ลวดลายบนหน้ากลองมโหระทึก


ลวดลายบนหน้ากลองมโหระทึก

ในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ค้นพบกลองมโหระทึกในหลายประเทศ เช่น เวียดนาม ลาว ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น กลองมโหระทึกจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว กลองแต่ละใบก็มีลวดลายที่แตกต่างกัน การผูกลวดลายต่างๆสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถเชิงศิลปะของคนในอดีต ลวดลายที่ปรากฏบนกลองมโหระทึกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.ลายเรขาคณิต และ ๒.ลายลวดภาพบุคคล สัตว์ และสิ่งของ เป็นต้น ภาพบุคคล สัตว์ และสิ่งของ มีรายละเอียดที่ต่างกันไป มีทั้งภาพกลุ่มและภาพเดียว ภาพที่ปรากฏทำให้เราเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตได้มากยิ่งขึ้น       

  • ภาพกลุ่มบุคคลแต่งกายด้วยขนนก การแต่งการด้วยขนนกอาจแสดงถึงการประกอบพิธีกรรมต่างๆในอดีต  
  • ภาพกลุ่มบุคคลทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทอผ้า เล่นดนตรี และประกอบพิธีกรรม เป็นต้น
  • ภาพเรือ เป็นภาพกลุ่มคนนั่งบนเรือ เรือคงเป็นพาหนะที่สำคัญของคนในอดีต
  • ภาพสัตว์ต่างๆ เช่น นก ปลา กบ(คางคก) ช้าง วัว และกวาง เป็นต้น คนในอดีตจะใช้ชีวิตพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก สัตว์ที่ปรากฏคงเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับคนในอดีต นักวิชาการที่ทำการศึกษากลองมโหระทึกให้ความคิดเห็นว่าสัตว์บางชนิดก็สื่อถึงความหมายที่ต่างกัน เช่น กบและช้างอาจเกี่ยวข้องกับพิธีการขอฝน นกและกวางอาจเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าซึ่งเป็นที่นับถือของคนในอดีต เป็นต้น
  •  บ้านเรือน มักเป็นภาพบ้านยกพื้นสูง ภาพบ้านแสดงให้เห็นว่าคนสมัยนั้นสามารถสร้างบ้านไว้ใช้อยู่อาศัยและคงมีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรแล้ว 
  • ดวงอาทิตย์หรือดวงดาว เป็นลายที่อยู่ตรงกลางบนหน้ากลองมโหระทึกเกือบทุกใบ

ลวดลายบนหน้ากลองมโหระทึกแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนในอดีต และยังเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและวิถีชีวิตของคนในอดีตอีกด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

  • เมธินี จิระวัฒนา. กลองมโหระทึกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2546.
  • Higham, Charles (1996). Ngoc Lu drum, Retrieved September 16, 2010, from Wikipedia:    http://en.wikipedia.org/wiki/Ngoc Lu drum

 

คำสำคัญ (Tags): #กลองมโหระทึก
หมายเลขบันทึก: 506206เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท