กว่าจะเป็น..สถานศึกษาพอเพียง


ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ผมศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหาของโรงเรียน พบ "วิกฤติ"หลายอย่าง อาทิ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ไม่มีเลย สภาพพื้นดินเป็นดินดานปลูกพืชไม่งอกงาม และมีสระน้ำ แต่ใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการได้ค่อนข้างน้อย

ปี พ.ศ.๒๕๕๐ เริ่มเรียนรู้และหาแนวทางพัฒนาสถานศึกษาอย่างจริงจัง แต่ด้วยบุคลากรและงบประมาณ ทุกอย่างก็ทำไม่ได้อย่างใจ ปรับเปลี่ยนเป็นค่อยๆทำไปจะดีกว่า หลายอย่างที่พลิก "วิกฤติให้เป็นโอกาส" เช่น แกล้งดิน โดยการผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกลงไป นำขี้วัวและเศษอาหารมาทำแก๊สชีวภาพ กวาดใบไม้มากองรวมกัน ไม่ต้องเผา แต่คลุกขี้วัว แล้วราดด้วยอีเอ็ม รวมทั้งขุดบ่อดินปูพลาสติกใส่น้ำแล้วเลี้ยงปลาดุกนับร้อยตัว



จำได้ว่าตอนนั้น ทำงานสนุกมาก ทั้งครูและนักเรียนออกมาปฏิบัติเรียนรู้นอกห้องเรียน เราเห็นพัฒนาการของแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น..

ผู้นำชุมชนและผู้ปกครอง ที่เคยเงียบเหงาจางหาย เริ่มกลับเข้าสู่รั้วสถานศึกษา "ความศรัทธา"ของพวกเขา ทำให้การทำงานแบบมีส่วนร่วมง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน เราก็เดินหน้าต่อ ทั้งในเรื่อง การทำนา ทำแปลงผักปลอดสารพิษ โดยเดินท่อส่งน้ำมาจากสระของโรงเรียน และปรับปรุงสวนสมุนไพร ตลอดจนปรับปรุงกิจการสหกรณ์

ปีพ.ศ.๒๕๕๓ เขตพื้นที่การศึกษา ยกย่องให้เราเป็น "สถานศึกษาพอเพียง" แบบสมัครใจทำ (ก่อน) โดยไม่มีการประเมิน หรือยังไม่ต้องนิเทศ กำกับติดตาม มีโอกาสได้ไปจัดนิทรรศการทางวิชาการยังที่ต่างๆหลายครั้ง ปีพ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับการประเมินอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการที่ สพฐ.แต่งตั้ง โดยใช้เกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ และผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนแรกของ สพป.กจ.๔

ผมพูดให้เพื่อนครูและคณะที่มาศึกษาดูงานฟังเสมอ ว่า สถานศึกษาพอเพียง มิใช่ดูกันที่ว่า มีกิจกรรมเลี้ยงกบ เลี้ยงไก่ ปลูกผักเพาะเห็ด หรือ ทำนาทำสวน เท่านั้น แต่เขา(ควร)จะดูบริบทโรงเรียน กับการบริหารจัดการที่เป็นระบบ คือ การพัฒนางานการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการใช้แหล่งเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่มีการเรียนรู้(จริง)คู่การปฏิบัติ และคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากร ที่มุ่งมั่น ทุ่มเท เพื่อเด็กและองค์กร มีความอดทน อดกลั้น อดออม มากน้อยแค่ไหน

การทำงานการศึกษา ที่ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูต้องเป็นแบบอย่างให้ลูกศิษย์และชุมชน..ผมจึงมีความเชื่อส่วนตัวว่า หากครูยังมาสาย ไขว่คว้าแต่ความสุข สะดวก สบาย ไม่มีอุดมการณ์ ผลาญเงินหลวง... มุ่งแต่แสวงหาเงินกู้ทุกสถาบัน การศึกษาก็จอด และพอเพียงก็คงจบเห่..แน่นอน

จึง(อาจ) เป็นที่มาว่าทำไม โรงเรียนส่วนใหญ่ของ สพฐ. ไม่อยาก และไม่พร้อมรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง...

ณ วันนี้ ผมทำงานใน "สถานศึกษาพอเพียง" แล้ว (วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ จะไปรับเกียรติบัตรจาก รมต.ศธ. ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ ชลบุรี) กว่าจะมีวันนี้..ต้องผ่านการวางแผน ผ่านอุปสรรคและความเจ็บปวด.. แต่พอได้รับการยกย่อง กลับทำให้คิดว่า..เรามีดีพอไหม..เราจะรักษาสิ่งดีๆนี้ไว้นานแค่ไหน..และคุณภาพเด็กจะดีขึ้นได้อย่างไร...

ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.bannongphue.com















www.bannongphue.com


หมายเลขบันทึก: 512123เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2017 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ไม่มีโรงเรียนไหนดี...ถ้า...ผู้บริหารแย่

ไม่มีโรงเรียนไหนแย่...ถ้า...ผู้บริหารดี


เดินหน้าต่อไปให้ถึงฝั่งฝันนะท่านผอ.  เอาใจช่วยจ้ะ

  • อยากมาเที่ยวชมโรงเรียนครับ ...สมบูรณ์แบบมากครับ
  •  เหนื่อยมากนะครับกว่าจะเห็นเป็นอย่างนี้..
  • ปณิธิ ภูศรีเทศ

ขอบคุณ คุณมะเดื่อ มากครับ

ชอบเหมือนกัน ของครู ที่สอนการคิด วิเคราะห์ สุดยอดเลยแหละ

 ขอเอาใจช่วยนะครับ ท่าน ผอ.

เป็นแหล่งเสริมสร้างความสุข ความภาคภูมิใจให้คนทำงานค่ะ


มาชื่นชมและให้กำลังใจท่าน ผอ. นะคะ

  • สวัสดีค่ะ ผอ.
  • สบายดีค่ะ  แล้วผอ.เป็นอย่างไงบ้างค่ะ
  • ถ้ามีโอกาสจะไปเยี่ยมชม  สถานศึกษาพอเพียงนะค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับการบูรณาการเข้าสู่หลักสูณในท้องถิ่น. เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนทะลุไปสู่บริบทในชุมชน. เช่นเดียวกับการเรียนการสอนผ่านกิจกรรม โครงงาน ก็ถือเป้นการฝึกสมาธิ สู่ปัญญายนานแท

บื่นบมครับ

มาชื่นชมและให้กำลังใจ..พรุ่งนี้คงได้พบกันนะคะ..

สุดยอดจริง ๆ ค่ะ ผอ. ดีใจด้วยนะคะ

ขออภัยที่โพสช้าไปนิด  คือ โพสไม่ได้อ่ะค่ะ

นี่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะโพสได้หรืือเปล่า 

ภูมิใจเหลือเกินค่ะที่เด็กไทยได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจากฝีมือการบริหารงานที่ผ่านอุปสรรคมามากมายจากท่าน ผอ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท