รางวัลคุรุสดุดี ประจำปี2555


ครูจรรยา ธนะนิมิตร โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย รับรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" ประจำปี 2555 วันครูโลก เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” เป็นรางวัลที่ยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ตั้งใจปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ จนสามารถเป็นแบบอย่างและเป็นที่เคารพยกย่องอย่างสูงของศิษย์และบุคคลทั่วไป สมกับเป็นปูชนียบุคคล ผู้มีความเสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน
     ครูจรรยา ธนะนิมิตร     รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" ประจำปี 2555 วันครูโลก 
 
เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” เป็นรางวัลที่ยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ตั้งใจปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ จนสามารถเป็นแบบอย่างและเป็นที่เคารพยกย่องอย่างสูงของศิษย์และบุคคลทั่วไป สมกับเป็นปูชนียบุคคล ผู้มีความเสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน
 
 

สรุปผลการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่เด่นที่สุด  โดยแสดงให้เห็นถึง

     พฤติกรรมที่ได้รับการยกย่องซึ่งปรากฏหลักฐานที่สามารถอ้างอิงได้ (ไม่เกิน๘บรรทัด)

                ครูจรรยา  ธนะนิมิตร  เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ แสวงหาความรู้  และออกแบบการเรียนรู้

     เป็นผู้นำการออกแบบเทคนิคการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เสียสละทั้งเวลาและมานะอดทนในการพัฒนา

     ผู้เรียนทุกด้าน จนส่งผลให้เป็นที่ศรัทธาของศิษย์ ได้รับการยกย่องจากผู้ร่วมงานและองค์กรต่างๆ เช่น

          -ได้รับรางวัล  “ครูเกียรติคุณ” ผู้ตามรอย “ครูแห่งแผ่นดิน”   จากครุศาสตร์สัมพันธ์ คณะครุศาสตร์      

            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร และกองบัญชาการตำรวจ  

            ตระเวนชายแดน (คัดเลือกจากครูทั่วประเทศให้ได้รับรางวัล ๑๒ คน)

          -ได้รับพระราชทานรางวัลโล่เกียรติคุณ  บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สาขาการศึกษาและ

            วิชาการ ประจำปี 2553    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์  จากสมเด็จพระบรม

            โอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร

           -ได้รับรางวัล  “ครูดีในดวงใจ”  ครั้งที่ 8   พ.ศ. 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

          -เผยแพร่การสอนเรื่อง “เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดโรค พลโลกปลอดภัย”ทางสถานีโทรทัศน์ครู

          -มีส่วนร่วมจัดทำคู่มือการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

           พุทธศักราช  ๒๕๕๑   ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อที่ 3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ  เป็นข้อที่เด่นชัดที่สุดที่ส่งผลให้ปรากฎเป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชน  และเป็นผลของการอุทิศตน เพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพครูอย่างสูง  ตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน

                ครูจรรยา  ธนะนิมิตร  ได้พิจารณาและมีความเห็นว่า       ผลการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

ทั้ง ๙ ข้อนั้น  จะปรากฎผลเป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชน  และเป็นผลของการอุทิศตน เพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพครูอย่างสูง  ตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงานนั้น   ต้องปฏิบัติตนให้ได้ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ข้อที่๓ ที่เห็นว่าเป็นข้อที่เด่นชัดที่สุด  และเป็นข้อที่จะส่งผลให้เกิดจรรยาบรรณข้ออื่นๆเสมอ

                ในที่นี้จะขอเสนอผลการปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ   โดยยึดมั่น

 ในการเป็นครูที่นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็น“ครูแห่งแผ่นดิน”

 มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและการทำงาน  ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ 

แนวพระราชดำริที่นำมาปฏิบัติ  คือ พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

               

                   วิธีปฏิบัติ

                            การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดย


๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต

“เข้าห้างสรรพสินค้า  ไม่รู้จะซื้ออะไร…..”  ครูจรรยา มักพูดคุยกับนักเรียน เพื่อนครู  หรือคนคุ้นเคยอยู่เสมอ  เนื่องจากครูจรรยาเป็นผู้ที่ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆใช้เอง ดังนั้นในการเข้าร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าจึงใช้จ่ายแต่ของใช้จำเป็นที่ทำเองไม่ได้เท่านั้น  ปัจจุบันจะหมักชีวภาพจากเศษอาหารไว้ใช้ทำความสะอาดภายในบ้าน  บำรุงต้นไม้  หมักสมุนไพรและผลไม้ไว้รับประทานเป็นยารักษาและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ  และใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น แชมพูสระผม  ครีมอาบน้ำ น้ำยาซักผ้า บ้วนปาก น้ำยาล้างจาน ล้างรถ เช๊ดกระจกและอื่นๆ  จึงเป็นการประหยัดตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน  และยังแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ  นอกจากนั้นยังช่วยรักษาโรคบางโรคด้วยน้ำหมักเอนไซม์แก่ผู้อื่น  เช่น  ลูกศิษย์ชื่อนายวรนนท์  ขวัญดี ป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งรักษายากมาก ซึ่งได้เรียนการหมักเอนไซม์ในวิชาเกษตร จึงเกิดการเรียนรู้ว่า การนำน้ำหมักเอนไซม์จากมะเฟืองไปใช้ ทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำจะสามารถช่วยรักษาได้  จึงได้ใช้เอนไซม์มะเฟืองมาโดยตลอด จนมีอาการที่ทุเลาลงมาก  ปัจจุบันจึงได้แนะนำให้หมักใช้เองอย่างต่อเนื่องในครัวเรือน   นักเรียนที่มีสิว ฝ้า ก็นำไปใช้จนหายหรือทุเลาลงมาก 

                                ในด้านการจัดการเรียนรู้  การปฐมนิเทศนักเรียนก่อนการเรียนวิชาเกษตร จะกำหนดข้อตกลงร่วมกับนักเรียนเสมอว่า “วิชาเกษตรห้ามใช้สมุดใหม่ เพราะเชื่อว่านักเรียนต้องมีสมุดที่ยังใช้ไม่หมดในภาคเรียนที่ผ่านมา ให้นำกลับมาใช้ด้วยการตกแต่งให้เป็นสมุดที่น่าใช้  และยังกำหนดว่าห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ซึ่งมีราคาแพง เพราะวิชาเกษตรถ้าเขียนผิดให้ขีดฆ่าอย่างเรียบร้อย และนักเรียนทุกคนต้องมีกล่องหรือซองใส่เครื่อง เขียน  เนื่องจากนักเรียนมักทำปากกา ดินสอหายบ่อยมากซึ่งเป็นการสิ้นเปลีอง” นอกจากนั้นในการเรียนวิชาเกษตรภาคปฏิบัติก็ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างประหยัด       ซึ่งการอบรมสั่งสอนเบื้องต้นจะเป็นการปลูกผังนิสัยให้เด็กเป็นผู้ที่รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตตามวิถีพอเพียง  ตามรอยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเป็นวิถีชีวิตต่อไป


๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต

ครูจรรยา  ธนะนิมิตร   ยึดมั่นในความถูกต้อง เคารพกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆของทางราชการ ได้ปฏิบัติงานโดยอาศัยสำนึกถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรม หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่อาจเกิดความขัดแย้ง   ทำงานด้วยความโปร่งใส ถูกต้องตามขั้นตอนและระเบียบ เปิดเผยข้อมูลและรายงานความไม่ปรกติทันทีเมื่อพบ พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบได้ และยินดีนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไข    ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากผู้เรียน    ดูแลและให้บริการผู้เรียนด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็นคนน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น มีความเป็นธรรมในการให้คะแนน และอธิบายวิธีการให้คะแนนทุกครั้งที่วัดและประเมินผล  ตัดเกรดอย่างเที่ยงตรงมีหลักฐานผลงานผู้เรียนชัดเจน   พูดในสิ่งที่เป็นความจริง เปิดเผยและตรงไปตรงมา และรักษาคำพูด จดจำสิ่งที่พูดได้และมุ่งมั่นอย่างดีที่สุดเพื่อบรรลุตามสิ่งที่พูด  ปฎิบัติงานด้วยความสำนึกถึงภาระความรับผิดชอบ     ยอมรับความผิดพลาด และความเสียหายของผลการตัดสินใจและการดำเนินงาน  พร้อมที่จะชี้แจงเหตุผลตามความเป็นจริง และรีบปรับปรุงแก้ไข ไม่ผลักหรือกลบเกลื่อนความผิดพลาดของตนเองให้แก่ผู้อื่น ไม่โกรธและอาฆาตผู้ที่ติเตียนการกระทำ หรือรายงานความผิดพลาด    เป็นผู้ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยความละเอียดรอบคอบโดยใช้เหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอ ก่อนดำเนินการใดๆ คำนึงถึงผลการทบและความเสี่ยงต่างๆอย่างดีที่สุด สามารถแยกอารมณ์ ความรู้สึก ความชอบส่วนตัวได้ในการตัดสินใจ   เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีสำนึกจิตสาธารณะด้วยการทำประโยชน์เพื่อสังคมสม่ำเสมอ   ดำเนินชีวิตโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอ ช่วยเหลือและร่วมทำประโยชน์เป็นการตอบแทนให้แก่สังคม 

                                                                         
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง

ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า  “...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...”

ครูจรรยา  ธนะนิมิตร  ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างและจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เกิดพื้นฐานความคิดและพฤติกรรมสู่การสร้างชุมชนและสังคมที่พอเพียงเพื่อลดการแก่งแย่ง แข่งขันและความรุนแรง  เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสิ่งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า  มีพื้นฐานการทำเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเอง และการทำกิจกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม    เช่น  การทำปุ๋ยชีวภาพ  การปลูกผักและพืชปลอดสารพิษ การทำสวนสมุนไพร การแปรรูปผลผลิตและการทำเกษตรผสมผสาน จนผู้เรียนเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้   มีจิตสำนึกที่ดี เช่น นำความรู้จากการเรียนโครงงาน  “เกษตรปลอดสาร  อาหารปลอดโรค  พลโลกปลอดภัย” ด้วยการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ  การผลิตน้ำยาทำความสะอาดต่างๆจากน้ำหมักเอนไซม์ชีวภาพ ไปรณรงค์แก่เพื่อนๆ เด็กและเยาวชน บุคคลทั่วไป  ให้รู้จักการผลิตและใช้เพื่อการพึ่งพาตนเอง  ผู้เรียนมีความเอื้ออาทร ประนีประนอม และนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก จึงทำให้คนและสังคมละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และการแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง


๔. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาท ว่า “...พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลดพยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น...”

        ครูจรรยาเป็นผู้ประพฤติ ปฏิบัติตนตามพระราโชวาท ในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย    โดยประพฤติ ปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม  ด้วยการแต่งกายแบบไทยในโอกาสต่าง ๆ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับชุมชน อย่างสม่ำเสมอตลอดปีการศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานอาสาสมัครเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน  ด้านวัฒนธรรม  ประเพณี  พิธีกรรมทางศาสนา  และวันสำคัญต่างๆ  เช่น ประเพณีแห่เทียน  เข้าพรรษา  ประเพณีลอยกระทง  ประเพณีสงกรานต์  การทอดผ้าป่า  ทอดกฐิน  กิจกรรมวันแม่  กิจกรรมวันพ่อ ตลอดจนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน   กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทำให้เกิดความร่วมมือ  ความเข้าใจที่ดีต่อกัน  เกิดความรักและความภาคภูมิใจในโรงเรียนและท้องถิ่น         

                       ในการดำเนินงานหัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕  ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักศาสนา มารยาทไทย  ศีลธรรมจรรยาต่าง ๆ เพื่อธำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติ  ดังนี้

- กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา   การสวดมนต์   การเวียนเทียน  ด้วยการนิมนต์พระวิทยากรมาให้ความรู้และ

จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ                                                                                                                               

-จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมการไหว้ ด้วยการเชิญวิทยากรให้การอบรมฝึกฝนการไหว้และแสดง                      ความเคารพที่ถูกต้องตามประเพณีไทยอย่างสม่ำเสมอ  จนได้รับการเผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์ช่อง๓    

               รายการ “ร้อยเรื่องเมืองไทย”   ออกอากาศวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔               

-การถ่ายทอด สืบสานวัฒนธรรม  ในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา แผ่นพับ เสียงตามสาย  เป็นต้น เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมสืบไป
-สร้างความรู้ความเข้าใจโดยเน้นการส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกัน ประกวดการร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย โดยสอดแทรกปรัชญาและวิธีการดำเนินชีวิตแบบไทย  ชี้นำให้ผู้เรียนเลือกสรรวัฒนธรรมที่ดีงาม และปฏิเสธวัฒนธรรมอื่น ที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตแบบไทย

-จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยใช้การท่องเที่ยว  โดยนำผู้เรียนไปทัศนศึกษาที่          เมืองเก่าอยุธยา                                                                                                

-เสนอข่าวประกาศเกียรติคุณนักเรียนที่ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน   เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียนทั่วไป  เช่น แม่ดีเด่น ลูกกตัญญู ผู้ที่มีผลงานได้รับรางวัลเด็กดีศรีสันติราษฎร์  จาการทำกิจกรร

ผลจากการเป็นครูที่นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็น “ครูแห่งแผ่นดิน”  มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและการทำงาน  คือ

ผลที่เกิดต่อตนเอง

ครูจรรยา  ธนะนิมิตร    เป็นแบบอย่างของครูที่ใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง ด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งมีความเย็นในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ในการคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ด้วยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ     คือ  การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการของตนเองลง เช่น การผลิตน้ำยาซักผ้า อาบน้ำ แชมพูสระผม น้ำยาล้างจานใช้เอง    เมื่อมีปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญา ไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัยด้วยความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น   และมีการปรึกษาหารือถ้อยทีถ้อยอาศัยกับครอบครัวและผู้ร่วมงาน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนด้วยการแบ่งปันและการให้ เช่น ผลิตน้ำหมักชีวภาพแจกให้เพื่อนบ้านและชุมชนใช้ประโยชน์     

ผลที่เกิดกับผู้เรียน เด็กและเยาวชน

-ผู้เรียนนำความรู้และทักษะจากการเรียนรู้วิชาเกษตรไปใช้ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีความเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้   มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน   รู้รักสามัคคี   แนะนำสร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชนได้ รู้จักใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ   มีความรับผิดชอบต่อสังคม ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด   รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน  จนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว   สามารถนำความรู้การแปรรูปผลผลิตเกษตร  การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ การผลิตน้ำยาทำความสะอาดจากเอนไซม์และอื่นๆมาใช้เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน

-ผู้เรียนเกิดสำนึกจิตสาธารณะจากการฝลูกฝังคุณธรรมผ่านกระบวนการจิตอาสา

-นวัตกรรมที่ออกแบบเองและเอกสารคู่มือทางวิชาการที่มีส่วนร่วมในการจัดทำกับองค์กรต่างๆสามารถนำมาใช้ให้เกิดผลดีต่อเด็กและเยาวชน รวมถึงครู ประชาชนทั่วไปและองค์กรต่างๆทั่วประเทศ

ผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาการ

    ๑.คู่มือและเอกสารทางวิชาการต่างๆที่ได้มีส่วนร่วมจัดทำกับองค์กรต่างๆ  สามารถใช้เป็นเคื่องมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับครูและโรงเรียนทั่วประเทศ

     ๒.ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในวิชาเกษตรกรรมด้วยการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้  จนผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นและสามารถเผยแพร่สู่ชุมชนและสื่ออินเตอร์เนต

     ๓.การเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการเกษตร  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและสื่อการเรียนรู้ทางเวปไซท์ต่างๆ  เป็นประโยชน์แก่ผู้ร่วมอาชีพและบุคคลทั่วไป

ผลที่เกิดกับสถานศึกษาและชุมชน

     ๑.ชุมชนสังคมและองค์กรต่างๆยกย่องชมเชยและมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่นักเรียนครูและสถานศึกษา

     ๒.สร้างชื่อเสียงในการเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีจิตอาสาสร้างสรรค์สังคม จนได้รับการยกย่องชมเชยและรับรางวัลจากองค์กรต่างๆทุกปี

     ๓.ผู้ปกครองชื่นชมและให้ความไว้วางใจในการบริหารจัดการให้บุตรหลานเป็นคนดี คนเก่งและ          มีความสุข 

     ๔.โรงเรียนต่างๆมาศึกษาดูงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นประจำ

     ๕.ผลงานของครูจรรยาและผู้เรียนได้รับการเผยแพร่กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมจิตอาสา ให้เป็น   ะเยาวชนได้รับการ5พติด 11140แบบอย่างที่ดีต่อชุมชนและสังคม

 

เป็นแบบอย่างของครูผู้ที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นที่ประจักษ์  มีจิตสำนึกสาธารณะ  เสียสละเพื่อส่วนรวม อุทิตตนให้กับการดูแลนักเรียนอย่างแท้จริง

แนวคิด

                     พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อไรที่ได้ลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีที่ทำจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และยิ่งทำมากเข้านานเข้า ยั่งยืนเข้า ผลก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น และแผ่ขยายออกไปทุกที คนที่ไม่เคยทำดีเพราะเขาไม่เคยเห็นผล ก็จะได้เห็น และหันเข้ามาตามอย่าง. . .”

จากพระราชดำรัสดังกล่าว  ครูจรรยาจึงเกิดแนวคิดที่ว่า  ครูต้องมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูต้องเป็นแบบอย่างของครูที่ทุ่มเทเสียสละเพื่อช่วยเหลือดูแลศิษย์อย่างต่อเนื่องทุกด้าน ทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ   มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนหันมาทำกิจกรรมดีๆเพื่อสังคมถึงจะต้องเหนื่อยและบางครั้งต้องเสียสละทั้งเวลาและทรัพย์สินเงินทอง  แต่ผลที่ปรากฏคือ เด็กและเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีทั้งด้านความประพฤติ คุณธรรมจริยธรรม  การละอายต่อบาป ซึ่งจะส่งผลไปถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นและจะสงผลถึงคุณภาพของบุคคลากรของประเทศชาติในอนาคต 

                                ครูควรต้องดำรงชีวิตให้เป็นแบบอย่างทั้งด้านการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม การครองตนและครองงานให้มีคุณค่าบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า “ การมีชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืนขึ้นอยู่กับคุณค่าของคน”ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน และครอบครัว  ย่อมรับใช้ผู้อื่นได้ดี มีจิตใจกว้างขวาง ไม่ติดยึดกับตำแหน่งและอำนาจ   การมีวินัยในตนเอง และการแบ่งเวลาเป็น ทำให้คนเราสามารถใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงของเราก็อาจมีค่ามากกว่าหนึ่งวันของผู้ที่ไม่มีวินัยในตนเอง   ประกอบกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน การพิจารณาตนเองอยู่เสมอ และไม่มีทิฐิพร้อมที่จะยอมรับความผิดพลาดของตนเองและแก้ไขให้ถูกต้อง ก็จะเกิดความผิดพลาดในชีวิตน้อยที่สุด”

 

วิธีปฏิบัติ

ภาระหน้าที่ครูผู้สอนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(เกษตร)“แบบอย่างของครูที่มีความรับผิดชอบ

-สอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้  การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์  การแปรรูปผลผลิตเกษตรในรูปแบบโครงงาน  เรื่อง “โครงงานเทคโนโลยีเกษตร” “โครงงานเกษตรปลอดสาร  อาหารปลอกโรค  พลโลกปลอดภัย”    “โครงงานจัดสวน”  ให้ผู้เรียนรู้จักนำหลักการของความพอประมาณอย่างมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรด้วยการศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง  ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยความรอบรู้รอบคอบและความระมัดระวังคิดวิเคราะห์การนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน  ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม  ให้เกิดจิตสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต และดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายาม  มีสติปัญญา และมีความรอบคอบ มีเหตุผล

-ได้ผลิต ปรับปรุงและจัดหาสื่อการเรียนการสอนทีประหยัด มีผลดีต่อการเรียนรู้ และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการผลิต  ใช้ และบำรุงรักษา   ผลิตเอกสารแผ่นพับเผยแพร่ความรู้เทคโนโลยีเกษตร /การแปรรูปผลผลิตเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เรื่อง “โครงงานเทคโนโลยีเกษตร” “โครงงานเกษตรปลอดสาร  อาหารปลอกโรค  พลโลกปลอดภัย”    “โครงงานจัดสวน”  ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน เช่น  เอกสาร /วารสาร/ ใบความรู้/ แบบเรียนสำเร็จรูป และสื่อICT ตามความรู้สึกนึกคิดและการตัดสินใจของผู้เรียน  

-นำนักเรียนประชาสัมพันธ์การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทางรายการ “พ.ศ. พอเพียง” ดำเนินรายการโดยคุณ สุริวิภา  กุลตังวัฒนา

- ได้เป็นผู้นำในการวางแผนพัฒนาการเรียนการสอนตามเป้าหมายและครอบคลุมเนื้อหาวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(เกษตร)  ด้วยการสอนแบบโครงงานและมีการป้องกันแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนต้ำกว่าเกณฑ์ด้วยกระบวนการจิตอาสาที่สัมพันธ์สอดคล้องกับการป้องกันแก้ปัญหานักเรียนตามงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- เป็นผู้นำในการพัฒนางานการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบจนสามารถเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้วยการเขียนบล๊อคเผยแพร่ความรู้ในเว็ปไซท์ต่างๆให้เป็นแบบอย่างแก่เพื่อนครู        

- ร่วมกิจกรรมที่เน้นการทำงานเป็นทีม  ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน โดยรู้จักการเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี  มีความสามัคคีในหมู่คณะ                                                                                                 

- แสวงหาความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครูอยู่เสมอ โดย  ใส่ใจศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค  หาความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง จากสื่อเอกสารในรายวิชาเกษตรและบทความรูที่ใช้พัฒนางานอื่นๆที่รับผิดชอบและสื่อทางอินเตอร์เ

หมายเลขบันทึก: 506066เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ยินดีด้วยกับรางวัลอันทรงเกียรติยิ่ง


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท