ครูต้นแบบในอุดมคติ(3)....ตามรูปแบบจรรยาบรรณวิชาชีพครู



ครูต้นแบบ...ตามรูปแบบจรรยาบรรณวิชาชีพครู


                ครูต้นแบบ  ต้องรู้และเข้าใจในจรรยาบรรณในวิชาชีพครู ซึ่งเป็นการประมวลมาตรฐานความประพฤติ    ที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบ วิชาชีพปฏิบัติ

อย่างถูกต้องเพื่อให้สมาชิก    ในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดใน

จรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติ ที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน 9 ประการดังนี้


http://www.youtube.com/watch?v=kxor3qmLDfo&feature=related



                ประการแรก ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ  บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทาให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุขเรียนด้วยความเข้าใจ และเกิดความมานะ พยายามที่จะรู้ในศาสตร์นั้น ครูจึงต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะศึกษาวิชาการทั้งทางศาสตร์ที่จะสอนศาสตร์ที่จะถ่ายทอดหรือวิธีการสอน ครูต้องพยายาม ที่จะหาวิธีการใหม่ ๆ มาลองทดลองสอน ไม่ใช่เก็บกักความรู้เพื่อนาไปสอนพิเศษ

                 ประการที่สอง รักและเข้าใจศิษย์ ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ว่ามีปัญหามีความไว    ต่อความรู้สึก (sensitive) และอารมณ์ไม่พึงประสงค์ครูต้องพยายามทำ ให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้า   ปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะสามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียนและการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง

                 ประการที่สาม ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้เรียน ค้นคว้าหาคาตอบด้วยตนเองหรือการเรียนรู้จากการช่วยเหลือกันในกลุ่ม อาจจะทำให้ผู้เรียนมีวิธีการหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น การค้นคว้าจากห้องสมุด หอวัฒนธรรม ด้วยตนเองมากขึ้นมากกว่าจะคอยให้ครูบอกให้แต่ฝ่ายเดียว

                  ประการที่สี่ ความยุติธรรม อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้ เป็นคนซื่อสัตย์ยุติธรรม    ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็นน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น ครูต้องมีความเป็นธรรมในการให้คะแนนและพร้อมที่จะอธิบายวิธีการให้คะแนนและการตัดเกรดได้ ครูต้องรอบคอบในการกรอกคะแนน เพราะถ้าผิดพลาดแล้ว บางครั้งก็จะทาให้ผู้เรียนที่ควรได้คะแนนดีๆกลับได้คะแนนเกือบจะสอบตกไป ซึ่งอาจสร้างความไม่พอใจแก่ผู้ปกครองได้

                   ประการที่ห้า ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน ลักษณะของครูจะต้อง เป็นผู้ไม่แสวงหาอามิสสินจ้าง เงินไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสุขเสมอไป ครูจึงจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการกระทำใดๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ครูกำลังหาประโยชน์จากศิษย์อย่างไม่เป็นธรรม เช่น กรณีการแก้ 0 แก้ ร. ของนักเรียน บางทีเห็นครูบางคนให้นักเรียนนำดอกกล้วยไม้หรือทำโต๊ะ ตั่ง ม้านั่ง เก้าอี้มาส่งก็มี เพื่อแลกกับการ แก้ 0 แก้ ร. พฤติกรรมดังกล่าวจึงเป็นที่น่ารังเกียจในสังคมของการศึกษา

                    ประการที่หก ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ทำจากตัวครูไป เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้ เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา    การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น

                      ประการที่เจ็ด ให้เกียรติผู้เรียน การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน ทำให้ผู้เรียน เกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อานาจในทางที่ผิด เช่น พูดจา ข่มขู่ ใช้คาพูดไม่สุภาพ เปลี่ยนชื่อผู้เรียน เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน การเคารพ ผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ดีเมื่อผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษาต่อไป

                       ประการที่แปด การอบรมบ่มนิสัย (ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีบทบาทหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก โดยท่านเชื่อว่า “การอบรมบ่มนิสัยใคร ๆนั้น เพียงแค่วันละนาทีก็ดีถม” ดังนั้นครูควรแบ่งเวลาในการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน เช่น ก่อนการสอนแต่ละชั่วโมงอาจชี้ แนะหรือให้ความคิดที่ดีแก่ผู้เรียนได้ ครูควร ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสอนคนให้เป็นคนดี

                        ประการสุดท้ายช่วยเหลือศิษย์  ผู้เรียนมาอยู่ในสถานศึกษาพร้อมด้วยประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้อง สังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลาลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

                        ครูต้นแบบ เป็นบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทั้งทางด้านการเรียน การสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาของรัฐ และเอกชน โดยมีองค์ประกอบคุณลักษณะที่เพียบพร้อมในด้านความรอบรู้ในวิทยาการในฐานะครูและพลเมืองที่มีคุณภาพมีความสามารถและทักษะในด้านการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์การเรียนรู้สมกับเป็นบุคลากรในวิชาชีพชั้นสูงมีคุณธรรมจริยธรรมและบุคลิกภาพสมกับความเป็นครูและมีความรู้อย่างลึกซึ้งกว้างขวางในศาสตร์สาขาที่สอน (Subject Matter) อันนาไปสู่บุคลากรวิชาชีพ


อ้างอิงบทความของ : ครูบ้านนอกดอทคอม

อ้างอิงบทความของ : บุญยืน ทูปแป้น มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย


หมายเลขบันทึก: 510285เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2012 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท