กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๑๐๙) : เส้นทางการเรียนรู้ของครูเพลิน (๓)


ก้าวต่อไปคือ การมองไปที่ผู้เรียนเป็นหลัก ทั้งจากสิ่งที่เด็กคิด ทำ แล้วทำความเข้าใจ เพื่อนำพาไปสู่ประเด็นรอบข้าง

ช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ในความรับรู้ของครูรุ่นพี่

  • วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องราวมากมายของเพื่อนครู ได้เห็นความทุ่มเทของทุกคน
  • เกิดการเรียนรู้ ได้เห็นความพยายามของคุณครู ได้เห็นแผนที่แน่น เห็นกระบวนการขั้นตอน
  • เราต้องคำนึงถึง met before ที่ทำให้เขาได้ไต่ และต่อยอด ได้เห็นความเติบโตของเขาที่ครูพยายามสร้าง รู้สึกมีความสุข  ได้เห็นพวกเขาตั้งแต่ ชั้น ๑ เมื่อมาได้เห็นชิ้นงานที่เขาทำตอนที่ขึ้นมาอยู่ชั้น ๔ รู้สึกภูมิใจที่พวกเขาเอาความรู้ที่ให้ไว้ไปใช้ต่อ ได้เห็นงานเด็กแล้วดีใจ
  • รู้สึกถึง ศต.๒๑ ที่มีอนาคต ขอบคุณที่มีครูอย่างพวกเรา


ในความรับรู้ของครูน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกได้ไม่นาน

  • เติบโตมากับการเรียนรู้แบบระบบเก่า ไม่เคยได้เรียนรู้อะไรแบบนี้มาก่อน รู้สึกดีที่ได้มาทำงานที่เพลิน
  • รู้สึกได้ว่าความเป็นครู คือการให้ลูกศิษย์เราได้สิ่งที่ดีที่สุด คิดไม่ผิดที่ได้ก้าวเข้ามา
  • ได้วิธีพัฒนาเด็กไทยให้กลายเป็นเด็กโลก วันนี้ได้เห็นวิธีปรับพัฒนาแผนการเรียนรู้ คิดว่าจะเอาความรู้และประสบการณ์ไปทำให้ตัวเองเป็น "ครูดีของเพลิน"
  • ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่ได้เข้า KM ประทับใจกับกระบวนการคิดของครูที่นี่  เพราะที่เคยรู้มาคือความจำ ตอนเข้าไปสอนเห็นเด็กยกมือตอบ หนูตกใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุณครูเปิดพื้นที่ให้กับเขา ทำให้เราได้เปิด ได้เรียนรู้กับเด็กทุกคน อยู่มา ๓ เดือนไม่แจ่มแจ้งเท่าวันนี้วันเดียว


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบนี้ โรงเรียนได้กัลยาณมิตร คือ อ.ดร. ชาริณี ตรีวรัญญู  อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา ตามแนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน” มาร่วมสังเกตการณ์พร้อมกับนิสิตปริญญาเอกอีก ๓ คน ทำให้เรามีเพื่อนร่วมทางที่เข้ามาช่วยเพิ่มมุมมองให้พร้อมสำหรับการก้าวเดินก้าวต่อไปมากขึ้นอีก


ประเด็นเรียนรู้สำคัญที่ อ.ชาริณี และคณะนิสิต สะท้อนให้พวกเราได้เรียนรู้ คือ

  • ครูเพลินมีคุณลักษณะเด่นอยู่ที่การมองปัญหาในห้องเรียนว่าเกิดจากปัญหาของตัวครูเอง ตอนนำเสนอครูเกือบทุกท่านจะพูดถึงความเป็นไปในชั้นเรียนว่า เป็นเพราะเราสอนแบบนี้เด็กเลยเป็นแบบนี้ ทัศนคตินี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
  • ครูสะท้อนประเด็นที่เห็นอย่างตรงไปตรงมา มีสังเกตที่ตัวครูมาก ก้าวต่อไปของการพัฒนา น่าจะเป็นการทำให้ประเด็นไปอยู่ที่การเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้นแล้ว ประเด็นต่างๆ จะแตกออกมาจากการมองไปที่ผู้เรียนเป็นหลัก  ทั้งจากสิ่งที่เด็กคิด ทำ ความเข้าใจ ที่พาไปสู่ประเด็นรอบข้าง
  • วิธีการนั่งดู (สังเกตชั้นเรียน) อย่างมีทิศทาง “SIT MAP” ประกอบไปด้วย
    • Student - นร.
    • Instruction  - ขั้นตอนการเรียนการสอน กิจกรรม
    • Teacher - ครู การให้คำสั่ง คำอธิบาย การใช้ภาษา
    • M -  Material สื่อ  Management การจัดที่นั่ง การจัดการชั้นเรียน และ Measurement การวัด การเก็บข้อมูล
    • Atmosphere - บรรยากาศที่สังเกตไม่เห็น แต่รู้สึกได้ 
    • Point - ประเด็นเรียนรู้ และอุปสรรคสำคัญ คืออะไร
  • อยากให้เพลินพัฒนาเป็นแหล่งดูงานเรื่องกระบวนการพัฒนาครู  วิธีคิดของครูใหม่ ครูปาด แบบนี้จะทำให้ไปต่อได้  เพราะรู้ว่า “ถ้าติดเพดาน” จะต้องหาอะไรมาช่วยให้เราไปต่อ ขอให้ทำต่อไป ถ้าจัดสรรเวลาได้จะขออาสามาช่วยเป็นระยะ
  • อยากให้ประมวลประสบการณ์ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือบอกเล่าถึงกระบวนการก่อนจะเป็นอย่างที่เห็นนี้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร รวมถึงการเกิด PLC และการเกิด Lesson Study แบบเพลินพัฒนาว่าสร้างขึ้นมาได้อย่างไร จะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษามาก เพราะหนังสืออย่างนี้ที่เขียนเป็นภาษาไทยมีน้อย


หมายเลขบันทึก: 507472เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2012 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กระบวนการของ "SITAP" ดีจริงๆๆ ค่ะ ....

ขอบคุณมาก นะคะ

งานนี้ต้องขอบคุณอาจารย์ชาริณี ที่กรุณาแบ่งปันค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท