายีกัปป์  กัปป์ที่เจริญพร้อมด้วยสิ่งต่าง ๆ ตามปกติ  เป็นกัปป์ที่จักรวาลมีทุกสิ่งทุกอย่างตั้งอยู่อย่างเรียบร้อย คือ มีพื้นแผ่นดิน  มหาสมุทร  ทะเล  ภูเขา  ต้นไม้  ลำคลอง ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดวงดาวน้อยใหญ่  คนและสัตว์  ปรากฎขึ้นพร้อมทุกอย่าง

ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท  ได้กำหนดเวลา ๑  มหากัปป์อีกวิธีหนึ่ง  โดยการอุปมาว่า  “ เมือง  ๆ หนึ่งมีกำแพงสูง ๑๐๐ โยชน์ กว้างและยาว ๑๐๐ โยชน์ ( ๑โยชน์ เท่ากับ ๔๐๐ เส้น หรือ ๑๖ กิโลเมตร ) บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาด  แล้วหยิบออกทีละ ๑ เมล็ดทุก ๆ ๑๐๐ ปีจนกว่าจะหมดไป  จึงกำหนดเวลาได้ ๑ มหากัปป์(อภิธรรมมัตถสังคหะ  ปริเฉทที่ ๕ ภาคที่ ๑ )

เหตุที่ทำให้โลกแตกสลาย ๓ ประการอีกนัยหนึ่ง

๑.ไฟเป็นเหตุให้โลกแตกสลาย

๒.น้ำเป็นเหตุให้โลกแตกสลาย

๓.ลมเป็นเหตุให้โลกแตกสลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่ทำให้โลกสลาย ๓ ประการ คือ (๑) ไฟประลัยกัลป์ (๒) น้ำประลัยกัลป์ (๓) ลมประลัยกัลป์

เขตที่ต้องสลายมี ๓ เขต คือ

๑. อาภัสสรพรหมโลก

๒. สุภกิณหพรหมโลก

๓. เวหัปผลพรหมโลก

เมื่อโลกสลายด้วยไฟ สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงหมู่พรหมอาภัสระ ด้วยทุติยฌาน

เมื่อโลกสลายด้วยน้ำ สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงหมู่พรหมสุภกิณหพรหม ด้วยตติยฌาน

เมื่อโลกสลายด้วยลม สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงหมู่พรหมเวหัปผละ ด้วยจตุตถฌาน

การสลายอีก ๒ ประการ คือ

๑.การสลายของสัตว์มี ๑๐ อันตรกัป

๒.การสลายของธาตุมี ๑๐ อันตรกัป

ในโลกทีปกสาร ได้กล่าวไว้ว่า “ในเรื่องของกัปนั้น ให้นับตั้งแต่มหาเมฆที่จะยังกัปให้พินาศ จนถึงเพลิงดับ ตอนนี้เป็นอสงไขยที่ ๑ เรียกว่า สังวัฏฏะ นับแต่เพลิงบรรลัยกัลป์ดับไป จนถึงฝนตกหนัก น้ำเต็มเปี่ยมแสนโกฏิจักรวาล ตอนนี้เป็นอสงไขยที่ ๒ เรียกว่า สังวัฏฏฐายี นับตั้งแต่ฝนตกหนักจนถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฎ ตอนนี้เป็นอสงไขยที่ ๓ เรียกว่า วิวัฏฏะ นับตั้งแต่การปรากฎแห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ไปจนถึงมหาเมฆอันจะยังกัปให้พินาศอีก ตินนี้เป็นอสงไขยที่ ๔ เรียกว่า วิวัฏฏฐายี วิวัฏฏฐายีอสงไขยสงเคราะห์ (ประมวล) อันตรกัป ๖๔ อันตรกัป อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สงเคราะห์อันตรกัป ๒๐ อันตรกัป อสงไขยที่เหลือมีประมาณเท่ากับอสงไขยที่ ๔ นั้น โดยกาละ อสงไขย ๔ เหล่านี้รวมเป็นมหากัป ๑ ความพินาศด้วยไฟและการก่อตัวขึ้นใหม่ของโลก

สมัยเมื่อกัปพินาศด้วยน้ำ เริ่มต้นมหาเมฆที่ยังกัปให้พินาศก่อตัวขึ้นแล้ว ดังนี้เป็นต้น เรื่องที่ต่างกันมีดังนี้ ในตอนที่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ ในคราวที่กัปพินาศด้วยน้ำนี้ มหาเมฆอันมีน้ำกรดจะก่อตัวขึ้น เริ่มต้นมหาเมฆนั้นจะยังฝนละเอียด ๆ ให้ตกลงมาจนกระทั่งหลั่งเป็นมหาธาร ท้วมแสนโกฏิจักรวาลแผ่นดินและภูเขาเป็นต้นที่ถูกน้ำกรดแล้ว ย่อมสลายไป อาจารย์บาวพวกกล่าวว่า น้ำที่ลมห่อหู้มไว้โดยรอบท้วม จะเกิดส่วนที่อยู่ภายใต้สุดของแผ่นดิน จนถึงภูมิแห่งทุติยฌาน เพราะแผ่นดินและภูเขาเป็นต้นที่ถูกน้ำกรดนั้นแล้ว ย่อมสลายหมดไป เหมือนก้อนเกลือที่โยนใส่ในน้ำฉะนั้น เพราะเหตุนั้นน้ำนั่นแหละมีรวมกับน้ำรองแผ่นดิน

อาจารย์อีกพวกกล่าวว่า น้ำกรดทำลายน้ำรองแผ่นดิน และกนะแสลมอันอุ้มน้ำนั้นให้พินาศไป ดำรงเป็นแผ่นเดียวกับตนเองนั้นแลดังนี้ คำนั้นถูกต้องแล้ว อนึ่ง น้ำกรดนั้นทำให้พรหมโลกเบื้องบนละลายไปจากพรหมโลกชั้นสุภกิณหะ จึงหยุด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ยามใดโลกสลายด้วยน้ำที่กำเริบแล้ว ยามนั้นแสนโกฏิจักรวาลหนึ่งละลายไป น้ำกรดนั้นจะไม่สงบตราบเท่าที่สิ่งที่เป็นสังขารแม้มีขนาดเท่าอณูก็ยังมีอยู่ อนึ่ง น้ำกรดนั้นครอบงำสิ่งที่เป็นสังขารลอยไปตามน้ำ สลายไปโดยฉับพลัน อากาศเบื้องบนกับอากาศเบื้องต่ำ จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มืดมนอันธการ เรื่องต่อจากนั้นทั้งหมดเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้ว

มีข้อความตอนเดียวในที่นี้ที่ควรทราบ โลกจะปรากฏเริ่มต้นที่พรหมโลกอาภัสสรา หมู่สัตว์จุติจากพรหมโลกชั้นสุภกิณหา ไปบังเกิดที่พรหมโลกชั้นอาภัสสสรา ในตอนที่สลายด้วยด้วยน้ำบรรลัยกัลป์นั้น ระยะนี้ตั้งแต่มหาเมฆที่ทำให้กัปพินาศ จนถึงน้ำกรดที่ทำให้กัปพินาศ ขาดหายไปเป็นอสงไขยที่๑ ตั้งแต่น้ำกรดขาดหายไปจนถึงมหาเมฆที่เป็นสมบัติ (น้ำฝนที่ตกธรรมดา) ระยะนี้เป็นอสงไขยที่ ๒ ตั้งแต่มหาเมฆที่ตกเป็นฝนธรรมดาจนถึงความปรากฎขึ้นแห่งดวงจันร์ดวงอาทิตย์ ระยะนี้เป็นอสงไขยที่ ๓ ตั้งแต่ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏ จนถึงมหาเมฆที่ยังกัปให้พินาศ ระยะนี้เป็นอสงไขยที่ ๔ อสงไขยที่ ๔ เหล่านี้เป็นมหกัป ความพินาศด้วยน้ำบรรลัยกัลป์ และกลับตั้งขึ้นใหม่เป็นอย่างนี้

สมัยที่กัปพินาศด้วยลม เริ่มต้นที่ “มหาเมฆที่เป็นสิ่งทำลายโลกก่อตัวขึ้น”  ความที่แปลกกันมีดังต่อไปนี้ ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ในตอนนั้นฉันใด ในตอนนี้ก็ฉันนั้น ลมก่อตัวขึ้นเพื่อทำลายกัป ลมนั้นพัดให้ฝุ่นหยาบฟุ้งขึ้นตอนแรก ต่อจากนั้นก็พัดให้ธุรีทรายละเอียด ทรายหยาบ ก้อนกรวด ก้อนหิน เป็นต้น จนถึงขนาดแผ่นหินเรือนยอด และต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ ณ ที่ดอนลอยขึ้นไป สังขารเหล่านั้นปลิวขึ้นไปจากแผ่นดินขึ้นสู่ท้องฟ้า ไม่ตกลงมาอีกละเอียดเป็นจุณวิจุณไปในท้องฟ้านั้นแล ถึงความไม่มีเลย ต่อจากนั้นลมก็ก่อตัวขึ้นจากภายใต้ปฐพีเป็นลำดับ พลิกแผ่นดิน กลับข้างล่างขึ้นข้างบน พัดปลิวขึ้นไปในอากาศ ส่วนของแผ่นดินแม้มีประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ จะต้องแตกกระจายถูกกำลังลมพัดขึ้นเป็นจุณวิจุณไปในอากาศที่เดียว ถึงความไม่มีลมจะยกแม้ภูเขาจักรวาล แม้ภูเขาสิเนรุ ขวางไปในอากาศ ภูเขาเหล่านั้นกระทบกระแทกกันแหลกสลายเป็นจุณวิจุณ ลมนั้นทำลายวิมานของเทวดาสถิต ณ ภาคพื้นดินและวิมานของเทวดาที่สถิตในอากาศให้พินาศไปด้วยวิธีนี้ ทำลายโลกชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ให้พินาศ ทำลายแสนโกฏิจักรวาลให้พินาศในตอนนั้น ภูเขาจักรวาลทั้งหลาย ภูเขาหิมพานต์ทั้งหลาย ภูเขาสิเนรุทั้งหลายมาพร้อมกัน พินาศจุณวินาศจุณไปหมด ลมจะพัดกลับตั้งแต่แผ่นดินถึงตติยฌานภูมิ ทำลายพรหมโลกแม้ทั้ง ๔ ขั้นให้พินาศตลอดจนถึงชั้นเวหัปผลาจึงหยุด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “ในกาลใด โลกพินาศด้วยความกำเริบแห่งวาโยธาตุ ในกาลนั้น แสนโกฏิจักรวาลหนึ่งย่อมกระจัดกระจายไป”

ฉะนั้นพึงทราบเถิดว่า โลกถึงความพินาศอย่างนี้มีอะไรเป็นสาเหตุ เพราะถึงแม้ว่า ความดับเพราะกิจแห่งสังขารเป็นอเหตุกะไม่มีเหตุ เพราะมีความพินาศเป็นสภาพ แต่ความดับของสังขารเว้นจากเหตุไม่มี เหมือนดังในหมู่สัตว์ทั้งหลาย อันความพินาศพร้อมทั้งเหตุแม้ของโลกอันภาชนะก็พึงมี เพราะเหตุนั้น อะไรเหล่าเป็นเหตุให้ความพินาศแห่งโลก กล่าวได้ว่า อกุศลเป็นเหตุ เหมือนอย่างว่าโลกย่อมกลับคืนเป็นปฐมกาลเพราะกำลังแห่งบุญของสัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดในภพนั้นฉันใด โลกย่อมสลายไปเพราะกำลังแห่งบาปของสัตว์เหล่านั้นฉันนั้น เมื่ออกุศลมูลพอกพูนขึ้นแล้ว โลกย่อมพินาศไปด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือน อันตรกัป (กัปแทรก) ๓ ประการเหล่านี้ คือ โรคันตรกัป สัตถันตรกัปและทุพภิกขันตรกัป ย่อมบังเกิดในอสงไขยกัป ตามลำดับ เพราะความที่ราคะ โทสะ และโมหะเป็นสภาพที่ยิ่งล้นฉันใด สังว

 

กล่าวได้ว่า อกุศลเป็นเหตุ เหมือนอย่างว่าโลกย่อมกลับคืนเป็นปฐมกาลเพราะกำลังแห่งบุญของสัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดในภพนั้นฉันใด โลกย่อมสลายไปเพราะกำลังแห่งบาปของสัตว์เหล่านั้นฉันนั้น เมื่ออกุศลมูลพอกพูนขึ้นแล้ว โลกย่อมพินาศไปด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือน อันตรกัป (กัปแทรก) ๓ ประการเหล่านี้ คือ โรคันตรกัป สัตถันตรกัปและทุพภิกขันตรกัป ย่อมบังเกิดในอสงไขยกัป ตามลำดับ เพราะความที่ราคะ โทสะ และโมหะเป็นสภาพที่ยิ่งล้นฉันใด สังวัฏฏกัปทั้ง ๓ ดังที่กล่าวแล้ว ย่อมมีเพราะความที่ราคะเป็นต้นเป็นสภาพที่ล้น ฉันนั้น

ขออธิบายความเพิ่มเติมว่า เมื่อราคะเพิ่มพูนยิ่ง โลกย่อมพินาศด้วยเพลิง เมื่อโทสะพอกพูนยิ่ง โลกย่อมพินาศด้วยน้ำความพินาศด้วยน้ำกรดอันแนงยิ่งกว่าเป็นการควรแล้ว แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อโทสะเพิ่มพูนขึ้น โลกย่อมพินาศด้วยเพลิง เมื่อราคะเพิ่มพูนขึ้น โลกย่อมพินาศด้วยน้ำ ได้ทราบว่าอาจารย์เหล่านั้นอธิบายดังนี้ โทสะเป็นเหมือนศัตรูที่ปรากฏตัวชัดเหมือนเพลิง ความพินาศด้วยเพลิง ราคะเป็นเหมือนศัตรูที่ไม่ปรากฏตัว เหมือนน้ำกรด ควรพินาศด้วยน้ำ แต่เมื่อโทสะเพิ่มพูนขึ้นโลกย่อมพินาศด้วยลม อนึ่ง โลกแม้พินาศอยู่อย่างนี้ ย่อมพินาศด้วยเพลิง ๗ วาระติดต่อกันไปในวาระที่ ๘ เมื่อกลับพินาศด้วยไฟราคะ ๗ วาระ ในว่ระที่ ๘ พินาศด้วยน้ำ ทั้งนี้เป็นกำหนดของความพินาศของโลก เมื่อพินาศด้วยวาระที่ ๘ ครั้นพินาศด้วยน้ำ ๗ ครั้งแล้ว ย่อมพินาศด้วยน้ำ ๗ วาระ พินาศด้วยไฟ ๗ วาระอีก ด้วยกาลกำหนดนี้ ๖๓ กัปล่วงไปแล้ว ในระหว่างนี้ลมห้ามวาระที่โลกพินาศด้วยน้ำเสีย ได้โอกาสพัดพรหมโลกชั้นสุภกิณหาอันมีอายุ ๖๔ กัป ให้กระจัดกระจายทำลายโลกให้พินาศไป ก็แลในโลกนี้ราคะย่อมเป็นไปมากแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นคณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

“วาระที่โลกพินาศด้วยไฟ ๗ ครั้ง ๗ หน ในวาระที่ ๘ โลกพินาศด้วยน้ำ เมื่อใดครบ ๖๔ กัป เมื่อนั้นเป็นวาระของลมคราวหนึ่ง โลกพินาศด้วยไฟภายใต้พรหมโลกชั้นอาภัสสราลงมา พินาศด้วยน้ำ ภายใต้สุภกิณหาลงมา พินาศด้วยลมภายใต้เวหัปผลาลงมา โลกย่อมพินาศด้วยอาการอย่างนี้”

“ ในความพินาศในโลกสันนิวาสนี้ที่พินาศไปด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล้ว กลับตั้งคืนด้วยอาการอย่างนี้ในวันที่ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ปรากฏภูเขาสุเนรุ ภูเขาจักรวาล ภูเขาหิมพานต์ ทวีปและสมุทร ย่อมปรากฏ ประเทศเหล่านั้นย่อมปรากฏในวันเพ็ญ ผัคคุณะ ไม่ก่อนไม่หลังกัน เพราะท่านกล่าวไว้ดังนี้ ”*

  *กรมศิลปากร,โลกทีปกสาร ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.(กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัดนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์,๒๕๒๙),หน้า ๑๖๔–๑๖๗.

ส่วนที่มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์โลกุปัตติและจักรวาลทีปนีนั้น ก็กล่าวไว้เช่นเดียวกัน และในที่นี้ที่กล่าวไว้ใน สุริยสูตร ใจความมีดังนี้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์มี

กาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายหมื่นปี เมื่อฝนไม่ตกพีชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้…

ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้งไปไม่มีน้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวด ย่อมไม่มีน้ำ

ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่ใหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้งไม่มีน้ำ

ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลง เหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังงจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ชั่วคน ๓ ชั่วคนเดียว ครึ่งชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเม็ดใหญ่ ๆ ตกลงมา น้ำเหลือในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี

ในกาลบางครั้งบางคราว กาลอันยาวนานล่วงไป ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลู่มควันพุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลู่มควันพุ่งขึ้น

ในกาลบางครั้งบางคราว กาลอันยาวนานล่วงไป ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อดินใหญ่ขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาลุกโชนกำลังทลาย ถูกกองเพลิงใหญ่ท่วมตลอดแล้วยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ย่อมพังทลาย ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเนยใส หรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่ไม่ปรากฏเถ้าและเขม่า

ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้จะแตกสลายด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ

(๑)ธาตุดิน

(๒)ธาตุน้ำ

(๓)ธาตุลม

(๔)ธาตุไฟ

จากการรวบรวมและวิเคราะห์ พึงเห็นได้ว่า เมื่อโลกประกอบด้วยองค์ประกอบดังนั้น จึงกลับมาสู่สภาพเดิมซึ่งเป็นองค์ประกอบเดิมของโลก ที่ต้องแตกสลายไปตามกาลเวลา โดยไม่อาจจะยับยั้งได้ มันเป็นของวัฏจักรของมันอย่างนั้นเอง

อธิบายเนื้อหาในอัคคัญญสูตร

คำว่า “ โลก “ ที่พุทธฝ่ายเถรวาทกล่าวถึงนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นการสอนที่มุ่งถึงแง่ของการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น  เป็นการกล่าวถึงโลกโดยมุ่งแสดงมาที่ตัวคน  เป็นการสอนให้มองโลกที่ตนเองมากกว่าที่จะมองโลกภายนอก  หรือสิ่งที่ไกลนอกตัวออกไป  ดูตามประวัติวิวัฒนาการทางความคิดด้านพุทธฝ่ายเถรวาทแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบันแล้วได้พูดถึงปัญหานี้มาโดยตลอด  ถึงกำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิตแต่วัตถุประสงค์ของพระพุทธองค์ในสมัยนั้นทรงมุ่งเสริมสร้างศรัทธาในระยะเบื้องต้น

อรรถในอัคคัญญสูตรนั้น  พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงกำเนิดของโลกและจักรวาล  โดยทรงโต้แย้งวาเสฏฐะและภารทวาชะ  ซึ่งเป็นพราหมณ์บวชในศาสนาพุทธ  และถูกสอนมาจากฝ่ายวรรณพราหมณ์จนคิดว่าตนเองนั้นเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหมและพระพรหมเนรมิตทุกอย่าง  พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบแก่ท่านทั้งสองว่า  มนุษย์เกิดจากมนุษย์ด้วยกัน  คือ  พราหมณ์ย่อมกำเนิดจากพราหมณี  และมนุษย์จะมีบรรพบุรุษเดิมจากต้นกำเนิดเดียวกันทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มคนใด  วรรณใด  จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตอบถึงต้นปฐมกำเนิด  ไม่ได้ตอบถึงปฐมชีวิต  และไม่ได้ใช้คำว่า ” พระเจ้า ”( องฺ.ติก. ๒๐/๘๑/๒๒๑ )

กำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตตามที่ปรากฎในคัมภีร์อัคคัญญสูตร  พระสุตตันปิฎก  ซึ่งแสดงถึงกำเนิดของโลกและจักรวาล มีดังนี้

  “ สมัยบางครั้งบางคราว  โดยล่วงระยะกาลเป็นเวลาช้านานที่โลกนี้จะพินาศ  เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่  โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม  สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ  มีปิติเป็นอาหาร  มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง  สัญจรไปได้ในอากาศ  อยู่ในวิมานอันงาม  สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลเวลาช้านาน มีสมัยบางครั้งบางคราวโดยระยะกาลอันช้านานโลกนี้จะกลับเจริญอยู่โดยมาก  และสัตว์พากันจุติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้  และสัตว์นั้นได้สำเร็จทางใจมีปิติเป็นอาหาร  มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง  สัญจรไปได้ในอากาศ  อยู่ในวิมานอันงาม  สถิตในภพนั้นสิ้นกาลที่ยืดยาวเป็นเวลาช้านาน  ก็แหละสมัยนั้น  จักรวาลทั้งสิ้นแลเป็นน็ทั้งนั้นมืดมนแลไม่เห็นอะไร  ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฎ  ดวงดาวนักกษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฎ  กลางวันและกลางคืนก็ยังไม่ปรากฎ  เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฎ  ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฎ  เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฎ  สัตว์ทั้งหลายถึงซึ่งอันนับเพียงว่าสัตว์เหล่านั้น

ครั้นต่อมา  โดยล่วงระยะกาลอันยืดยาวช้านานเกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป  ได้ปรากฎแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลที่เคี่ยวให้งวด  แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝ่าอยู่ข้างบน  ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี  กลิ่น  รส  มีสีคล้ายเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี  มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งอันหาโทษมิได้  ฉะนั้น…ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ  ในคราวที่สัตว์พยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำ ๆ  ด้วยมือแล้วบริโภคอยู่นั้น  รัศมีกายของสัตว์เหล่านั้นค่อย ๆ หายไป  ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ปรากฎ  เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฎแล้ว  ดวงดาวนักกษัตรทั้งหลายก็ปรากฎ  เมื่อดวงดาวนักกษัตรปรากฎแล้ว  กลางคืนและกลางวันก็ปรากฎ  เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฎแล้ว  เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฎ  เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฎอยู่  ฤดูและปีก็ปรากฎ  ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ  ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล  โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นมาอีก…” ( ที.ปา.  ๑๑/๕๖/๗๖ )

ต่อมาง้วนดินอาหารของสัตว์เหล่านั้นหายไป  แล้วก็เกิดมีกระบิดิน  กระบิดินนั้นปรากฎคล้ายเห็ด….โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคกระบิดินอยู่  รับประทานกระบิดิน  มีกระบิดินเป็นอาหาร  ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน  สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที  ทั้งผิวพรรณก็ปรากฎว่าแตกต่างกันไป  สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม  สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม 

ในสัตว์ทั้งสองจำพวกนั้น  สัตว์ที่พวกผิวพรรณงามพากันดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณไม่งามว่า  พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน  พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา  ดังนี้  เมื่อสัตว์ทั้งสองพวกนั้นเกิดมีการไว้ตัว  ดูหมิ่นกันขึ้น  เพราะทนงตัวเพราะเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย  กระบิดินก์หายไป  เมื่อกระบิดินหายไป  ก์เกิดมีเครือดินขึ้น  เครือดินนั้นปรากฎคล้ายผลมะพร้าวทีเดียว  เครือดินนั้น  ถึงพร้อมด้วยสี  รส  กลิ่น  มีสีคล้ายเนยใส  หรือเนยข้นอย่างดี  ฉะนั้น  ได้มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น

การที่พระพุทธเจ้า  ตรัสถึงเรื่องสัตว์จุติมาจากชั้นอาภัสสรพรหม  มาสู่โลก  ในระยะแรกสัตว์เหล่านั้นมีกายละเอียดและประณีต  มีรัศมีในตัวเอง  แต่เมื่อมีความยินดี  มีความพอใจในง้วนดิน  กายก็หยาบกระด้าง  ผิวพรรณก็เริ่มมีความหมองคล้ำแตกต่างกันออกไป  จากข้อความดังกล่าวนี้  แสดงให้เห็นว่า  พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นว่า  เมื่อสัตว์เหล่านั้นมีความพอใจยินดีในวัตถุแล้ว  กิเลสตัณหาอันเป็นที่มาของคำว่าอธรรมการประพฤติผิดในหมู่สัตว์มีการกล่าวเท็จและอื่น ๆ ก็เริ่มบังเกิดขึ้น  ความหยาบกระด้างในร่างกายและจิตใจก็เกิดขึ้นในตัวสัตว์เหล่านั้นด้วย  และในข้อความต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวถึงอาหารของสิ่งมีชีวิตโดยให้รายละเอียดไว้ว่า  ง้วนดินเกิดขึ้นก่อน  กระบิดินเกิดขึ้นในเวลาต่อมา  กระบิดินนั้นทรงเปรียบเทียบว่าลักษณะคล้ายเห็ด  แล้ววิวัฒนาการจากกระบิดินมาเป็นเครือดิน  เครือดินลักษณะคล้ายผลมะพร้าว  เป็นการระบุถึงวิวัฒนาการของพืชคือ  เกิดผลไม้ขึ้นเป็นอาหารของมนุษย์และจุดสุดท้ายก็มีธัญญพืชเกิดขึ้น คือเกิดข้าวสารีที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารหลักในการยังชีพ

ข้อความตอนท้ายแห่งอัคคัญญสูตรมีการแสดงไว้ว่า  เมื่อมีข้าวสารีเป็นอาหารหลักเกิดขึ้นแล้ว  ต่อมาก็ปรากฎเพศหญิงเพศชาย ความหยาบกระด้างของกาย  ความทรามของผิวพรรณปรากฎมากขึ้น  เมื่อเพศหญิงเพศชาย  เผชิญหน้ากันก็เกิดความพอใจ  ความรู้สึกรักระหว่างเพศก็เกิดมากขึ้นและมีการสมสู่กันในที่สุด  ตอนแรกการสมสู่กันเป็นที่รังเกียจในหมู่พวกเดียวกันและมีบทลงโทษ 

ต่อมาภายหลังสัตว์นั้นเกิดละอายจึงรู้จักการสร้างบ้านเพื่อปกปิดซ่อนเร้นพฤติกรรมดังกล่าว  เกิดรู้จักการสะสมอาหารไว้บริโภคหลาย ๆ วัน  มีการแบ่งที่ดินครอบครองกันในแต่ละคราว  เมื่อมีเหตุแห่งการครอบครอง ความหมายว่าทรัพย์สมบัติของสัตว์จึงเกิดขึ้น  ความสุจริตและทุจริตก็เกิดขึ้น  เมื่อมีขโมยเกิดขึ้น  และมีการลงโทษผู้ขโมย  ต่อมามีการเลือกตั้งหัวหน้าเพื่อทำหน้าที่ปกครองหมู่คณะและพิจารณาบทลงโทษพิพากษาคดี ให้ความเป็นธรรมแก่พวกสัตว์ โดยเฉพาะเรื่องการลักขโมย  เกิดบุคคลประเภทหัวหน้าผู้สูงศักดิ์ขึ้น  และเกิดวรรณะ  กษัตริ์  แพศ์  พราหมณ์  ศูทร์ ทั้ง ๔ก็เกิดตามมา 

ในตอนสุดท้ายของเรื่องนี้  พระพุทธองค์ตรัสว่า  ความแตกต่างของมนุษย์เกิดขึ้นเพราะการกระทำและความประพฤติเท่านั้น  ชาติกำเนิดไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ถึงความดีและเลวของมนุษย์ได้และหมู่สัตว์เหล่านั้นจะดีเลวก็ด้วยการกระทำของตนเองเป็นไปตามอำนาจแห่งการกระทำดังนี้.

ฉะนั้น  สาระสำคัญ อันเป็นความรู้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้น  ย่อมเน้นความเป็นเหตุและผลของกันและกัน ดังในปฏิจจสมุปบาท ว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นและดับไปด้วยเพราะเหตุปัจจัยเป็นตัวกำหนด ไม่ใช่อย่างที่คำสอนในศาสนาอื่น ๆ  เช่น  ศาสนาคริสต์  โดยสอนในลักษณะความเชื่อแบบเทวนิยม  สอนว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์สรรพสิ่งทั้งหลายรวมทั้งกำเนิดมนุษย์ด้วย เป็นต้น

การไปอุบัติในนรกและสวรรค์.

สาเหตุสำคัญที่ทำให้บุคลไปอุบัติในนรกและสวรรค์ก็คือ การประกอบกุศลกรรมคือ ประพฤติสุจริต และประกอบอกุศลกรรมคือ ประพฤติทุจริต ทางกาย วาจา ใจ อนึ่ง ในหนังสือทาง ๗ สาย (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) ได้แสดงถึงการกระทำของแต่ละชีวิตไม่ว่าดีหรือชั่ว เป็นเหตุให้ได้กำเนิดต่างกัน กล่าวคือ

๑.คนที่มีโทสะมาก  จะได้กำเนิดเป็นสัตว์นรก

๒.คนที่มีโลภะมาก  จะได้กำเนิดเป็นเปรตอสุรกาย

๓.คนที่มีโมหะมาก  จะได้กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

๔.คนที่รักษาศีล ๕ และกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ  จะได้กำเนิดเป็นสัตว์มนุษย์

๕.คนที่มีมหากุศล ๘ เช่น ให้ทาน ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น  จะได้กำเนิดในสวรรค์

๖.คนที่เจริญสมถภาวนา จนได้บรรลุฌานและไม่เสื่อมจากฌาน  จะได้กำเนิดในพรหมโลก

๗.คนที่บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา จนบรรลุอริยผล  จะถึงความดับทุกข์ คือ นิพพาน.

จะเห็นได้ว่าทาง ๗ สายนี้ คนจะดีหรือเลวย่อมเป็นไปตามอำนาจ ของการกระทำของตนเองเท่านั้น มีการให้ผลที่แตกต่างกัน และพระพุทธศาสนายกย่อง “ภาวนา “ ว่าดีที่สุด เพราะเป็นปัจจัยให้บรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ส่วนในคริสต์ศาสนา ความดีระดับที่เป็นไปเพื่อการมีชีวิตอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าชั่วนิรันดร์ หรือความดีระดับใดที่จะต้องไปอยู่ในแดนชำระบาปก่อน  ก่อนที่จะได้รับการพิพากษาครั้งสุดท้าย แต่ถึงกระนั้นคัมภีร์ของคริสต์ศาสนา ก็ยังระบุไว้ชัดเจนว่าต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งศาสนา โดยเฉพาะบัญญัติข้อที่ว่า “ จงรักพระผู้เป็นเจ้าของเจ้าอย่างหมดหัวใจ มีกำลังและความคิดอยู่เท่าไร ก็ให้รักพระผู้เป็นเจ้าจนหมดสิ้น และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ” และปฏิบัติตามกฏบัญญัติต่าง ๆ นี้ ไม่ใช่เพื่อตัวกฏบัญญัติเอง ซึ่งมักจะทำกันตามตัวอักษร หากแต่ปฏิบัติด้วยชีวิตจิตใจ (spirit ) ความดีความชั่วไม่ได้วัดกันที่การกระทำอย่างเดียว แต่วัดที่เจตนาและความนึกคิดด้วย ดังนั้น บัญญัติแห่งความรักเป๋นบัญญัติที่พระเยซูได้เน้นให้เห็นว่าเป็นบัญญัติที่สำคัญที่สุด ชีวิตและคำสอนของพระองค์อาจสรุปได้ด้วยบัญญัตินี้ ทรรศนะของคริสต์จึงถือว่าระดับของความดีนั้นวัดกันที่การกระทำซึ่งประกอบด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์

คริสต์ศาสนา สอนว่าในโลกมีคนเลวปะปนอยู่กับคนดี ทั้งคนดีและคนเลวมาจากพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน แต่พระผู้เป็นเจ้ามิได้ตั้งพระทัยจะสร้างให้เลว พระองค์ตั้งพระทัยให้ดีทุกคน แต่ทรงต้องการให้ดีมาก ๆ จึงให้มีใจเสรี บางคนใช้เสรีภาพเลือกทางผิด ถึงขั้นขัดกับความดีของพระผู้เป็นเจ้า จึงเป็นคนเลว กลายเป็นศัตรูกับพระผู้เป็นเจ้าไปเสีย ลูกของพระผู้เป็นเจ้ากับศัตรูของพระองค์ จึงอยู่ปะปนกันในโลกนี้ โลกนี้จึงเป็นแดนของสองนคร ซึ่งไม่มีอาณาเขตแน่นอน เพราะอาณาเขตอยู่ในจิตใจของแต่ละคน ซึ่งอาจจะเปลี่ยนใจเมื่อใดก็ได้ สองนครดังกล่าวได้แก่นครของพระผู้เป็นเจ้า (the city of god) และนครของโลกนี้ (the city of this world) สมาชิกของนครของพระผู้เป็นเจ้าอาศัยโลกนี้เพื่อสร้างความดี จะได้มีกุศลไปสวรรค์  ส่วนสมาชิกของนครของโลกนี้ไม่คิดถึงชีวิตหน้า คิดแต่เพียงให้มีความสุขในโลกนี้ไปแค่ชั่วชีวิตนี้เท่านั้น ไม่สนใจประกอบทำดีสร้างกุศล มุ่งหาแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลินโดยไม่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษใด ๆ ทั้งสิ้น คนดีตายแล้วจะได้ไปสวรรค์ ส่วนคนเลวตายไปจะต้องตกนรก คนดีที่ยังชดใช้กรรมยังไม่หมด จะต้องใช้กรรมในแดนชำระ (purgatory) จนหมดสิ้นเสียก่อนจึงได้ไปสวรรค์

.ทฤษฎีวิวัฒนาการคืออะไร

ทฤษฎีทางโลก ในศตวรรษที่ ๑๙ เกิดหลักการที่มีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์  ปรัชญา และศาสนามาก เราเรียกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการ ( evolution ) ซึ่งมีหลักการว่าองค์อวัยวะของสิ่งมีชีวิตได้เจริญเติบโตมาก็โดยเนื่องมาจากปฏิบัติการทางธรรมชาติเป็นเหตุจากรูปแบบง่ายๆ ในระยะเริ่มแรก  และต่อมาก็ไม่มีชาติพันธ์ใดจะคงที่อยู่เหมือนเดิม โดยไม่เปลี่ยนแปลง  นักปรัชญายอมรับความเป็นไปได้ของทฤษฎีนี้

เฮแรคลิตุส ได้ย้ำว่าความเจริญและความเปลี่ยนแปลงสถิตอยู่ในระบบหรือขบวนการของจักวาล  ในขณะที่ลูคริตุส  ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในจักวาลมีรากฐานที่ระบบ ปรมณูและแรงผลักดันที่มีเหตุจากธรรมชาติ

ในระหว่างศตวรรษที่๑๘ นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่า สัตร์ชนิดต่างๆ อาจมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน และสิ่งแวดล้อมได้มีผลทำให้สัตว์ตระกูลต่างๆ เหล่านั้นแตกต่างกันออกไปในศตวรรษต่อมาก็มีคนพิสูจน์เรื่ององค์ประกอบและมิใช่องค์ประกอบที่มีผลจากธรรมชาติ  ในหนังสือ principles of geology แสดงว่าก่อตัวขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปโดยตัวแทนทางธรรมชาติ  ในขณะเดียวกันในปี(ค.ศ. ๑๘๐๒) พ.ศ ๒๓๔๕ จีน แบบตีส เดอร์ ลามาร์ค(ค.ศ๑๗๔๔–๑๘๒๙)

ยืนยันว่าทุกอวัยวะ ( องคาพยพ ) มีแนวที่จะสร้างอวัยวะใหม่ขึ้น  เพื่อปรับตนเองใให้เข้ากับปัจจัยทางธรรมชาติที่เปลี่ยนไปด้วยการพัฒนา  อวัยวะเป็นเครื่องวัดถึงประโยชน์ของมัน  การเปลี่ยนรูปร่างอวัยวะ  ถูกแปรออกมาทางพันธุกรรมตามบรรพบุรุษ  รูปร่างก็เปลี่ยนไปด้วย

lamark ได้ยกตัวอย่าง  ยีราป  ซึ่งพัฒนาคอของมันให้ยาวเพื่อกินใบไม้และต้นไม้ที่สูง ๆ ได้  ช่วงชีวิตหนึ่ง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยต่อรุ่นในเวลาต่อมา

ผู้ที่ให้เกิดความฮือฮามากที่สุดคือนักวิทยาศาสตร์ชื่อ  ชารลส์  ดาร์วิน(charles  dawiค.ศ.๑๘๐๙–๑๘๘๒) เขาได้สรุปหลังจากได้สังเกตเป็นเวลาหลายปี  ระหว่าง ค.ศ.๑๘๓๑–๑๘๓๖)

โดยศึกษาโครงกระดูก  ซึ่งรวบรวมได้จากการเดินทาง  บิแองเกิล โดยอาศัยชายฝั่งอเมริกาใต้ และ

ทะเลใต้ เขาได้รับแรงบันดาลจากหนังสือ ๒ เล่ม คือ

๑.priciples of geology by lyell

๒.essay on population by robert malthus

ซึ่งถือว่า  ความเปลี่ยนแปลงทุกอย่างมาจากธรรมชาติ natulal causes และการขยายตัวขอประชากรมนุษย์ และการผลิตอาหารไม่เพียงพอมีผลต่อธรรมชาติทั้งปวง  ดาร์วินได้เขียนหนังสือชื่อว่า  on the origin of species by means of natural selection, or the presentation of favoeced races in the struggle for life.(การศึกษากำเนิดมนุษย์โดยสะสมโครงกระดูกตามธรรมชาติ  หรือการรักษาชาติพันธ์ด้วยการต่อสู้เพื่อชีวิตคงอยู่)

เรื่องจักรวัตติสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาจักรพรรดิ์พระนามว่า ทัลหเนมิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว

คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วน กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตราครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต

ครั้งนั้น โดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลาย พันปี ท้าวเธอตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พึงบอกแก่เราในกาลนั้นทีเดียว

บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว  โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ฯ

ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มา รับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ใด ถอย เคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นานในบัดนี้ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทรเป็นขอบเขตนี้  ฝ่ายพ่อจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ  ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ก็เมื่อพระราชฤาษี (กษัตริย์ผู้เป็นพระบิดา ) ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว

ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่  ซึ่งได้สถาปนายกขึ้นเป็นกษัตริย์ แล้ว ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว

ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยพระองค์จึงเสด็จเข้าไปหา พระราชฤาษีผู้เป็นพระราชบิดาถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลพระบิดาพึงทรงทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว  เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอ  อย่าเสียใจ ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไป ดูกรพ่อ ด้วยว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์หาใช่สมบัติสืบมาจากบิดาของพ่อไม่  ดูกรพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด

เมื่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏมีแก่พ่อผู้สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชโอรสผู้เป็นกษัตริย์  จึงทูลถามว่า  ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน ฯ

พระราชฤษีตอบว่า. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม

ทำความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัยมีธรรมเป็นยอดมีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรม  ในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ในพวกพราหมณ์และคฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในอาณาเขตและนอกอาณาเขต อธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย

อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่อ งดเว้นจากความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบ ตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นโดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร  กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรมอะไรควรเสพ กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อประโยชน์

  เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้น ดูกรพ่อนี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น ฯ

เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้ทรงรักษาอุโบสถในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ

  มีพระดำริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง มีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้ราชาภิเษก แล้วถืออุโบสถ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เราได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิ์หรือหนอ ฯ

ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจากพระที่นั่งแล้วทรงทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้าด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัสว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐจงเป็นไปเถิด ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางทิศบูรพา พระเจ้าจักรพรรดิ์พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาพากันเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักรเหล่านี้ เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด มหาราชเจ้า ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า

  พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์

  ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้

  ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

  ไม่พึงกล่าวคำเท็จ

  ไม่พึงดื่มน้ำเมา

  จงบริโภคตามเดิมเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาได้พากันตาม เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นลงไปสู่สมุทร ด้านบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทักษิณ แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จติดตามไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา

พระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมก็พากันเสด็จ เข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้าพระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้นมหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า ตามนัยเบื้องต้นที่ได้แสดงไว้แล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไป ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้ชนะวิเศษยิ่งซึ่ง แผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตได้แล้ว จึงกลับคืนสู่ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตูพระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือนเครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราวสว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระราชวังของท้าวเธอ ฯ

แม้กษัตริย์พระองค์ต่อมา  ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ที่ ๒ ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดีองค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์ที่ ๗ ก็ดี ก็ล้วนปฏิบัติพระองค์เหมือนกันตลอดมาโดยกาลล่วงไป หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์เคลื่อนจากที่แล้ว ได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์ใด ถอยเคลื่อนออกจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน

สาเหตุแห่งความเสื่อมของโลก

กษัตริย์พระองค์ต่อมาทรงปกครอง ประชาราษฎร์ ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร ประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไปเหมือนเก่าก่อน  เมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ ครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่าเมื่อพระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้าราชบริพาร โหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อมทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และประชาราษฎร์ เหล่าอื่นด้วย ทรงจำจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้อยู่ ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าอันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลถวายพระองค์ฯ ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครอง อันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่นไปเขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เมื่อกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้

ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ

บุรุษ.  จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พระราชา.  เพราะเหตุไร ฯ

บุรุษ  . เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ

ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยาจงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด แต่บรรดาบุรุษทั้งหลายเห็นพระราชาจับขโมยได้แล้วปล่อยไป

เขาได้ยินมา จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้เราทั้งหลายก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ลำดับนั้น บุรุษทั้งหลายได้ประพฤติตนเป็นขโมยได้เกิดมีจำนวนมากขึ้นบุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษผู้ประพฤติตนเป็นขโมยนั้นได้เรื่อย ๆลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวีขึ้นด้วยประการอย่างนี้ จึงสั่งประหารชีวิตขโมยนั้น โดยการตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า ท่านจงเอาเชือกมัดบุรุษนี้ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ออกทางประตูด้านทักษิณ นอกพระนครทิศทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะเสีย

คนทั้งหลายได้ ยินมาว่า พระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นตัดศีรษะพวกเขาเสีย เพราะได้ฟังมาอย่างนั้น  พวกเขาจึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย พวกเราที่เป็นขโมย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตราอย่างคม  ปล้นเอาทรัพย์ของผู้อื่น แล้วจับมัดให้แข็งแรงตัดศีรษะพวกมันเสีย

ครั้นแล้ว  จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนนหนทางบ้าง คุมตัวบุคคลที่พวกเขาจักขโมยเอาทรัพย์ไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัดศีรษะบุคคลที่ตนปล้นนั้นเสีย ดังนี้ฯเมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย  ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย  เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอยเมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี

ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปีบุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดง แก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าบุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่เป้นต้น

  เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อาย ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ฯ

เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่งจึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้มูรธาภิเษกเป็นการส่อเสียดว่าพระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์ ของคนอื่นไป ฯ

เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี ฯ

เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดีก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น ด้วยประการดังพรรณนามานี้  เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการก็เกิดขึ้นคือผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลายแม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ

เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลายแม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ

เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลายแม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯ

  เมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคืออธรรมราคะ๑วิสมโลภ ๒มิจฉาธรรม ๓- ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลายแม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี

เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย ฯ

สรุปว่าเมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลายมุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความ แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลายอภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลายธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย

เชิงอรรถ:- (๑)ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม (๒) ความโลภไม่เลือก (๓) ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา

เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้  ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งน้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี เปรียบเหมือนข้าวสุกข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล

เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และได้รับการสรรเสริญเหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ในบัดนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน  แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อศัสตราทั้งหลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้ และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไปเขาพากันออกจากป่าหญ้าป่าไม้ ระหว่างเกาะ ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ ๆ ดังนี้.

เหตุแห่งความเจริญของโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระนั้นเลยเราควรทำกุศลควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้างจักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ

ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจากอทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาทควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรมอย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดาปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปีจักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปีจักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก

ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น

ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นราชธานีเป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์

มีพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขตทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว๑ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง

ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขตฯ

สรุปความเจริญของอายุมนุษย์

ความเจริญของอายุ หรืออายุยืนนั้น คือมนุษย์หันมาบำเพ็ญกุศลกรรมบททั้ง ๑๐ เป็นเหตุให้มีอายุยืนยาวโดยไม่ดับสังขารก่อนเวลาอันควรซึ่งตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบททั้ง๑๐

กุศลกรรมบท ๑๐

๑.ปาณาติปาตา เวรมณี  เจตนาเครื่องงดเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป

๒.อทินนาทานา เวรมณี  เจตนาเครื่องงดเว้นการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

๓.กาเมสุ มิจฉาจารา  เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔.มุสาวาทา เวรมณี  เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ

๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อเสียด

๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี  เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบ

๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี  เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๘.อนภิชฌา    ความไม่โลภอยากได้ของเขา

๙.อัพยาบาท  ความไม่ปองร้ายเขา

๑๐.สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ

เพราะประพฤติกุศลกรรมบท๑๐เป็นเหตุให้สัตว์มีอายุยืนยาว ไม่สิ้นไปก่อนอายุขัยอันควร.

อกุศลกรรมบท ๑๐

๑.ปาณาติบาต  การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป

๒.อทินนาทาน  การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

๓.กาเมสุมิจฉาจาร  การประพฤติผิดในกาม

๔.มุสาวาท    พูดเท็จ

๕.ปิสุณาวาจา  พูดส่อเสียด

๖.ผรุสวาจา    พูดคำหยาบ

๗.สัมผัปปลาป  พูดเพ้อเจ้อ

๘.อภิฌา    ความโลภอยากได้ของเขา

๙.พยาบาท    ความปองร้ายเขา

๑๐.มิจฉาทิฏฐิ  ความเห็นผิด

เพราะประพฤติ อกุศลกรรมบท๑๐นี้เป็นเหตุให้สัตว์มีอายุสั้นก่อนอายุขัย. (ที.ป.๑๑/๓๕๙/๑๗๔/)

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสันถันรตรกัป สิ้น ๗ วัน มนุษย์จักสำคัญกันและกันว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้งหลายอันคม จักปรากฎในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่าเนื้อ

ครั้งนั้นเหล่าสัตว์บางพวกมีความคิดว่า พวกเราอย่าฆ่าใคร ๆ และใคร ๆก็อย่ามาฆ่าเรา ว่าดังนั้นแล้วจึงพากันเขาไปหลบตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิต ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไปจึงพากันออกจากที่ซ่อนแล้วต่างสวมกอดกันและจักขับร้องปลอบใจกันในที่ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่ เหตุเพราสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล ต่อนี้ไป เราควรทำกุศล คือ งดเว้นจากปาณาติบาต  จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม พวกเขาจึงเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์เหล่านั้นที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอ

 

๑๐.มิจฉาทิฏฐิ  ความเห็นผิด

เพราะประพฤติ อกุศลกรรมบท๑๐นี้เป็นเหตุให้สัตว์มีอายุสั้นก่อนอายุขัย. (ที.ป.๑๑/๓๕๙/๑๗๔/)

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสันถันรตรกัป สิ้น ๗ วัน มนุษย์จักสำคัญกันและกันว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้งหลายอันคม จักปรากฎในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่าเนื้อ

ครั้งนั้นเหล่าสัตว์บางพวกมีความคิดว่า พวกเราอย่าฆ่าใคร ๆ และใคร ๆก็อย่ามาฆ่าเรา ว่าดังนั้นแล้วจึงพากันเขาไปหลบตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิต ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไปจึงพากันออกจากที่ซ่อนแล้วต่างสวมกอดกันและจักขับร้องปลอบใจกันในที่ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่ เหตุเพราสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล ต่อนี้ไป เราควรทำกุศล คือ งดเว้นจากปาณาติบาต  จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม พวกเขาจึงเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์เหล่านั้นที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ต่อมาสัตว์เหล่านั้นมีความคิดว่า พวกเราจักเจริญกุศลอะไรต่อไป พวกเขาจึงเจริญกุศลเหล่านี้คือ งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากปิสุณวาจา งดเว้นจากผรุสวาจา งดเว้นจากสัมผัปปลาป ละอภิฌา ละพยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คือ

๑.อธรรมราคะ

๒.วิสมโลภะ

๓.มิจฉาธรรม

แม้กระนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงคิดต่อไปว่า พวกเราควรปฏิบัติชอบในท่านเหล่านี้ คือ

๑.ควรปฏบัติชอบในมารดา

๒.ควรปฏิบัติชอบในบิดา

๓.ควรปฏิบัติชอบในสมณะ

๔.ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์

๕.ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล

๖.ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ

เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุ ด้วยวรรณะ เป็นเหตุให้บุตรของสัตว์เหล่านั้นมีอายุยืนขึ้น ดังนี้

บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุถึง ๔๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอสยุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒,๐๐๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ปี

บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง๘๐,๐๐๐ปี”

ฉะนั้นในอรรถกถา ปรมัตถโชติกา กล่าวถึงศีลข้อปาณาติบาตว่า….“ปาณาติบาต เวรมณี เมื่อสมาทานแล้วประพฤติในข้อนี้ ย่อมทำให้เป็นผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยสมบูรณ์ ความมีสมบัติต่าง ๆ คือความสูงใหญ่ เชาว์ว่องไว ความมีเท้าตั้งอยู่เรียบดี ความงาม ความนุ่มนวล ความสะอาด ความกล้า ความมีกำลังมาก ความมีวาจาสละสลวย ความเป็นที่รักของชาวโลก ความมีวาจาไม่มีโทษ ความมีบริษัทไม่แตกกัน ความมีความองอาจ ความมีรูปไม่บกพร่อง ความเป็นผู้ไม่ตายด้วยศัตรู ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นผู้มีรูปงาม ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี ความมีโรคน้อย ความไม่เศร้าโศก ความไม่พลัดพรากจากสัตว์สังขารที่รักที่พอใจ ความมีอายุยืน  และในอรรถกถา ปรมัตโชติกาความมีอายุยืนนั้น เป็นผลมาจากการไม่ฆ่าสัตว์รวมถึงการไม่กักขังหน่วงเหนี่ยวหรือทรมานสัตว์ใด ๆ ทั้งสิ้น.”

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่

พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพันเหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น  ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้าคนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จักทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฐธรรมเทียว.

ภิกษุควรมีธรรมเป็นที่พึ่งอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่  ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่

  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาฯ

  พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

  พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย อันสืบมาจากบิดาของตน

เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร

  เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธานสังขาร

  เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร

  เจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร

  เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร

เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ นี้แลอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร

  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้แลอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร

  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไปไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องสุขของภิกษุ ฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร

  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน

กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ

เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน นี้แลอธิบายในเรื่องโภคะของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร

  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียวเข้าถึงอยู่ นี้แลอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้

จบ จักกวัตติสูตร

สรุปเนื้อหาในจักกวัตติสูตร

ความเสื่อมของอายุสัตว์

สิ่งสำคัญในเนื้อหาของจักกวัตติสูตร  จะเห็นได้ว่าอายุของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น  มีความเจริญถึงขั้นสูงสุดคือ ๘๐,๐๐๐ ปี  ต่อมาอายุก็เสื่อมถอยลงมาเรื่อย ๆ จนถึงขั้นต่ำสุดคือ ๑๐ ปี  ซึ่งมูลเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้อายุเสื่อมนั้น  คือสัตว์เหล่านั้นได้กระทำปาณาติบาต  สิ่งที่ทำไปนั้นบั่นทอนอายุสัตว์ให้สั้นลง  ด้วยการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน  โดยเมื่อสัตว์ได้ทำความผิด  เพราะสัตว์เหล่านั้นลงมติตามความเห็นของ ๆ ตนว่าเป็นความผิดดังนั้น สัตว์ทั้งหลายบางพวก  จึงทำตามอย่างบ้างและอีกเหตุผลหนึ่ง  เพราะหัวหน้าสัตว์ (พระราชา ) ประพฤติธรรมทุจริต ไม่ดำเนินตามรอยพระราชาองค์ก่อน ๆ ที่ประพฤติอยู่ในธรรมสุจริต เช่น  การที่พระราชาไม่พระราชทานทรัพย์แก่คนไม่มีทรัพย์  ความขัดสนก็ถึงความแพร่หลาย เกิดลักขโมยทรัพย์ของคนอื่น  พระราชาจับได้  ขโมยนั้นเกิดความไม่พอใจพระราชาที่ไม่พระราชทานทรัพย์แก่คน  ซึ่งในอดีตพระราชาองค์ก่อน ๆ ได้พระราชทาน เหตุนั้นในเวลาต่อมาความขัดสนได้แพร่สะพัดไปทั่วแก่คนทั้งหลาย ครั้นถูกจับได้จึงแสดงอาการส่อเสียดต่อพระราชาพระองค์นั้น  และด้วยความขัดสนนี้เอง เป็นสาเหตุให้เกิดขโมยมากขึ้น อทินนาทานจึงเกิดขึ้นเป็นปัจจัยให้ใช้ศัสตรา(อาวุธ)ทำลายกันแพร่หลาย เพราะไม่พอใจต่อพระราชาดังได้บรรยายไว้แต่เบื้องต้น ต่อมามุสาวาท ปิสุณาวาจาก็ถึงความแพร่หลาย อายุของมนุษย์จากอายุ ( ๒๐,๐๐๐ ปี ) ถอยลงมาที่ ๑๐,๐๐๐ ปี

ในระหว่างอายุ ๑๐,๐๐๐ ปีนี้ มนุษย์ได้เกิดความดูหมิ่นกัน  เรื่องผิวพรรณดีและไม่ดี จึงแบ่งเป็น ๒ พวกก่อน  ต่อมาก็ประพฤติล่วงเกินในภรรยาของคนอื่น ( ที.ป.๑๑/๔๒–๔๔/ )จึงเป็นสาเหตุให้อายุถึงความถอยลงมาที่ ๕,๐๐๐ ปี

ระหว่างอายุของมนุษย์มาอยู่ที่ ๕,๐๐๐ ปี ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปก็เกิดขึ้น อายุของมนุษย์จึงถึงความถอยลงมาที่ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกก็มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี

ในเมื่อมนุษย์มีอายุเฉลี่ยระหว่าง ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาทก็ได้เกิดขึ้น ทำให้อายุถึงความถอยลงมาที่ ๑,๐๐๐ ปี  ระหว่างอายุเฉลี่ย ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ) ก็บังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย  จึงทำให้อายุถึงความถอยลงมาที่ ๕๐๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุเฉลี่ย ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการ ก็บังเกิดขึ้น คือ

  อธรรมราคะ (ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม)

  วิสมโลภะ (ความโลภไม่เลือก)

  มิจฉาธรรม(ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา)

ธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย อายุของมนุษยจึงถึงความถอยลงมาที่ ๒๕๐ บ้าง ๒๐๐ ปีบ้างในระหว่างที่มนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปีนั้น ธรรมเหล่านี้ได้เกิดขึ้น คือ ความไม่ประพฤติชอบในมารดาบิดา สมณ พราหมณ์  ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ได้ถึงความแพร่หลายไปทั่ว ด้วยสาเหตุนี้ อายุของมนุษย์จึงถึงซึ่งความถอยลงมาที่ ๑๐๐ ปี (ที.ป.๑๑/๔๕/๖๑/)

สาระสำคัญ

พึงเห็นได้ว่า ในยุคปัจจุบันนี้มนุษย์มีอายุเฉลี่ยประมาณ ๑๐๐ ปีเท่านั้น การที่จะได้เห็นคนที่มีอายุเกินกว่านี้ไปมาก ๆ พึงเห็นได้ยากเต็มที ในปฐมอายุสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

“อปฺปมิทํ  ภิกฺขเว มนุสฺสานํ อายุ, คมนีโย, สมฺปราโย, กตฺตพฺพํ กุสลํ  จริตพฺพํ พฺรหฺมจริยํ, นตฺถิ  ชาตสฺส อมรณํ. โย ภิกขเว จิรํ ชีวติ. โส วสฺสสตํ อปฺปํ วา ภิยโยติ.”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก  จำต้องไปสู่สัมปรายภพควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนที่เป็นอยู่นาน ย่อมเป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือจะอยู่เกินไปบ้าง ก็มีน้อย.” (สํ.ส.๑๕/๑๔๕/๑๓๐/)

จากเนื้อความในคัมภีร์พระสุตตันปิฎก สมัยพุทธกาล เราจะเห็นได้ว่า ยังมีภิกษุและบุคคลที่มีอายุมากเกินกว่า ๑๐๐ ปี เช่น พระกุลเถระอายุ ๑๖๐ ปี พระอนุรุทธเถระอายุ ๑๕๐ ปี พระอานนท์ พระมหากัสสป  วิสาขาอุบาสิกา โสณพราหมณ์ โปกรสาติพราหมณ์ล้วนมีอายุ ๑๒๐ ปี เป็นต้น

ฉะนั้นในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า…

“ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและประณีตได้”  (ม.อุ.๑๔/๕๘๑/๓๒๓–๓๒๘/)

เมื่อความเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ยังปรากฎอยู่ มนุษย์ทำปาณาติบาต เป็นผู้มีนิสัยชอบเบียดเบียน ไม่ประกอบด้วยไมตรี มีใจเหี้ยมโหด  ถือศัสตราเป็นเครื่องมือใช้ประหัตประหารเพราะการกระทำนั้น จัดเป็นกรรมที่เลว จึงเป็นเหตุให้มนุษย์มีอายุถึงซึ่งความถอยและลงสั้นลงมาตามลำดับ ดังในอรรถกถาสุภสูตรว่า

“อปฺปายุกสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา ยทิทํ ปาณาติปาตี” ความว่า กรรมในการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงนี้ใด นั้นปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.(องฺ.ทสก.๒๓/๒๖๓–๒๖๕/)

ในกาลอันยืดยาวนานล่วงไปอายุของมนุษย์ถึงความถอยลงมาที่ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักเป็นสามีภรรยากัน ขาดความเคารพให้เกียติแก่กัน แม้แต่อาหารก็ปรากฎเปลี่ยนแปลงไปจากอาหารที่เคยกิน คือ เนยบใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งน้ำอ้อย เกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ต่อมาอาหารที่ดีที่สุด คือ หญ้ากับแก้เท่านั้น เปรียบเหมือนข้าวสารีสุกระคนด้วยเนื้อเป็นอาหารอย่างดีในบัดนั้น

ระหว่างมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปีนี้ กุศลกรรมบท ๑๐ จักอันตรธานหายไปสิ้น และอกุศลกรรมบท๑๐ จักถึงซึ่งความเจริญรุ่งเรืองเหลือเกิน แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มีปรากฎอีกต่อไป แล้วคนทำกุศลจักมีมาแต่ไหน คือ เมื่อมนุษย์อายุได้๑๐ ปีนั้น จักไม่ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา สมณะพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นจักได้รับการบูชา และกาสรรเสริญจากคนทั้งหลาย เหมือนปฏิบัติชอบในมารดาบิดา สมณะ พราหมณ์ การประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ในบัดนี้.

ในเมื่อมนุษย์มีอายุได้ ๑๐ ปีขณะนั้นเขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่พ่อ นี่น้า นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ นี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจึงถึงความสู่สมปะปนกันหมดเปรียบเหมือน แพะ ไก่ สุกร สุนักบ้าน สุนักจิ้งจอก ฉะนั้น ตอนนั้นสัตว์เหล่านี้ต่างก็จะเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน”

ฉะนั้นจะเห็นว่าสภาพของมนุษย์ในพระสูตร เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของโมหะ เพราะไม่เห็นแจ้งในพระสัจธรรม มีไฟ คือโมหะเผาผลาญอยู่ จึงไม่รู้จักแม้แต่พ่อ แม่ พี่ น้อง ครู อาจารย์ ซึ่งท่านผู้เหล่านี้มีคุณหาประมาณมิได้ เป็นยุคที่มนุษย์ไร้ศีลธรรม นำพาชีวิตไปสู่ความมีอายุสั้น ตราบใดเหล่าสัตว์มีความมืดบอดไม่เห็นศีลธรรม ตราบนั้นสัตว์ก็คงยังเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ตลอดกาลอันยาวนานอยู่นั่นเอง.

  ที่มาพระกฤษดา  ธมฺมโฆสโก

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท