หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

เรื่องของเค้ก(3)... "การอบเค้ก"



bakery @ home 

เรื่องของเค้ก(3)... "การอบเค้ก"


จากบันทึกเรื่องของเค้ก(1)... "มีกี่ประเภทและทำอย่างไร"
และ  เรื่องของเค้ก(2)... "วัตถุดิบหลักที่ใช้ทำเค้ก" บันทึกมาต่อ ด้วย การอบเค้ก

 

(6) อุณหภูมิในการอบเค้ก  ก่อนจะผสมเค้กเราควรเตรียมเปิดเตาอบไว้ก่อน 
เมื่อเราผสมเค้กเสร็จ เตาอบก็ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการพอดี 
อุณหภูมิในการอบขนมเค้กแต่ละขนาด จะใช้เวลาต่างกัน 
ขึ้นอยูกับขนาดของพิมพ์ที่ใช้อบด้วย ตัวอย่างเช่น
  • เค้กถ้วย อบที่ 180 °c เวลา20-25 นาที 
  • แยมมโรล อบที่ 200 °c เวลา 10-15 นาที 
  • เค้กกลมขนาด 1-2 ปอนด์ อบที่ 180 °c เวลา 40-55 นาที 

 

ทั้งนี้การอบเค้กตามที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงพื้นฐาน 
ในการทำเค้กส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการสังเกตุควบคู่กันไปด้วย
เราสังเกตุอย่างไรว่าเค้กนั้นสุกหรือไม่ 
  • เค้กเนย ให้ใช้ไม้แหลมๆจิ้มตรงกลางเมื่อดึงขึ้นมา จะไม่มีเศษเค้กติดขึ้นมา แสดงว่าสุกแล้ว
  • เค้กชิฟฟอน เมื่ออบจนผิวหน้าขนมเป็นสีน้ำตาลทอง 
  • ให้ใช้นิ้วหน้าเค้กหากมีรอยนิ้วบุ๋มลงแสดงว่าไม่สุก หรือจะใช้วิธีเดียวกับเค้กเนยก็ได้เช่นกัน 

 

การอบเค้กนั้นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เค้กนั้นจะน่ารับประทานหรือไม่ 
อุณหภูมิในการอบจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • การอบนานเกินไป เค้กจะแห้ง ผิวขนมจะหนา
  • อุณหภูมิในเตาอบต่ำเกิน เค้กสีอ่อน เนื้อเค้กจะแห้ง 
  • อุณหภูมิสูงเกินไป สีเข้มด้านในไม่สุก ปริมาตรเค้กที่ได้มีขนาดเล็ก

 

(7)ลักษณะของขนมเค้ก ที่เกิดจากการผสมและการอบที่ไม่เหมาะ
แยกสาเหตุการผิดพลาดจากการทำ ตัวอย่างเช่น

 

7.1 เค้กหน้าแตก  สาเหตุเกิดจาก 
  • เตาอบร้อนเกินไป ด้านนอกแข็งตัวเร็วไปในขณะที่ภายในเริ่มขยายตัว
  • ส่วนผสมไม่เหมาะสม แป้งในสูตรมากเกินไป ผงฟูมากเกินไป ผสมนานเกินไป

 

7.2 เค้กเนื้อแน่น หนัก ผิวหนา
  • ส่วนผสมแป้งมากเกินไป น้ำตาลหรือไขมันน้อย
  • เตาร้อนเกินไป หรืออบนานไป

 

7.3 ผิวหน้าเค้กไม่เรียบ
  • ความร้อนในการอบไม่สม่ำเสมอ 
  • หรืออาจจะวางพิมพ์ชิดเตาเกินไป

 

7.4 ผิวนอกแฉะ
  • น้ำตาลมากเกินไป
  • อุณหภูมิขณะอบต่ำ

 

7.5 เค้กเนื้อหยาบร่วน (เค้กเนย)
  • ผงฟูมากเกินไป
  • น้ำตาลมากเกินไป 
  • ตีเนยกับน้ำตาลมากเกินไป
  • อบนานเกินไป

 

ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่มักจะเจอจากการทำขนมเค้กสำหรับมือใหม่หัดทำขนม 
ในการทำขนมอบนั้น เรื่องการอบเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่มีส่วนทำให้ขนมของเราน่ารับประทานค่ะ 
การฝึกทำและการสังเกตุจะช่วยให้เราเป็นมืออาชีพได้  
 
ข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นเรียนรู้ 
ในเรื่องการทำขนมอบได้บ้าง ไม่มากก็น้อย  

หมายเหตุ : ตอนนี้หลานสาวกำลังเรียนรู้การทำขนมอบอยู่ค่ะจึงอยากบันทึกไว้

 


 

อ้างอิง :หนังสือเค้ก โดย อาจารย์นวรัตน์ เอี่ยมพิพักษ์กิจ (จัดพิมพ์โดย บริษัทแม่บ้าน จำกัด)

ขอบคุณค่ะ

 

........

หมายเลขบันทึก: 505202เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • คนนี้ใครครับพี่นารี
  • อาจารย์นวรัตน์ เอี่ยมพิพักษ์กิจ 

Blankสวัสดีค่ะอ.ขจิต

อาจารย์นวรัตน์ เอี่ยมพิทักษ์กิจ (อิอิ นามสกุล คล้ายกับพี่หนูรี เลยค่ะ)

อ.นวรัตน์ เป็นรุ่นพี่ ที่ม.ราชมงคล ตอนนี้ทำงานเป็นอาจารย์สอนทำขนมอยู่ที่

บริษัทแม่บ้าน เขียนตำราอาหารเล่ม ในนาม ของ แม่บ้าน อาชีพแก้จน :)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท