ลอยกระทงครั้งแรกหน้าเสาธง


การกระตุ้นให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมประเพณีอย่างรู้คุณค่า เข้าใจความหมายจะทำให้ประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้นกลายเป็นความรู้ที่คงทน


"บริเวณหน้าเสาธง"

          ภาคเรียนที่ ๒ ครูนกมีบทบาทใหม่เพิ่มจากปกติคือ ทำหน้าที่ครูเวรประจำวันที่รับผิดชอบกิจกรรมหน้าเสาธงในทุกๆวันพุธ (ทำหน้าที่แทนพี่ๆ ที่เกษีียณอายุราชการไป)  สาเหตุที่ครูนกตกลงรับปากกับพี่ๆที่มาทาบทามเนื่องจาก อยากบอกข่าวเล่าเรื่องกับนักเรียนหลายๆระดับชั้นนอกเหนือจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕  และอยากฝึกทักษะการสื่อสารของตนเองด้วย  ที่สำคัญได้แรงบันดาลใจจากการดูคลิปวิดีโอที่อาจารย์แผ่นดินนำมาให้ชมเมื่อต้นเดือนนี้  "สัญญาหน้าเสาธง" ที่มีความหมายต่อชีวิตของนักเรียน  ต่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆคน

         ปฐมฤกษ์คือวันนี้ "วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕"  เริ่มต้นครูนกไปยืนเฝ้าสังเกตการมาโรงเรียนของนักเรียน และการแต่งกาย  ตลอดจนพฤติกรรมของนักเรียนในการมาโรงเรียนตอนเช้าเพื่อเป็นข้อมูลในการพูดคุย  แต่วันนี้มีเรื่องเด่นประเด็นในใจคือ "การร่วมกิจกรรมลอยกระทงอย่างรู้คุณค่า"
          ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตนักเรียนคือ  
-   นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นส่วนใหญ่จะมาเร็วกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
-   นักเรียนแต่งเครื่องแบบกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้สวมหมวก
-   นักเรียนหลายคนหอบข้าวหอบของพะรุงพะรัง  
-   นักเรียนหลายคนจะมาอย่างแจ่มใส และมีส่วนน้อยที่มาแบบ "ฉันยังไม่ตื่น"
                                                           
        

           แต่ด้วยวันนี้มีกิจกรรมหน้าเสาธงหลายอย่างคือ มองรางวัลการทำกระทงของนักเรียนทั้ง ๖ ระดับ  ทำให้ครูนกตัดข้อมูลในใจเหลือเพียง "การร่วมกิจกรรมลอยกระทงอย่างรู้คุณค่า"
          ครูนกได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง   นางนพมาศ  และเชื่อมโยงให้เห็นถึงคุณค่าของประเพณีนี้ที่สอนให้คนได้รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อสายน้ำที่ให้คุณค่ามากมาย  และเชื่อมโยงไปยังคุณค่าทางศาสนา  ตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว นอกจากนี้ครูนกได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่ได้มาจากศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กที่บอกว่า อุบัติเหตุในช่วงวันลอยกระทง ผู้ประสบเหตุร้อยละ ๔๐ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ครูนกเลยชี้เห็นที่มาของอุบัติเหตุและการป้องกัน
           ประเด็นสำคัญที่จะละเลยไม่ได้คือ  เสียงเตือนจากสังคมที่ห่วงใยเยาวชนเกี่ยวกับ การเสี่ยงเสียตัวในวันลอยกระทงมากกว่าวาเลนไทน์
            ผลจากการพูดหน้าเสาธงของครูนก  เด็กๆที่ครูนกสอนจะสะท้อนกลับว่า 
-  ครูพูดจาฉะฉานดี   (แต่ครูนกอยากปรับเสียงให้เบาลงในโอกาส

ต่อไป)
-  ครูพูดเหมือนนักวิทยาศาสตร์เลยค่ะ มีความเป็นมา สุมมติฐาน และอีกมากมาย  (สอดคล้องที่พี่ๆบอกว่า พูดสไตล์ครูวิทยาศาสตร์ สั้น กระชับ ตรงประเด็น)
-  เด็กๆ บอกว่า  พูดแบบนี้ดีทำให้เขาได้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน ดีกว่าจะมาบ่นหรือตักเตือน (อยากบอกว่า ทั้งสองอย่างต้องผสมผสานกันไปค่ะ)
-  นักเรียนหลายคนปรบมือให้และตั้งใจฟังครูนะค่ะ (เด็กๆจะบอก)
            จากเสียงสะท้อนของนักเรียนและเพื่อนครู ครูนกจะพยายามลดระดับเสียงลงอีก  และลดความเร็ว  ส่วนสาระเนื้อหาจะพยายามให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่ผู้ฟังจะได้ประโยชน์ไปใช้ในการดำเนินชีวิต  นี้คือสัญญาหน้าเสาธงของครูนก

หมายเลขบันทึก: 510354เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

กระทงสวยมากๆ ใครทำให้ครับ...

สวัสดีค่ะ อาจารย์ดร.ขจิต

         กระทงเป็นฝีมือของเด็กๆ ค่ะ....ได้ไปร่วมลอยกระทงหรือเปล่าค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณKunrapee

         กระทงฝีมือของนักเรียนค่ะ

ครูนกทำกิจกรรมได้ทุกด้านจริงๆนะคะ เด็กจะสนใจกิจกรรมลอยกระทงจริงๆไม่มีการลืมวัสดุอุปกรณ์แน่นอน
นำภาพเด็กทำกระทงด้วยผักเตรียมแกงส้มได้เลย ฮา..

  • กระทงสวยมากค่ะท่าน อาจารย์ Ico48

สวัสดีค่ะ krutoom - เด็กๆสนุกกับกระทงผัก....เป็นภาพที่น่ารักขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ - ครูนกคงเช่นครูทั่วๆไป เป็นคล้ายร้านโช่ห่วย มีทุกอย่างแต่ไม่มากมายค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูทิพย์

          กระทงเป็นฝีมือและการออกแบบของเด็กของห้องครูรุ่นน้องค่ะ.....ครูที่ปรึกษาผู้ชายแต่นักเรียนทำออกมาได้สวยงามครูนกเลยเก็บภาพไว้ ขอบคุณค่ะที่มาให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท