ครูตั้ว
นาย จิตติศักดิ์ ตั้วชา วัฒน์วันทนา

หุ่นยนต์เอไอของเด็กไทย เฉือนคู่ แข่งคว้าที่ ๓ “เวิร์ล โรโบคัพ ๒๐๐๖”


หุ่นยนต์เอไอของเด็กไทย เฉือนคู่ แข่งคว้าที่ ๓ “เวิร์ล โรโบคัพ ๒๐๐๖”

ไทยรัฐ ปีที่ ๔๗ ฉบับที่ ๑๗๖๘๖ วันเสาร์ ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ 

          ทีมฟุตบอลหุ่นยนต์ไทย พลาสมา ซี สร้างประวัติศาสตร์ คว้าที่ ๓ ในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก ๒๐๐๖ (เวิร์ล โรโบคัพ ๒๐๐๖) จัดขึ้นที่ เมืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ ๑๔   ๒๑ มิ.ย. ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา โดยทีมพลาสมา ซี ตัวแทนประเทศไทยสามารถเอาชนะทีมฟิลด์ เรเจอร์ จากประเทศสิงคโปร์ที่เคยเป็นแชมป์เก่าครั้งที่แล้วไปด้วยสกอร์ ๒:๑ ชัยชนะครั้งนี้ ส่งผลให้ทีมพลาสมา ซีเป็นอันดับที่ ๑ ในทวีปเอเชีย และจะถูกจัดเป็นมือวาง ๑ ใน ๓ ของโลก ในการแข่งขันปีหน้าที่ รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาแน่นอน

          พลาสมา ซี ประกอบไปด้วยนิสิตชั้นปีที่ ๔ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน ๑๑ คน มีนางสาวนวรัตน์ เติมธนาสมบัติ เป็นกัปตันทีมในการแข่งครั้งนี้ ในส่วนผลงานการแข่งขันรอบแรกจากทีมหุ่นยนต์กว่า ๒๐ ทีม แบ่งเป็นสายเอถึงสายดี พลาสมา ซี เป็นที่หนึ่งในสายบีด้วยการชนะ ๓ เสมอ ๑ แพ้ ๑ พบกับทีมเต็งจาก เมืองลุงแซม ซีเอ็ม ดราดอน ในรอบรองชนะเลิศที่เอาชนะเด็กไทยไปด้วยสกอร์ ๗:๓ ทำให้ทีมพลาสมา ซี ต้องมาชิงอันดับที่ ๓ กับคู่ปรับเก่าจาก แดนลอดช่อง ฟิล์ด เรนเจอร์ โดยทีมชาติก็สามารถเฉือนคู่ปรับเก่าในรอบแรกได้สำเร็วคว้าที่ ๓ สร้างประวัติศาสตร์สำเร็จ 

          สำหรับการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ขนาดเล็กครั้งนี้ แต่ละทีมจะมีหุ่นยนต์ ๕ ตัว แข่งขันกันด้วยการใช้กฎของฟีฟ่า หุ่นยนต์ทุกตัวสามารถเตะ เดาะลูก และส่งบอลแบบอัตโนมัติ ผ่านการควบคุมของระบบ AI: Artificial Intelligence           การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ถือว่า เป็นการแข่งขันที่ยากที่สุดประเภทหนึ่ง เนื่องจากหุ่นยนต์ต้องทำงานอย่างอิสระ ปราศจากการควบคุมใดๆ จากมนุษย์ ทั้งนี้การควบคุมหุ่นยนต์อาศัยกล้องวีดีโอที่ติดเหนือสนามแข่งขัน ที่จะแยกแยะหุ่นแต่ละทีม ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วคำนวณทิศทางการเคลื่อนที่ และการตัดสินใจรับ-ส่ง บอล และทำประตูผ่านระบบ AI    

          ด้าน นายวิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ ประธานการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ในประเทศไทย กล่าวว่า ทีมพลาสมา ซี มีการทำงานเป็นทีมที่ดีเยี่ยม สามารถพัฒนาความสามารถของหุ่นให้รับ-ส่ง เลี้ยงลูกบอล กันหุ่นคู่ อีกทั้งพัฒนาให้หุ่นยนต์ยิงลูกเลียด และลูกโด่ง ผ่านการเขียนโปรแกรมแบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอที่ดีเยี่ยม รวมทั้งการปรับกลยุทธ์และปรับแผนการแข่งขันต่างๆ ได้ดี แม้คู่ต่อเป็นทีมจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ จะมีการพัฒนาหุ่นยนต์ของเขาให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม แต่เด็กไทยก็ยังสร้างผลงานได้ดีจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี

          ส่วน นายกานต์ โอสถานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายคุณภาพ บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวในฐานะผู้ให้การสนับสนุนหลักว่า ยินดีกับทีมพลาสมา ซี ที่คว้าอันดับที่ ๓ และรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม และขอเป็นกำลังใจให้ทีม รีเวนเจอร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในความพยายามเพื่อแข่งขัน และได้เป็นทีมสนับสนุนของทีมพลาสมา ซี โดยถือเป็นการแสดงความสามารถด้านวิชาการ การร่วมมือร่วมใจ และน้ำใจนักกีฬา ซีเกทหวังว่าทีมพลาสมา ซี ทีมรีเวนเจอร์ และทีมหุ่นยนต์อื่นๆ จะมีการพัฒนาความสามารถ รวมทั้งนำความรู้ ประสบการณืในการแข่งระดับโลกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 51212เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 02:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท