beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ผลิตภัณฑ์จากรังผึ้งรักษาโรค : <2> ความรู้เกี่ยวกับเก๊าท์ (Gout)


gout’ เป็นคำที่มาจากภาษาลาดิน (Latin) ว่า ‘gutter’ ซึ่งแปลว่า drop หรือ หยด..นั่นเอง

‘gout’ เป็นคำที่มาจากภาษาลาดิน (Latin) ว่า ‘gutter’ ซึ่งแปลว่า drop หรือ หยด..นั่นเอง

    เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากร่างกายมีกรดยูริคสูง (ศัพท์ วิชาการเรียกว่า hyperuricemia) อยู่ในกระแสเลือดเป็นเวลานาน และเนื่องจากกรดยูริค มีคุณสมบัติในการละลายในขีดจำกัด (ประมาณ 7 มก./ดล. ในผู้ชาย และ 6 มก/ดล.ในผู้หญิง) ทำให้ยูริคส่วนเกินนี้ เกิดการตกตะกอนได้ในร่างกาย (ศัพท์วิชาการเรียกว่า เกิดเป็นผลึกของ sodium monourate)

   บริเวณที่พบมากและทำให้เกิดอาการ "ปวด บวม แดง ร้อน" คือ ในบริเวณข้อต่อต่าง ๆ (และเกิดที่ไต ได้ด้วย) เมื่อเป็นนานๆ หรือเรื้อรัง ก็จะเห็นเป็นปุ่มหรือก้อนตามอวัยวะนั้นๆ ดังภาพที่นำมาให้ชมกัน

 

gout 
ภาพการสะสมของกรดยูริกที่ข้อเท้าขวา
gout
ภาพการสะสมของกรดยูริกที่ข้อต่อนิ้วเท้า
gout ที่ขา
บริเวณที่บวมแดง คืออาการของเก๊าท์
gout ที่มือ
เก๊าท์ที่มือขวา
gout ที่มือขวา, เป็นมากแล้ว
ภาพของเก๊าท์ที่เป็นมากแล้วที่มือขวาของผู้ป่วย

 

    โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เป็นกันมากในคนไทยที่ค่อนข้างมีอายุมาก โดยเฉพาะผู้ชาย

    คำถาม ที่ตามมาคือ ผู้ชายอายุน้อย หรือผู้หญิงเป็นโรคนี้หรือไม่?

    คำตอบ ที่เป็นไปได้คือ ภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบในทันที ต้องใช้ระยะเวลาการเกิดภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี... 
    พบว่าในผู้ชาย ที่มีภาวะกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป
    ส่วนในผู้หญิง ระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง มีผลทำให้ยูริคในเลือดไม่สูง (ฮา...โชคดีที่เกิดเป็นหญิง)

    กรดยูริคมาจากไหน?

    กรดยูริค (Uric acid) เป็นผลผลิตจากการสลายสารพิวรีน (purine) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างสาย DNA ในเซลล์ต่าง ๆ ดังนั้นการสลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มี DNA จะได้กรดยูริค เสมอ

    ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง มาจากอาหารหรือกรรมพันธุ์?

   ภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง (แสดงว่าเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ไม่มากก็น้อย)
   อาหารที่เป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดนั้น น้อยกว่าร้อยละ 10 เสียอีก ดังนั้นผู้ที่ไม่เคยมีประวัติกรดยูริคสูงมาก่อน การกินอาหารที่มีพิวรีนสูง จึงไม่มีทางทำให้ระดับกรดยูริคสูงได้..

   แต่ระมัดระวังไว้ก็ดีนะครับ..ต่อไปนี้เป็นรายการอาหารที่มีพิวรีนครับ

อาหารที่มี
พิวรีนมาก

อาหารที่มี
พิวรีนปานกลาง 

อาหารที่มี
พิวรีนน้อย
 

  • ตับอ่อน
  • เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  • ไข่ปลา
  • ปลาไส้ตัน
  • ปลาอินทรีย์
    ปลาดุก
  • ปลาซาดีน
    กระป๋อง
  • มันสมองวัว
  • กุ้งชีแฮ หอย
  • ถั่วดำ-เขียว-
    แดง-เหลือง
  • น้ำสลัดเนื้อ
    ซุปก้อน
  • แตงกวา
  • ชะอม
  • สะเดา
  • กระถิน
  • เนื้อหมู วัว ไก่ แกะ
  • ปลากระพงแดง
  • ปลาหมึก
  • ปู
  • ใบขี้เหล็ก
  • สะตอ
  • ข้าวโอ๊ต
  • ผักโขม
  • เมล็ดถั่วลันเตา
  • หน่อไม้
  • นมสด, ผลิตภัณฑ์จากนม
  • ไข่ (ไม่ใช่ไข่แดง )
  • ธัญพืชต่างๆ
  • ผักทั่วไป
  • น้ำตาลและขนมหวาน
  • เจลาติน
  • ข้าว
  • ขนมปังไม่เกิน 2 แผ่น/มื้ออาหาร
  • เนยเหลว เนยแข็ง

 

  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเก๊าท์

  • ปวดข้อแล้วไปเจาะเลือดพบว่ายูริคสูง แสดงว่าเป็นเก๊าท์?
    ไม่จริงเสมอไป
    - การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายง่าย ๆ
    - ข้ออักเสบจากเก๊าท์วินิจฉัยได้ง่าย เพราะผู้ป่วยจะมีอาการ "ปวด บวม แดง ร้อน" ที่ข้อชัดเจน เป็นเร็ว และมักเป็นข้อเดียว
    - ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า
    - ถ้าผู้ป่วยปวดข้อ แต่อาการ "ปวด บวม แดง ร้อน" ไม่ชัดเจน หรือตรวจไม่พบ ให้สงสัยว่าไม่ใช่เก๊าท์ ครับ  
    - รายที่เป็นเรื้อรัง อาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบ ๆ ข้อ เช่น ข้อเท้า, ส้นเท้า, ข้อมือ, นิ้วมือ ได้ ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา
    - การเจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติก็ได้ ดังนั้นผู้ที่มีข้ออักเสบ เก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดในขณะนั้น (เพราะไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค)
    - ถ้าอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อ ไม่ชัดเจน ถ้าเป็นที่ข้อบริเวณเท้า แล้วผู้ป่วยเดินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็ให้สงสัยว่าไม่ใช่ เก๊าท์ ..ครับ
    - แต่ถ้ามีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นเก๊าท์... ครับ

         โปรดติตตามตอนต่อไปครับ...

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพจาก

  1. http://www.foogle.biz/gout/gout_bones.jpg
  2. http://www.allaboutarthritis.com/image/stock_image/Gout_dyn.jpg
  3. http://www.joshuakaye.com/images/gout.jpg

 

หมายเลขบันทึก: 50992เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท