บทสรุปโดยสังเขปจาก
Blog ประชาสัมพันธ์ สคส. เรื่อง
สถานการณ์การจัดการความรู้ในประเทศไทย
ซึ่งแสดงอยู่ที่
http://gotoknow.org/archive/2005/10/07/11/58/37/e5081
มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น ได้แก่
-
"การจัดการความรู้ : KM" ในประเทศไทย ได้รับความสนใจและยอมรับในวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป
-
“รูปแบบ” การจัดการความรู้ที่ใช้จริง หลังจากผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม KM ของ สคส. มี “รูปแบบ” ที่แตกต่างหลากหลายออกไป อันเกิดจากการประยุกต์และไม่ติดอยู่ในรูปแบบเดิมของ สคส. ซึ่งเป็นองค์กรต้นแบบองค์กรหนึ่งของ KM ในประเทศไทย
-
เป็นความตั้งใจและความคาดหมายของ สคส. ที่ต้องการจะเห็น กลุ่ม/องค์กร/ชุมชน เกิดการนำ KM ไปปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้จริง ๆ = Model Development ?
-
มีกลุ่ม/องค์กร/ชุมชน บางแห่งดำเนินการพัฒนาคน พัฒนางาน ด้วยกระบวนการจัดการความรู้อยู่เดิมแล้ว โดยไม่ทราบว่านั่นคือ KM
-
รูปแบบเดิมอาจจะดำเนินการโดยไม่ครบกระบวนการหรือไม่เป็นขั้นตอนที่แน่นอน ซึ่งเมื่อกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการกับ สคส. ก็ได้นำกระบวนการ KM มาเพิ่มเติมให้เต็มรูปแบบและเป็นระบบมากขึ้น
-
มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนที่มี KM เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้และกระบวนการจัดการซึ่งกันและกัน เกิดเป็นภาพของการขยายตัวและโยงใยถึงกันอยู่ในขณะนี้
-
ปัจจัยที่ทำให้กระแส KM เฟื่องฟูอย่างรวดเร็วในภาคราชการ น่าจะเป็นนโยบายรัฐบาล และการให้ความสำคัญของผู้นำหน่วยงาน ทำให้แทบทุกหน่วยงาน ตั้งแต่ระดับกระทรวง, ทบวง, กรม, และหน่วยงานในส่วนภูมิภาคตื่นตัวในการสร้างกิจกรรมที่คิดว่าจะเป็น KM
-
แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ KM เป็นเพียงแฟชั่น คือ ทำการจัดการความรู้แบบปลอม ๆ หวังเพียงให้ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น มิได้เป็นความต้องการที่จะจัดการความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร หรือหมู่คณะเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ประชาชนอย่างแท้จริง
บทสรุปทั้งหมดนี้ แม้จะเป็นภาพรวมของทั้งประเทศ แต่ก็สะท้อนภาพจริงในระดับจังหวัดได้เช่นเดียวกัน ถึงเวลาหรือยังที่เราจะนำบทเรียนจากภาพจริงในระดับประเทศมาประยุกต์ใช้ในจังหวัดของเรา...