Knowledge Wisdom


กระบวนการทางปัญญา

KW (Knowledge Wisdom)
        กระบวนการทางปัญญา
            ในการจัดงาน University Fair มีท่านอาจารย์ท่านหนึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ในการจัดการความรู้ สิ่งที่น่าจะเน้น คือ ทำให้เกิด KW ผมได้อ่านเอกสารของท่าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ได้เสนอมุมมองในการพัฒนา เพื่อให้เกิด “ปัญญา” ๙ ประการ และ ลองปรับให้เข้ากับ เครื่องมือ การจัดการความรู้ ดังนี้ครับ
๑.    ฝึกสังเกต ส่งที่เราพบเห็น โดยอย่างยิ่ง ความรู้ฝังลึกต่างๆ จาก “ คน งาน ”
๒.   ฝึกบันทึก สังเกตอะไรแล้วควรบันทึก
๓.   ฝึกนำเสนอ เมื่อกลุ่มได้เรียนรู้อะไร บันทึกอะไร ควรนำเสนอให้ผู้อื่นได้รู้ ( เช่นกับเราลงใน Blog ไงครับ )
๔.   ฝึกการฟัง ยิ่งฟังคนอื่นมากๆ เรายิ่งฉลาดมากขึ้น ( Dialog ไงครับ นำเสนอ แล้ว ฟัง ให้เกิดปัญญา )
๕.   ฝึกปุจฉา วิสัชนา เป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำให้เกิดความแจ่มแจ้ง อันอาจนำมาสู่ “ปิ้งแว้ป” ของท่าน อาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
๖.    ฝึกตั้งสมมุติฐานและตั้งคำถาม เมื่อเราได้เรียนรู้อะไร คงต้องนำไปสู่การนำไปใช้บูรณการให้เข้ากับ บริบท หรือ วัฒนธรรมของเรา
๗.   ฝึกการค้นหาคำตอบ เป็นการนำเอาความรู้ ที่เรียกว่า Explicit knowledge มาเสริม หรือ ปรับใช้ให้เหมาะสม
๘.   ฝีกทำวิจัย เพื่อหาคำตอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งต้องเน้นให้ นำงานประจำมาเป็นฐาน ซึ่ง อาจารย์ หมอ อภิชาติ ศิวยาธร นำมาใช้ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คือ R2R คือ การนำงานประจำมาพัฒนาให้กลายเป็นงานวิจัย
๙.    ฝึกเชื่อมโยงบูรณการ ให้เห็นทั้งหมด เห็นตนเอง ธรรมชาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง ซึ่งท่าน อาจารย์ หมอ อนุวัฒน์ เจ้าพ่อ HA กำลังพยายามทำให้เกิดในกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
ทั้งหมดทั้งปวงคงเป็นข้อมูลส่วนหนึ่ง เสริมท่านอาจารย์ที่ท่านให้ข้อคิดในการ “ลปรร” ของ “การจัดการความรู้กับอุดมศึกษา”เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ครับ
      ยินดี ลปรร ครับ
               JJ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5069เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2005 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท