จุดเดียว ก็มีความหมาย


चिंतायाश्च  चितायाश्च बिन्दुमात्रं विशिष्यते ।

चिता दहति निर्जीवं चिंता दहति जीवितम् ॥

- - -

จึตายาศฺจ จิตายาศฺจ พินฺทุมาตฺรํ วิศิษฺยเต ฯ

จิตา ทหติ นิรฺชีวํ จึตา ทหติ ชีวิตมฺ ฯ

- - -

จุดเดียวที่แปลก  แยก 'จึตา' และ 'จิตา'

จิตาเผาร่างไร้ชีวิต   จึตาปลิดเผา(ทั้ง)ชีวา ฯ

 

ความหมาย

เพียงแค่จุดเดียว ถูกทำให้แตกต่างได้ จากคำว่า จึตา (ความกังวล, อ่านว่า จินตา) และ จิตา (เชิงตะกอน)

(จิตา และจึตา ต่างกันแค่นิคหิต หรือเครื่องหมายจุด บนสระอิเท่านั้นเอง)

“จิตา” หรือเชิงตะกอนนั้นเผาร่างไร้ชีวิต แต่ “จึตา” หรือความกังวลนั้นเผา(ทั้ง)ชีวิต คือทำให้ชีวิตมีความร้อนรุ่ม

 

Large_vidya-balan_7

ภาพจาก http://www.topnews.in/files/Vidya-Balan_7.jpg

 

พินทุ หมายถึงจุดที่เขียนบนตัวอักษร อย่างที่เราเรียกนิคหิต นั่นแหละ แต่จุดทั้งหลายแหล่ ภาษาสันสกฤตเรียกพินพุได้ทั้งนั้น รวมทั้งจุดกลางหน้าผากด้วย เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันดีในหมู่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู

จิตา หรือเชิงตะกอน (เราคุ้นเคยกับคำว่า จิตกาธาน มากกว่า) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุ้นเคยกันในประเทศอินเดีย

 

Large_pyre1

ภาพจาก http://www.dailyundertaker.com/2008/10/pyre-will-open-air-natural-cremations.html

 

ร้อยกรองบทนี้เล่นคำและความหมายได้สนุก แต่ใช้ภาษาสำนวนอย่างง่ายๆ ถ้าได้รู้ความหมายศัพท์และไวยากรณ์ละเอียดขึ้น จะซาบซึ้งกับความหมายมากขึ้น

 


ภาษาสันสกฤต

แยกสนธิ : จึตายาสฺ จ จิตายาสฺ จ พินฺทุมาตฺรมฺ วิศิษฺยเต จิตา ทหติ นิรฺชีวมฺ จึตา ทหติ ชีวิตมฺ

สนธิที่ควรรู้ สฺ+จ = ศฺจ

 

แปลศัพท์

จิตา               จิตา. เชิงตะกอน (นามเพศหญิง เอกพจน์ กรรตุการก (ทำหน้าที่เป็นประธาน)

จิตายาสฺ         จิตา. เชิงตะกอน. อปทานการก (การกที่ 5, บอกที่มา) เอกพจน์เหมือนกัน

จึตา               จึตา. ความกังวล. นามเพศหญิง เอกพจน์ กรรตุการก (ทำหน้าที่เป็นประธาน)

จึตายาสฺ         จึตา. ความกังวล. อปทานการก (การกที่ 5, บอกที่มา) เอกพจน์เหมือนกัน

พินฺทุมาตรมฺ    พินฺทุ+มาตฺร. เพียงจุด, แค่จุด. เพศกลาง เอกพจน์ กรรตุการก (ประธาน). มาตฺร หมายถึง เพียง, เฉพาะ, เท่านั้น

วิศิษฺยเต          วิ 7√ศิษฺ (วิ√ศิษฺ+ย+เต) แตกต่าง. กริยา กรรมวาจก ปัจจุบันกาล เอกพจน์ บุรุษที่สาม (ประธานคือ พินฺทุมาตฺรมฺ) ในที่นี้ควรแปลว่า ถูกทำให้แตกต่าง

ทหติ               1√ทหฺ (ทห+ติ) เผา, ไหม้. กริยา ปัจจุบันกาล เอกพจน์ บุรุษที่สาม

นิรฺชีวมฺ           นิสฺ+ชีว. ร่างที่ไร้ชีวิต. เพศกลาง/เพศชาย เอกพจน์ กรรมการก (กรรม)

ชีวิตมฺ             ชีวิต. ชีวิต, สิ่งมีชีวิต. เพศกลาง เอกพจน์ กรรมการก (กรรม)

คำสำคัญ (Tags): #พินทุ
หมายเลขบันทึก: 506231เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สุดยอดค่ะท่านอาจารย์ เรียนได้ยังไง??? ยกย่องๆๆ มากๆๆค่ะ อือ!!!! คนเรียนและชอบและมีความรู้ทางนี้ เยี่ยมมากค่ะ เยี่ยมจริงๆๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อ่านบันทึกอาจารย์แล้วได้ความรู้เพิ่มเติมเสมอ

ขอบคุณมากครับ ;)... (อันนี้มี ๓ จุดเลย)

จุดเดียวที่ว่าคือ บนหน้าผากหญิงคนนั้นใช่หรือเปล่าครับ

 

สวัสดีครับ อ.พี่ Blank

ผมต้องเขียนๆ อ่านๆ อยู่้เรื่อยๆ ครับ ไม่งั้นจะลืม

 

สวัสดีครับ อ. Blank

อาจารย์มา 3 จุดเลย ตรัยพินทุ ครับ ;)

 

สวัสดีครับ อ. Blank

จุดตรงหน้าผากก็พินทุครับ  (วิทยา พาลัน นักแสดงบอลลีวู้ดครับ... )

“จิตา” หรือเชิงตะกอนนั้นเผาร่างไร้ชีวิต แต่ “จึตา” หรือความกังวลนั้นเผา(ทั้ง)ชีวิต คือทำให้ชีวิตมีความร้อนรุ่ม

 

ชอบคำความ นี้ค่ะ

 

Blank เรียน ท่าน อจ. ธ.วั ช ชั ย

หมอเปิ้ล สงสัยว่า .... เวลาพิมพ์ ภาษาเหล่านี้( ด้านล่าง) ... ใช้แป้นพิมพ์ อย่างไรค่ะ .... ไม่มีความรู้จริงๆๆค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

 

चिंतायाश्च  चितायाश्च बिन्दुमात्रं विशिष्यते ।

चिता दहति निर्जीवं चिंता दहति जीवितम् ॥

 

สวัสดีครับ พี่ Blank ...Dr. Ple

เวลาพิมพ์ จะเรียกฟอนต์เทวนาครี Sanskrit นะครับ แล้วพิมพ์ได้เลย

แต่บางทีก็พิมพ์ในโปรแกรมต่างหาก สะดวกกว่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท