ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 18


**ขออภัย ไม่สามารถเขียนให้สั้น และดูง่ายกว่านี้ได้ เพราะต้องการรวบรัดให้จบภายในบทนี้**

- สนธิสระ ครบเครื่อง

จบบทนี้คงจะได้สนธิสระในภาษาสันสกฤตค่อนข้างครบถ้วน ถ้าเหลือคงจะเป็นข้อยกเว้นปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ เพราะจะว่าไปแล้ว สนธิสระในภาษาสันสกฤตมีน้อยกว่าสนธิพยัญชนะ

ต่อไปนี้จะเล่าทวนของเก่าไปด้วยเลย

1. สระเดี่ยว (อะ/อา, อิ/อี, อุ/อู) วรรณะเดียวกัน เมื่อสนธิกัน จะได้สระวรรณะเดิม แต่เป็นเสียงยาว

  • อะ/อา   + อะ/อา = อา
  • อิ/อี  + อิ/อี  = อี
  • อุ/อู  + อุ/อู  = อู

สำหรับ ฤ/ฤๅ + ฤ/ฤๅ นั้น ตามทฤษฎีก็จะได้ ฤๅ แต่ในทางปฏิบัติแทบจะไม่เจอ


2. สระข้างหน้าเป็น อะ/อา สระข้างหลังเป็นสระอื่น ให้รวมกันเป็นสระขั้นที่สูงขึ้นไปอีก 1 ขั้น

  •   อะ/อา  + อิ/อี > เอ
  •             + อุ/อู  > โอ
  •             + ฤ/ฤๅ > อรฺ
  •             + เอ   > ไอ
  •             + โอ  > เอา

  กรณีที่เป็นสระขึ้นพฤทธิ์อยู่แล้ว ก็ยังคงเป็นพฤทธิ์เหมือนเดิม เพราะขยับขึ้นไม่ได้แล้ว...

  •   อะ/อา   + ไอ > ไอ
  •              + เอา > เอา 


3. ถ้าสระข้างหน้าเป็นสระอื่น ไม่ใช่อะ/อา แล้วมีสระตามมา, สระข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นพยัญชนะกึ่งสระที่ตรงกัน (ของใครของมัน) แล้วจึงไปประสมกับสระที่ตามมา ดังนี้ (โปรดสังเกตการเปลี่ยนตัวให้ดีๆ) การเขียนโรมันมักจะเว้นเหมือนเดิม หรือมีขีดตรงกลาง (ค่อยๆ ดูไป ตาลา่ยเล็กน้อย  คนเขียนมึนกว่า)

  • อิ/อี i/ī  > ยฺ y        : อิติ อาศฺรเม iti āśrāme > อิตฺยฺ อาศฺรเม ity āśrame > อิตฺยาศฺรเม ity āśrame
  • เอ e     > อยฺ ay    : โลเก อีศา loke īśā      > โลกยฺ อีศา lokay īśā      > โลกยีศา lokay īśā
  • ไอ āi    > อายฺ āy  : ไน อยสฺ nāiayas         > นายฺ อยสฺ nāyayas         > นายยสฺ nāy ayas
  • อุ/อู u/ū  > วฺ      v  : วสุ อิติ vasu iti           > วสฺวฺ อิติ vasv iti        > วสฺวิติ vasv iti
  • โอ o      > อวฺ  av  : โภ อ bho a               > ภวฺ อ bhav a            > ภว bhav a
  • เอา āu   > อาวฺ āv  : เนา เอติ nāu eti         > นาวฺ เอติ nāv eti       > นาเวติ nāv eti
  • ฤ/ฤ ṛ/ṝ   > รฺ ar       : กรฺตฺฤ อิห kartṛ iha     > กรฺตฺริห kartr iha

  ** พึงระวังเมื่อเปลี่ยนสระท้ายเป็นพยัญชนะกึ่งสระแล้ว พยัญชนะตัวสุดท้ายนั้นให้ใส่จุดตามด้วย ยฺ/วฺ หรือ เป็นพยัญชนะปกติ ตามด้วย ยฺ/วฺ หรือ มีสระอา ตามด้วย ยฺ/วฺ แล้วแต่กรณี **

 3.1 กรณีของสระขั้นคุณและพฤทธิ (เอ เอ ไอ เอา) นั้น เมื่อทำสนธิแล้วมักจะลบพยัญชนะกึ่งสระ (วฺ และ ยฺ) ทิ้ง เมื่อทำสนธิภายนอก (สนธิระหว่างคำ ไม่ใช่สนธิในการสร้างคำ) และเว้นวรรคไว้ ดังนี้

  •   สระเอ วเน อิติ vane iti > วนยฺ อิติ vanay iti > วน อิติ vana itit (วนยิติ vanay iti)

  (กรณีเช่นนี้ผู้เรียนอาจสับสนได้ เพราะคำเดิมอาจจะเป็น วนสฺ อิติ หรือ วเน อิติ ก็ได้ ใครจะแปลได้ถูกหรือไม่ ก็ต้องอาศัยประสบการณ์แล้วล่ะ)

  • สระโอ : ภาโน อิติ bhāno iti > ภานวฺ อิติ bhānav iti > ภาน อิติ bhāna iti (ภานวิติ bhānav iti)
  • สระไอ : เสนาไย อตฺร senāyāi atra > เสนายายฺ อตฺร senāyāy atra > เสนายา อตฺร senāyā atra (เสนายายตฺร senāyāy atra)
  • สระเอา : เทเวา อตฺร devāo atra > เทวาวฺ อตฺร devāv atra> เทวา อตฺร devā atra (เทวาวตฺร devāv atra)

  อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะลบ ยฺ มากกว่า วฺ, (ในการเขียนของเรา จะลบ ยฺ/วฺ หรือไม่ก็ได้)

3.2 สระโอ และเอ ไม่เปลี่ยน เมื่อสระ อะ ตามมา แต่ให้ลบสระอะ แล้วใส่อวครหะ

  •  วเน อตฺร  > วเน’ตฺร
  •  ภาโน อตฺร > ภาโน’ตฺร

  กรณีของสระโอนั้น มักจะเป็นจากการสนธิ อสฺ เป็นโอ เมื่ออยู่หน้าสระอะ ดังนี้

  •   รามสฺ อตฺร > ราโม อตฺร > ราโม’ตฺร

3.3 เมื่อสระฤ/ฤๅ ตามมา อาจจะเปลี่ยน จะเปลี่ยนสระเดี่ยว( ยกเว้น อะ/อา) เป็นพยัญชนะกึ่งสระหรือไม่ก็ได้

  •   เทวี ฤษิสฺ devī ṛṣis > เทวฺยฺ ฤษิสฺ devy ṛṣis, เทวฺยฺฤษิสฺ  devy ṛṣis หรือ เทวี ฤษิสฺ  devī ṛṣis (คงเดิม)


4. กรณีไม่ทำสนธิ หรือไม่เปลี่ยนเสียงสระท้ายของคำหน้า แม้สระจะตามมา ก็คือ

  4.1 สระท้าย อี อู และ เอ ของคำทวิพจน์ ไม่ว่าคำนาม หรือกริยา เช่น

  • คิรี อิห girī iha 
  • สาธู อตฺร sadhū atra
  • ผเล อตฺร phale atra

  4.2 สระท้ายของคำอุทาน เช่น

  • เห อินฺทร he indra
  • เห อคฺเน he agne

เคล็ดลับการทำสนธิสระ ให้ฝึกเขียนอักษรโรมันไปพร้อมๆ กับอักษรไทยและเทวนาครี. อักษรโรมันช่วยให้เข้าใจเรื่องเสียงได้ง่าย ส่วนอักษรเทวนาครีช่วยให้คุ้นกับการสนธิเร็วขึ้น


แบบฝึกหัดสนธิ (ข้่อใดทำได้สองแบบ ก็ทำมาทั้งสองแบบ)

  1. นารี อรีนฺ
  2. นฺฤปติสฺ คฺรามมฺ
  3. มณิ อากาศ
  4. วสุ โลจนา
  5. อีกฺษเต อคารมฺ
  6. ภาเนา อิห
  7. ชเนา อาคจฺฉตะ
  8. มิตฺราสฺ อาจารฺยาสฺ
  9. มธุ อารณฺยมฺ
  10. วทาวเห อิทานีมฺ
หมายเลขบันทึก: 507824เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2012 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ตามมาอ่านค่ะ .... ความเข้าใจ เริ่มดีขึ้นนะคะ .... ท่าน อจ. เก่งจังเลยนะคะ หมอเปิ้น มองว่า ต้องมีความจำที่ดีี ชื่นชอบ และสนุก กับการเรียนตรงนี้นะคะ หมอเปิ้น มองว่า ยากกว่าภาษา อังกฤษ อีกนะคะ

เดี๋ยวมาอ่านคะอาจารย์ อิอิ ทั้งสนธิสระและพยัญชนะใกล้หมดยังค่ะ

สระไอ : เสนาไย อตฺร senāyāi atra > เสนายายฺ อตฺร senāyāy atra > เสนายา อตฺร senāyā atra (เสนายตฺร senāyāyatra)

ตรงนี้ถ้ายังไม่ลบ ที่จริงมันต้องเป็นแบบนี้หรือเปล่าค่ะ
เสนาไย อตฺร = เสนายายฺ + อตฺร = เสนายายตฺร

อ่านไปอ่านมาเหมือนหนูยังไม่ค่อยเข้าใจข้อ 3.1 ดีพอ

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะลบ ยฺ มากกว่า วฺ, (ในการเขียนของเรา จะลบ ยฺ/วฺ หรือไม่ก็ได้)

สรุปแล้วคือตามกฎต้องลบสถานเดียวใช่ไหมค่ะ ?

ขอบคุณครับ พี่หมอเปิ้ล Ico48 ...Dr. Ple

ภาษาสันสกฤตมีกฎเกณฑ์เยอะครับ เลยออกจะยากหน่อย ;)

 

ขอบคุณครับ คุณ Ico48 Bordinet

 

Ico48 คุณ ศรี บรมอีศวรี

สนธิสระน่าจะหมดแล้ว อาจมีข้อยกเว้นเล็กๆ น้อยๆ

ส่วนสนธิพยัญชนะยังอีกเพียบ อิๆๆ

สระไอ : เสนาไย อตฺร senāyāi atra > เสนายายฺ อตฺร senāyāy atra >

เสนายา อตฺร senāyā atra (ถ้าไม่ลบ จะได้ เสนายายตฺร senāyāy atra) ผมเขียนภาษาไทยตกไปครับ * แก้แล้ว

สรุปคือ ควรจะลบ ยฺ และ วฺ ครับ

แบบฝึกหัดสนธิ

1.) นารฺยรีนฺ

2.) นฺฤปติรฺคฺรามมฺ

3.) มณฺยากาศ

4.) วสฺวฺโลจนา

5.) อีกฺษตยคารมฺ

6.) ภานาวิห หรือ ภานา อิห

7.) ชนาวาคจฺฉตะ หรือ ชนา อาคจฺฉตะ

8.) มิตฺราจารฺยาสฺ

9.) มธฺวารณฺยมฺ

10.) วทาวเห อิทานีมฺ

วสุ โลจนา ไม่เปลี่ยน เพราะไม่ได้ตามด้วยสระ

มิตฺราสฺ อาจารฺยาสฺ > มิตฺรา อาจารฺยาสฺ (ลบ ส ทิ้ง เมื่อตามด้วยเสียงก้อง)

บทนี้ผ่าน... ถ้าเรียนในห้องคงได้ A นะเนี่ย...
 

โห ขอบพระคุณอาจารย์มากคะ ทำให้หนูมีกำลังใจขึ้นเยอะเลย อิอิ แต่ยังไม่กล้าดีใจมากคะ เรียนอาจารย์ตามตรงว่าตอนนี้เสียวตรงมาแยกสนธิเนี่ยละ หนูตายแน่ๆ อีรุงตุงนังกันไปหมด

ว่าแต่ทำไมอาจารย์ถึงตื่นเข้าจังค่ะ บางทีหนูส่งการบ้านตีสี่ตีห้า หกโมงเช้ากว่าๆอาจารย์มาตรวจละ ฮ่าๆ

บทสวดภาษาละตินเพราะมากๆคะ อาจารย์ ถ้าหนังสือของอาจารย์เสร็จแล้วรบกวนช่วยบอกด้วยนะค่ะ อิอิ

http://www.youtube.com/watch?v=3_3iSAN9v4Q&feature=related

พักหลังตื่นเร็วครับ อิๆๆ

ขอบคุณมากครับ บทสวดละตินยังไม่เคยฟัง จะตามไปฟังครับ

จะบอกข่าวดีว่าไวยากรณ์ภาษาละตินไม่ยุ่งยากเท่าสันสกฤต

พูดง่ายๆ ว่า ง่ายกว่าสันสกฤตเยอะ แจกกริยาก็ไม่ต้องสนธิธาตุ ลงปัจจัยลูกเดียว... ;)

พอดีหนูไปเจอพระนามของพระสรัสวตีที่แปลว่าเทวีแห่งคำพูดมา เห็นว่ามันคล้ายๆกับในภาษาอื่นคะ อยากให้อาจารย์ช่วยดูหน่อยว่าเหมือนกันไหมค่ะ

วาจเทวี = Vaca Devi (สันสกฤต) = Vocal Deity (อังกฤษ) = Vocal Dieu (ฝรั่งเศส) = Vocis Deus (ละติน)

วาจา = Vaca = voice = voix = vox มันรากเดียวกันไหมค่ะ

ขอบคุณคะ

น่าจะเป็นรากเดียวกันครับ

อาจารย์แต่งหนังสืออะไรอยู่ครับ ?

แปลตำราเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาละติน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท