รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

การบริหารจัดการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรในสถานพยาบาล


การบริหารจัดการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรในสถานพยาบาล

ความสำคัญการจัดบริการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเป็นสถานประกอบการที่ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในกระบวนการทำงานดังกล่าว ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยและความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทั้งนี้ ปัญหาการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยและความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ พบได้เกือบทุกแผนก หรือหน่วยงานภายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ซึ่งสิ่งคุกคามทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานทั้งด้านกายภาพ เช่น การสัมผัสรังสีในการรักษาหรือวินิจฉัยโรค เสียงดังจากเครื่องกำเนิดพลังงาน หรือในโรงซักฟอก ด้านเคมี เช่นการสัมผัสเคมีบำบัด (chemotherapy) ถุงมือยางทางการแพทย์ด้านชีวภาพ เช่น การสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อการวิเคราะห์เชื้อในห้องปฏิบัติการ การสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ด้านท่าทางในการทำงาน เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ด้านการบาดเจ็บจากการทำงาน เช่น การถูกเข็มตำ รวมถึงปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมในการทำงาน เช่น เครียดจากการดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก ความไม่พึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการที่ดีแล้ว บุคลากรต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากการทำงานที่ไม่น้อยกว่าผู้ประกอบอาชีพในภาคการทำงานอื่น ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดบริการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

  สำหรับการบริหารจัดการด้านอาชีอนามัยและความปลอดภัยนั้น ควรมีกรรมการด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งนับเป็นบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพของบุคลากรในการทำงานในโรงพยาบาล

  ความหมายการจัดบริการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หมายถึง การบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ได้จัดขึ้นในโรงพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

1.  ป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลได้รับหรือสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพและอนามัยที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมการทำงาน

2.  การป้องกันความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

3.  สร้างเสริมสุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

แนวทางการปฏิบัติงานบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.  การจัดบริการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงพยาบาล ได้แก่ การเฝ้าระวังสิ่งคุกคาม  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบความความเปลี่ยนแปลงระดับของสิ่งคุกคามที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม  การทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและช่วยเฝ้าระวังสุขภาพได้ด้วยหากการสัมผัสสิ่งคุกคามนั้น

2.  ความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล และแนวทางในการลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคจากบุคลากรสู่ผู้ป่วยสู่บุคลากร

3.  การจัดการด้านสุขภาพอนามัยให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ได้แก่ การเฝ้าระวังทางสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงสภาวะสุขภาพ และลักษณะแนวโน้มของการเกิดโรคหรือสิ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคหรือสิ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดโรค ซึ่งนำไปสู่การสอบสวนโรค หาแนวทางการควบคุมและป้องกันเพื่อมิให้เกิดโรค

การบริหารด้านสุขภาพอนามัยให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

  ได้แก่ การเฝ้าระวังทางสุขภาพ (health surveillance) มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงสภาวะสุขภาพ และลักษณะแนวโน้มของการเกิดโรคหรือสิ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดโรค ซึ่งนำไปสู่การสอบสวนโรค หาแนวทางการควบคุมและป้องกันเพื่อมิให้เกิดโรคประกอบด้วย

·  การตรวจร่างกายแรกเข้าทำงาน พร้อมกับบันทึกข้อมูลประวัติการำงานและการเจ็บป่วย ซึ่งการตรวจร่างกาย ควรประกอบด้วย

-  การตรวจเลือดวิเคราะห์ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) , fasting blood sugar , liver function test , BUN ,  creatinine ตรวจปัสสาวะ

-  ตรวจการทำงานของหัวใจ สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุมากกว่า 35 ปี

-  การถ่ายภาพรังสีทรวงอก

-  การทดสอบการติดเชื้อวัณโรค

-  ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

-  ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

-  การตรวจร่างกายเป็นระยะ ได้แก่ ตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจร่างกายตามความเสี่ยง

การรวบรวมรายงานโรค

  อุบัติการณ์จาการทำงาน และการกระจายข้อมูลข่าวสาร ซึ่งประกอบด้วย จำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บโดยหยุดงาน ไม่หยุดงาน จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน ค่าใช้จ่านที่สูญเสียไปสามารถทำได้โดย

1.  เก็บข้อมูลประวัติผู้ป่วย ผู้ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล อาจเก็บจากงานเวชระเบียน การเก็บข้อมูลแบบนี้จะได้ข้อมูลย้อนหลัง แต่ต้องมั่นใจว่า การให้ข้อมูลและระบบการจัดเก็บนั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อได้

2.  เก็บข้อมูลประวัติสุขภาพ การเจ็บป่วย อุบัติเหตุจาการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลจากการเฝ้าระวังทางสุขภาพ

3.  สมุดบันทึกสุขภาพของตัวเอง

การเสริมสร้างสุขภาพบุคลากรในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล การเสริมสร้างสุขภาพ คือ กระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนเรามีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตนให้ดีขึ้น สุขภาพเป็นคำที่มีความหมายในทางบวก เน้นหนักที่ทรัพยากรบุคคลและสังคม เช่นเดียวกับสมรรถนะต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น การเสริมสร้างสุขภาพจึงไม่ใช่ความรับผิดชอบขององค์กรในภาคสุขภาพเพียงเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการส่งเสริมให้เพิ่มสมรรถนะในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพตนเอง  บุคลากรในสถานพยาบาลเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของผู้อื่น สุขภาพของบุคลากรส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการที่ทำงานมีอิทธิพลต่อสุขภาพ ได้แก่

-  สิ่งคุกคามสุขภาพ

-  ปัจจัยด้านจิตสังคม

-  ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น กรรมพันธุ์  สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมสุขภาพ

ความปลอดภัยในการทำงาน

  อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ หากขาดความระมัดระวังหรือประมาท อุบัติเหตุจากการทำงานทำให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งมีตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงบาดเจ็บสาหัสที่ทำให้เกิดความพิการหรือสูญเสียชีวิต นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียเวลาการทำงาน ขวัญและกำลังใจของผู้บาดเจ็บและเพื่อนร่วมงาน

การเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงาน

1.  สภาพจากการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition)

2.  การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act)

3.  ขาดความร่วมมือที่ดีของบุคลากรในเรื่องของความปลอดภัย

4.  อันตรายในที่ทำงานและการป้องกัน

5.  การออกแรงยกของที่มีน้ำหนักเกินกำลัง การทำงานอยู่กับที่และท่าทางในการทำงานไม่ถูกวิธี

การดูแลสุขภาพบุคลากรในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

  การประเมินสถานะทางสุขภาพของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มของพนักงานก็ได้วัตถุประสงค์ในการประเมินสุขภาพดังนี้ คือ

1.  เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานทางสุขภาพก่อนที่จะเข้าไปทำงาน

2.  เป็นการป้องกันโรคอย่างหนึ่ง

3.  การประเมินสุขภาพครอบคลุมถึงการเฝ้าคุมการสัมผัสทางชีวภาพต่าง ๆ

4.  เป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการทำงาน

ประเภทการประเมินสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์

1.  การประเมินสุขภาพก่อนเข้าทำงาน  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพิจารณาส่าบุคคลนั้นเหมาะสมในการทำงานหรือไม่ สร้างความมั่นใจว่าบุคคลนั้นไม่มีโรคหรือความเสี่ยงใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรืออันตรายแก่ตนเอง

2.  การตรวจประเมินสุขภาพระหว่างการทำงานมุ่งเน้นที่ความเสี่ยงในการทำงานเป็นสำคัญ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ

3.  การประเมินสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงานหลังจากการลาป่วยเป็นการตรวจสุขภาพบุคลากรที่เจ็บป่วยจนต้องหยุดงานเป็นระยะเวลานาน เพื่อประเมินความเหมาะสมของร่างกายและจิตใจของบุคลากรที่จะกลับเข้าทำงานใหม่

4.  การประเมินสุขภาพก่อนออกจากงานเป็นการตรวจสุขภาพของพนักงานที่สัมผัสกับสิ่งคุกคามต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน เพื่อประเมินสุขภาพของบุคลากรก่อนออกจากงานนั้น ๆ 

หมายเลขบันทึก: 511618เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท