ปูเลย์
นายสุทธิชัย ชัย ปทุมล่องทอง

เครียดแล้วไง...ทำไม? เครียด


ภาวะเครียดย่อมเกิดขึ้นได้กับทุกๆคนและทุกๆวัยไม่ได้เจาะจงว่าเป็นกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ภาวะเครียดเกิดขึ้นเองมาจากหลายสาเหตุเช่นปัญหาครอบครัว ปัญหาเงื่องเงินไม่พอใช้ ได้มา หมดไป ไม่รู้หายไปไหนเลยทำให้กลุ้ม ท้ายสุดเครียด หรือบางคนมีปัญหาที่ทำงาน เจอเพื่อนร่วมงานแอบนินทาใส่ร้ายป้ายสี หรือชอบเอาหน้าประเภทปลิ้นปล้อนกะล่อนตอแหล เอาอกเอาใจเจ้านายจนพาลให้เราไม่อยู่ในระดับสายตาที่จะต้องมองหน้ากันปัญหาเรื่องเครียดมีมากมายหลายสาเหตุ ขนาดนักเรียน ยังออกอาการเครียดเลยบางคนไม่อยากเรียน เบื่ออาจารย์ เบื่อเพื่อนล้อ หรือว่าเพื่อนไม่ยอมคุยด้วยนี่เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดอาการ “เครียด”

 เมื่อเราเครียดมีผลต่อสุขภาพที่จะต้องมาปรับตัวกับภาวะที่เกิดขึ้นเพราะว่าความเครียดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกับตัวเรา อย่างคนที่ดีใจ ตื่นเต้นก็เครียด ที่ทำตัวไม่ถูก และนำมาให้เราต้องมานั่งกุมขมับจับศีรษะเพราะเกิดอาการปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อ  หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้องมือเท้าเย็น

เครียดไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเรา ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้น เรามาดูกันว่า ความเครียด มีอะไรบ้างและเราจัดอยู่ในกลุ่มของความเครียดประเภทใด

1.Acute stressคือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียดเมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ซึ่งความเครียดประเภทนี้อาทิ

เสียงดังเกิดจากหลายสาเหตุเช่นเสียงดังจากการเปิดเพลง หรือพูดเสียงดัง จนน่ารำคาญ

อากาศเย็นหรือร้อนปัจจุบันอากาศบ้านเราเอาแน่นอนไม่ได้ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น หรือแม้แต่ฝนตกลงมาโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า หรือมีสัญญาณอะไรบอกให้รับรู้

ชุมชนที่คนพลุกพล่านเป็นจำนวนมากๆยิ่งบ้านใครพักอยู่ในชุมชนด้วยแล้วการส่งเสียงดัง หรือการทำกิจกรรมของชุมชน ย่อมส่งผลกระทบ ทำให้เราเกิดภาวะเครียดหรือบางครั้งเปิดเสียงตามสายดังลั่นสนั่นเมือง หรือเสียงดังจากมอเตอร์ไซด์ที่โชว์บิดอวดสาวๆ

ความกลัวเกิดจากความคิดที่หวาดระแวงกลัวคนไม่รัก กลัวโดนดุ ด่า กลัวไปไม่ทัน

ตกใจ นี่ก็เป็นอาการที่ตื่นตระหนกตกใจเช่นเสียงดัง ทำของหล่น ตกแตก หรือเห็นเหตุการณ์อะไรแล้วชวนให้ตกใจ

หิวข้าวนี่เป็นเรื่องปกติของคนที่มีอาการหิว บางครั้งไม่ได้ดั่งใจ สั่งอย่างได้อีกอย่างหรือลุกค้าเยอะรอนาน ก็เกิดภาวะเครียดได้เช่นกัน

เกิดเหตุการณ์อันตรายซึ่งเหตุการณ์นี้เช่นอาจเจอคนทะเลาะตบตีกัน หรือเกิดอุบัติเหตุคาดไม่ถึง

2.Chronic stressหรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้นซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง พอที่จะจำแนกแยกออกได้ดั่งต่อไปนี้

เครียดจากที่ทำงานเกิดจากหลายปัจจัยเช่นมีความรับผิดชอบในงานสูง เครียดเรื่องผู้ร่วมงาน

เครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นความเครียดที่ไม่มีเวลามาพูดคุยกันอาจจะทะเลาะ หรือกระทบกระทั่งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวไม่มีเวลาว่างมานั่งเคลียร์

เครียดของแม่บ้านคนที่ทำงานแม่บ้านก็เกิดอาการเครียดเหมือนกับคนทั่วไปเช่นกันไหนจะกลัวเจ้านายติ ดุ ทำความสะอาดไม่เรียบร้อย ทำกับข้าวไม่อร่อยหรือทำอะไรที่ไม่ถูกใจเกิดภาวะเครียดและกดดัน

เครียดเพราะเหงาคนเราเอาอะไรแน่นอนไม่ได้บางอารมณ์สนุกสนาน ร่าเริงแจ่มใส หัวเราะได้ดี แม้เรื่องที่ไม่น่าหัวเราะแต่บางอารมณ์ดูหนังตลก ยังนั่งเศร้าเหงาซึ่งอารมณ์อย่างนี้เกิดได้กับทุกๆคนและอยู่ที่ว่าสภาวะจิตใจตอนนั้นเป็นอย่างไรบ้างหรือกการที่อยู่คนเดียว โดดเดี่ยว อ้างว่าง ไร้เพื่อนคุย ก็ทำให้เราเครียด เหงาได้เช่นกัน


เวลาที่คนเราเครียดและกดดันร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่าcortisol และ adrenalineฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นอาการตกใจวิ่งหนีอะไรสักอย่างที่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกไปใช้ความเครียดหรือกดดันจะหายไป

ความเครียดหรือภาวะกดดันนั้นมักจะเกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งทำงาน หรือคิดอะไรแบบเหม่อลอย หรือขับรถเช่นคิดถึงเงินที่ไม่มีใช้จ่าย หรือกลุ้มใจไม่มีเงินจ่าย ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถซึ่งความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาโดยที่ไม่รู้ตัวทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสม จนเกิดอาการทางกายและใจ

ผลเสียต่อสุขภาพ

ความเครียดไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้คราครั้งใดที่เราเจอปัญหาเครียด ผลที่ตามมคือสุภาพของเราจะปั่นป่วน
เพราะการหลั่งฮอร์โมนนั่นเอง ยิ่งเราเครียดมาก ยิ่งสะสมมากกลับกลายเป็นความเครียดเรื้อรังทำให้เกิดภาวะทางอารมณ์และจิตใจ

เรามาดูว่าผลกระทบที่เกิดจากความเครียดนั้นมีอะไรบ้าง

ผลกระทบต่อด้านจิตใจ

ผู้ที่มีความเครียดรื้อรัง และไม่สามารถที่จะผ่อนคลายลงได้จะมีปัญหาขอองความซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลมากกว่าคนทั่วๆไปทำให้คุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์กับบุคคล และหน้าที่การงานย่ำแย่ลงกว่าเดิม

ผลกระทบต่อหัวใจ

คนที่มีภาวะเครียดจะมีฮอร์โมนกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บที่หน้าอกในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจซึ่งมีเหตุผลดังนี้

1.ทำให้หัวใจทำงานหนักกว่าเดิม
หัวใจมีการบีบตัวมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น และอาจจะเกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ

2.เลือดมีความหนืดเพิ่มเนื่องจากมีไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นและเกิดอุดตันหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น

3.ในผู้หญิงจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
ฮอร์โมนนี้จะป้องกันโรคหัวใจ

4.ความเครียดทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

โรคหลอดเลือดสมอง

คนที่มีภาวะเครียดสูงจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และเกิดโรคหลอดเลือดสมอง บ่อยกว่าคนปกติและพบว่าคนที่มีความเครียดสูง ส่วนมากเป็นผู้ชาย

การติดเชื้อ

คนที่เครียดเรื้อรังจะมีภูมิตอบสนองต่อการติดเชื้อและจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าคนทั่วไปจึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่นหวัด เริม เป็นต้น

ระบบทางเดินอาหาร

ความเครียดเรื้อรังทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ดังนี้

โรคกระเพาะอาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ
คือการรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม nsaid และจากเชื้อ H.pyroli แต่ความเครียดเรื้อรังก็เป็นส่วนส่งเสริมทำให้เกิดโรคดังกล่าว

ท้องร่วง จากโรค IrritableBowel Syndrome ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมวนท้องถ่ายเหลวเป็นๆหายโดยมีท้องผูกสลับกับถ่ายเหลว

การรับประทานอาหาร

คนที่เครียดเรื้อรังจะมีปัญหาการรับประทานอาหารได้ 3 รูปแบบคือ

น้ำหนักเกินเนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดผู้ป่วยจะรับประทานอาหารเค็ม มันหวานเพื่อไปต่อสู้กับความเครียด และทำให้เกิดลักษณะอ้วนลงพุง

น้ำนักลดลงเนื่องจากเบื่ออาหารมีการรับประทานอาหารผิดปกติเช่นAnorexianervosa and bulimia nervosa

โรคเบาหวาน

ความเครียดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเกิดการดื้อต่ออินซูลิน

อาการปวด

ผู้ที่เครียดเรื้อรังอาจจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ

ระบบสืบพันธ์

ความต้องการทางเพศจะลดลงทั้งผู้หญิงและผู้ชายผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวขององคชาติส่วนผู้หญิงจะมีปัญหาเรื่องการถึงจุดสุดยอด

คนที่มีภาวะเครียดมากๆมีผลต่อการเป็นหมัน ทำให้ปวดประจำเดือน และการแท้ง ซึ่งพบได้บ่อย

คนที่มีภาวะเครียดมีผลต่อความจำและการเรียนรู้ลดลงและรวมไปถึงการขาดสติ ไม่มีสมาธิ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากขับขี่ยานพาหนะ

เครียด
ไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของเรา เพราะจะมีปัญหาต่างๆตามมาอีกเยอะแยะมากมาย
ออย่าลืมนะว่าทุกปัญหา เราสามารถแก้ได้ แต่ต้องตั้งสติ คิดให้รอบคอบหากเรามีปัญหาแล้วนำมาคิด ก่อเกิดความเครียด และสุดท้ายบั่นทอนสุขภาพของเราเกิดอาการเจ็บป่วย ปัญหาก็จะตามมาทันที ฉะนั้นอย่าไปเครียด อย่าไปกังวลพยายามใช้ความรอบคอบคิดพิจารณา ค่อยๆแก้ปัญหาแล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้น




คำสำคัญ (Tags): #เครียด
หมายเลขบันทึก: 507170เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท