นักเดินทางกับแผนที่เล็กๆ (มากๆ)


กำหนดการเิดินทางไกล ถูกส่งต่อเมื่อไม่นานก่อนออกเดินทาง เพราะว่าเรื่องบางเรื่องไม่สามารถกำหนดได้หมด บางเรื่องบางแผนจึงเกิดขึ้นตามสถานการณ์ แต่ก็นั่นแหล่ะ เรามีแผนที่กันแล้วนี่ 

หลังจากที่เด็กๆ กินข้าวที่อุตส่าห์ตำกันหน้ามืดแล้ว พวกเขาก็ได้รับแผนที่เล็กๆ และวิธีการเดินซึ่งทุกคนเดินเป็นแล้ว ครูที่ติดตามการเดินทางไกลในครั้งนี้ ต่างเป็นเพียงผู้จ่ายแผนที่เท่านั้น ผู้รู้เส้นทางจริงๆ อยู่รอบทางที่เดินผ่าน เด็กๆ รวมทั้งผู้กำกับต่างจ้องแผนที่และคิดในใจ(ดังๆ) ว่าจะไปถูกไหมเนี่ย พร้อมกันนั้น ในแผนที่นั้น เรามีคำถามที่รอคำตอบอยู่แล้ว สิบคำถาม เอาล่ะซิ แค่เดินได้คงตอบคำถามไม่ได้ถ้าไม่ฝึกอ่านหนังสือ ผ่านอ่านแผนที่ และที่สำคัญฝึกตั้งคำถามตามรายทาง ถึงอย่างนั้นเราก็เริ่มออกเดินทาง

 

คำถามนั้นสำคัญนัก เพราะเด็กๆ ต้องสอบถามเส้นทางกับผู้คนที่เดินผ่าน (ตายละหว่า เด็กอ่านแผนที่ไม่เป็น) จากการสอบถามเส้นทางก็เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตของคนแถบนี้ (ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี) ชาวบ้านยินดีปรีดากับการตอบคำถามเด็กๆ มาก บ้างก็ชวนคุยถึงเรื่องที่พวกเขามีความรู้ เด็กๆ ก็เอาแต่ตั้งตามถาม และฟังคำถาม (ไม่น่าเชื่อว่าเป็นผู้ฟังที่ดีก็เป็น) 

การเดินทางไกลหนนี้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้จากชีวิตจริง เหตุการณ์ที่เด็กๆ ประสบจะทำให้พวกเขาสามารถแก้ปัญหาได้ แล้วแต่วิธีการของแต่ละกลุ่มจะจัดการ แต่ทุกคนได้คำตอบทั้สิบข้อ และมีเรื่องเล่ามิรู้จบสำหรับคำตอบที่ได้มา บางกลุ่มร้อนแดดจนต้องแวะพักและมีน้ำเย็นชื่นใจให้ดื่มได้จากการรู้จักพูด สิ่งเหล่านี้เองที่การจัดการเรียนการสอนที่มีแผนที่(วางไว้แล้ว) อยากให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน บางกลุ่มยังสามารถเผื่อคะแนนให้กับเจ้าของคำตอบด้วย

"ป้าตอบคำถามให้แล้ว หนูต้องแบ่งคะแนนให้ป้า ห้าคะแนนนะ" เด็กพร้อมใจกันตอบตกลง เพราะสิ่งที่พวกเขาได้รับในการออกเดินทางไกลครั้งนี้มันมากกว่าคำว่าคะแนน

 

หมายเลขบันทึก: 506860เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท