การพัฒนางานประจำสู่งาน R2R ผ่านกระบวนการ KM


งานประจำสู่่งานวิจัย

 

การพัฒนางานประจำสู่งาน R2R ผ่านกระบวนการ KM
หัวใจของการทำงานพัฒนา โดยพัฒนาจากการทำวิจัยจากงานประจำไม่ได้อยู่ที่การประยุกต์เทคนิค  หรือวิธีการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานวิจัย แต่ที่สำคัญคือ การ “พลิก วิธี คิด ” หรือการปรับกระบวนทัศน์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานเกี่ยวกับการทำงานประจำ  และการเป็นผู้สร้างความรู้ การวิจัยจากงานประจำ  จึงเป็นการทำงานบนรากฐานวิธีคิดที่อาจเรียกว่าเป็นการจัดการความรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ที่แตกต่างไปจากกระบวนทัศน์เดิมหลายประการ คือ

1. การจัดการความรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ถือว่า ความรู้มีหลากหลาย

ลักษณะซึ่งต้องการการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น ความรู้เปิดเผย (explicit knowledge)

ความรู้แฝงเร้น (tacit knowledge และ implicit knowledge) ความรู้ในเชิงทฤษฎีกับ

ความรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติและความรู้ที่ครอบคลุมครบถ้วนกับความรู้ที่ใช้

งานได้ (working knowledge)   การทำงานประจำนั้นผู้ปฏิบัติงานจะสั่งสมความรู้แฝงเร้นที่เรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน  เป็นความรู้ที่แยกไม่ออกจากการปฏิบัติ การให้คุณค่ากับความรู้เชิงปฏิบัตินี้  ได้ท้าทายวิธีคิด

การจัดการองค์กรแบบเดิมที่มองว่า ผู้บริหาร ที่ปรึกษา รู้ดีที่สุด ส่วนผู้ปฏิบัติเป็น
ผู้คอยรับการถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้  แต่การทำงานตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้  ถือว่าผู้ปฏิบัติเป็นผู้รู้ดีที่สุด โดยเฉพาะการรู้ว่าความรู้ส่วนไหนเป็นความรู้ที่ใช้งานได้ หรือที่เรียกกันว่า ความรู้ในการปฏิบัติงาน (working knowledge)

2. ความรู้มีความหลากหลายรูปแบบ เช่น มีการพูดถึงการขี่จักรยานเป็นตัวอย่างที่มักถูกพูดถึงในแง่ที่ว่า เป็นความรู้แบบหนึ่งที่ฝังแฝงอยู่ในร่างกายของคนเรา (embodied knowledge) เราจะไม่สามารถถ่ายทอดการขี่จักรยานด้วยการบรรยายให้เข้าใจว่า การที่จะทรงตัวบนจักรยานและปั่นให้วิ่งไปข้างหน้าโดยไม่ล้มนั้นต้องทำอย่างไร แต่หากมีการฝึกฝน มีการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้ได้เองว่าจะต้องทำอย่างไร เช่นเดียวกับการเรียนรู้ที่จะทำงานวิจัย จากงานประจำที่มีอยู่

          3. ความรู้และการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ  แต่การที่จะให้ทุกคนเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนกระบวนทัศน์  ย่อมมาจากพื้นฐานวิธีคิด และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของแต่ละคนเพื่อที่จะก้าวสู่ความสำเร็จ  ไม่มีใครมาบอกได้   

ดังนั้น แนวคิดใหม่ของการจัดการความรู้เกิดจากกระบวนทัศน์ วิธีคิด และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ที่จะต้องมีการพัฒนาการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เมื่องานสำเร็จเราก็จะได้ทั้งคุณค่างาน และผลงาน และได้ความก้าวหน้าในสายงาน  จะให้เรามีความสุขกับการทำงานและพัฒนางาน   ลองนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติดู แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ
 
 
หมายเลขบันทึก: 506201เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท