สัมมนาเรื่อง"อนาคตเศรษฐกิจและแรงงานไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน"


สวัสดีชาว Blog ทุกท่าน

วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555 ได้มีการจัดสัมมนางาน "วันนิคม จันทรวิทุร" ครั้งที่ 10 ประจำปี 2555 เรื่อง "อนาคตเศรษฐกิจแรงงานไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน" จัดโดย กระทรวงแรงงาน สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และมูลนิธินิคม จันทรวิทุร โดยในการจะมีการปาฐกถาหัวข้อ "อนาคตเศรษฐกิจและแรงงานไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน" และมีการอภิปรายเชิงนโยบายหัวข้อ "แรงงาน การประกอบการ และการบริหารแรงงานของประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน"  ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

ท่านสามารถติดตามรายละเอียดของงาน และร่วมแสดงความคิดเห็นได้ผ่าน Blog นี้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 507177เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2012 05:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

กำหนดการสัมมนา

งาน วันนิคม จันทรวิทุรครั้งที่ 10 ประจำปี 2555

เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจและแรงงานไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน

วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

 

ปาฐกถาหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจและแรงงานไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน”

โดยดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์

และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต

  • ขอขอบคุณที่กระทรวงแรงงาน สถาบันทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  และ มูลนิธินิคม  จันทรวิทุร   ร่วมกันจัดงานนี้ขึ้นมา

  • ผมชื่นชมและมีความศรัทธาต่อแนวคิดของท่านอ.นิคม จันทรวิทุร
  • ท่านเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลชาติชาย ที่ทำเรื่องกฎหมายประกันสังคม เกิดขึ้นในประเทศไทย ปี 2533 กฎหมายนี้ถึงผ่าน
  • หากย้อนกลับไปในยุคที่ผลักดันเศรษฐกิจสมุดปกเหลือง  ก็มีการต่อต้านเรื่อการทำประกันสังคม แต่หลังจากนั้น ก็รู้ว่าเป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ระบบประกันสังคม สร้างหลักประกันให้กับคนทำงาน เป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการทำงาน
  • ปี 2540 รณรงค์และผลักดันให้เกิดการประกันการว่างงาน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก

 

         อนาคตเศรษฐกิจไทย ที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้เกิดการขยายตัวของการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจ  ซึ่งอยากให้มองเป็นโอกาส ถ้าเรามียุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง

         ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง และมีความได้เปรียบมาก คือ ประชากรมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจาก 66 ล้านคน เป็น 583 ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นจาก 14.6 ล้านคน เป็น 65.1 ล้านคน

         นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะให้เกิดต้นปีหน้าทั่วประเทศ เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเดินหน้า แม้จะมีเสียงคัดค้านก็ตาม ต้องคิดให้ดี เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องทำ นโยบายหรือมาตรการต่างๆย่อมมีผลด้านบวกและลบ มีผลกระทบกับคนไม่มากก็น้อยแตกต่างกัน กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ รัฐต้องเข้าดูแลเพิ่มเติม

         ประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

1. ประโยชน์ด้านการผลิต

2. ประโยชน์ด้านการบริโภค

3. ประโยชน์ด้านอำนาจต่อรอง

         ต้องดูว่าการกำหนดค่าจ้างแบบไหน ถึงจะทำให้แรงงานดีมากพอ และไม่สูญเสียให้กับต่างประเทศ และทำให้เกิดการแข่งขันได้

         ปัญหาการกระจายรายได้เป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีความเป็นธรรม เพราะอาจเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งในการเมืองและทางสังคมในอนาคต

         รัฐต้องมีมาตรการให้เข้าสู่รัฐสวัสดิการที่มีคุณภาพ และมีความยั่งยืน

4เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียน

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

2. การเสริมสร้างขีดความสามารถแข่งขัน

3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

         ประเทศไทย ไม่กล้าประกาศว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะยังไม่มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และมีความต่อเนื่อง

         ศตวรรษที่ 21 ประทศไทยมีความพร้อมมากที่สุด ซึ่งยุโรปมีปัญหายูโรโซน และอเมริกามีปัญหาภัยธรรมชาติ พายุแซนดี้

         การเปิดเสรีภาคแรงงาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคบริการ ทั้งด้านสุขภาพ ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ และแรงงาน

         การเปิดเสรีทางด้านแรงงาน ต้องแยกศึกษาออกมาโดยเฉพาะ พลวัตรทางด้านแรงงานมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับภาคการศึกษา

         การเปิดเสรีการให้บริการ เกิดการต่อสู้กันบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ  ต้องมีการเจรจาต่อรองกัน โลกแห่งความเป็นจริงใครมีอำนาจมากกว่าก็ได้ไป ชัยชนะจะเป็นของประเทศทีพัฒนาแล้ว และเป็นแรงงานระดับสูง  มีโอกาสที่จะไปทำงานไร้พรมแดนมากขึ้น

แรงงานระดับล่าง ก็ไม่ทำอาชีพบางอาชีพ ต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว ถ้าการเปิดเสรีนำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน อาจเห็นการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับประเทศมากขึ้น

         ประเด็นเรื่องนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ไม่อย่างนั้นก็จะเผชิญกับปัญหาแรงงานกลับประเทศ

            การปรับตัวเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา ค่าแรงขั้นต่ำต้องเดินหน้าด้วยปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบเศรษฐกิจไทย ที่ต้องดูแลกิจการขนาดเล็กให้อยู่รอดให้ได้ ขณะนี้แรงงานที่อยู่รอดเพียงร้อยละ 0.6-0.7  เท่านั้น

         คนจากประเทศอื่นจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย แล้วแย่งคนไทยทำงานหรือไม่ ใน 7 สาขาวิชาชีพ ว่าแพทย์จะต้องเข้าใจภาษาไทย ต้องมี License ด้วย

         โอกาสและความเสี่ยงในมุมของนายจ้าง เริ่มจาก นายจ้างมีโอกาสเลือกลูกจ้างมากขึ้น อำนาจในการต่อรองลดลง มีการแข่งขันสูงขึ้น  

         อนาคตของเศรษฐกิจไทย ต้องมียุทธศาสตร์ และนโยบาย ให้เดินสู่เป้าหมายร่วมกันได้

        

                    

 

 

การอภิปรายเชิงนโยบาย หัวข้อ “แรงงาน การประกอบการ และการบริหารแรงงานของประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน” โดย    

•         นายยุทธนา สุระสมบัติพัฒนา ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

•         ดร.ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ ผู้แทนสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์*

•         ดร. วีระชัย กู้ประเสริฐ  มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

•         นายสุวรรณ สุขประเสริฐ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

•         นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

•         นางอรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

•         ดร.โชคชัย สุทธาเวศ เลขาธิการ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร และอาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ดำเนินการอภิปราย)

ดร.โชคชัย สุทธาเวศ : อะไรคือปัญหาอุปสรรค และสิ่งที่ต้องทำในอนาคต ในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นายยุทธนา สุระสมบัติพัฒนา: ทางปฏิบัติ ความคืบหน้าของงานของกระทรวงแรงงาน ดำเนินการ 2 ส่วน

1. ต้องมีหลักมีเกณฑ์ ดูเรื่อง AEC Blueprint ดูว่าภาครัฐ และเอกชนทำอะไร อย่างไร ซึ่งใน 3 ด้าน คือ ความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  มีการกำหนด แนวทางการดำเนินการ ซึ่งมี 11 มาตรการ เน้นเรื่อง AEC ที่มีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน คือ เป้าหมายหลัก เป้าหมายรอง คือ สินค้าและบริการ ยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพ  การส่งเสริมขีดความสามารถ เพราะฉะนั้นต้องรู้เขารู้เรา

2. กระทรวงศึกษา และก.พ. ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การดำเนินการร่วมมาแล้ว 2 ครั้ง ข้อสรุปคือ เน้น 10 อุตสาหกรรม และสมรรถนะหลัก เรื่องทักษะด้านภาษา ความรู้ความเข้าใจเรื่องประเทศอาเซียนและสมรรถนะตามหน้าที่ พัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาด

มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน นักศึกษา และ กลุ่มกำลังแรงงาน ทั้งภาครัฐ แรงงานในระบบ และกลุ่มนอกกำลังแรงงาน ต้องช่วยเหลือให้มีงานทำ

ดร.ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ: ขอพูดเรื่องประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงาน

สรุปการทำงานของคนในอาเซียน ได้คือ

-สิงคโปร์ ภูมิใจในตนเอง ต้องการอะไรชัดเจน

- มาเลเซีย เป็นระบบระเบียบ รักพวกพ้อง

- อินโดนิเซีย เป็นผู้ตามที่ไม่ทำให้ผิดหวัง

- เวียดนาม วิ่งสู้ฟัด ถนัดการหาช่อง

- ฟิลิปปินส์ เรื่องสนุกสนานมาก่อน

- กัมพูชา ทุกอย่างเพื่อเป้าหมายให้อยู่รอด

 การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ

  • เน้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือให้มากขึ้น
  • ให้ความสำคัญในเรื่องของการให้การดูแล
  • เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะ และคุณภาพของการศึกษา
  • ดูว่าสิ่งแวดล้อมในประเทศของเราเอื้อต่อการให้แรงงานต่างชาติเข้ามาหรือไม่

ปัจจุบันเรียกว่า Reverse Brain Drain มองว่าเป็นการพัฒนามากกว่าการสูญเสีย

  • ประเทศที่มีคนเก่งๆทำให้ตลาดมีนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น
  • สามารถโอนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และ โอกาสการลงทุน
  • ทำให้มีแรงงานที่มีความหลากหลาย

โลกนี้ต้องการคนที่มีทักษะดังนี้

  • มีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์
  • เก่งเรื่องเทคโนโลยี
  • สามารถทำงานร่วมกับคนเชื้อชาติต่างๆได้
  • มีความสามารถทางด้านภาษา

ทักษะที่ต้องการในการทำงานในปัจจุบัน

  • ต้องการคนที่มีความคิดริเริ่ม
  • มีความยืดหยุ่น
  • สามารถมีความคิดความอ่านที่สร้างสรรค์
  • สามารถสร้างเครือข่ายได้ดี
  • มีความสามารถทางด้าน IT

ดร. วีระชัย กู้ประเสริฐ

            โครงสร้างอาเซียน 3 เสาหลัก อยู่ระหว่างการพัฒนา แต่ยุโรปพัฒนาไปไหลมากแล้ว การเข้าประเทศยุโรปใช้วีซ่าฉบับเดียว ใช้สกุลเงินร่วมกัน การรวมตัวเป็นไปอย่างใกล้ชิดมาก แต่อาเซียน เหมือนกับเพื่อนบ้าน ไม่ต้องคิดไกลเกินไป 

            ประเทศไทยมีโอกาสได้เปรียบเรื่องการท่องเที่ยว  ควรใช้ทรัพยากรของประเทศไทยจากที่มีอยู่ แล้วพัฒนาต่อไป ทุกประเทศต้องปรับตัวใช้ประโยชน์ เข้าสู่AEC

            มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา และมีหลักสูตรเปิดระดับปริญญาตรี

            ถ้าเรามองแง่ SME เรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีจุดอ่อนในการสร้างคนทางด้านนี้ การจะทำอะไรต้องรู้ลึกทั้งลึก กว้าง และจริง

            การให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานประเทศไทย หรือ เราไปทำงานต่างประเทศ ต้องมีมาตรฐานในการทำงานร่วมกัน

            การเข้าใจกันซึ่งกันและกันด้านสังคมและวัฒนธรรมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน ต้องปรับวิธีการคิด คิดนอกกรอบ และคิดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

นายสุวรรณ สุขประเสริฐ:  หลักสำคัญ คือ ยึดหลัก 3 เสา

หลักการอาเซียนมีแรงผลักดันในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งใกล้ปี 2558 มีปัญหาเรื่องกีดกันทางการค้าเรี่อง อาหารฮาลาล   แต่เรื่องคุณภาพถือว่าประเทศไทยสามารถสู้ได้

ช่างฝีมือ ในประเทศไทยในปัจจุบันขาดแคลน  ซึ่งต้องหันมาให้ความสำคัญทางด้านแรงงานไทยก่อน

ในต่างประเทศหากนักเรียนเรียนถึงม. 3 แล้วดูว่านักเรียนสามารถเรียนสายคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ไหวหรือไม่ แต่ต่างจากประเทศไทย ซึ่งให้เด็กเรียนปวช.ต่อ

ให้ความตระหนักว่าให้นักลงทุนต่างประเทศลงทุนได้ 70% ซึ่งเป็นที่รัฐบาลพึงระวัง ซึ่งคนไทยจะต้องพึงเฝ้าระวังทรัพย์สินไว้ด้วย

ประเทศไทยต้องสร้างการรองรับ AEC ในการร่วมทุนกับชาวต่างชาติ โดยต้องคำนึงเรื่องของภาษา ซึ่งตอนนี้ผู้ประกอบการโรงงานต่างๆก็จ้างชาวต่างชาติมาสอน คนที่ต้องคำนึงถึง ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการ ลูกจ้างเองก็ต้องคำนึงไว้ด้วย

ประเทศไทยมีกาส่งออกมากในเอเชีย เพราะฉะนั้นต้องคำนึงถึงการเตรียมพร้อมด้านบุคลากร ควรเริ่มจากการสรรหาจากเยาวชน ตั้งแต่อายุ 15 ปี ต่อไปเป็นเรื่องการฝึกอบรม เป็นหน้าที่ของนายจ้าง ต้องไม่คิดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูง และเรื่องการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาในการผลิต  มีบางที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งโรงเรียนพัฒนาลูกจ้างเองอีกด้วย

นายชาลี ลอยสูง: ในวันนี้ขอพูดเรื่องการเข้าสู่ AEC จะมีผลกระทบอะไรบ้าง แล้วทำไมไทยถึงไม่มีการประกาศถึงผลกระทบของทั้ง 7 วิชาชีพ

แรงงานระดับล่าง จะเป็นโอกาสของนักลงทุนที่จะใช้แรงงานยืดหยุ่นได้มากขึ้น

ผลกระทบและปัญหาคือ 7 สาขาอาชีพ อำนาจในการต่อรองของลูกจ้างลดลง แต่จะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจมากขึ้น ควรมองเรื่องหลักคุณธรรม จริยธรรม มากขึ้น

แรงงานข้ามชาติเป็นงานที่คนไทยไม่ค่อยได้ทำ เช่นประมง เกษตร ปศุสัตว์ จะเน้นเรื่องการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง เป็นการให้ประโยชน์ต่อนายทุนและนักธุรกิจมากกว่าคนยากคนจน

โอกาสจูงใจของแรงงานที่มีฝีมือ และการลงทุนจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำ เช่น ประเทศพม่า  

ทิศทางเรื่องการสร้างความเข้มแข็งการพัฒนาชีวิตแรงงาน คือ การสร้างอำนาจการต่อรอง ผลกระทบคือ เรื่องของความเป็นธรรม และสิทธิแรงงาน วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รัฐบาลควรคำนึงถึงสิทธิแรงงานในประเทศ ต้องให้ความสำคัญของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร ระบบประกันสังคมจะเป็นอย่างไร การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นอย่างไร สิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนแรงงานกฎหมาย คือ ต้องมองอย่างเป็นธรรม และมีการพัฒนาทักษะฝีมือ ด้านภาษาอังกฤษ และอาเซียน การเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ คติการอยู่รอดกันอย่างสันติสุข และต้องมีการเข้าใจในวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

นางอรพิน วิมลภูษิต:  บทบาทของสสส. คือ การทำงานต้องมีการเชื่อมโยงกับสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มแรงงาน เน้นเรื่องการเข้าถึง ความเป็นธรรม ของผู้ใช้แรงงาน  เรื่องระบบสุขภาพชายแดน ระหว่างประเทศต้นทางกับประเทศไทย เน้นระบบการคุ้มครองร่วม ระบบประกันสังคม เกิดความขับเคลื่อนทางวิชาการ  สนับสนุนการร่วมมือผู้ใช้แรงงาน นักวิชาการ และภาคสังคมอื่นๆ

เน้นเรื่องการศักยภาพในการสร้างความเข้มแข็ง ว่าอีก 2 ปีข้างหน้า ผู้นำแรงงานจะต้องเป็นผู้นำในการเตรียมความพร้อมไปสู่การเช้าสู่ AEC ในการสร้างเครือข่าย

สร้างศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบ สอนภาษาอังกฤษ พม่า และไทย

กลุ่มแรงงานยืดหยุ่น กลุ่มคนพิการ พัฒนาส่งเสริมคนกลุ่มนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ตอนนี้มีการทำหลักสูตรการศึกษาตามอัธยาศัยระหว่างประเทศพม่า และไทย ถือเป็นประเทศปลายทางและประเทศต้นทาง

สสส.เป็นหน่วยงานที่พัฒนาฐานความรู้เพื่อรองรับการเตรียมความพร้อม ของแรงงานในระบบ และนอกระบบ

กล่าวแสดงความเห็นและขอบคุณคณะผู้อภิปราย โดย

          ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่สนใจทุกท่าน และขอขอบคุณคณะผู้จัดทุกท่าน ที่ทำให้งานนี้สำเร็จ

ฝากให้ผู้ฟังในวันนี้ มีเป้าหมาย คือ ระลึกถึงอ.นิคม จันทรวิทุร และ back to basic การยกย่องคน การพูดจาเรียบร้อย

ผู้พูดทั้งหมดพูดถึง AEC 2015 ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก จากปีที่แล้วผมได้พูด ได้ทราบว่า จะทำวิจัยร่วมกับกระทรวงแรงงาน และทำอย่างรอบคอบ ซึ่งควรนึกถึงโอกาสในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ว่าคืออะไร

คนที่เสียเปรียบในการเข้าสู่AEC คือ คนที่มีความรู้น้อย

ขอขอบคุณที่จัดงานนี้มาเป็นปีที่ 10 ขอบคุณอ.โชคชัยที่จัดเป็น Panel Discussion หลังจากนี้ควรคิดต่อว่าประโยชน์ที่ได้จากการฟังวันนี้ คืออะไร แล้วจะทำอะไรต่อไป ต้องมีการปรับตัว และสร้างคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญ

ต้องเขียนออกมาเป็น Roadmap ของผู้ที่เสียเปรียบออกมา ทั้งผู้หญิง และคนพิการ ว่าเขาจะสามารถต่อสู้ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างไร

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท