แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง


แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

  ในการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีคุณธรรมจริยธรรมทางการเมือง จะต้องศึกษาถึงความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม ทฤษฎีจริยธรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง  ดังรายละเอียดดังนี้

1) ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม

   1.1 ความหมายของคุณธรรม

   คุณธรรม ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง คุณงามความดี ซึ่งสอดคล้องกับ เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ (2544 : 205) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรมหมายถึงคุณงามความดี, ธรรมแห่งความดี หรือเพรียบพร้อมด้วยความสามารถและคุณธรรม ส่วน กีรติ  บุญเจือ (2538 : 79) กล่าวถึงความหมายของคุณธรรมไว้ว่า หมายถึง ความเคยชินในการประพฤติดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรงกันข้ามกับกิเลส ซึ่งได้แก่ ความเคยชินในการประพฤติผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง

   กล่าวโดยสรุป คุณธรรม คือคุณงามความดีหรือความประพฤติดีของมนุษย์ที่มีต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย 

   1.2 ความหมายของจริยธรรม

    ในพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า จริยธรรม ไว้ว่า หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม ส่วน บุญมี  แท่นแก้ว  (2541 : 1) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า หมายถึง ธรรมชาติหรือหลักธรรมที่บุคคลควรประพฤติ  และถือว่า จริยธรรม เป็นคุณธรรมที่แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามถูกต้อง อันเป็นสิ่งที่ประสงค์ของสังคม และจริยธรรมจะมีได้ต้องอาศัยหลักคำสอนทางศาสนา อันได้แก่ ศีล  ซึ่งสอดคล้องกับ ลำดวน  ศรีมณี. (ม.ป.ป. : 1) ได้กล่าวไว้ว่า หมายถึง การปฏิบัติตามคำสอนในศาสนาหรือการประพฤติตามกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง สถิต  วงศ์สวรรค์ (2529 : 92) กล่าวถึงความหมายของจริยธรรมในแง่ของจิตวิทยา ไว้ว่า หมายถึงลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์ และมีขอบเขตรวมถึงการกระทำของมนุษย์ หรือพฤติกรรมทางสังคมประเภทต่าง ๆ ด้วยลักษณะ และพฤติกรรม (การกระทำ) ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม จะมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประเภท ต่อไปนี้คือ

  ประเภทแรก เป็นลักษณะที่สังคมต้องการให้มีอยู่ในสมาชิกในสังคมนั้น มีลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นเป็นสำคัญ เป็นพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ ให้การส่งเสริมสนับสนุน และผู้กระทำส่วนมากเกิดความพอใจ รู้สึกว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเหมาะสม ผู้มีจริยธรรมสูงจะมีลักษณะและการกระทำที่กล่าวมานี้มาก

  ประการที่สอง คือลักษณะที่สังคมไม่ต้องการให้มีอยู่ในสมาชิกในสังคมนั้น  เป็นการกระทำที่สังคมลงโทษ หรือพยายามกำจัดหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นที่จะกระทำการอันจะก่อให้เกิดโทษ เป็นลักษณะที่สังคมรังเกียจ และลงโทษเมื่อมีผู้กระทำเช่นนั้น และผู้ที่กระทำพฤติกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ผิด เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดีงาม ไม่สมควร มีความอับอาย หรือละอาย ฉะนั้นผู้มีจริยธรรมสูง คือผู้ที่มีลักษณะและพฤติกรรมประเภทแรกมาก และประเภทหลังน้อย

  ดังนั้น ผู้มีจริยธรรมก็คือ ผู้ที่แสดงแต่พฤติกรรมในทางที่ดี ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น มีสัมมาคารวะ เมตตา กรุณา ซื่อสัตย์ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักรับผิดชอบ รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

2) ทฤษฎีจริยธรรม

   คณะผู้วิจัยได้นำเสนอทฤษฎีทางจริยธรรมที่สำคัญ ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ ดังนี้

  2.1) ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของเพียเจท์  (Piaget’s three stages of moral development) หรือพัฒนาการทางศีลธรรม 3 ขั้น ของเพียเจท์  เพียเจท์ได้แบ่งขั้นของการพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ไว้เป็นลำดับขั้น โดยเริ่มตันจากขั้นต่ำสุดไปจนถึงขั้นสูงสุด โดยไม่มีการข้ามขั้น ดังนี้

  (1) ขั้นก่อนมีจริยธรรม (Pre-moral Stage) เป็นขั้นการพัฒนาการทางศีลธรรมของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 1 ขวบ โดย เพียเจท์ เชื่อว่าเด็กวัยนี้ไม่มีความรู้ถึงศีลธรรมและจรรยามารยาทใด ๆ คือไม่มีประสบการณ์หรือความรู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น เด็กในวัยนี้จะมีความเห็นแก่ตัว เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric)

  (2) ขั้นเริ่มมีจริยธรรม (Heteromomous  Stage) เป็นขั้นที่ยึดหลักการของกฎเกณฑ์ (เด็กวัย 1-5 ขวบ) เด็กในวัยนี้เริ่มให้ความสนใจสิ่งแวดล้อม เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม และยอมรับกฎเกณฑ์นั้น ๆ แต่ไม่รู้ว่ากฎเกณฑ์เหล่านี้มีไว้เพื่อประโยชน์อย่างไร แต่ทำตามเพราะไม่ต้องการให้ถูกลงโทษ เพียเจท์ กล่าวว่า เด็กในวัยนี้มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ในลักษณะที่ไม่มีเหตุผล แต่มีลักษณะเป็นจริงเป็นจัง คือ ผิดก็ว่าไปตามผิด ไม่มีการยืดหยุ่น วัยนี้ไม่มีศีลธรรมของตัวเอง ยังตัดสินใจไม่ถูก เด็กจะมีความคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่าง ๆ ด้วยความเชื่อมั่น 3 ประการคือ กฎเกณฑ์นั้นมีอยู่และละเมิดไม่ได้  เปลี่ยนแปลไม่ได้ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

  (3) ขั้นมีจริยธรรม (Autonomous  Stage) เด็กอายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการทางจริยธรรม เริ่มมีจริยธรรมเกิดขึ้นในตนเอง จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง รู้จักคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของสิ่งต่าง ๆ เริ่มใช้หลักความยุติธรรมความเท่าเทียมกัน และความเสมอภาคกับบุคคลอื่น ๆ ที่มาเกี่ยวข้อง เริ่มมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ตนเองเห็น และความตั้งใจหรือเจตนาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ เด็กเริ่มตัดสินใจจริยธรรมได้อย่างถูกต้องและใช้เหตุผลจากความตั้งใจ หรือเจตนาที่อยู่ภายในใจเป็นเกณฑ์ตัดสินได้ เด็กในวัยนี้จะรู้จักเหตุผล เด็กจึงมีพัฒนาการทางจริยธรรมไปได้อย่างถูกต้อง คิดถึงการเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน รู้จักนับถือซึ่งกันและกันรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เคารพในสิทธิของผู้อื่น มีความซาบซึ่งและยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม และปฏิบัติตามเพราะเห็นว่าทำให้สังคมเรียบร้อย โดยไม่มีใครข่มขู่บังคับ เข้าใจดีว่ากฎเกณฑ์กติกาต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสมได้

  2.2) ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg’s six stages of moral development)  หรือ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม 6 ขั้นของโคลเบิร์ก  โคลเบิร์ก ได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับแยกออกเป็น 2 ขั้น ตามลักษณะการใช้เหตุผลทางจริยธรรม โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นต่ำสุดถึงขั้นสูงสุด ดังนี้

  ระดับที่ 1 ระดับก่อนเกณฑ์ หรือก่อนมีจริยธรรม เป็นระดับต่ำสุด จริยธรรมของเด็กระดับนี้จะถูกควบคุมด้วยการลงโทษหรือรางวัล แบ่งเป็น 2 ขั้นดังนี้

  ขั้นที่ 1 ขั้นหลบหลีกการถูกลงโทษ เป็นขั้นของการกระทำตามเพื่อหนีการถูกทำโทษ (ตั้งแต่แรกเกิด - 7 ขวบ) เด็กที่อยู่ในช่วงนี้จะมีแรงกระตุ้นทำให้เกิดพฤติกรรม หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ

  ขั้นที่ 2 ขั้นหลักการแสวงหารางวัล (7 – 10 ปี) เป็นขั้นที่เด็กมีแรงกระตุ้นที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้เป็นที่ถูกใจและพอใจแก่ตนเอง เลือกกระทำพฤติกรรม จริยธรรมในส่วนที่จะนำความสุข ความพอใจ ผลประโยชน์มาสู่ตน มุ่งความพึงพอใจของตนเองเป็นสำคัญ ดังนี้พฤติกรรมทางจริยธรรมก็ต้องการให้ได้ประโยชน์ ทำเพื่อต้องการรางวัล เช่น คำชมเชย สิ่งตอบแทน เห็นความสำคัญของรางวัลมากกว่าการถูกลงโทษ

  ระดับที่ 2 ระดับตามกฎเกณฑ์ คือการคล้อยตามกฎเกณฑ์ของสังคม เป็นการกระทำตามระเบียบประเพณีที่สังคมกำหนดขึ้น และถือปฏิบัติร่วมกัน  แต่ก็ต้องอาศัยการควบคุมจากภายนอกในการที่จะประพฤติดี แบ่งออกเป็น 2 ขั้นคือ

  ขั้นที่ 3 ขั้นหลักการทำตามที่คนอื่นเห็นว่าดี (10-13 ปี) เป็นขั้นของการเป็นเด็กดี มีแรงกระตุ้นให้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ไม่กระทำพฤติกรรมซึ่งคาดหวังว่าคนอื่นจะเห็นว่าไม่ดี น่าติเตียน และมีจิตสำนึกว่าจะต้องทำในสิ่งที่คนอื่นเห็นว่า ต้องการเป็นที่ยกย่องของคนอื่น

  ขั้นที่ 4 หลักการทำตามหน้าที่ (13-16 ปี) เป็นขั้นของการปฏิบัติตามหน้าที่เป็นสำคัญ เป็นการกระทำเพื่อหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ เช่น นักเรียนมีหน้าที่ในการเรียนหนังสือ เป็นต้น

  ระดับที่ 3 ระดับเหนือกฎเกณฑ์ คือการมีจริยธรรมเกิดขึ้นภายในตน เป็นระดับจริยธรรมสูงสุด ผู้มีจริยธรรมขั้นนี้ถือว่าเป็นผู้มีความคิดสูงและจริยธรรมสูง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นคือ

  ขั้นที่ 5 หลักการทำตามคำมั่นสัญญา (อายุ 16 ปีขึ้นไป) เป็นขั้นของการกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นขั้นของการมีเหตุผลและเคารพตนเอง

  ขั้นที่ 6 หลักการทำตามอุดมคติสากล คือขั้นของการกระทำเพื่อชีวิต เป็นขั้นยึดอุดมคติ ผู้มีจริยธรรมในขั้นนี้ถือว่าเป็นผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์เป็นจริยธรรมขั้นสูงสุด

(สถิต  วงศ์สวรรค์. 2529 : 98-109)

3) คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

  บุคคลผู้มีพฤติกรรมทางการเมืองที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะต้องประพฤติตน 2 ลักษณะควบคู่กัน กล่าวคือ

  1) ประพฤติเป็นธรรม คือ มีความเที่ยงธรรม และยุติธรรม เช่น ประพฤติตามหลักของทศพิธราชธรรม อคติ พละ เป็นต้น

  2) ประพฤติตามธรรม คือ การประพฤติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เช่น การปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบถ 10 พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 เป็นต้น

    นอกจากดำรงตำแหน่งหรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองแล้ว ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ เสียสละ อุทิศตนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เหล่านี้ถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

  การศึกษาถึงคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง  เป็นการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับ

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งพระธรรมปิฏก (2541) ได้กล่าวไว้ในธรรมนูญชีวิตเกี่ยวกับ คนกับสังคม คนมีคุณแก่ส่วนรวม คนมีส่วนร่วมที่ดีของชุมชน และคนผู้นำรัฐ ดังนี้คือ

คนกับสังคม คนมีศีลธรรม  หรือมีมนุษยธรรม  ที่เรียกได้ว่าเป็นอารยชน มีธรรม

คือ คุณสมบัติดังนี้

  ก. มีสุจริตทั้งสาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ  3  ประการ

   1) กายสุจริต  ความสุจริตทางกาย  ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย

   2) วจีสุจริต  ความสุจริตทางวาจา  พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา

   3) มโนสุจริต  ความสุจริตทางใจ  คิดสิ่งที่ดีงาม  ประพฤติชอบด้วยใจ

  ข. ประพฤติตามอารยธรรม  โดยปฎิบัติถูกต้องตามทางแห่งกุศลกรรม 10 ประการ คือ

  - ทางกาย  3

  1) ละเว้นการฆ่า การสังหาร  การบีบคั้นเบียดเบียน; มีเมตตากรุณา  ช่วย

เหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน

 2) ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย  และการเอารัดเอาเปรียบ;  เคารพสิทธิ์ใน

ทรัพย์สินของกันและกัน

 3) ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น ไม่ข่ม

เหงจิตใจ  ทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของกัน

  - ทางวาจา  4

  4) ละเว้นการพูดเท็จ  โกหกหลอกลวง ;  กล่าวแต่คำสัตย์  ไม่จงใจพูดให้

ผิดจากความจริงเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ

   5) ละเว้นการพูดส่อเสียด  ยุยง  สร้างความแตกแยก;  พูดแต่คำที่เหมาะ

สมส่งเสริมสามัคคี

   6) ละเว้นการพูดคำหยาบคาย  สกปรกเสียหาย;  พูดแต่คำสุภาพนุ่มนวล ควรฟัง

   7) ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ ;  พูดแต่คำจริง  มีเหตุผล  มีสาระ

ประโยชน์  ถูกกาลเทศะ

 - ทางใจ 3

  8) ไม่ละโมบ  ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้; คิดให้  คิดเสียสละ ทำใจ

ให้เผื่อแผ่กว้างขวาง

   9) ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน  หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลาย ;  ตั้งความ

ปรารถนาดี  แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน

  10) มีความเห็นถูกต้อง  เป็นสัมมาทิฎฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า  ทำดีมีผล

ดี  ทำชั่วมีผลชั่ว  รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ธรรม  10  ข้อนี้  เรียกว่า กุศลกรรมบถ (ทางแห่งกรรมดี)  บ้าง  ธรรมจริยา  บ้าง

อารยธรรมบ้าง เป็นรายละเอียดขยายความสุจริต 3 ข้อ  ข้างต้นด้วย คือ  ข้อ 1-3 เป็น กายสุจริต  ข้อ 4-7 เป็น วจีสุจริต ข้อ 8-10 เป็น มโนสุจริต

  ค. อย่างต่ำมีศีล 5  หลักความประพฤติ  10 ข้อต้นนั้น  เป็นธรรมจริยาและเป็น

อารยธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์  ทำคนให้เจริญขึ้นพร้อมทั้ง ทางกาย ทางวาจา และทางใจ  แต่ผู้ใดยังไม่มั่นคงในอารยธรรม ท่านสอนว่าผู้นั้นพึงควบคุมตนให้ได้ทางกายและวาจาก่อนเป็นอย่างน้อย  ด้วยการประพฤติตามหลักศีล 5 ที่เป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมจริยา  10 ประการนั้น ก็ยังจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีศีลธรรม  คือ

  1) เว้นจากปาณาติบาต  ละเว้นการฆ่าสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย

   2) เว้นจากอทินนาทาน  ละเว้นการลักขโมย  เบียดบังแย่งชิง  ไม่ประทุษร้ายต่อ

ทรัพย์สิน

  3) เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละเว้นการประพฤติผิดในกาม  ไม่ประทุษร้ายต่อของ

รักของหวงแหน อันเป็นการทำลายเกียรติภูมิและจิตใจตลอดจนทำวงศ์ตระกูลของเขาให้สับสน

  4) เว้นจากมุสาวาจา  ละเว้นการพูดเท็จโกหกหลอกลวง  ประทุษร้ายเขา  หรือ

ประโยชน์สุขของเขาด้วยวาจา

  5)เว้นจากสุราเมรัย  ไม่เสพเครื่องดองของมึนเมาสิ่งเสพติด  อันเป็นเหตุให้เกิด

ความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหายพลาดเพราะขาดสติ

  คนมีคุณแก่ส่วนรวม  สมาชิกที่ดีผู้ช่วยสร้างสรรค์สังคม มีธรรม คือ  หลักความ

ประพฤติ  ดังนี้

  ก. มีพรหมวิหาร  คือ  ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐหรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่  กว้าง

ขวางดุจพระพรหม  4 อย่าง  ต่อไปนี้

   1) เมตตา  ความรัก คือ  ความปรารถนาดีมีไมตรี  ต้องการช่วยเหลือให้ทุก

คนประสบประโยชน์และความสุข

  2) กรุณา  ความสงสาร  คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในใจที่

จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง

  3) มุทิตา  ความเบิกบานพลอยยินดี  เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข  ก็มีใจแช่มชื่น

เบิกบาน เมื่อเห็นเขาประสบความสำเร็จ  งอกงามยิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจด้วย

  4) อุเบกขา  คือความมีใจเป็นกลาง คือ มองตามความเป็นจริง  โดยวางจิต

เรียบสม่ำเสมอ  มั่นคง เที่ยงตรงดุจตาชั่ง  มองเห็นการที่บุคคลจะได้รับผลดีหรือชั่ว  สมควรแก่เหตุที่ตนประกอบ  พร้อมที่จะวินิจฉัย  วางตน และปฏิบัติไปตามเที่ยงธรรม

เมื่อมีคุณธรรมภายในเป็นพื้นฐานจิตใจเช่นนี้แล้ว พึงแสดงออกภายนอก  ตาม

หลักความประพฤติต่อไปนี้

  ข. บำเพ็ญการสงเคราะห์  คือ ปฏิบัติตามหลักการสงเคราะห์หรือธรรม  เครื่อง

ยึดเหนี่ยวใจคน และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี  ที่เรียกว่า สังคหวัตถุ  4  อย่าง ดังต่อไปนี้

  1) ทาน  ให้ปัน  คือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  เสียสละ  แบ่งปัน  ช่วยเหลือสงเคราะห์

ด้วยปัจจัยสี่  ทุนหรือทรัพย์สินสิ่งของ  ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจและศิลปวิทยา

  2) ปิยวาจา  พูดอย่างรักกัน  คือ  กล่าวคำสุภาพ  ไพเราะ  น่าฟัง  ขี้แจงแนะ

นำสิ่งที่เป็นประโยชน์  มีเหตุผลเป็นหลักฐาน  ชักจูงในทางที่ดีงาม  หรือคำแสดงความคิดเห็นอกเห็นใจ  ให้กำลังใจ  รู้จักพูดให้เกิดความเข้าใจดี  สมานสามัคคี  เกิดไมตรี  ทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

  3) อัตถจริยา  ทำประโยชน์แก่เขา  คือช่วยเหลือด้วยแรงกาย และขวนขวาย

ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ  บำเพ็ญสาธารณประโยชน์  รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม

  4) สมานัตตา  เอาตัวเข้าสมาน  คือทำตัวให้เข้ากับเขาได้  วางตนเสมอต้น

เสมอปลาย  ให้ความเสมอภาค  ปฏิบัติสม่ำเสมอกันต่อคนทั้งหลายไม่เอาเปรียบ และเสมอในสุขทุกข์  คือ  ร่วมสุข  ร่วมทุกข์  ร่วมรับรู้  ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน

พูดสั้น ๆว่า  ช่วยด้วยทุนด้วยของหรือความรู้ ;  ช่วยด้วยถ้อยคำ;  ช่วยด้วยกำลังงาน ;ช่วยด้วยการร่วมเผชิญและแก้ปัญหา

   คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของชุมชน  คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของหมู่ชน  ซึ่งจะช่วยให้ 

หมู่ชนอยู่ร่วมกันด้วยดี  มีธรรม  คือหลักความประพฤติดังนี้

  ก.พึ่งตนเองได้  คือทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้  พร้อมที่จะรับผิดชอบตนเอง  ไม่

ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระถ่วงหมู่คณะ  หรือหมู่ญาติ ด้วยการประพฤติธรรม สำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง (เรียกว่า  นาถกรณธรรม) 10 ประการ  คือ

  1) ศีล  ประพฤติดีมีวินัย  คือ  ดำเนินชีวิตโดยสุจริตทั้งทางกาย  ทางวาจา  มีวินัย

และประกอบสัมมาชีพ

  2) พาหุสัจจะ  ได้ศึกษาสดับมาก  คือ  ศึกษาเล่าเรียนสดับตรับฟังมากอันใดเป็น

สายวิชาของตน  หรือตนศึกษาศิลปะวิทยาใด  ก็ศึกษาให้ช่ำชอง  มีความเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้ง  รู้ชัดเจนและใช้ได้จริง

  3) กัลยาณมิตตตา  รู้จักคบคนดี  คือ  มีกัลยาณมิตร  รู้จักเลือกเสวนาเข้าที่

ปรึกษาหรือผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี  เลือกสัมพันธ์เกี่ยวข้องและถือเยี่ยงอย่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี  ซึ่งจะทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม

  4) โสวจัสสตา  เป็นคนที่พูดกันง่าย  คือ ไม่ดื้อรั้นกระด้าง  รู้จักรับฟังเหตุผลและ

ข้อเท็จจริง  พร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตน

  5) กิงกรณีเยสุ  ทักขตา  ขวนขวายกิจของหมู่  คือเอาใจใส่ช่วยเหลือธุระและกิจ

การของชนร่วมหมู่คณะ  ญาติ  เพื่อนพ้องและของชุมชน  รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองหาวิธีดำเนินการที่เหมาะสม  ทำได้  จัดได้  ให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

  6) ธรรมกามตา   เป็นผู้ใคร่ธรรม  คือ  รักธรรม  ชอบศึกษา  ค้นคว้าสอบถามหา

ความรู้ความจริง  รู้จักพูด  รู้จักรับฟัง  สร้างความรู้สึกสนิทสนมสบายใจ  ช่วยให้ผู้อื่นอยากเข้ามาปรึกษาและร่วมสนทนา

  7) วิริยารัมภะ  มีความเพียรขยัน  คือ  ขยันหมั่นเพียรพยายามหลีก  ละความชั่ว 

ประกอบความดี  บากบั่น  ก้าวหน้าไม่ย่อท้อ ไม่ละเลยทอดทิ้งธุระหน้าที่

  8) สันตุฏฐี  มีสันโดษรู้พอดี  คือ  ยินดี พึงพอใจแต่ในลาภผล  ผลงานและผู้

สำเร็จต่างๆ  ที่ตนสร้างหรือแสวงหามาได้ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม และไม่มัวเมาเห็นแก่ความสุขทางวัตถุ

  9) สติ   มีสติคงมั่น  คือ  รู้จักกำหนดจดจำ  ระลึกการที่ทำ  คำที่พูดกิจที่ทำแล้ว 

และที่จะต้องทำต่อไปได้  จะทำอะไรก็รอบคอบ  รู้จักยับยั้งชั่งใจ  ไม่ผลีผลาม  ไม่เลินเล่อไม่เลื่อนลอย ไม่ประมาท ไม่ยอมถลำลงในทางผิดพลาดไม่ปล่อยปละละเลยทิ้งโอกาสสำหรับความดีงาม

  10) ปัญญา  มีปัญญาเหนืออารมณ์  คือ  มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล  รู้ดีรู้ชั่ว คุณโทษ 

ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง  รู้จักพิจารณาวินิจฉัยด้วยใจเป็นอิสระ ทำการต่างๆ ด้วยความคิดและมีวิจารณญาณ

  ข. อยู่ร่วมในหมู่ด้วยดี ในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนร่วมกิจการ  

หรือ  ร่วมชุมชน  ตลอดจนพี่น้องร่วมครอบครัว  พึงปฏิบัติตามหลักการอยู่ร่วมกันที่เรียกว่า สาราณียธรรม  (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน)  6  ประการ คือ

  1) เมตตากายกรรม  ทำต่อกันด้วยเมตตา  คือแสดงไมตรีและความหวังดีต่อ

เพื่อนร่วมงาน  ร่วมกิจการ  ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่างๆโดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

  2) เมตตาวจีกรรม  พูดต่อกันด้วยเมตตา  คือ  ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่ง

สอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพแสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

  3) เมตตามโนกรรม  คิดต่อกันด้วยเมตตา  คือ  ตั้งจิตปรารถนาดี  คิดทำสิ่งที่เป็น

ประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดีมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

  4) สาธารณโภคี  ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้

เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน

  5) สีลสามัญญตา  ประพฤติให้ดีเหมือนเขา  คือ  มีความประพฤติสุจริตดีงาม 

รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ

  6) ทิฏฐิสมัญญตา  ปรับความเห็นเข้ากันได้  คือ  เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน  มี

ความเห็นชอบร่วมกัน  ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงามหรือจุดหมายสูงสุดอันเดียวกัน

คนมีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี  สมาชิกของรัฐผู้มีส่วนร่วมให้เกิดการปก

ครองที่ดี  โดยเฉพาะคนในสังคมประชาธิปไตย  พึงรู้หลักและปฏิบัติดังนี้

  ก. รู้หลักอธิปไตย  คือ รู้หลักความเป็นใหญ่ที่เรียกว่าอธิปไตย  3  ประการ ดังนี้

  1) อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่  คือ  ถือเอาตนเอง  ฐานะศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ กระทำการด้วยปรารภตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นประมาณ  ในฝ่ายกุศล ได้แก่  เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน

   2) โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่  คือ  ถือความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ 

หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ  กระทำการด้วยปรารภจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยมหรือหวั่นกลัวเสียงกล่าวว่าเป็นประมาณ  ในฝ่ายกุศลได้แก่ เว้นชั่วทำดี ด้วยเคารพเสียงหมู่ชน

   3) ธรรมาธิปไตย   ถือธรรมเป็นใหญ่  คือ  ถือหลักการความจริง  ความถูกต้อง 

ความดีงาม  เหตุผล  เป็นใหญ่ กระทำการด้วยปรารภสิ่งที่ได้ศึกษาตรวจสอบข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวางแจ้งชัด  และพิจารณาอย่างดีที่สุด  เต็มขีดแห่งสติปัญญา จะมองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า  เป็นไปโดยชอบธรรมและเพื่อความดีงาม  เป็นประมาณ  อย่างสามัญ ได้แก่ ทำการด้วยความเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา  เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว  ถ้าต้องการรับผิดชอบต่อรัฐประชาธิปไตย  พึงถือหลักข้อ 3 คือ ธรรมาธิปไตย

  ข. มีส่วนร่วมในการปกครอง  โดยปฏิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วย

ป้องกันความเสี่ยง นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียวที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม 7 ประการ  คือ

   1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์  พบปะปรึกษาหารือกิจการงาน  (ที่พึงรับผิดชอบ

ตามระดับของตน) โดยสม่ำเสมอ

  2) พร้อมเพรียงกันประชุม  พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม  พร้อมเพรียงกันทำกิจ

ทั้งหลายที่พึงทำร่วมกัน

  3) ไม่ถืออำเภอใจใคร่ต่อความสะดวก  บัญญัติวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ

อันมิได้ตกลงบัญญัติวางไว้  และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติกันไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้เป็นธรรมนูญ

   4) ท่านผู้ใดเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน  ให้เกียรติเคารพนับถือท่าน

เหล่านั้น มองเห็นความสำคัญแห่งถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง

   5) ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี  มิให้มีการข่มเหงรังแกกัน

   6) เคารพบูชาสักการะเจดีย์  ปูชนียสถาน  อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่อง

เตือนความทรงจำ  เร้าให้ทำดี  และเป็นที่รวมใจของหมู่ชน  ไม่ละเลยพิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานเหล่านั้น ตามประเพณี

   7) จัดการให้ความอารักขา  บำรุง  คุ้มครอง  อันชอบธรรมแก่บรรพชิต ท่านผู้

ทรงศีลทรงธรรมบริสุทธิ์ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน  เต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก

คนผู้นำรัฐ  ท่านเป็นผู้ใหญ่ในแผ่นดิน ผู้นำ  และผู้ปกครองรัฐตั้งต้นแต่   พระเจ้า
จักรพรรดิ  พระมหากษัตริย์  ตลอดจนนักปกครองโดยทั่วไป  มีลักษณะที่เป็นคุณสมบัติ  และข้อปฏิบัติดังนี้

  ก. ทรงทศพิศราชธรรม  คือ  มีคุณสมบัติของผู้ปกครองหรือ  ราชธรรม  (ธรรม

ของพระราชา)  10 ประการดังนี้

  1) ทาน ให้ปันช่วยประชา  คือ บำเพ็ญตนเป็นผู้ให้โดยมุ่งปกครองหรือทำงานเพื่อให้เขาได้  มิใช่เพื่อจะเอาจากเขา  เอาใจใส่อำนวยบริการจัดสรรความสงเคราะห์  อนุเคราะห์  ให้ประชาราชได้รับประโยชน์สุข  ความสะดวกปลอดภัย  ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อน  ประสบทุกข์  และให้ความสนับสนุนแก่คนทำความดี

  2) ศีล  รักษาความสุจริต คือ  ประพฤติดีงาม  สำรวมกายและวจีทวารประกอบแต่การสุจริต  รักษากิตติคุณ  ประพฤติให้ควรเป็นตัวอย่าง  และเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์  มิให้มีข้อที่ผู้ใดจะดูแคลน

  3) ปริจาคะ  บำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ  คือ  สามารถเสียสละความสุขสำราญ  เป็นต้น  ตลอดชีวิตของตนได้  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

  4) อาชชวะ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง  คือ  ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยาปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต  มีความจริงใจ  ไม่หลอกลวงประชาชน

  5) มัททวะ  ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงคน  คือ  มีอัธยาศัย  ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด่างถือองค์  มีความสง่าเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวลละมุนละไม  ควรได้ความรักภักดีแต่มิขาดยำเกรง

  6) ตปะ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส  คือ  แผดเผากิเลส  ตัณหา  มิให้เข้ามาครอบงำจิตระงับยับยั้งข่มใจได้  ไม่หลงไหลมกมุ่นในความสำราญ  และการปรนเปรอ  มีความเป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอหรืออยู่อย่างง่ายๆ  สามัญ มุ่งแต่จะบำเพ็ญเพียรทำกิจในหน้าที่ให้สมบูรณ์

  7) อักโกธะ ถือเหตุผลไม่โกธา  คือ  ไม่เกรี้ยวกราด  ไม่วินิจฉัยความและกระทำการด้วยอำนาจความโกรธ  มีเมตตาประจำใจไว้  ระงับความเคืองขุ่นวินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันสุขุมราบเรียบตามธรรม

  8) อวิหิงสา มีอหิงสานำร่มเย็น  คือไม่หลงระเริงอำนาจ  ไม่บีบคั้นกดขี่มีความกรุณา  ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใด  ด้วยความอาฆาตเกลียดชัง

  9) ขันติ  ชำนะเข็ญด้วยขันติ  คือ  อดทนต่องานที่ตรากตรำ  อดทนต่อความเหนื่อยยาก  ถึงจะลำบากเหนื่อยหน่ายเพียงไร  ก็ไม่ท้อถอย  ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางอย่างใด  ก็ไม่หมดกำลังใจ  ไม่ยอมละทิ้งกิจกรณีย์ที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม

  10) อวิโรธนะ  มิปฏิบัติคลาดจากธรรม  คือ  ปฏิบัติมิให้ผิดจากศาสนธรรม  อันถือประโยชน์สุขความดีงามของรัฐและราษฎร์เป็นที่ตั้ง  อันใดประชาราชปรารถนาโดยชอบธรรมก็ไม่ขัดขืน  การใดจะเป็นไปโดยชอบธรรมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  ก็ไม่ขัดขวาง  วางองค์เป็นหลัก  หนักแน่นในธรรม  คงที่  ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว  เพราะถ้อยคำดีร้ายลาภสักการะหรืออิฏฐารมณ์ใดๆ  สถิตมั่นในธรรม  ทั้งส่วนยุติธรรม  คือ  ความเที่ยงธรรมก็ดี  นิติธรรม  คือ  ระเบียบแบบแผนหลักการปกครอง  ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม  ก็ดี  ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป

  ข. บำเพ็ญกรณีย์ของจักรพรรดิ  คือ  ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปกครองผู้ยิ่งใหญ่ที่

เรียกว่า  จักรวรรดิวัตร(ธรรมเนียมหรือหน้าที่ประจำของจักรพรรดิ) 5 ประการคือ

  1) ธรรมาธิปไตย  ถือหลักธรรมเป็นใหญ่  คารพธรรม  เชิดชูธรรม  นิยมธรรม  ตั้งอยู่ในธรรม  ประพฤติธรรมด้วยตนเอง

  2) ธรรมิการักขา  ให้ความคุ้มครองโดยธรรม  คือ  จัดอำนวยการรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม  แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน  คือ  คนภายใน  ข้าราชการฝ่ายทหาร  ข้าราชการฝ่ายปกครอง  ข้าราชการพลเรือน  นักวิชาการและคนต่างอาชีพ  พ่อค้า  เกษตรกร  ชาวนิคมชนบท  และชนชายแดน  พระสงฆ์และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงคุณธรรม  ตลอดจน  สัตว์เท้าสัตว์ปีก  อันควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย

  3) มา อธรรมการ  ห้ามและกั้นการอันอาธรรม์  ค

หมายเลขบันทึก: 510416เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2012 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท