โคนมผสมไม่ติด โปรแกรมกำหนดวันผสมช่วยได้


เริ่มจากวันที่ 1 ฉีดรีเซฟตอล 2.5 ซีซี เวลา 15.00 น. เพื่อกระตุ้นการพัฒนาของรังไข่ เพิ่มขนาดของไข่ ซึ่งไข่จะตกได้ต้องมีขนาดใหญ่พอสมควรประมาณ 16 มิลลิเมตร จากนั้นวันที่ 7 ฉีดลูทาไลด์ 5 ซีซี เวลา 15.00 น. เพื่อสลาย CL (corpus luteum) กระตุ้นให้โคนมแสดงอาหารเป็นสัด วันที่ 9 ฉีดโคลูรอน 10 ซีซี เวลา 12.00 กระตุ้นการตกไข่ น. หลังจากนั้นนับไปอีก 20 ชั่วโมง ก็ทำการผสมเทียมโคนมได้เลย ก็ตรงกับเวลา 8.00 น. ของวันที่ 10 นั้นเอง

 

วันนี้มีโอกาสได้ทานอาหารเจกับเขาด้วย เป็นครั้งแรกด้วยนะอิอิ... ก็อร่อยไม่แพ้กับอาหารปกติครับอีกทั้งได้ช่วยเหลือชีวิตสัตว์ทั้งหลายได้อีกเป็นพันชีวิตด้วย ทำให้วันนี้รู้สึกดีตลอดวันเลยครับ (มากไปไหมพี่ อิอิ... พึ่งทานครั้งแรกเองนะ) เอาล่ะหลังจากทานอาหารแล้วก็ต้องทำอะไรดีๆกันซะหน่อยโดยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน G2K เพื่อประเทืองปัญญา นำวิชาการสู่สังคม

ต่อจากบันทึกก่อนหน้านี้ที่ได้ไปร่วมอบรมเกษตรกรที่สหกรณ์โคนมขอนแก่นได้เกริ่นไว้ว่าหากเกษตรกรโคนม หรือพี่น้องคนใดที่มีปัญหาเรื่องโคนมผสมติดยากก็ต้องมาทางนี้เลยครับ องค์ความรู้นี้ได้มีการนำไปใช้จริงในเกษตรกรโคนมแล้วประสบความสำเร็จ จึงได้มีการผลการวิจัยดังกล่าวมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากขึ้น โดยงานวิจัยนี้ก็ต้องขอบคุณรศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ และคณะนักศึกษาที่เกี่ยวข้องด้วย จึงทำให้ได้มีสิ่งดีอย่างนี้ออกมาครับ

ปัญหาของโคนมส่วนใหญ่ก็คือเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นผสมไม่ติด หรือผสมติดยาก มดลูกอักเสบ รกค้าง ซึ่งว่าโคนมผสมไม่ติดหลังคลอดเกิน 120 วันส่งผลทำให้ต้องเสียรายได้ไป 80 บาทต่อวันเลยที่เดียวโดยวันที่โคนมควรจะผสมติดไม่ควรเกิน 85 วัน หากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมพบว่าโคนมผสมไม่ติดหรือผสมติดยาก ปัญหาเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขโดยการกำหนดวันผสมให้กับโคนมเลย ไม่ต้องรอให้โคนมแสดงอาหารเป็นสัด ย้ำนะครับว่าโคนมต้องมีปัญหาเท่านั้นนะครับ หากโคนมเป็นสัดปกติก็ควรทำการผสมตามปกติได้เลย

เริ่มจากวันที่ 1 ฉีดรีเซฟตอล 2.5 ซีซี เวลา 15.00 น. เพื่อกระตุ้นการพัฒนาของรังไข่ เพิ่มขนาดของไข่ ซึ่งไข่จะตกได้ต้องมีขนาดใหญ่พอสมควรประมาณ 16 มิลลิเมตร จากนั้นวันที่ 7 ฉีดลูทาไลด์ 5 ซีซี เวลา 15.00 น. เพื่อสลาย CL (corpus luteum) กระตุ้นให้โคนมแสดงอาหารเป็นสัด วันที่ 9 ฉีดโคลูรอน 10 ซีซี เวลา 12.00 กระตุ้นการตกไข่ น. หลังจากนั้นนับไปอีก 20 ชั่วโมง ก็ทำการผสมเทียมโคนมได้เลย ก็ตรงกับเวลา 8.00 น. ของวันที่ 10 นั้นเอง

 ซึ่งการใช้โปรแกรมการกำหนดวันผสมนั้นก็ทำให้เปอร์เซ็นต์การผสมติดเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 60 % ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการจัดการด้านอื่นๆร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นคุณภาพน้ำเชื้อ การผสมเทียม การให้อาหาร รวมถึงสภาพอากาศด้วย นี้เป็นโปรแกรมการใช้ฮอร์โมนเข้ามาช่วยที่โคนมไม่มีปัญหาการเป็นถุงน้ำบนรังไข่นะครับ หากโคนมมีปัญหานี้ก็ต้องใช้อีกโปรแกรมซึ่งจะขอกล่าวในวันถัดไปก็แล้วกันครับ

ก่อนจากวันนี้ก็ขอแลกเปลี่ยนเทคนิคการให้อาหารโคนมเพื่อทำให้การผสมติดเพิ่มขึ้นโดยมีการวิจัยรายงานไว้ว่าก่อนและหลัง 7 วันของการผสมเทียมโคนมควรได้รับสูตรอาหารที่มีโปรตีนไม่เกิน 16 % เพราะหากในสูตรอาหารมีโปรตีนสูงเกินไปก็จะทำให้มีระดับของยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือดมากซึ่งจะส่งผลต่อการเกาะตัวหรือฝังตัวของเอมบริโอได้

การจะทำให้โคนมผสมติดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคุณภาพน้ำเชื้อ ความสมบูรณ์พันธุ์ของแม่โค เทคนิคการผสมเทียม การจัดการเรื่องการให้อาหาร รวมถึงสภาพแวดล้อมด้วย

 
หมายเลขบันทึก: 506120เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ สำหรับดอกไม้เติมกำลังใจจากคุณ Blank คนบ้านไกล.

ขอบคุณดอกไม้แทนกำลังใจครับ คุณ Blank โสภณ เปียสนิท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท