บันทึกที่48 ทอดกฐิน ตอนที่2


 (ต่อจากบันทึกที่กที่47)

ขณะขับรถเข้าไปในบริเวณวัด มีผู้คนจำนวนมากมายกำลังจัดทำอาหารเป็นซุ้ม ซุ้มหนึ่งก็อาหารอย่างหนึ่ง มีประมาณข้างละ 10 ซุ้ม รายรอบศาลาการเปรียญ ซึ่งมาทราบภายหลังว่า เป็นซุ้มชาวบ้านที่ต้องการทำบุญร่วมกับทางวัด จึงมาออกซุ้มอาหารเลี้ยงแขกที่มางานกฐิน สะดวกแก่วัดที่ได้ไม่ต้องจัดเตรียมอาหารเลี้ยงแขกเหมือนในสมัยก่อน

 ผู้เขียนพยายามมองหาพรรคพวกที่นัดกันไว้ หลังจากโทรไปหาก็ทราบว่าอยู่บนศาลาแล้ว จึงเร่งตามขั้นไปข้างบน ที่ศาลาด้านหลังมีองค์กฐินตั้งกลางด้านใน ด้านซ้ายมีธงจระเข้ ด้านขวามีธงนางสุวรรณมัจฉา ผู้แขวนอยู่บนยอดลำไม้ไผ่ พัดแกว่งไปมา เป็นสัญญลักษณ์ของงานกฐิน ส่วนพระนั่งสวดอยู่ทางด้านขวา ส่วนเจ้าภาพกฐินและผู้ร่วมทำบุญซัก 40 คนน่าจะได้ นั่งฟังสวดอยู่ทางด้านขวาของศาลา พระให้ศีลและสวดไปพักหนึ่งแล้ว จึงไปนั่งเคียงกับผู้ที่นัดหมายกันไว้ ขณะฟังสวดอยู่ ซุ้มอาหารใต้ถุนก็ปรุงกันยกใหญ่ กลิ่นหอยทอดผัดไทยมาทำลายสมาธิออกไปไกลหลายตอนเหมือนกัน พระสวดอยู่ราวครึ่งชั่วโมง ก็ฉันภัตตาหารเพล ส่วนเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานก็ลงไปรับประทานอาหารตามซุ้มต่างๆได้ เลือกตามอัธยาศัย โดยนัดหมายว่า จะทำพิธีทอดกฐินตอน 1300 น. 

ดูว่าเป็นธรรมเนียมไปแล้วว่า การทอดกฐินในปัจจุบันนิยมออกอาหารเป็นซุ้มๆไป แล้วแต่ชาวบ้านจะสะดวกหรือมีศรัทธาที่จะจัดอาหารคาวหรือหวานประเภทใดมา แต่ดูแล้วก็หลากหลายดี เท่าที่เดินตรวจตราดูก็มี หอยทอด ข้าวราดแกง กะเพาะปลา ก๋วยเตี๋ยวน้ำแดง ทอดมัน เต้าหูทอด ไก่ย่างส้มตำ ขนมไทย เป็นต้น ผู้เขียนก็เดินเตร่ไปทางเกี๋ยวน้ำแดง มั่นใจในชามแรกว่าอร่อยก็เปิ้ลชามที่สองอีก เลยจบกันทานอย่างอื่นต่อไม่ได้อีก เพียงตบท้ายด้วยไอสครีม

ท่านที่มาสมุทรสงครามบ่อยๆ จะทราบดีว่า ก๊วยเตี๋ยวน้ำแดงเป็นอาหารเลื่องชื่อของสมุทรสงคราม (แม้วัดนี้จะอยู่ในเขตราชบุรี แต่เป็นรายต่อสมุทรสงคราม) หาทานที่จังหวัดอื่นไม่ค่อยมี เพราะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัด ฉะนั้นเมื่อมีโอกาส จึงต้องทานเสียก่อนเป็นอย่างแรก ส่วนอย่างอื่นที่อื่นก็มี ไว้ไปหาทานที่อื่นเอาภายหลัง ที่ว่าเป็นเอกลักษณ์ ก็คือก๊วยเตี๋ยวจังหวัดอื่น มักใช้น้ำตาลทรายขาวมาชูรสหวาน แต่ก๊วยเตี๋ยวที่นี่ใช้น้ำตาลมะพร้าวมาเคี่ยวจนหอมก่อน แล้วจึงใช้ปรุงรสก๊วยเตี๋ยวอย่างที่ว่า น้ำก๊วยเตี๋ยวจึงออกจะเป็นสีแดง ทานแล้วจะหวานแบบน้ำตาลมะพร้าว ไม่ใช่น้ำตาลทรายเช่นที่อื่น แนะนำไว้ เผื่อมีโอกาสลองมาแวะชิมและสังเกตดูนะครับ

เวลาสั่งอาหารตามซุ้มในงานกฐินบรรยากาศดูดีกว่าในตลาดที่ซื้อขายกันทั่วไป เพราะในงานนี้เป็นงานบุญ ดูว่าผู้ทำอาหารแต่ละซุ้มจะยินดีและเชื้อเชิญอยากให้ผู้มางานไปทานที่ซุ้มของเขา เสมือนว่าอยากทำบุญมากๆจะได้ได้บุญมาก ดูว่าว่าเต็มใจ้..เต็มใจที่จะทำอาหารแก่ผู้มาทำบุญแบบไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ยิ่งคิวยาวยิ่งสนุกมันมือมาก เลยมาคิดว่า คนทำบุญ ถ้าทำด้วยศรัทธาคิดเป็นบุญแล้ว เหนื่อยไม่ว่าเลือกบุญไว้ก่อน ก็เลยสรุปเอาว่า เขามาทำบุญ เขาก็ได้บุญทันตาเห็น อย่างนี้นี่เอง สุดท้ายก็อิ่ม เดินย่อยอาหารซักพักก็ถึงเวลานัดหมายทำพิธีทอดกฐินบนศาลาการเปรียญ

การทอดกฐินในปัจจุบันเริ่มแตกต่างไปจากพิธีในสมัยก่อนอย่างหนึ่งก็คือ จะมีเจ้าภาพกฐินหลัก และก็มีผู้อื่นมาเป็นเจ้าภาพร่วมด้วย เรียกว่า กฐินสามัคคี แค่เมื่อก่อนกฐินสามัคคีคือที่วัดนั้นไม่มีผู้จองกฐิน เมื่อถึงฤดูกฐินคนทั้งหลายก็จะนัดหมายกันมาช่วยกันมาทอดกฐินที่วัดนั้น ไม่มีเจ้าภาพหลักแต่อย่างใด ก็คงเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ในพิธีทอดผ้ากฐินก็จะมีการทอดผ้ากฐินโดยเจ้าภาพหลักก่อน  เสร็จแล้วเจ้าภาพอื่นจึงถวายผ้ากฐินร่วมของตนตามมา

ในการทอดกฐินต้องมีพิธีถวายผ้ากฐิน เมื่อเจ้าภาพถวายแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นก็จะทำพิธีกรานกฐิน แต่พิธีที่นี่ดูจะแปลกกว่าพิธีที่อื่นที่เคยเห็นมา เจ้าภาพจะเตรียมผ้าไตรสำเร็จมา 1 ชุด ก็ซื้อมาจากร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไปตามที่รู้ๆกัน แต่ที่ว่าแปลกก็คือ เจ้าภาพจะถวายพร้อมกับผ้าขวา 1 ผืนวางทับบนผ้าไตรกฐิน พระเจ้าอาวาสเป็นผู้รับถวายผ้าไตร และพระสงฆ์อีก 4 รูปก็จะทำพิธีกรานกฐิน ผู้เขียนเพิ่งได้ความรู้พิธีกรานกฐินคืออย่างไรก็ที่งานวัดนี้ เพราะขณะทำพิธีก็จะอธิบายไปด้วยว่ากำลังทำอะไร การกรานกฐินเป็นพิธีที่พระสงฆ์ทั้งนั้นรับผ้ากฐินไป โดยสมมุติเอาว่า ผ้ากฐินที่ได้มาไม่ได้เป็นของพระรูปหนึ่งรูปใด ใช้คำว่า ผ้านั้นลอยมาในนภากาศ จะเจาะจงเป็นของพระรูปหนึ่งรูปใดมิได้ ต้องมีการทำพิธีทางสงฆ์เพื่อมอบให้แก่พระสงฆ์รูปหนึ่งเป็นผู้รับผ้ากฐินนั้น พระผู้มีคุณสมบัติรับผ้าต้องเป็นพระที่จำพรรษาถ้วนทั่วครบพรรษา ไม่เคยรับผ้ากฐินมาก่อน และมีจริยวัตรของสงฆ์ครบถ้วนบริบูรณ์ จึงรับผ้ากฐินนี้ได้ พระสงฆ์เหล่านั้นจึงประชุมกันและคัดเลือกว่า พระรูปได้สมควรเป็นได้รับผ้ากฐินนี้ไปครอง คือละผ้าที่ครองอยู่เดิมและถือครองผ้ากฐินใหม่นี้แทน พิธีกรรมของสงฆ์ก็สวดเป็นภาษาบาลี เราก็ฟังไม่ออก โชคดีที่โฆษกแปลให้ฟังไปตามลำดับ  ใจความสำคัญคือพระสงฆ์ทั้งนั้นก็ประชุมกัน และคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนรับไป โดยไม่มีผู้คัดค้าน เป็นผู้รับผ้ากฐินนั้น  ส่วนมากพระผู้ได้รับสังฆานุมัติก็จะเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนี้ก็เช่นกัน

เมื่อพระเจ้าอาวาสรับผ้ากฐินที่ ก็ต้องตรวจน้ำอุทิศบุญกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร และถือว่าเสร็จพิธีทอดกฐินของทางฆราวาส แต่หลวงเจ้าอาวาสก็ประกาศให้ทราบว่า ท่านซึ่งเป็นผู้รับผ้ากฐิน ต้องนำผ้าขาวที่ได้รับถวายนี้ไปมัดย้อมเป็นผ้าสังฆาฏิ(ผ้าที่พระสะบายคาดบ่า) และถือครองผ้าผืนใหม่ก่อนค่ำ เมื่อเวลาค่ำพระสงฆ์ทั้งหมดต้องลงไปทำพิธีในพระอุโบสถ เพื่อถือครองผ้าและปลงผ้าผืนเดิมไปจึงเป็นอันเสร็จพิธีรับผ้าพระกฐินทางสงฆ์  

การถวายผ้ากฐินไม่จำเป็นต้องถวายเป็นผ้าไตร(มี3ชิ้น) จะแยกถวายเป็นชิ้นๆ คือสบง จีวร และสังฆาฏิ เพราะเป็นภาระของพระสงฆ์ผู้รับผ้ากฐินต้องไปมัดย้อมให้เสร็จในวันนั้น  เช่นงานวันนี้ก็ถวายผ้าขาวไปทำสังฆาฏิอย่างเดียว ผ้าอีกอย่างที่ถวายได้คือผ้าอาบ....

จากการมาร่วมพิธีทอดผ้าพระกฐินในวันนี้ ทำให้เข้าใจว่า พระต้องมีสดึงขึงผ้าเพื่อเย็บให้เป็นผืน นำมามัดย้อมให้เสร็จในวันเดียว และอื่นๆนั้น เป็นฉะนี้นี่เอง....เอวัง

หลังเสร็จพิธี เจ้าภาพมักจะนำธงจระเข้และธงนางมัจฉา ไปเก็บไว้ที่บ้านของตน เพราะเชื่อกันว่า ธงหนึ่งเป็นธงที่จะทำให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี อีกธงหนึ่งจะช่วยให้มั่งคั่งชีวิตอุดมสมบูรณ์ แต่บางเจ้าภาพก็ผูกไว้หน้าวัดหรือท่าน้ำหน้าวัด เพื่อบอกกับผู้คนว่า วัดนี้มีผู้ทอดกฐินแล้ว คนอื่นจะมาทอดซ้ำอีกไม่ได้ ปีหนึ่งรับได้ครั้งเดียว

ทำบุญทอดกฐินกับวัดเรียบแล้ว ก็ไปกราบลาหลวงพ่อ เรียนท่านว่าเป็นแขกมาจากบ้านอื่น แต่มีที่สวนอยู่ติดกับวัดนี้ ท่านทราบก็อนุโมทนาด้วยที่ให้วัดสร้างสะพานเชื่อมกับถนนออกไปถนนใหญ่  กราบลาท่านออกมาจากวัดเอาตอนบ่าย 2 โมง  นี่เป็นกฐินวัดแรกของปีนี้ พรุ่งนี้วันอาทิตย์ก็เป็นกฐินที่สองที่โพธาราม และเว้นไปสองสัปดาห์ก็เป็นกฐินที่สามของปีนีี้ที่บางคณฑี

จบงานบุญทอดกฐินวัดแรกเท่านี้นะครับ
 

คำสำคัญ (Tags): #classroom#msd
หมายเลขบันทึก: 508809เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2012 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท