ถอดบทเรียน : ประชุมวิชาการแพทยศาสตร์ศึกษา ครั้งที่ 13


คนต่างยุคกัน มีความคิดไม่เหมือนกัน ต่อไปนี้โลกไม่เปลี่ยนเป็นเส้นตรงต่อไปอีกแล้ว

สวัสดีครับ 

วันนี้ขอนำเสนอภาพบางส่วนจากการบรรยายทางวิชาการ หัวข้อ การศึกษาสำหรับนักวิชาชีพสุขภาพในศตวรรษที่ 21 โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในการประชุมวิชาการแพทยศาสตรศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

อาจารย์กล่าวถึง คนต่างยุคกัน มีความคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น เทคนิควิธีการสอน ต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสม

ใช้ความคิดเดิม ความเข้าใจเดิม วิธีการสอนแบบเดิมที่เคยเรียน เคยทำมา แต่เดิม นั้น อาจใช้ไม่ได้ สำหรับคนต่างยุด

 

 

 

เดิมที่ การสอน การบริการ เน้นแบบตั้งรับ โรงพยาบาลเน้นรักษาบำบัดโรค แต่เดี๋ยวนี้ ต้องรู้จัก การบริการเชิงรุก คือ การส่งเสริม และป้องกัน  

 

แต่ก่อน เน้นการรักษาผู้ป่วย เป็นคนๆ

แต่... เดี๋ยวนี้ ต้องสอนให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างระบบ เครือข่ายมาร่วมช่วยเหลือ ดูแลมากขึ้น

 

 

การดูแลสุขภาพ ไม่เน้นกำไร

แต่เมื่อโลกกว้างขึ้น คนเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น การสร้างโอกาสให้กับประเทศไทย โดยเน้นการให้บริการทางสุขภาพ เพื่อหากำไร ก็เป็นสิ่งที่น่าคิด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง การวิจัยทางสุขภาพ ที่พัฒนานวัตกรรม หรือการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์

 

 

 

โลกไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเส้นตรงอีกต่อไป มีหลายส่วนมาเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ คนในวิชาชีพ ต้องรู้จักพัฒนา

 

 

การเรียน การสอน ต้องทำคนให้เข้าใจและมีส่วนร่วมสร้างระบบ อย่างสร้างสรรค์

 

มีการรายงานว่าในอเมริกา ในเรื่องการให้บริการทางสุขภาพ มีการให้เงินโดยเปล่าประโยชน์ ไปหลายร้อยล้าน

การตรวจวินิจฉัย รักษา ที่สูญเปล่า แทนที่จะเป็นคุณ กลับสร้างโทษ

 

 

 

วิชาชีพ ต้องสอนวิชาชีพ เพิ่มเติมผสมผสานด้วยเทคนิคที่เกิดจากองค์ความรู้ในตัวบุคคล นำไปสู่การสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม

 

 

 

 

องค์กร ไม่ใช่การทำต่างๆเพื่อวิชาชีพเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงประชาชน และประโยชน์ของชาติ ของโลก เป็นหลัก

การผลิิตบัณฑิต หลักสูตรต้องรู้จักผสมผสาน พัฒนา โดยการแลกเปลี่ยนความสำเร็จ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหลายๆหน่วยงาน

สอนการเรียนรู้ให้เข้าใจในวิชาชีพ + การรวมตัวปรับปรุงระบบสุขภาพ เข้าไปมีปฎิสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ

 

 

 

ห้องเรียนกลับทาง เป็นหนังสือที่เปลี่ยนมุมมองการสอน การเรียนรู้  นักศึกษาสามารถเรียนรู้ที่บ้าน แล้วมาทำการบ้าน มาเพิ่มเติมความรู้ที่โรงเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ

 

ตัวอย่าง

มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่สอนบรรยายอย่างเดียว สอนตามเอกสาร

เมื่อสอนเสร็จ

นักศึกษามาบอกว่า...

ทำไม? อาจารย์ สอนตามเอกสารที่ให้มา แบบนี้ ผมสามารถอ่านเองได้  

ทำไม? อาจารย์ ไม่สอน ไม่ชี้แนะ จากประสบการณ์ของอาจารย์ที่มีอยู่ ที่พวกผมไม่สามารถหาอ่านที่ไหนได้ ครับ

 

 

 

เรียนรู้โดยการลงมือทำ

เทคนิคการสอนมีหลายวิธี

 

การบรรยาย นักศึกษา รับรู้ จำได้น้อยที่สุด เหมือนการกรอกข้อมูล

แต่ควรสอน ให้เกิดองค์ความรู้จากสมอง เข้าสู่ใจ

การเรียน ไม่เท่ากับ การสอน

 

สอนให้น้อย เรียนรู้ให้มาก ด้วยวิธีการต่างๆ

การเรียน การสอน การเข้าถึงองค์ความรู้

 

ครู ไม่ใช่ทำหน้าที่สอนอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้เรียนด้วย เรียนรู้จากนักเรียน เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงความรู้ที่แท้จริง  และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ที่สูงต่อไป

เรียนรู้วิชาชีพ นำมาพัฒนาระบบสุขภาพ

 

 

มีหลายกลุ่มการเรียนรู้

ได้นำการเรียนรู้ มาแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนา

 

นี่เป็นบางส่วนที่ผมถอดบทเรียนมาได้

การสอน การเรียนรู้ ไม่หยุดนิ่ง ยังต้องพัฒนาต่อไป

การสร้างความร่วมมือ สร้างเครือข่าย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความสำคัญ ครับ

หมายเลขบันทึก: 505238เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน อ.ต้อมที่เคารพ เป็นบทเรียนที่ยอดเยี่ยมเลยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท