kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การรักษากรณีฟันหักเหลือแต่รากฟัน


การรักษาในฟันที่เกิดอุบัติเหตุมีข้อจำกัดและวิธีการให้เลือกหลายแบบขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ปกครอง

        เมื่อวานนี้ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เป็นเด็กอายุ 14 ปี เกิดอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์ล้มฟันหน้ากระแทกพื้นถนน ริมฝีปากฉีกได้รับการเย็บแผลมาเรียบร้อยแล้ว ตรวจพบฟันหน้าบนหัก 1 ซี่ โยกมาก 2 ซี่ จากการถ่ายภาพรังสีพบว่ายังมีรากฟันเหลือกอยู่ในเหงือก ตรวจในช่องปากพบว่าขอบด้านหน้าหักพอดีขอบเหงือก ขอบด้านหลังหักลงไปใต้ขอบเหงือก 0.5 ซ.ม.

         แนวทางการรักษาฟันที่โยกจะทำการเข้าเฝือกฟัน (Splint) นาน 7-10 วัน จากนั้นพิจารณาว่าฟันจะต้องรักษารากฟันหรือไม่เช่นมีอาการ, บวมเป็นหนอง ส่วนฟันที่หักมีแนวทางการรักษา 2 แบบคือ แบบแรก รักษารากฟัน จากนั้นจัดฟันดึงฟันขึ้นมาให้ขอบอยู่บริเวณขอบเหงือก แล้วจึงครอบฟันต่อ แบบที่ 2 ถอน จากนั้นใส่ฟันปลอม หรือจัดฟันเพื่อปิดช่องว่าง

          ตกลงผู้ปกครอง และเด็กเลือกการถอนฟัน และใส่ฟันปลอมแทน ส่วนฟันที่โยกจะเข้าเฝือกฟัน และพิจารณารักษาในโอกาสต่อไป  จะเห็นได้ว่าการรักษาในฟันที่เกิดอุบัติเหตุมีข้อจำกัดและวิธีการให้เลือกหลายแบบขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ปกครอง (กรณีเด็ก)  อย่างไรก็ตามการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

หมายเลขบันทึก: 506847เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท