Sending Support Volunteer Workshop , AFS Intercultural Programs Thailand Part I: สาระหลักและการปรับตนในภาพรวมเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม


ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ผสมผสานหลายรุ่น มีทั้งอาสาสมัครเอเอฟเอสหน้าใหม่-กลางเก่า-กลางใหม่ และหน้าเดิมที่คุ้นเคย เป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและช่วยสร้างเสริมสีสันของบรรยากาศแห่งการเกื้อกูลที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยกันเป็นอย่างดี

 ฝ่ายบริการการศึกษา ( Sending Programs ) เอเอฟเอสประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนางานด้านการทำใบสมัครนานาชาติและการดูแลนักเรียนเอเอฟเอสระหว่างเข้าร่วมโครงการเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปีให้อาสาสมัครเอเอฟเอสทั้ง 80 เขต  ได้มีความรู้-ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น  ระยะเวลา 4  วัน ระหว่างวันที่ 8-11  กันยายน  2555  ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-13 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี

                       
  


ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  ผสมผสานหลายรุ่น  มีทั้งอาสาสมัครเอเอฟเอสหน้าใหม่-กลางเก่า-กลางใหม่ และหน้าเดิมที่คุ้นเคย  เป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและช่วยสร้างเสริมสีสันของบรรยากาศแห่งการเกื้อกูลที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยกันเป็นอย่างดี 

                 
หัวข้อของเนื้อหา-สาระฯ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ

 

 ข้อแนะนำในการทำใบสมัครนานาชาติ  

“ Roles of Sending Support Volunteers and Problems Encountered ”  
                 
" Best Practices Sharing "
                
“ Cultural Adaptation/ Acculturation ”

                
" Tips on Recommendation Letter Writing "

               
" ลักษณะพฤติกรรมของนักเรียนที่จะเป็นปัญหาต่อการเข้าร่วมโครงการในต่างประเทศ "


“ AFS Educational Goals ”    
    
" Motivation –Do we need it ? ”

 “  How to manage conflicts " 

“ US School system and class expectation “
  
" ประสบการณ์ในการปรับตัวในดินแดนต่างวัฒนธรรม "
    
“ Cultural Stereotypes " 


"  Case Work "    

“ Risk Management     What ?& How to prevent  ”

 




            Mr.Jeffrey E.Taschner-Academic Supervisor -AUA Thailand


  

                  Mr. Damon Anderson - Director of RELO-US Embassy

 
                        คุณปทิตตา  ศิริเลิศไชยากูล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาฯ พิธีกรฯ
    

 

                                    คุณจุฬาวัลย์  แก้วดวงดี ผปส. เขตชัยภูมิ

 

              Mr. Tanes Rienglaem  RELO Administrative Assistant- US Embassy


เนื้อหาแต่ละช่วงล้วนเป็นประโยชน์และน่าสนใจ  ไม่เพียงแต่นำไปใช้ในงานอาสาสมัครของเอเอฟเอสเท่านั้น  แต่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ กับการพัฒนางานประจำในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ฯลฯ


 

  
 
                    ระดมสมอง-แลกเปลี่ยน-เรียนรู้-นำเสนอ



                       Best Practices Sharing


 


งานเลี้ยงสังสรรค์/ กิจกรรมประกวดร้องเพลงในช่วงราตรีสุดท้ายของการอบรม ฯ ช่วยให้บรรดาอาสาสมัครผ่อนคลายอิริยาบถ และเพลิดเพลินใจได้มากโข

     



                              คุณชเนศ  นาคะวิทย์  สุดยอดพิธีกรฝ่ายบันเทิง 

 
 
            สีสันการแสดงเพิ่มพูนบรรยากาศแห่งความสนุกสนาน 


   

      คุณจิรวัฒนา  จรูญภัทรพงษ์ ผอ ฝ่ายบริการการศึกษา  แสดงความยินดีกับผู้ชนะเลิศการประกวดร้องเพลง        


ที่น่าสนใจอีกกิจกรรมหนึ่งคือกิจกรรม  Energizing  ที่นำมาเสริมวันละ 2-3ช่วง  โดยกลุ่ม Returnees    ส่งเสริมให้บรรยากาศมีสีสัน เพิ่มพลังกาย-พลังใจให้กับผู้เข้ารับการอบรมฯ พร้อมเรียนรู้กันอย่างสนุกสนาน  

 

   

 

       
ขอสรุปสาระบางส่วนที่น่าสนใจ ในบางเรื่องของบางช่วง ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับสังคมส่วนรวมฯ  มาแลกเปลี่ยนดังนี้        

Cultural Adaptation

 “ Sojourner "  is one who moves from one culture to stay in another culture which is totally different from his own one for a period of time.

Stages of Cultural Adaptation

Honeymoon phase

Crisis period (Culture shock)

Adjustment phase

Acceptance and Adaptation phase
         
เป็นวงจรชีวิตของผู้ที่เข้าร่วมโครงการ  จะพบเจอ … ซึ่งบางช่วงเวลาอาจจะไปพบเจอสิ่งที่ยาก เมื่อปรับตัวไม่ได้  จึงรู้สึกอึดอัด ไม่อยากอดทน    ขึ้นอยู่กับการ Support  ของคนรอบข้าง   ต้องช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตนี้    

ความแตกต่างของวัฒนธรรม   ต้องมีการปรับตัว เนื่องมาจาก

1 . การสื่อสารมันลดค่าลง เพราะต้องใช้ภาษาต่างประเทศ

2. ไม่รู้วิธีการที่ต้องติดต่อ-แก้ปัญหา  เวลามีปัญหา

***...  หลายคนไม่รู้วิธีการหาเพื่อน   คนของเขาช่วยตนเองได้  หากไม่มีการร้องขอ  เขาจะไม่ได้เข้ามา  เพราะเขาคิดถึงสิทธิส่วนบุคคล  จะไปตัดสินว่าเขาไม่ค่อยเป็นมิตร จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง   คนไทยจึงต้อง เรียนรู้ที่จะต้องปรับตัว ...***

*** คนไทยหลายคน  ชอบแปลไทยเป็นอังกฤษ  บางคำไปใช้ Google แปล  มันไม่สื่อ  อย่างเช่นคำว่า สู้ๆ  ของสำนวนไทย   พอแปลแทนที่จะใช้คำว่า Patient กลับไปใช้ตรงๆว่า  Fight  เวลาจะสื่อสารใน FB มันอันตรายมาก   ***

Culture Distance  (Culture Different)

บางคนไม่ยอมเรียนรู้  ไม่ได้ศึกษาไปก่อน  เมื่อไปพบเจอวัฒนธรรมอื่นที่แตกต่าง อาจเกิดอาการ Culture shock    รู้สึกผิดหวัง  โกรธ  เสียใจ  น้อยใจ รู้สึกด้อยค่า   บางคนยึดติดกับวัฒนธรรมเดิม  พอไปเจอสิ่งที่คาดหวังจากวัฒนธรรมอื่น อาจมีความรู้สึกไม่ดี  หวาดกลัวว่าไม่ได้รับความยอมรับ   ไม่แน่ใจว่าจะอยู่ในค่านิยมแบบนั้นได้   หาทางออกไม่ได้   

 

วิธีการพัฒนาภาษา

  • พูดคุยกับผู้อื่น
  • ดูทีวีดี 
  • หาคนที่พูด-คุยแล้วสบายใจ เช่นรุ่นพี่เคยไปประเทศนั้นๆ  จะรู้สึกดีขึ้น

 


           
                                             คุณรุจิรา  คันทรง  ผู้จัดการฝ่ายฯ 

                         
ลักษณะพฤติกรรมของนักเรียนที่จะเป็นปัญหาต่อการเข้าร่วมโครงการในต่างประเทศ

ในระหว่างการจัดค่ายเตรียมความพร้อม   มีการสังเกตพฤติกรรมผู้เข้าร่วมโครงการหากพบ เด็กที่ดูท่าทางจะมีปัญหา   อาจต้องให้จิตแพทย์มาช่วย  ปัจจุบันมีผู้ทำงานเกี่ยวกับด้านจิตเวช   ทั้งประเทศ ไม่ถึง 100 คน  ในเขต กทม. มีอยู่  50 คน     เด็กเก่งๆ เครียดเยอะ    ชอบแยกตัวออกมา   ต้องรีบดูแล  อันเนื่องมาจากการความกดของสังคมรอบด้าน  จึงเกิดความเครียด-ความกังวลใจ เช่นมีการแข่งขันกันสูง  คะแนนฟาดฟันกัน ทับถม  เด็กเก่ง  มีปัญหาเยอะกว่าเด็กอ่อน  บางคนสมาธิสั้น  พูดแทรกตลอดเวลา  แสดงว่าอาจมีปัญหา 

 

เด็กวัยรุ่น  อาการซึมเศร้าดูยาก  บางคนแสดงออกมาในแง่ของพฤติกรรมอันธพาล    บางคนทำบางสิ่งลดลงไปกว่าปกติ  เช่นเคยเล่นกีฬา  ก็ไม่ยอมเล่น  บางคนน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก  เพราะการกินอาหารนั้น ตัวเองสามารถกำหนดเอง ทำด้วยตนเองได้    ในขณะที่เรื่องเรียน หรือ เรื่องอื่นๆ  ต้องทำตามคนอื่นกำหนดให้    อาการไม่ได้ออกมาเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อเข้าร่วมโครงการฯ หากไปแสดงออกที่นั่น  อาจถูกส่งกลับก่อน  ต้องรีบสังเกตและช่วยเหลือ  

***… พ่อ-แม่บางคนไม่ยอมรับความจริง  รู้จักลูกๆ  น้อยกว่าครูด้วยซ้ำ   ครูหลายคนสอนแค่วิชาการพอ  เพราะเบื่อที่พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบ Over protection…***




                               นพ. ณัฐวัฒน์  งามสมุทร  จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น


Cultural Stereotypes

Stereotypes

          เป็นการลงความเห็นจากบุคคลิกลักษณะภายนอกของชนส่วนใหญ่  จากเพศ   ชาติพันธุ์  และตั้งข้อสมมุติฐาน  โดยเชื่อว่าน่าจะเป็นแบบนั้น  แต่อาจไม่ใช่เช่นนั้น  อาทิเช่น  คนยิว  ขี้เหนียว  / คนจีน  ขยัน  อดทน  ประหยัด / คนแขก  ขายถั่ว-โรตี โพกหัว  เก็บดอกเบี้ยโหด  ฯลฯ

เป็นการยากที่จะไปห้าม- หยุดยั้งความคิดแบบนั้น  แม้แต่การโฆษณา การวาดภาพยังอดที่จะล้อเลียน  ไม่ได้ 

บางครั้งมันเป็นปัญหาได้  เช่นหากคนไทยไปต่างประเทศมักจะถูกถามว่า  กินเผ็ดใช่ไหม    กินเนื้อสุนัขใช่ไหม       ขี่ช้างไปโรงเรียน /ทำงานหรือปล่าว    บางครั้งสร้างความรู้สึกอึดอัดให้ผู้ที่ถูกถาม  อาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดี  

Stereotype  แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

Good Stereotype

Bad Stereotype   

***…หน้าที่ของเราคือ  ต้องพยายามเปลี่ยนข้อสมมุติฐานที่เขาเชื่อแบบผิดๆ  ให้เขาเข้าใจ ให้ถูกต้อง…***




 

 

คำนิยามที่บัญญัติขึ้นมาในยุคใหม่ เช่น

เนิรด : ขยัน แต่งตัวสะอาด  ดูเชย  โบราณ

พังส์ : สีมืดๆทำผมตั้ง  สัก  ออกแนวสนุกสนาน

โกต์ ( Gothic) : เป็นพวกมืดๆ  รักงามแต่ต้องดำ  ทะมึน

จอกส์  :  อารมณ์เหมือนพวกชอบ  Jogging  กล้ามใหญ่  ขี้แซว 

 

                                                                       *** ...  ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ  ... ***

หมายเลขบันทึก: 505885เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2012 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2015 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     ***.... ขอขอบคุณ " อาจารย์โสภณ "   Blank  "  คุณ  TUM  "   Blank  "  Dr.Ple "  Blank   และเพื่อนสมาชิก FB มา ณ โอกาสนี้นะคะ ...***  

                                                                                           

                                                                                                                                                        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท