CE17: มาเตรียม 1x Capillary Electrophoresis buffer ใช้เองดีกว่า


     Buffer ที่ใช้กับเครื่อง capillary electrophoresis ของ Applied Biosystems ที่มากับบริษัท จะเป็น 10x CE buffer with EDTA เวลาใช้ก็นำมาเจือจางให้เป็น 1x CE buffer แล้วใช้ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วก็เปลี่ยน ผมเคยตั้งคำถามไว้ว่า นอกจาก 10x buffer ที่บริษัทขายอยู่ เราสามารถหาซื้อ buffer ของบริษัทอื่น เอามาใช้กับเครื่อง capillary electrophoresis ของ Applied Biosystems ไม่ว่าจะรุ่น 310, 3100, 3130, 3130xl, 3730 หรือจะเป็น 3730xl ก็ตาม หรือจะสามารถเตรียม buffer นี้ขึ้นมาใช้เองได้ไหม....แล้วนี้คือคำตอบครับ

 

     1. ซื้อ commercial buffer ที่เขาขายกัน ผมเคยซื้อของ Amresco   ครับ ชื่อว่า A.C.E. sequencing buffer, 10x running buffer Code K249-1L ขนาดบรรจุ 1 ลิตร ซื้อจากบริษัท กิบไทย ผมจำราคาแน่นอนไม่ได้ เวลาใช้ก็เจือจาง 10 เท่า เช่นเดียวกับ buffer ของ ABI

     2. เตรียม น้ำยาขึ้นใช้เอง ทั่วไปแล้ว buffer ที่ใช้กับงาน capillary electrophoresis มักใช้ buffer อยู่ 2 ชนิด ได้แก่ Tris borate buffer กับ TAPS buffer  สำหรับเจ้า buffer ตัวแรก คือ Tris borate buffer มีข้อจำกัดที่เป็น buffer ที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิค่อนข้างมาก แล้วงาน capillary electrophoresis ของ ABI หากเป็น fragment analysis จะทำงานที่อุณหภูมิ 60 C และ sequencing จะทำงานที่อุณหภูมิ 55 C ซึ่งค่อนข้างสูงครับ จึงทำให้ Tris borate buffer อาจจะไม่เหมาะกับงานนี้นัก ส่วน TAPS buffer ซึงมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้อยกว่า จึงดูเหมือนจะเหมาะสมกว่า

 

     TAPS คือสาร [(2-Hydroxy-1,1-bis(hydroxymethyl)ethyl)amino]-1-propanesulfonic acid Sodium-Potassium salt หรือ N-tris(Hydroxymethyl)methyl-3-aminopropanesulfonic acid Sodium-Potassium salt. ใช้เป็น zwitterionic buffer  ในงาน capillary electrophoresis แรกเริ่มเดิมที ผมซื้อสารตัวนี้จาก Sigma Cat No. T9659-50g  ขนาด 50 กรัม ราคา 3,691.50 บาท นำมาเตรียมน้ำยา แล้วปรากฎว่าใช้ได้ ก็เลยซื้อเป็นขวดใหญ่ คราวนี้เปลี่ยนยี่ห้อมาเป็น Calbiochem Cat No. 394675 TAPS Ultrol grade ขนาด 1 kg ราคา 18,917.60 บาท จากบริษัท A and A Reagent

     TAPS buffer สำหรับงาน capillary electrophoresis ก็คือ 80-120 mM TAPS และ 1 mM EDTA pH 8.0 ขึ้นอยู่กับเราว่าจะใช้ ionic strength ของ buffer มากน้อยเพียงใด ที่ม.อ. เราเลือกเตรียม 1x Capillary electrophoresis buffer ที่ความเข้มข้น 100 mM TAPS, 1 mM EDTA pH 8.0  ข้อควรระวัง คือ น้ำกลั่นที่นำมาใช้ควรเป็นน้ำกลั่นที่มีคุณภาพค่อนข้างสูง สำหรับห้องแล็บที่หาน้ำกลั่นที่มีคุณภาพได้ค่อนข้างยาก สามารถใช้ น้ำกลั่นสำหรับฉีดยา (water for irrigation) ซึ่งเบิกได้จากห้องยาของโรงพยาบาลทั่วไป ห้องแล็บที่ ม.อ. ก็ใช้น้ำกลั่นประเภทนี้ในการเตรียมน้ำยาแทบทุกชนิดในงานตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอทางนิติเวชครับ

     ผมไม่แน่ใจว่าผมมีอคติหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้มีการทดสอบอย่างเป็น scientific โดยประสบการณ์ผมคิดว่า buffer ที่เตรียมขึ้นใช้เองนี้ มีสัญญานรบกวน (noise) ต่ำกว่า buffer ของ Amresco ที่ซื้อมาครับ และใกล้เคียงกันมากหรือแทบจะไม่แตกต่างจาก buffer ของ ABI สำหรับต้นทุนการทดสอบ พบว่า TAPS 1 Kg ใช้เตรียม buffer ได้รวม 41.1 L ก็ตกประมาณลิตรละ 460 บาท ราคานี้ไม่รวม EDTA และน้ำกลั่นครับ เพราะ EDTA ที่ใช้ปริมาณน้อยมากๆ และสารที่ใช้เป็นสารเคมีเก่าที่มีอยู่ในห้องแล็บที่นี่อยู่แล้วและไม่ทราบราคาของสารตัวนี้ตอนที่ซื้อมาครับ

     หากตั้งคำถามว่า buffer ที่เตรียมขึ้นใช้เองนี้ มีผลกระทบต่ออายุการใช้งานของเครื่องหรือไม่ ก็คงต้องตอบว่า buffer ที่ใช้นี้ เป็นการใช้ที่ตำแหน่ง anode buffer container และ cathode buffer container เท่านั้น ไม่ได้เข้าไปรบกวนในส่วนอื่นๆของเครื่อง เพราะฉะนั้น หากไม่พอใจคุณภาพของ buffer ท่านก็สามารถเปลี่ยน buffer ได้ตลอดเวลาครับ โดยไม่มีผลกระทบต่อส่วนอื่นๆของเครื่องมือครับ  แต่จากประสบการณ์ที่เตรียม buffer ใช้เองมาเกือบ 5 ปี buffer ที่เตรียมขึ้นใช้เอง ไม่มีสัญญาณรบกวนครับ สามารถใช้งานได้เทียบเท่ากับน้ำยา CE buffer with EDTA ของบริษัท ABI ครับ  โดยที่มีราคาต้นทุนต่ำกว่าค่อนข้างมาก

หมายเลขบันทึก: 510092เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2012 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2013 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท