ครูคำสั้นๆ ที่ความหมายยิ่งใหญ่


หลายๆมักจะมองข้ามในอาชีพนี้ แม้ว่าคุณจะเก่งกล้าสามารถสักแค่ไหนก็ตาม แต่ก้อย่าลืมว่าที่คุณอ่านออกเขียนได้ มีความรู้ความสามารถมาจนถึงทุกวันนี้ได้เพราะใคร แน่นอนว่าภาพตอนเด๊กๆจะวนเวียนขึ้นมาทันที นั่นก็คือ บุคคลผู้ที่คอยนำความรู้มาให้ในห้องเรียนเสมอ เขาคนนั้นคือ"ครู" 

ความหมาย
  ครู มาจากคำว่า “ครุ” แปลว่า หนัก อันเป็นความหมายแต่โบราณ
  พุทธทาสภิกขุ (2527 : 92) ครูเป็นผู้เปิดประตูวิญญาณ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจ มากกว่าเรื่องทางวัตถุ
  เปลื้อง ณ นคร (2516 : 89) ให้ความหมายไว้ว่า ครูคือผู้มีความหนักแน่น ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์ ผู้สั่งสอน
  ประเวศ วะสี (ม.ป.ป.) ให้ความหมายว่า ครู คือเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงาม ตกไปอยู่ที่ใด ก็ทำให้ที่นั้นมีแต่ความดี ความเจริญ อุดมสมบูรณ์
  จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า ครู มาจากคำว่า “ครุ” แปลว่า หนัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษกำหนดให้บุคคลที่ทำหน้าที่ในการ สืบทอด และถ่ายทอด องค์ความรู้จากภายนอกที่มองเห็น ความรู้จากภายใน อีกทั้งทำความรู้ให้กระจ่าง และเป็น ผู้มีหน้าที่ สร้างบุคคลให้มีคุณภาพทั้งวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข และเป็นกัลยาณมิตร 

ครูจะต้องเข้าใจในจรรยาบรรณวิชาชีพ 9ข้อ

ข้อที่ 1 : ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
นั่นหมายความว่าครูจะต้องไม่เลือกปฏิบัติกับนักเรียน โดยครูจะต้องดูเเลให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนทุกคนโดยไม่ลำเอียงเอนเอียง ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ ความพิการ รวมทั้งฐานะทางการเงิน

ข้อที่ 2 : ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ขึ้นชื่อว่าเป็นครูแล้วก็ต้องมีหน้าที่อบรมสั่งสอนเด็ก ทั้งในความรู้และในเรื่องของศีลธรรมความดีงามด้วย ทั้งนี้สิ่งเหล่านั้นต้องทำด้วยความเต็มใจ มิใช่สักแต่เป็นแค่ในนามเพียงเท่านั้น 

ข้อที่ 3 : ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
หลายครั้งที่เคยได้ยินว่า นักเรียนจะซึมซับพฤติกรรมของครูและจะเลียนแบบครูดังนั้นจึงระลึกอยู่เสมอว่า อยากจะให้นักเรียนเป็นคนดี ครุก็ต้องเป็นคนดีก่อน เพราะเด็กๆก็เหมือนผ้าที่ขาวสะอาด ขึ้นอยู่ที่ว่าคุรจะเเต่งเเต้มสีไหนให้แกพวกเขา 

ข้อที่ 4 : ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
 ไม่ทำการที่ทำให้ศิษย์เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมของศิษย์ ไม่ลงโทษเกินกว่าเหตุและไม่มีเหตุผล ไม่พูดจาดูถูกความสามารถของเด็ก ไม่เปรียบเทียบเด็ก ไม่กดดันเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม จนทำให้เด็กรู้สึกหดหู่

ข้อที่ 5 : ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
ไม่ตัดสินผลงานหรือผลการเรียน โดยมีสิ่งแลกเปลี่ยน ไม่บังคับหรือสร้างเงื่อนไขให้ศิษย์มาเรียนพิเศษเพื่อหารายได้

ข้อที่ 6 : กฎย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
มีความรอบรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี และมีวิสัยทัศน์ในความเป็นครูยุกต์ใหม่ที่เข้าใจปัญหาเด็กจริง จงนึกเสมอว่าอย่างน้องเราก้อเคยเป็นนักเรียน เพราะฉะนั้นจึงต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะนักเรียนมาจากหลายพ่อหลายแม่ ต่างคนต่างความคิดและความเข้าใจ เเต่จะทำเช่นไรที่จะให้เข้าใจตรงกัน ซึ้งการสอนดีกับการสอนเป็น การสอนดีอาจจะสอนระเอียดลึกซึ้งเต็มเนื้อหาสอนเรื่องที่ยากแต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่านักเรียนรู้เรื่อง แต่การสอนเป็นคือการที่ครูสามารถอธิบายให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายๆไม่ใช้ศัพท์สูงมากนักเด็กบางคนอาจไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจซึ่งบางครั้งเเน่นอนว่าเขาจะไม่ยกมือขึ้นถามอย่างแน่นอน การสอนเป็นต้องใช้ใช้ภาษาที่เด็กฟังแล้วรู้เรื่องเพราะนี่คือการสอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย หรือเเม้กระทั่งสอนเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องที่ง่ายกว่า

ข้อที่ 7 : ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
เชื่อมั่น ชื่นชม ภูมิใจในความเป็นครูและองค์กรวิชาชีพครู ว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม รักในความเป็นครู มีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่พร้อมจะถ่ายทอดความรู้ความดีงามให้แก่ศิษย์อยู่เสมอ

ข้อที่ 8 : ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนรวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ แนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยชุมชน และ ให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม

ข้อที่ 9 : ครูพึงประสงค์ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย
สืบสานและสนับสนุนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเและประเพณี วัฒนธรรมไทย ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน


นั่งคิดไปคิดมาเลยเเต่งได้หนึ่งบทกลอนอาจจะไม่ไพเราะเท่าไหร่นะคะ เพระาไม่ได้เรียนเอกภาษาไทยเพราะดันมาเรียนเอกวิทย์

เพราะมีครูจึงมีศิษย์ในวันนี้
ความปรานีชี้ทางคอยสอนสั่ง
หวังจะให้ศิษย์รักประจักษ์แจ้ง
แสงสว่างปัญญาจนแตกฉาน
จึงได้ชื่อผู้สั่งสมอุดมการณ์
ขอไหว้วานมเหศักดิ์องค์หลักเมือง
จงปกปักษ์รักษ์ครูพ้นภัยเอยฯ




กล้วยไม้มีดอกช้า..........ฉันใด
การศึกษาเป็นไป...........เช่นนั้น
แต่ดอกออกคราใด......งามเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั้น.......เสร็จแล้วแสนงาม
กลอนจาก หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล

คำสำคัญ (Tags): #ครู
หมายเลขบันทึก: 509170เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แต่ละข้อดีมากเลยครับ รออ่านอีกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท