3 เสาสำคัญในการพัฒนาชุมชน


เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นกรอบแนวคิดที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทางโครงการได้นำมาปฏิบัติ

เข้าใจ  คือ 

  1. ชุมชนต้องเข้าใจความต้องการของตนเองว่าต้องการนำ ว และ ท ไปยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติใด จะเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่าย
  2. ภาคราชการส่วนท้องถิ่น ส่วนจังหวัดต้องเข้าใจว่า จุดไหน หรืออะไรที่ชุมชนต้องการใช้งบประมาณในการพัฒนา
  3. ภาคองค์ความรู้ เช่น สถาบันการศึกษา กระทรวงวิทย์ฯ  ต้องประเมินว่าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอะไรที่เหมาะสมต่อการให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เข้าถึง
  1. ชุมชน เข้ามาเรียนรู้อย่างตั้งใจ และลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ(Skill) ในการใช้เทคโนโลยีแต่ละอย่างให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  2. ภาคราชการ ต้องส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แล้วแต่จังหวะและโอกาส โดยอยู่บนพื้นฐานให้ชุมชนต้องสสามารถพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด
  3. ภาคองค์ความรู้  รู้ซึ้งถึงความรู้ของตนเอง สามารถให้คำปรึกษา ต่อยอดและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
พัฒนา
  1. ชุมชน ต้องสามารถประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้รับให้เข้ากับ culture ของตนเองให้ได้มากที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันเองของการดำรงชีพในสังคม
  2. ภาคราชการ ต้องเสาะแสวงหาความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ สร้างบรรยากาศให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ
  3. ภาคองค์ความรู้  วิจัย พัฒนาต่อยอดจากประเด็นปัญหที่ชุมชนได้นำเสนอเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

และนี่เป็นตัวอย่างความสำเร็จอีกระดับหนึ่งของโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือระหว่าง ชุมชน(หมู่บ้านโคกล่าม) ภาคราชการ(ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานระดับอำเภอ ตำบล และท้องถิ่น) ภาคองค์ความรู้(มทร.อีสาน กาฬสินธุ์+ก.วิทย์)  ก่อให้เกิดความสำเร็จดังภาพ


ทีมงานหมู่บ้านข้าวเหลืองอินทรีย์ รอรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำโดย นายอำเภอกมลาไสย ผู้กำกับการตำรวจภูธรอำเภอกมลาไสย นายกเทศมนตรีตำบลดงลิง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ครบถ้วน...

ผศ.นวลจันทร์ สิมะสุวรรณรงค์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตกาฬสินธุ์ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี กล่าวรายงาน ความเป็นมาของหมู่บ้านข้าวเหลืองอินทรีย์ ต่อท่านผู้ว่าราชการจังหวัด..

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ได้กล่าวกับหัวหน้าส่วนราชการ และชาวบ้านที่มาร่วม ถึงความสัมพันธุ์ของท่านกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัยที่ท่านเป็นรองผู้ว่า PCSO ..

ที่สำคัญ ท่านบอกให้หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่น และชาวบ้านที่มาร่วมชุมนุมเกี่ยวข้าวครั้งนี้กว่า 200 คน ปรบมือขอบคุณให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่นเอาทีมงานคลินิกฯ เราปลื้มยิ้มกันไม่หุบเลย..

ท่านผู้ว่าฯ สุวิทย์ สุบงกฎ น่ารักมากท่านมาพร้อมกับชุดที่พร้อมเกี่ยวข้าวเลย..

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ มอบเกียรติบัตรให้กับวิทยากรของหมู่บ้านข้าวเหลืองอินทรีย์ จำนวน 20 คน

เริ่มเกี่ยวข้าว..นับเป็นศิริมงคลกับหมู่บ้านข้าวเหลืองอินทรีย์ เป็นอย่างมาก..

พระยาเหยียบเมืองทั้งที..ต้องของบประมาณ...ว่าแล้ว ผศ.สุจิตรา ก็นำผู้นำชาวบ้าน ของบประมาณสนับสนุนจากท่าน เพื่อมา Matching กับของกระทรวงวิทย์..ขอไม่มากหรอกครับแค่ 2,000,000 บาท....ท่านรับปากทันทีว่าได้แน่....

เหนือคำบรรยาย

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์และนายอำเภอกมลาไสย โชว์ผลงานของหมู่บ้านข้าวเหลืองอินทรีย์ ให้กับนักข่าวดู...

จากความเข้มแข็งของชุมชนบ้านโคกล่ามที่กระทรวงวิทย์ฯ ได้วางรากฐานไว้ตั้งแต่ปี 2524 ดำรงมาจนถึงทุกวันนี้..จนพัฒนาเป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ฯ...เงิน 2,000,000 บาท ในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ กับบ้านโคกล่ามและเครือข่ายใกล้เคียง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 3,000 คน ท่านผู้ว่าฯ บอกว่าคุ้มค่า...

ตามมาด้วย ปรบมือให้กับ ผศ.สุจิตรา สราวิช ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีฯ เล่นเอาเจ้าตัวยิ้มไม่หุบจนเดี๋ยวนี้ มีกำลังใจทำงานอีกเยอะ..

หมายเลขบันทึก: 508808เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2012 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ทั้งสามขาทั่สำคัญคือชุมชน ต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนาตนเอง จึงจะยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท