ได้เรียนรู้เมื่อลงเยี่ยมเกษตรกรสวนปาล์ม


การศึกษาสภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในเขตจังหวัดกำแพงเพชร


               เมื่อเร็วๆนี้(วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕) ผมและทีมงาน ได้มีโอกาสลงไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่ทำสวนปาล์มน้ำมัน ที่ชื่อ คุณรสสุคนธ์ สุธาศิลพรมแพร  อยู่บ้านเลขที่ ๙o หมู่๑o ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร ทั้งนี้ทีมงานตั้งใจไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มน้ำมันที่ปลูกในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และทำการศึกษาสภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในเขตจังหวัดกำแพงเพชร


                        

                คุณรสสุคนธ์ ได้เล่าให้ทีมงานฟังว่า ตนเองและสามี เดิมรับราชการอาชีพครู ขณะนี้ได้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ทั้งสองคน แต่ขณะนี้ก็ดูแลสวนปาล์มน้ำมัน จำนวน ๓๕ ไร่ ซึ่งต้นปาล์มที่ปลูกมีอายุ ประมาณ ๕ ปีเศษ แล้ว เริ่มให้ผลผลิตโดยเก็บผลปาล์มไปจำหน่ายครั้งหนึ่งแล้ว ได้เงินมาประมาณ ๘o,ooo บาท พันธุ์ปาล์มที่ปลูกได้แก่พันธุ์เทเนอร่า ซึ่งได้ซื้อมาจากเพื่อนบ้าน


                         

                คุณรสสุคนธ์ ได้กล่าวต่อไปอีกว่าการปลูกปาล์มน้ำมัน ตนเองใช้ระยะปลูกระยะห่างระหว่างแถว ๙ เมตรและระยะห่างระหว่างต้น ๙ เมตร ไม่มีการสลับฟันปลาเหมือนแปลงอื่น พื้นที่ปลูกปาล์มของตนเองเป็นสภาพพื้นที่ไร่ ได้วางระบบน้ำแบบน้ำหยด ทุกต้น จะสังเกตุได้ว่าการปลูกแบบไม่สลับฟันปลาเมื่อต้นปาล์มกำลังเจริญโตปลายใบจะชนกัน  ก็จะมีผลในการรับแสงแดดไม่เต็มที่  นอกจากนี้จะพบบางต้นมีก้านใบปาล์มหักพับลงมา เมื่อสังเกตก็จะพบคล้ายกับถูกแมลงกัดแทะก้านใบ สำหรับผลปาล์มที่สุกจะมีนกเอี้ยงบินมาจิกผลปาล์มทำให้ผลผลิตปาล์มเสียหายมาพอสมควร ตนเองจึงทำการตัดผ้ารี่สีน้ำเงินโดยนำไปคลุมทลายปาล์มทุกต้น ก็ได้ผลเช่นกัน



              นอกจากนี้ยังพบว่าการแทงช่อดอกในช่วงที่ปริมาณการให้น้ำในปริมาณที่น้อย ช่วงที่ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงติดต่อกันหลายวัน ในระยะนี้ช่อดอกจะเป็นเกสรตัวผู้มาก และมีเกสรตัวเมียมีน้อย ซึ่งมีผลกระทบทำให้ผลผลิตปาล์มไม่ออก รวมระยะเวลาประมาณ ๔ เดือน


               จากนั้นทางทีมงาน ได้ขอลงไปศึกษาดูต้นปาล์มในแปลงปลูก ก็พบว่า ข้อมูลตรงกับที่คุณรสสุคนธ์ ได้เล่าให้ฟังมาแต่ต้น หากเราจะดูลักษณะการเจริญเติบโต และการติดผลปาล์มโดยเปรียบเทียบ กับแปลงปลูกปาล์มในเขตน้ำดีที่ปลูกแบบร่อง ก็จะมีผลแตกต่างกันอย่างชัดเจน


                        


               นอกจากนี้ยังทางทีมงาน ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า สาเหตุที่ต้นปาล์มมีเกสรตัวผู้ที่ออกมามีจำนวนมาก การติดผลจะออกทลายในช่วงฤดูฝน ส่วนช่วงที่ไม่มีน้ำฝน หรือปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ต้นปาล์มจะไม่ค่อยแทงช่อออกออกมาเลยนั้น จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่อาจจะมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น
              ·  แหล่งพันธุ์ อาจจะเป็นไปได้ว่าพันธุ์ที่ปลูกมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้หรือไม่
              ·  ลักษณะของเนื้อดินในแปลงปลูกปาล์มอาจไม่สมบูรณ์อาจจะขาดธาตุอาหารบางตัว
              ·  ระบบการให้น้ำปริมาณการให้น้ำอาจจะน้อยในแต่ละครั้งอาจจะไม่เพียงพอต่อการติดผล
              ·  การให้ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์  ปริมาณทีใส่จะยังมีความจำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นปาล์ม
              ·  การดูแลรักษาแปลงปลูก การสังเกตอาการที่เกิดกับต้นปาล์ม รวมถึงศัตรูของต้นปาล์ม
              ·  ความสะอาดของแปลงปลูก การกำจัดวัชพืช ไม่ให้ขึ้นรกมากเกินไป
              ·  การตัดแต่งก้านใบปาล์มที่ถูกต้องและเหมาะสม


                      

            ทั้งนี้ทีมงาน ยังต้องลงไปเก็บข้อมูลปาล์มที่ปลูก เป็นรายต้น และรายแปลงต่อไป เพื่อทำการเปรียบเทียบกับแปลงใกล้เคียง
            จากการที่ทีมงาน ได้ลงไปศึกษาสภาพการปลูกปาล์มในแปลงปลูกของเกษตรกร พอที่จะประมวลในการหาโจทย์ในการศึกษาต่อไป


เขียวมรกต
๒๗ พย.๕๕




หมายเลขบันทึก: 510183เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2012 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณท่านใบไม้ร้องเพลง
  • ที่กรุณามาแวะเยี่ยม
  • ยินดีครับ
  • ขอบคุณท่านอาจารย์โสภณ
  • ที่กรุณามาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจกันเสมอมา
  • ขอบคุณท่านอาจารย์สามสัก
  • ที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจกันเสมอมา
  • ขอบคุณ คุณปริม
  • ที่แวะมาเยี่ยมเสมอมา
  • ยินดีครับ
  • ขอบคุณtuknarak
  • ที่แวะมาเยี่ยม
  • ยินดีครับ

  • ขอบคุณ เมืองน่ารัก
  • ที่แวะมาเยี่ยม
  • ยินดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท