บทบาทหน้าที่บางส่วนของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี (RSO)


บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี (RSO) มีหลายอย่าง ทั้งนี้้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้รังสีในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค วันนี้ท่านที่ได้รับใบอนุญาต RSOได้ดำเนินการในส่วนใดไปแล้วบ้างคะ?

สวัสดีค่ะ  หลายวันก่อนได้ยินคำถามจากท่านอาจารย์ต้อม (รศ.เพชรากร หาญพานิชย์) เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี" หรือที่เรียกย่อๆว่า RSO (Radiation Safety Officer) ก็เลยมานั่งทบทวนตัวเองในงานที่รับผิดชอบในฐานะ RSO ว่าเราได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง จึงขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และโรงพยาบาลอื่นๆทำอย่างไรบ้างคะ  กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่...

1. จัดให้มีระบบการป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ญาติ/เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องพร้อมคำอธิบายวิธีใช้งาน

2. ให้ความรู้/คำแนะนำการป้องกันอันตรายจากรังสี การเตรียมตัวก่อนและขณะตรวจทางรังสี


3. การจัดให้มีมุมเรียนรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น บอร์ด อัลบัมความรู้ เช่น บอกให้ทราบถึงปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ตามมาตรฐานของ ICRP


4. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น เครื่องเอกซเรย์ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน และขออนุญาตมีไว้ในครอบครอง ผลิตและใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดรังสี จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ



5. จัดระบบบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนจัดหาเครื่องมือทดแทน หากประวัติการซ่อมมีค่าใช้จ่ายมาก หรือซ่อมบ่อย ทำให้การบริการไม่มีประสิทธิภาพ สามารถนำข้อมูลประกอบการนำเสนอผู้บริหารต่อไป


เรียนรู้ และพัฒนาปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ค่ะ
เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ และเจัาหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

หมายเลขบันทึก: 512003เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยม ครับ

การเป็น RSO เริ่มจากการทำงานพื้นฐาน เมื่อทำได้ดีแล้ว ก็ พัฒนาต่อยอด สู่การเพิ่มพูนทักษะ อย่างต่อเนื่อง มองหางานวิจัยที่ตอบปัญหาในงานที่เกี่ยวข้อง 

นอกจากผู้รับบริการได้ประโยชน์ ปลอดภัย ตัวเราเองก็มีความสุข สุขใจที่ได้ทำ สุขใจที่ได้พัฒนา 

ถ้าจะดี ก็นำไปสู่การพัฒนาตนเองในระดับที่สูงต่อไปได้ 

ข้อคิด: หากใครยังไม่ทำ ก็ให้ ททท. ทำทันที (อ.จิตเจริญ) ท่านกล่าวไว้ ครับ

เรียน อ.ต้อมที่เคารพ ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม และให้คำแนะนำดีๆเสมอมา จะพัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆค่ะ

ดีมากครับ / ขอนำไปเป็นแนวทางครับ

สวัสดีครับ

เพิ่มเติม ครับ

ขอเสนอแนะ การนำแนวทาง วิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีมาใช้ในการทำงานประจำ

เช่น การใช้ FOV ที่เหมาะสมกับการตรวจ การประเมินค่า EI จากการถ่ายภาพรังสี เป็นต้น

โอกาสพัฒนา แสดงข้อมูล วิธีการเชิงประจักษ์ ครับ

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ที่มาให้ข้อเสนอแนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท