เครื่องแบบเต็มยศพนักงานราชการ ใส่ 3 ดอก ผิดแน่, จบ มสธ.ขอใบครู, คู่มือเตรียมเอกสารประเมินรอบ 3, ข้อมูลประเมินรอบ 3, ใครประเมินแต่ละตัวบ่งชี้, ครูคนพิการย้าย, ผู้ใหญ่บ้านต้องจบภาคบังคับคือชั้นใด, กก.สถานศึกษา, ค่าสอนวิชาชีพ


เครื่องแบบเต็มยศพนักงานราชการ ใส่ 3 ดอก ผิดแน่, จบ มสธ.ขอใบครู, คู่มือเตรียมเอกสารประเมินรอบ 3, ข้อมูลประเมินรอบ 3, ใครประเมินแต่ละตัวบ่งชี้, ครูคนพิการย้าย, ผู้ใหญ่บ้านต้องจบภาคบังคับคือชั้นใด, กก.สถานศึกษา, ค่าสอนวิชาชี

เริ่มเรียน มสธ.หลัง 19 ส.ค.53 คุรุสภาไม่รับรองแล้ว ต้องใช้วิธีเทียบโอน ซึ่งจะเทียบโอนได้บางมาตรฐาน

สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  9  เรื่อง ดังนี้

       1. คืนวันที่ 26 พ.ย.55 คุณ “เงียบ แต่ไม่โง่” ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  ผอ.กศน.อำเภอ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน บางครั้ง ผอ.ติดราชการ ให้ไปเป็นตัวแทน  คุณสมบัติผู้จะเป็นผู้ใหญ่บ้านต้อจบการศึกษาภาคบังคับ  การศึกษาภาคบังคับดูจากอะไรบ้าง

            ผมตอบว่า 
            1) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 ( ... - พ.ศ.2502) ประกาศใช้วันที่ 17 มีนาคม 2479การศึกษาภาคบังคับ คือ ป.4
            2) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ( .... - พ.ศ.2519) ประกาศใช้วันที่ 20 ตุลาคม 2503การศึกษาภาคบังคับ คือ ป 7
            3)  แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520 ประกาศใช้วันที่ 31 มีนาคม 2520 การศึกษาภาคบังคับ คือ ป.6
            4)  พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 ประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 การศึกษาภาคบังคับต้องจบ ม.3 
            แต่...ผู้ที่จบการศึกษาภาคบังคับในช่วง พ.ศ.2505 - 2521 ตามแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2503 ที่กำหนดให้จบ ป.7 เป็นเพียงบางพื้นที่บางโรงเรียนเท่านั้นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศในราชกิจจานุเบกษา  นอกเหนือจากพื้นที่นี้จบเพียง ป.4 ก็ถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ

            ตามหนังสือของกรมการปกครอง ที่ มท 0309 / ว 27 ลงวันที่ 7 มกราคม 2536 ระบุว่าการจบการศึกษาภาคบังคับ นอกจากจะพิจารณาว่าผู้ใดจบการศึกษาปีใด ชั้นใดแล้ว ต้องพิจารณาว่าในท้องที่ใดกำหนดให้จบการศึกษาชั้นใดด้วย

       2. วันที่ 27 พ.ย.55 คุณ Sunsunee Sripromthong ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  ในกรณีที่มีคณะกรรมการสถานศึกษาบางท่านลาออก จะต้องทำอย่างไร  ขอระเบียนการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ

            ผมตอบว่า  กรณีกรรมการบางท่านลาออก ให้ทำตามข้อ 7 ในระเบียบที่
             - http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/808/754/original_gmg1.gif?1352988992 ( หน้า 1 )
             - http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/808/755/original_gmg2.gif?1352989006 ( หน้า 2 )
             - http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/808/757/original_gmg3.gif?1352989007 ( หน้า 3 )

       3. วันที่ 29 พ.ย.55 ท่านรองทรงสวัสดิ์ สนง.กศน.จ.อ่างทอง บอกผม ( ในช่วงประชุมการประเมินฯรอบสามที่ จ.นครนายก ) ว่า ให้นำเรื่องค่าตอบแทนครูผู้สอนวิชาชีพขึ้นเว็บ

            ปัจจุบันการศึกษาต่อเนื่อง หรือหลักสูตรระยะสั้น ทั้ง 4 ประเภท (อาชีพ ทักษะชีวิตการ พัฒนาสังคมและชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ) ใช้เกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายฉบับเดียวกัน คือ หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0406.6/35474 ลงวันที่ 14 พ.ย.54 ( ดูหนังสือฉบับนี้ได้ที่ https://dl.dropbox.com/u/109014048/expense_study.pdf )  ซึ่งกรมบัญชีกลางยังให้เบิกค่าวิทยากรชั่วโมงละไม่เกิน 200 บาทอยู่  หนังสือกรมบัญชีกลางฉบับนี้ เราขอเบิกชั่วโมงละ 200 - 800 บาท ตามจำนวนผู้เรียน  แต่กรมบัญชีกลางยังให้เบิกชั่วโมงละไม่เกิน 200 บาท โดยไม่ระบุจำนวนผู้เรียน  ( สำหรับจำนวนผู้เรียนตามนโยบายสำนักงาน กศน. แจ้งโดยกลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.55 ให้มีจำนวนหลักสูตรละ 15 – 20 คน )  เราพยายามขอเพิ่มเป็นชั่วโมงละไม่เกิน 1,200 บาท ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติ

       4. วันเดียวกัน ( 28 พ.ย. ) พนักงานราชการ กศน.ประจวบฯ โทรมาถามผมว่า วันที่ 5 ธ.ค. พนักงานราชการแต่งเครื่องแบบเสื้อขาวกระโปรงดำได้หรือไม่

            ผมตอบว่า  ได้
            พิธีประจำปีที่แต่งเครื่องแบบพิธีการ แบบครึ่งยศเต็มยศ มีเพียงพิธีเดียวคือพิธีวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธ.ค.
            เครื่องแบบพนักงานราชการมี 2 แบบ คือ เครื่องแบบปกติ ( ของ กศน. สีกากี ) กับเครื่องแบบพิธีการ ( เสื้อขาว )
            เครื่องแบบพิธีการ กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เหมือนกันทุกกระทรวง ทุกกรม  ดูประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการเรื่องเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ.2552 ได้ที่ https://dl.dropbox.com/u/109014048/CeremonialUniform.pdf  
            ในประกาศฉบับนี้กำหนดเพียงสั้น ๆ ว่า “เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการให้ใช้เครื่องแบบพิธีการในลักษณะอย่างเดียวกันกับลูกจ้างประจำ  แต่อินทรธนูประดับเครื่องแบบพิธีการให้ใช้ตามแบบท้ายระเบียบนี้”  อินทรธนูแบบพิเศษ มีดอกพิกุล 3 ดอก สำหรับพนักงานราชการพิเศษ (กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ )  ส่วนอินทรธนูแบบทั่วไป มีดอกพิกุล 2 ดอก สำหรับพนักงานราชการทั่วไป ( กลุ่มงานบริการ, เทคนิค, บริหารทั่วไป เช่น ครูอาสาฯ, ครู กศน.ตำบล ฯลฯ )  โดยพนักงานราชการทั่วไปให้ใช้อินทรธนูแบบทั่วไปตลอดไป พนักงานราชการพิเศษให้ใช้อินทรธนูแบบพิเศษตลอดไป ( ดอกพิกุลนะครับ ต่างจากดอกชัยพฤกษ์ของข้าราชการ )

            เมื่อตามไปดู “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ.2527” ( ดูได้ที่ https://dl.dropbox.com/u/109014048/UniformedEmployees.pdf ) จะเห็นว่า เครื่องแบบพิธีการ แบบครึ่งยศ เต็มยศ ของลูกจ้างประจำ ก็เหมือนกันกับข้าราชการนั่นแหละ ( เสื้อขาว กางเกง/กระโปรงดำ )
          ฉะนั้น พนักงานราชการ จึงแต่งเครื่องแบบพิธีกร แบบครึ่งยศ เต็มยศ เสื้อขาว กางเกง/กระโปรงดำ เหมือนข้าราชการ ต่างกันที่อินทรธนู
          เครื่องแบบพิธีการ แบบครึ่งยศ กับ เต็มยศ เหมือนกันตรงที่ เสื้อขาวกางเกง/กระโปรงดำ ประดับเหรียญจริงแทนแพรแถบย่อ   ต่างกันแค่ เครื่องแบบเต็มยศสวมสายสะพายเครื่องแบบครึ่งยศไม่สวมสายสะพาย
          พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการที่ไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ก็แต่งเครื่องแบบพิธีการแบบเต็มยศไม่ได้ครับ ให้แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ
          การแต่งเครื่องแบบครึ่งยศไม่ใช่ง่ายเพราะต้องประดับเหรียญจริงซึ่งมีราคาแพง ( เหรียญละ500 กว่า ถึงเกือบ 2,000 บาท ) หลายคนยังหาเหรียญจริงไม่ได้ก็ต้องแต่งเครื่องแบบพิธีการครึ่งยศโดยไม่ต้องประดับเหรียญ จะใช้แพรแถบย่อแทนไม่ได้  ( เหรียญที่ระลึกต้องหาเองอยู่แล้วเหรียญเครื่องราชฯก็เช่นกันระยะหลังถึงจะได้รับพระราชทานก็จะได้เฉพาะประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชฯเป็นหลักฐานว่าพระราชทานจริง แต่เหรียญจริงได้เฉพาะหัวหน้า/ผู้บริหาร ส่วนผู้ที่ไม่ใช่หัวหน้า/ผู้บริหาร ต้องจัดหา/จัดซื้อเอง )

          วันที่ 2 ธ.ค.55 คุณ Sirirat Nunwong ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า ทำไม ครู กศน.ตำบลบางท่านใส่อินทรธนูดอกพิกุล 3 ดอก ( บอกว่าทำงานครบ 3 ปี ใส่ 3 ดอก ) ถูกหรือผิด

        ผมตอบว่า ครู กศน.ตำบล ใส่อินทรธนูดอกพิกุล 3 ดอก ผิดแน่นอน 100 %  ( เครื่องแบบพิธีการ กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เหมือนกันทุกกระทรวง ทุกกรม ไม่ได้ให้อำนาจแต่ละกรมกำหนดเอง  อย่าว่าแต่ปลัดกระทรวงเลย แม้แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็ไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง )

       5. วันที่ 29 พ.ย.55 ในช่วงกลางคืน ( การซักถามข้อสงสัยของผู้เข้าร่วมประชุมในห้องย่อย ) ของการประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษาที่จะเข้ารบการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ที่โรงแรมภูเขางามรีสอร์ท นครนายก  ท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนา กศน.บอกว่า
            1)  การสำรวจข้อมูลตัวบ่งชี้ที่ 1 ( ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาจิตที่ดี ) ไม่ต้องสำรวจข้อมูลก่อนภาคเรียนที่ 1/55 เพราะ สมศ.เพิ่งประกาศตัวบ่งชี้การประเมินรอบสามเมื่อต้นปี 54 ซึ่ง กศน.ไม่เคยเก็บข้อมูลสุขภาพผู้เรียนมาก่อน
            2)  การสำรวจข้อมูลตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวกับครูและนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐาน อื่น ๆ ให้เก็บข้อมูล 3ปีการศึกษาย้อนหลัง
            3)  การสำรวจข้อมูลตัวบ่งชี้เกี่ยวกับ กศ.ต่อเนื่อง และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับครูและนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐาน ให้เก็บข้อมูล 3 ปีงบประมาณย้อนหลัง
            4)  การคำนวณผลสัมฤทธิ์ กศ.ขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 นั้น ตัวหารในการคำนวณค่าร้อยละ คือจำนวนผู้มีสิทธิ์สอบทั้งหมด ไม่ใช่จำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด ( จำนวนผู้มีสิทธิ์สอบไม่ใช่จำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน แต่เป็นจำวนผู้ที่ไม่ติด มส. )  เพราะ สมศ.บอกว่าถ้าใช้จำนวนผู้เข้าสอบเป็นตัวหาร สถานศึกษาก็จะให้แต่คนเก่งเข้าสอบ

 ส่วนท่านเลขาธิการ กศน. บอกในตอนบรรยายพิธีเปิดประชุม ว่า ในช่วงที่ประเมินภายในโดยต้นสังกัด ให้จัดเตรียมเอกสารเป็น 26 ตัวบ่งชี้ ( 26 กล่อง )  แต่เมื่อคณะกรรมการประเมินภายนอกฯจะเข้ามาประเมิน ให้ยุบรวมเอกสารหลักฐาน เป็น 12 ตัวบ่งชี้ ( 12 กล่อง ) ตามตัวบ่งชี้ของ สมศ.  ให้ออกคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรให้ครบทุกคนทั้ง 12 ตัวบ่งชี้ เช่นถ้ามีบุคลากร 6 คน ก็คนละ 2 ตัวบ่งชี้   ถ้ามีบุคลากร 20 คน บางตัวบ่งชี้ก็ 1 คน บางตัวบ่งชี้ก็ 2 คน
  นอกจากนี้ ท่านเลขาฯยังบอกว่า ให้ทาสีอาคาร กศน.อำเภอ ด้วยสีที่ไม่ฉูดฉาด แต่สดใส สว่างหูสว่างตา ดูดี ไม่ใช่สีแสดสีแดง
  และต่อไปนี้ ไม่ว่า กศน.จังหวัด/อำเภอ จะทำโครงการใด  เขียนป้ายทุกครั้ง ให้มีคำว่า "การศึกษาตลอดชีวิต กศน.เพื่อประชาชน" ด้วย

       6. ยังมีผู้ให้ข้อมูลผิด เป็นระยะ ๆ ว่า เรียน มสธ.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ เช่นเอกหลักสูตรและการสอน จบแล้วขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้  ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบก็มีผู้ให้ข้อมูลผิดอย่างนี้ ทำให้มีผู้เข้าใจผิดเสียเวลาเสียเงินไปสมัครเรียนโดยหวังใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ไม่ได้ต้องการแค่ความรู้
            วันที่ 30 พ.ย.55 ผมจึงเขียนให้ข้อมูลโต้แย้งในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  เรื่องที่ว่าเรียน มสธ.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์จบแล้วขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้นั้น เป็นข้อมูลเก่าเมื่อ 2 ปีก่อน  แต่ปัจจุบัน ถ้าเริ่มเรียนหลัง 19 ส.ค.53 คุรุสภาไม่รับรองแล้ว ต้องใช้วิธีเทียบโอน ซึ่งจะเทียบโอนได้บางมาตรฐาน  ถ้าเรียนจบหลักสูตร สิ่งที่ได้คือ ได้ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านการสอน-การอบรม-การเผยแพร่ความรู้ ( ดูคำตอบของ มสธ.ที่http://www.stou.ac.th/message/Information/Board/Question.asp?GID=34249 )

       7. วันที่ 30 พ.ย.55 ศน.สุพจน์ สนง.กศน.จ.สระบุรี ถามผมในเว็บบล็อก gotoknow.org นี้ ว่า  ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและชุมชน ใครจะเป็นผู้ประเมินให้ (ในเอกสารหมายเหตุ กรณีเป็นทั้งลูกและเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองพิจารณาประเด็น 1 - 6)  กับประเด็นชุมชน เพิ่งรู้ว่าหมายถึง นศ. ที่ไม่ได้อยู่กับครอบครัว (สถานพินิจ, เรือนจำ, สถานบำบัด ฯลฯ)  อยากทราบว่า สถานศึกษาที่ผ่านประเมินแล้วตัวบ่งชี้ 2.1 ใช้อะไรเป็นหลักฐาน

            ผมตอบว่า   อยากให้ทำความเข้าใจก่อน ( บุคลากร กศน.จำนวนไม่น้อยยังไม่เข้าใจ ) ว่า ข้อมูลเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินฯ ของทุกตัวบ่งชี้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆคือ
           1) ข้อมูลเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับการดำเนินการ สอน/ปลูกฝัง/ส่งเสริม/พัฒนา/ประชุม/อบรม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดลักษณะที่ต้องการ ( ลักษณะตามตัวบ่งชี้ )
                  เช่น โครงการ/กิจกรรม/แผนการจัดการเรียนรู้/แผนงาน/โครงงาน/กพช.
           2) ข้อมูลเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับการ "วัดผลประเมินผล" ว่าหลังจากดำเนินการตามข้อมูลเอกสารหลักฐานในข้อ 1) ไปแล้ว กลุ่มเป้าหมายเกิดลักษณะที่ต้องการ ( ลักษณะตามตัวบ่งชี้ ) หรือไม่ อย่างไร ร้อยละเท่าไร ( กลุ่มเป้าหมาย 100 คนเกิดลักษณะตามตัวบ่งชี้กี่คน ) 
      เช่นแบบประเมิน/แบบติดตาม/แบบบันทึก/แบบสอบถาม/แบบสำรวจรายการ/แบบทดสอบ

          ข้อ 1) นั้น สำคัญ เพราะเป็นงานของเรา เป็นสิ่งที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย จะบรรลุเป้าหมายเกิดคุณภาพแค่ไหน ก็อยู่ที่การดำเนินการในข้อ 1.
            ส่วนข้อ 2) แม้จะเป็นเพียงการวัดผลประเมินผล แต่ก็เป็นส่วนที่จะนำไปคำนวณออกมาเป็นคะแนนแต่ละตัวบ่งชี้  และโดยปกติต้องวัดผลประเมินผลจากกลุ่มเป้าหมายทุกคน จึงเป็นข้อมูลเอกสารหลักฐานที่สิ้นเปลืองกระดาษมาก ( ใช้แบบประเมิน แบบติดตาม ฯลฯ มาก )

          ในส่วนของตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและชุมชน ก็เช่นเดียวกันคือมีข้อมูลเอกสารหลักฐาน 2 ส่วน  โดยส่วนของการวัดผลประเมินผล ไม่กำหนดเครื่องมือวัดไว้ตายตัวแต่ละสถานศึกษาสามารถพัฒนาเครื่องมือวัดเองได้ แต่ต้องเป็นเครื่องมือที่ผู้ประเมินเชื่อถือ
          มีผู้ออกแบบเครื่องมือวัดตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ไว้เป็น "แบบประเมินการปฏิบัติตนของการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว/ชุมชน" โดยให้นักศึกษาประเมินตนเอง ครับ
          ไม่ว่านักศึกษาจะมีบุตรหรือไม่ อยู่คนเดียวหรือไม่ อยู่ในเรือนจำหรืออยู่กับญาติ  ก็ให้นักศึกษาประเมินตนเอง เพียงแต่ถ้าไม่มีบุตรหรืออยู่คนเดียวให้ตอบเพียงบางข้อ ( เวลาคำนวณเมื่อตอบจำนวนข้อไม่เท่ากัน ตัวหารก็ต้องไม่เท่ากัน )  เรานำแบบประเมินนี้ไปใช้ก็ได้

          ในเอกสารของ สมศ. ที่พิมพ์ว่า "กรณีตนเองเป็นทั้งลูกและพ่อแม่ผู้ปกครอง พิจารณาประเด็น 1-6 " นั้นไม่ได้แปลว่าให้ผู้ปกครองประเมินนะครับ ( จะให้ใครประเมินแล้วแต่สถานศึกษาจะออกแบบ ) แต่หมายถึง กรณีตนเองเป็นทั้งลูกและ “เป็นทั้งพ่อแม่หรือผู้ปกครอง" ให้พิจารณาประเด็น 1-6"
          ถ้าถามว่า ให้นักศึกษาประเมินตนเอง แล้วจะเชื่อถือได้หรือ เรื่องนี้ กรรมการเขาจะดูข้อมูลเอกสารหลักฐานตามข้อ 1) เป็นสำคัญ ถ้าเขาเห็นว่าเราดำเนินการปลูกฝังพัฒนาต่าง ๆ ตามข้อ 1)เข้มข้นดี เขาก็จะเชื่อผลการวัดผลประเมินผลจามข้อ 2) เอง
          ( นักศึกษาทุกคนต้องเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนนะ เพียงแต่ถ้าอยู่ในเรือนจำ  “ชุมชน” ก็หมายถึงในเรือนจำ )

       8. คืนวันเดียวกัน ( 30 พ.ย. )  คุณดนุรักษ์  สุริยะ ถามผมทางอีเมล์ผ่าน gotoknow.org  ว่า  ครูผู้สอนคนพิการสามารถย้ายพื้นที่การปฏิบัติงานจากอำเภอหนึ่งไปปฏิบัติงานอีกอำเภอหนึ่งได้หรือไม่

            ผมตอบว่า  เรื่องการย้ายของครูสอนคนพิการ ก็ลักษณะเดียวกับครู ศรช. คือเป็นไปตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง  นายจ้างคือ ผอ.สนง.กศน.จังหวัด ( ในสัญญาจ้างข้อ 1. ระบุอำเภอที่ปฏิบัติงานไว้ด้วย )  จะย้ายได้หรือไม่อยู่ที่ "นายจ้าง" คือแล้วแต่นโยบายของผู้บริหารแต่ละจังหวัด ( บางจังหวัดก็บอกว่าย้ายไม่ได้ )  เป็นอำนาจของท่าน ผอ.สนง.กศน.จังหวัดซึ่งเป็นผู้เซ็นสัญญา-ออกคำสั่งแต่งตั้ง จะให้ย้ายข้ามอำเภอภายในจังหวัดก็ได้ ถ้าเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ( ครู ศรช./ครูสอนคนพิการก็ต้องการย้าย  กลุ่มเป้าหมายคนพิการอำเภอใหม่ก็มีรองรับ  ผอ.อำเภอเดิมก็ยินดีให้ย้าย  ผอ.อำเภอใหม่ก็ยินดีรับย้าย  ผอ.จังหวัดมีนโยบายให้ย้าย ก็ย้ายได้   แต่ถ้าสั่งย้ายข้ามอำเภอโดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม อาจมีปัญหา "ผิดสัญญา" )  ส่วนวิธีการในแต่ละจังหวัดอาจแตกต่างกัน บางจังหวัดอาจรอให้หมดสัญญาสิ้นปีงบประมาณก่อน เมื่อทำสัญญาใหม่จึงเปลี่ยนอำเภอที่ปฏิบัติงาน
  ( ผอ.สนง.กศน.จังหวัด มีอำนาจอยู่ภายในจังหวัด ฉะนั้น ครู ศรช./ครูสอนคนพิการ จึงย้ายข้ามจังหวัดไม่ได้ )

       9. คืนวันที่ 3 ธ.ค.55 ท่าน ผอ.วิทยา กศน.อ.ทับปุด ได้นำคู่มือการจัดเตรียมเอกสารเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. ของ กศน.อำเภอเมืองพังงา และ กศน.อำเภอทับปุด มาเผยแพร่ในเฟซบุ๊คกลุ่มคู่นอกระบบ ( กศน.อ.ทับปุดได้คะแนนประเมินรอบสาม 90 กว่าคะแนน สูงที่สุดใน จ.พังงา )  ผมดูแล้วมีประโยชน์มาก  ใครสนใจดาวน์โหลดได้ที่https://dl.dropbox.com/u/109014048/tabput.doc 

                                                                                   คัดลอกมาจาก อ.เอกชัย กศน.ผักไห่

หมายเลขบันทึก: 511997เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท