ตะขบสายพันธุ์ที่เกื้อกูลต่อการเติบโตของผักหวานป่า


ตะขบ ตะขบฝรั่ง : ตะขบ ตะขบไทย ตะขบป่า

 

     สวัสดีค่ะทุกๆท่าน...สืบเนื่องมาจากอนุทินของ คุณนงนาท สนธิสุวรรณ ที่ท่านเขียนเกี่ยวกับต้นตะขบบวกกับการพัฒนาของบ้าน กทน.ที่สามารถนำข้อมูลจากเว็บไซต์มาใส่บันทึกได้ง่ายขึ้น(คนโบราณแบบข้าพเจ้ายังทำได้ :))

เกี่ยวกับต้นตะขบ และต้นตะขบสายพันธุ์ที่ใช้ปลูกสำหรับเป็นไม้ร่มเงา(แม่นม)ให้กับผักหวานป่า และต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดีเป็นแบบไหน ชนิดไหน สายพันธุ์ไหนกันแน่? ช่วงเผยแพร่ข้อมูลสูตรวิธีปลูกผักหวานป่าร่วมกับต้นตะขบใหม่ๆถูกตั้งคำถามบ่อยมากและปัจจุบันก็ยังมีคนถามอยู่บ่อยๆส่วนมากจะสับสนระหว่างตะขบไทยกับตะขบฝรั่ง ซึ่งชื่อเรียกในภาษาถิ่นจะเรียกรวมๆกันหรือคล้ายๆกัน วันนี้จึงขอนำข้อมูลจากเว็บไซต์มาบอกเล่าเรื่องราวของต้นตะขบค่ะ

ตะขบ ตะขบบ้าน ตะขบฝรั่ง : เป็นชนิด สายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่เกื้อกูลกับต้นผักหวานป่าที่สุดเมื่อนำต้นกล้าผักหวานป่าหรือหยอดเมล็ดผักหวานป่าบริเวณโคนต้นตะขบ หรือภายใต้ร่มเงาทรงพุ่มของต้นตะขบ ทำให้ต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดี

ต้นตะขฝรั่งชอบอยู่ในที่ชุ่มชื้น ดินดีน้ำดี ปลูกในที่ดอนอายุไม่ค่อยยืนยาว(ผลเล็ก) แต่หากอยู่ในที่ชุ่มชื้นอายุยืน(ผลโตเท่านิ้วโป้ง)ประมาณ10-25ปี น้ำท่วมขัง15-30วัน ทนอยู่ได้ ชอบกินผลสุกทั้งคนและนก สัตว์ เป็นต้นไม้ที่ปลูกเพื่อให้ร่มเงา

ตะขบ ตะขบป่า : จากการทดสอบปลูกคู่กับผักหวานป่าผลที่ได้คือผักหวานป่าไม่ค่อยเจริญเติบโต(โตช้า) เป็นพืชที่ทนแล้งอยู่ได้ในที่ดอนและที่ลุ่ม เป็นต้นไม้ที่ปลูกเพื่อจำหน่ายผลสุก ปัจจุบันมีสายพันธุ์ที่ไม่มีหนาม(กลายพันธุ์จากเมล็ด)

 

 

           

 

ตะขบฝรั่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตะขบฝรั่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
(unranked): Angiosperms
(unranked): Eudicots
(unranked): Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Muntingiaceae
สกุล: Muntingia
L.
สปีชีส์: M. calabura
ชื่อทวินาม
Muntingia calabura
L.
ต้นตะขบฝรั่งในไฮเดอราบัด อินเดีย
ใบและผลในไฮเดอราบัด อินเดีย

ตะขบฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Muntingia calabura) เป็นพืชเพียงสปีชีส์เดียวในสกุล Muntingia เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือของเม็กซิโก บริเวณทะเลแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ฝั่งตะวันตก จนถึงเปรูและโบลิเวีย พบกระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย

ลักษณะ

ตะขบฝรั่งเป็นไม้ต้น ขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-7 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทา กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน ตามกิ่งมีขนปกคลุม ขนนุ่ม และปลายเป็นตุ่ม เมื่อจับยอดอ่อนจะรู้สึกว่าเหนียวมือ ใบเดี่ยว เรียงสลับแบบทแยงกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบข้างหนึ่งมน ข้างหนึ่งแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนาแน่น เส้นใบมี 3-5 เส้น ด้านบนสีเขียวด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว มีขน โคนก้านเป็นปม ๆ ดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหมือนง่ามใบ เวลาบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว มีขน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีเขียว รูปหอก ปลายแหลมเป็นหางยาว โคลนกลีบตัดด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ ย่น เกลี้ยง ผลทรงกลม ผิวบางเรียบ ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อดิบสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง รสหวาน เมล็ดขนาดเล็ก ๆ มีจำนวนมาก

การใช้ประโยชน์

ผลตะขบฝรั่งเป็นที่นิยมรับประทานในเม็กซิโก มีขายในตลาด ผลนำไปแปรรูปเป็นแยมและนำใบไปแปรรูปเป็นชา ในบราซิล นิยมปลูกไว้ริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อผลร่วงลงในน้ำจะเป็นอาหารปลา ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ รับประทานเป็นผลไม้สดแต่ไม่มีจำหน่าย ในไทย รับประทานเป็นผลไม้สด หรือแปรรูปเป็นไวน์ทางด้านสมุนไพร ใช้ดอกเป็นยาแก้ปวดและแก้อักเสบ ไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน ใช้งานช่างไม้ได้ เปลือกใช้เป็นแหล่งของเส้นใย

ตะขบป่า... ตะขบ ตะขบป่า ลูกครบ ลูกขรบ มะเกว๋นนก หมากเบน ตานเสี้ยน ...(ภาพจากเว็บไซต์)

                   

                                               

ชื่อสมุนไพร

ตะขบป่า

ชื่ออื่นๆ

เบนโคก (อุบลราชธานี) ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า มะขบ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.

ชื่อพ้อง

 

ชื่อวงศ์

Flacourtiaceae

***ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบลราชธานี***

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-15 เมตร ลำต้น และกิ่งใหญ่ๆมีหนามแหลม กิ่งแก่ๆมักจะไม่มีหนาม กิ่งอ่อนมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาว 2-4 เซนติเมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง เปลือกสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายห่างๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ขนาดค่อนข้างเล็ก มักเรียงชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปร่าง ขนาด เนื้อใบ และขนที่ปกคลุมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายกลม โคนสอบแคบ ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือจัก มักจักใกล้ปลายใบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ย

หมายเลขบันทึก: 506863เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

*** ข้อมูลมาไม่ครบในช่องหน้าบันทึกค่ะ ***

ตะขบป่า

ชื่อสมุนไพร

ตะขบป่า

ชื่ออื่นๆ

เบนโคก (อุบลราชธานี) ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า มะขบ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.

ชื่อพ้อง

 

ชื่อวงศ์

Flacourtiaceae

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-15 เมตร ลำต้น และกิ่งใหญ่ๆมีหนามแหลม กิ่งแก่ๆมักจะไม่มีหนาม กิ่งอ่อนมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาว 2-4 เซนติเมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง เปลือกสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายห่างๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ขนาดค่อนข้างเล็ก มักเรียงชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปร่าง ขนาด เนื้อใบ และขนที่ปกคลุมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายกลม โคนสอบแคบ ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือจัก มักจักใกล้ปลายใบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงถึงมีขนสั้นหนานุ่มทั้งสองด้าน ใบอ่อนและเส้นกลางใบสีแดงอมส้ม เส้นแขนงใบมี 4-6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห พอเห็นได้ลางๆ ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร ก้านใบสีเขียวหรือแดง มีขน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกแบบช่อกระจะ ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ และปลายกิ่ง มีขน ดอกย่อยจำนวนน้อย ดอกขนาดเล็ก สีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร มีขน กลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านในและที่ขอบกลีบมีขนแน่น ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ จานฐานดอกแยกเป็นแฉกเล็กน้อย หรือหยักมน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรยาว 2-2.5 มิลลิเมตร มีขนเฉพาะที่โคน ดอกเพศเมีย จานฐานดอกเรียบ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีรังไข่กลม ปลายสอบแคบ มี 1 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 5-6 อัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละก้านปลายแยกเป็นสองแฉก และม้วนออก กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ รูปไข่ กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายมน ผิวด้านนอกเกลี้ยง ด้านในและขอบมีขนหนาแน่น ผลกลม หรือรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติเมตร ออกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม เป็นพวงเล็กๆ ตามกิ่ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกสีแดงคล้ำ ลักษณะชุ่มน้ำ มี 5-8 เมล็ด มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล ผลจะสุกประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม รับประทานได้ รสหวานอมฝาด พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ตลอดจนตามริมแม่น้ำ

สรรพคุณ    
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง หรือเข้ายากับแก่นมะสัง เบนน้ำ และหนามแท่ง ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย แก้คัน
ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  แก่นหรือราก 1 กำมือ ต้มน้ำพอท่วมยา ดื่มวันละ 3-5 ครั้ง แก้โรคไตพิการ
ตำรายาไทย  ใช้  แก่น รสฝาดขื่นต้มน้ำดื่ม แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ขับเหงื่อ ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตานขโมย แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน ราก รสหวานฝาดร้อน กินแก้ไตอักเสบ แก้ตานขโมย ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงน้ำนม แก้โรคปอดบวม ทั้งต้นหรือราก แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคันตามตัว ลำต้น ผสมหัวเอื้องหมายนา ผักแว่นทั้งต้น หอยขมเป็นๆ 3-4 ตัว แช่น้ำให้เด็กอาบ แก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง น้ำยางจากต้น ใช้แก้อหิวาตกโรค เปลือก แก้เสียงแห้ง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ น้ำยางจากต้นและใบสด กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้โรคปอดอักเสบ แก้ไอ แก้บิดและท้องเสีย ช่วยย่อย เปลือก ตำรวมกับน้ำมัน ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง แก้คัน นำเปลือกมาแช่หรือชงเป็นยากลั้วคอ น้ำต้มใบแห้ง กินเป็นยาฝาดสมาน ขับเสมหะ แก้หืดหอบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ แก้ไอ แก้ท้องร่วง ขับลม และบำรุงร่างกาย ใบที่ย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังคลอดบุตร เมล็ด ตำพอกแก้ปวดข้อ ผล กินได้มีวิตามินซีสูง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการโรคดีซ่าน ม้ามโต แก้คลื่นไส้อาเจียน และเป็นยาระบาย

 

ตะขบป่า....หาดู+ชิม ....ได้ยากแล้ว นะคะ

ฝาดๆ ใช่ไหมค่ะ เคยทานตอนเด็กๆ ค่ะ

โห... ข้อมูลเยอะจัง ขอบคุณมากค่ะคุณน้อย

ตะขบป่า ลูกอ่อนฝาด ตำแซ่บขนาด :)

ลูกห่ามๆ เปรี้ยวหวานอร่อย ชอบนัก แต่ไม่มีป่าให้เก็บแล้ว สุกงอมหวานกำลังดี

แต่ไม่หอมจัดเหมือนตะขบบ้านหรือตะขบฝรั่ง ที่คุณน้อยนำมาให้เป็นแม่นมผักหวานป่า

ขอส่งการบ้าน...กระดาษเปล่่าจ้า อิอิ

กระวันนี้ คารวาน ไปควานหาลูกตะขบทั่วทีป มีนะ แต่เป็นลูกที่แตกมาจากรากทั้งนั้นเลยค่ะ

คะแนน...หัวใจ ความตั้งใจและความเพียร ขอคะแนเต็มทั้งทีมค่ะคุณครู :)))

เมื่อวานอุ้มเจ้าตัวเล็กไปด้วยทั้งขาไปขากลับแทบตีลังกาจากคันแทนา

มดตะนอยต่อยร้องจ๊าก เหงื่อตกโชกเสื้อสองตัวเลย ได้แห้วมาแทนตะขบ อิอิ

น้าในหมู่บ้าน บอกจะพยายามเก็บลูกสุกมาให้ วันก่อนเก็บติดมือมา เผลอเป็นอาหารไก่ไปซะก่อน :)

สรุปว่า พี่เลี้ยง หรือแม่นม "ตะขบ" ของผักหวานป่่าของพี่นั้น ต้องเพาะเองแน่นอน ร้อยเปอร์เซ็นต์

เอ้า เพาะเป็นเพาะ ขอศึกษาข้อมูลคุณน้อยอีกรอบ เหมือนจะง่าย แต่..ต้องลอง ...ลงมือแล้วหละ

สาธุเด้อหล่า

 

  • คุณมะเดื่อชอบตะขบบ้าน ลูกแดง ๆ หวาน ๆ หอมอร่อย
  • มีตะขบ  ก็มีร่มเงาเย็นสบาย  มีนกมากมาย มากินตะขบ

 

     ...ขอบพระคุณทุกๆท่านสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ...

 

     สวัสดีค่ะคุณหมอเปิ้ล...ตะขบป่าสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีหนามยาวๆทุกวันนี้หายากค่ะ(ถูกตัดทิ้ง)แต่ยังมีสายพันธุ์พื้นเมืองที่กลายพันธุ์จากต้นที่ปลูกด้วยเมล็ดได้ต้นที่ลูกโตและไม่มีหนามขยายพันธุ์จำหน่ายโดยการตอนกิ่งค่ะ"ตะขบยักษ์ไร้หนาม"(รู้สึกว่า..ตะขบไร้หนามต้นแม่อยู่ที่จ.พิจิตรค่ะ)

 

 

 

     สวัสดีค่ะคุณBright Lily....ใช่ค่ะ:ปตะขบป่ารสชาดออกฝาดๆหวานๆเปรี้ยวนิดๆค่ะ

...สายพันธุ์ไร้หนามเท่าลูกปิงปอง(ภาพจากเว็บไซต์)...

        

 

 

     สวัสดีค่ะพี่ตะวันดิน...ครูน้อยให้คะแนนครูใหญ่และนักเรียนเต็ม100ไปเลย(ยิ่งเหนื่อยยากยิ่งมากคุณค่า สู้ๆๆ "ด่านฝึกศรัทธาและขันติ") ยังมีเวลาค่ะสำหรับปลูกตะขบฝรั่งรผักหวาน...

ที่แปลงน้อยๆที่ล้อมรั้วไว้หาตะขบป่าไร้หนามพันธุ์ลูกโตๆ กับมะนาวแป้นมาลงไว้อย่างละต้นสองต้นก็ดีนะคะ(ไม่นานวันก็ออกผล และเรียนรู้-ฝึกสอนเด็กๆในการขยายพันธุ์ไว้ปลูกและจำหน่าย)

...บุญรักษาและโชคดีค่ะ...

 

     สวัสดีค่ะคุณมะเดื่อ...ตะขบบ้านตะขบฝรั่ง เป็นต้นไม้ที่มีเสน่ห์ทั้งผลสุกที่หอมหวานและร่มเงาที่ร่มรื่นเย็นสบายในทุกฤดูค่ะ

                                   

 

ขอบคุณที่ช่วยยอดความรู้เรื่องต้นตะขบ..ประโยชน์ของพืชนี้มีมากมาย..ชาวกรุงอ่อนด้อยประสบการณ์กำลังสืบค้นตัวตนจริงๆของต้นตะขบแบบตาดูมือคลำอยู่ค่ะ..

 

    สวัสดีค่ะคุณใหญ่...

ขอบพระคุณท่านเช่นกันค่ะที่นำเรื่องราวเกี่ยวกับต้นตะขบมาชวนคิดค้นหา(รู้จักชนิด-สายพันธุ์ของตะขบมากยิ่งขึ้น)และได้รู้จักต้นไม้อีกหลายชนิดจากการสืบค้นข้อมูลค่ะ...

แปรรูปอาหาร (ผลตะขบ)
ที่มาและความสำคัญ
     เนื่องจากในท้องถิ่นมีต้นตะขบมากมายและไม่ได้ใช้ประโยชน์มากนักนอกจากใช้เป็น      ร่มเงาและกินผลสุกพวกเราจึงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตะขบพบว่า"ตะขบ" มีใยอาหาร แคลเซียม      และโพแทสเซียมสูง ช่วยดูดซับคอเรสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้และเส้นเลือดสมองแตกโดยข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของโรงเรียนเหล่าประชาอุทิศจึงได้แปรรูปผลตะขบมาเป็น แยมตะขบ วุ้นตะขบกรอบ น้ำตะขบและน้ำพริกตะขบเพื่อเพิ่มรสชาติ และยังเป็นการถนอมอาหารทำให้เก็บได้นานขึ้น อีกทั้งสามารถนำไปผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและพัฒนาเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จากผลตะขบน่าบริโภคมากขึ้น
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตะขบ
3. เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการในการทำงานเป็นทีม
5. เพื่อพัฒนาเป็นอาชีพสร้างรายได้ในอนาคต


แยมตะขบ
- ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์
     1. เนื้อตะขบ  2  ถ้วยตวง
     2. เนื้อมะเขือเทศ  1  ถ้วยตวง
     3. เนื้อกระเจี๊ยบ  1  ถ้วยตวง
     4. น้ำ  ½  ถ้วยตวง
     5. น้ำตาลทราย  700  กรัม
     6. กลิ่นสังเคราะห์  1  ช้อนชา
     7. เกลือ  ½  ช้อนชา
     8. น้ำมะนาว  1  ช้อนชา

- ขั้นลงมือปฏิบัติ
     1. ปั่นเนื้อตะขบ เนื้อมะเขือเทศ เนื้อกระเจี๊ยบและน้ำเข้าด้วยกัน
     2. เทใส่หม้อแล้วไปตั้งไฟ โดยใช้ไฟ กลาง ๆ และกวนไปเรื่อย ๆ
     3. พอหม้อเดือดให้เติมน้ำตาลทรายและเกลือ ลงไป
     4. กวนจนส่วนผสมมีลักษณะหนืด เมื่อยกไม้พายขึ้นแยมจะไหลช้า ๆ
     5. ยกลงจากเตา เติมน้ำมะนาว คนให้เข้ากันพักไว้ให้เย็น แล้วเทใส่ภาชนะบรรจุปิดให้สนิท


วุ้นตะขบกรอบ
- ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์
     1. เนื้อตะขบ  1  ถ้วยตวง
     2. น้ำตาลทราย  2  ถ้วยตวง
     3. น้ำ  2 ถ้วยตวง
     4. ผงวุ้น  1½  ช้อนโต๊ะ
     5. กลิ่น
     6. สี

- ขั้นลงมือปฏิบัติ
     1. ปั่นเนื้อตะขบ และน้ำเข้าด้วยกัน
     2. เทลงหม้อพร้อมกับผงวุ้นและคนให้เข้ากัน
     3. นำไปตั้งไฟ แล้วคนจนผงวุ้นละลาย
     4. เติมน้ำตาลลงไป แล้วคนจนกว่าส่วนผสมจะเขากัน
     5. แต่งกลิ่นและสีคนจนทั่ว แล้วเทลงแม่พิมพ์
     6. นำไปตากแดดประมาณ 3-4 วัน หรือจนกว่าน้ำตาลเป็นเกล็ด
     7. แล้วนำมาบรรจุใส่ภาชนะ


น้ำตะขบ
- ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์
     1. ผลตะขบ  1  ถ้วยตวง
     2. น้ำต้มสุก  1½  ถ้วยตวง
     3. น้ำเชื่อม  1/4  ถ้วยตวง
     4. เกลือ  1/3  ช้อนชา
- ขั้นลงมือปฏิบัติ
     1. เลือกผลตะขบไทยที่สุกงอม ล้างน้ำให้สะอาด
     2. นำผลตะขบมาใสผ้าขาวบางแล้วขยำ
     3. คั้นกรองเอาเปลือกและเมล็ดออก
     4. เติมน้ำเชื่อม  เกลือ  ชิมรสตามใจชอบ
     5. จะได้น้ำตะขบมีกลิ่นหอม  รสเปรี้ยวอมหวานเค็มเล็กน้อย

หมายเหตุ    เติมรสชาติของผลไม้อย่างอื่นได้เช่น กระเจี๊ยบ มะนาว สตอเบอร์รี่  กีวี  อื่นๆ


น้ำพริกตะขบกุ้งสด
- ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์
     1. ผลตะขบ  2  ขีด
     2. กระเทียมเจียว  2  ขีด
     3. หอมเจียว  4  ขีด
     4. กุ้งสด  3  ขีด
     5. น้ำมะขามเปียก  2  ขีด
     6. น้ำตาลปี๊บ  1  ขีด
     7. เกลือป่น  2  ช้อนโต๊ะ
     8. พริกแห้งแกะเมล็ด  40  กรัม

- ขั้นลงมือปฏิบัติ
     1. นำกุ้งมาล้างและแกะเปลือกแล้วทำการสับกุ้งให้ละเอียดผัดรวนให้แห้งแล้วพักไว้
     2. นำพริกแห้งลงทอดด้วยไฟอ่อน ตามด้วยกระเทียมซอย หอมแดงซอย โดยแยกทอด พอสุกเหลืองแล้วตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
     3. นำพริกทอดโขลกให้ละเอียดใส่เนื้อกุ้งที่รวนไว้โขลกต่อให้ส่วนผสมเข้ากัน
     4. ตั้งกระทะใส่น้ำมัน พอเริ่มร้อนนำส่วนของพริกและกุ้งลงไปผัดก่อนเสร็จแล้วเติมตะขบที่ปั่นละเอียดแล้วปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำมะขาม และเกลือ ใช้ไฟอ่อนผัดไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมมีกลิ่นหอมและแห้งได้ที่
     5. ใส่หอม กระเทียมเจียวลงคลุกเคล้าให้เข้ากั

 

เคยไปดูงานที่ ศูนย์อนุูรักษ์พันธุกรรมพืชอันเมื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ที่คลองไผ่ สีคิ้ว มีต้นตะขบป่าอยู่มากค่ะ ลูกใหญ่มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท