ค่า Impact Factor ใช้ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยได้จริงหรือ ?


การตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง ไม่ได้หมายความว่าบทความของเราจะได้รับการอ้างอิงสูงไปด้วย ในทางกลับกัน บทความอาจได้รับการอ้างอิงสูง แม้ว่าจะตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor ต่ำกว่าก็เป็นได้

         ขอขอบคุณท่านอาจารย์จันทวรรณ (ดร.จันทวรรณ น้อยวัน) ครับ ที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับการวิจัยหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่อง Impact Factor ด้วย <Link>

         วันนี้ผมขอนำเอามาอีกหนึ่งความคิดเห็นในเรื่องนี้มา ลปรร. กันด้วยครับ แต่ไม่ใช่เป็นความคิดเห็นของผม เป็นของคุณรุจเรขา อัศวิษณุ ที่เขียนไว้ในหนังสือที่ผมเคยแนะนำแล้ว <Link> เป็นดังนี้ครับ

                  “การประเมินคุณภาพนักวิจัยหรือผลงานวิจัยอาจไม่สามารถ
         ตัดสินได้ด้วยเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ค่า Impact 
         Factor ของวารสารที่ตีพิมพ์เป็นเพียงหนึ่งในจำนวนดัชนีชี้วัดเท่านั้น
         และควรพิจารณาเกณฑ์อื่นควบคู่ไปด้วย   เช่น   จำนวนครั้งที่แต่ละ
         บทความได้รับการอ้างอิงจากบทความอื่น โดยสืบค้นจากฐานข้อมูล 
         ISI Web of Science – Science Citation Index Expanded  ใน
         ปัจจุบันได้มีการนำ Web Technology มาใช้ในการจัดทำวารสาร
         อิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย   ดังนั้นจึงมีแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์
         เน็ตอื่น ๆ ที่เริ่มจัดทำระบบติดตามการอ้างอิงบทความวารสารและ
         สามารถสืบค้นได้ด้วยเช่นกัน เช่น SciFinder, ScienceDirect, 
         HighWIre Press เป็นต้น

                  ในวงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักมีนักวิจัยจากทั่วโลกเขียน 
         บทความอภิปรายและโต้แย้งการนำค่า Impact Factor มาใช้ตัดสิน
         คุณภาพผลงานวิจัยกันบ่อยครั้ง   แต่พึงระลึกอยู่เสมอว่าทุกเกณฑ์
         ล้วนมีข้อดี-ข้อจำกัดด้วยกันทั้งสิ้น และการแปรผลอาจไม่ไปด้วยกัน
         ตัวอย่างเช่น การตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง  ไม่ได้
         หมายความว่าบทความของเราจะได้รับการอ้างอิงสูงไปด้วย ในทาง
         กลับกัน บทความอาจได้รับการอ้างอิงสูง แม้ว่าจะตีพิมพ์ในวารสาร
         ที่มีค่า Impact Factor ต่ำกว่าก็เป็นได้   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำค่า 
         Impact Factor  และ  Citation Frequency  มาใช้อย่างระมัดระวัง 
         ปัจจุบันเป็นยุคที่วารสารทางวิชาการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากตัว
         เล่มสิ่งพิมพ์กลายเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไปเกือบหมด   จึงไม่แปลกที่
         องค์กรและบริษัทต่าง ๆ    หลายแห่งพยายามคิดค้นระบบสืบค้น
         ข้อมูลบทความวิจัยที่มีขนาดใหญ่พร้อมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถ
         วัดค่า Web Citations, Web Impact Factor หรือดัชนีอื่นๆ โดยใช้
         เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้าช่วยเพื่อแข่งขันกับระบบดั้งเดิมอย่าง 
         ISI ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของ CrossRef, NEC ResearchIndex, 
         Open Citation Project เป็นต้น แม้กระนั้นก็ตาม ดัชนีชี้วัดของ 
         ISI ก็ยังคงได้รับความนิยมและจัดว่าเป็นมาตรฐานสากลสำหรับ
         การประเมินคุณภาพของผลงานวิทยาศาสตร์ที่ต่อเนื่องยาวนาน
         กว่า 40 ปี ตราบจนถึงปัจจุบัน”

         ท่านที่สนใจเรื่องค่า Impact Factor ผมขอแนะนำให้อ่านที่  website นี้ครับ 

         http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/if.htm

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 5075เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2005 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมเลยคะ ขอบคุณมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท