โครงร่างเครื่องมือวิจัย


การดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูอ้อยค่อนข้างจะลำบากเหมือน.....เตี้ยอุ้มคร่อม  หมายถึงนอกจากจะลำบากที่คิดใหม่ทำใหม่กับวิจัยในชั้นเรียนของตนเอง  นำไปวิพากษ์กลับมาแล้ว  ได้รับความรู้มาแล้ว  ก็กลับมาเติมเต็มกับส่วนประกอบวิจัยของตนเอง   พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาวิจัยให้เพื่อนครูด้วย

*****

ลักษณะของครูอ้อยอย่างหนึ่ง คือ ความตั้งใจ หากมีความเป็นไปได้สูง ครูอ้อยยิ่งรีบและตั้งใจมากยิ่งขึ้น  เพราะต้องการเห็นและชื่นชมกับความสำเร็จครั้งนี้  โดยเฉพาะการเป็นหัวหน้างานวิจัย  ที่ไม่ค่อยเบิกบานเท่าไรกับตำแหน่งและงานนี้  แต่ก็เต็มใจรับทำด้วยความวิริยะ  รอ.....เพื่อนๆครูนักวิจัย  เดินมาหาแต่เนิ่นๆ   อย่าปล่อยให้เป็นดินพอกหางหมูเลย

*****

สำหรับครูอ้อย  เครื่องมือของวิจัยในชั้นเรียนของครูอ้อยนั้นคือ  การออกเสียงเน้นหนักในคำภาษาอังกฤษ  ชั้นประมศึกษาปีที่ 4  ที่ได้เตรียมค้นคว้าได้ความรู้มาแล้ว  เป็นโครงร่างเครื่องมือ  ส่วนขอบเขตและเนื้อหาที่เป็นคำต่างๆนั้น  จะได้ค้นอีกครั้งในพจนานุกรม ฉบับตั้งโต๊ะ  ที่ต้องเป็นแบบฝึกการออกเสียงเน้นหนักในคำ  ด้วย

*****

คำในภาษาอังกฤษ  มีระดับการออกเสียงแต่ต่างกันไป  คำที่มีสองพยางค์  สามพยางค์ หรือสี่พยางค์ที่นักเรียนทุกคนต้องได้รับความรู้และสามารถอ่านออกเสียงเน้นหนักในคำได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่  กล่าวคือ  โครงร่างเครื่องมือที่เป็นแบบฝึกของครูอ้อยครั้งนี้  ต้องหาคำที่ออกเสียงเน้นหนักในคำมาให้นักเรียนฝึกในเวลา 3 สัปดาห์  ๆละ 3 ชั่วโมง  รวมเป็นเวลาที่ฝึกทั้งสิ้น  จำนวน 9 ชั่วโมง

*****

ความจริงแล้ว  การฝึกการออกเสียงนี้  ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของนักเรียนเอง  ไม่มีวันและเวลาหมดไปได้เลย  เพราะภาษาอังกฤษนี้  เป็นทักษะ ของนักเรียนที่ต้องการเวลาฝึกซ้ำย้ำทวนอยู่เสมอ  นักเรียนจึงจะมีความสามารถในการออกเสียงโดยอัตโนมัติ

*****

เครื่องมือวิจัยของครูอ้อย  จะประกอบด้วยนวัตกรรมคือ แบบฝึกการออกเสียงเน้นหนัก  แบบสังเกตการออกเสียงในแต่ละครั้งที่นักเรียนได้เรียนรู้  แบบทดสอบก่อนเรียน  แบบฝึกหัดระหว่างการเรียน  แบบทดสอบหลังเรียน  ตลอดจนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้ครบขอบเขตระยะเวลาที่ทดลอง

*****

กลุ่มตัวอย่าง  ที่นำมาทดลองกับเครื่องมือนี้  จะได้กล่าวในบันทึกต่อไปว่า  ครูอ้อยจะทำอะไรต่อไป  

*****

วันนี้จะได้ค้นหาคำศัพท์  ที่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในเรื่องนี้

*****

ส่วนท่านที่ต้องการศึกษา  สนใจในโครงร่างเครื่องมือของครูอ้อยในการทดลองครั้งนี้ เรียนเชิญอ่านได้

*****

ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 505892เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2012 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จิ๊บๆนะคะ  สู้ๆค่ะ

ขอบคุณท่านทั้งสามมากๆค่ะ Blank Jamlong NFE Kalasin, Blank krugui, และ Blank tuknarak.

โดยเฉพาะ ครูกีร์เพื่อนรัก  จิ๊บจิ๊บ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท